http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,956,286
Page Views16,262,562
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

Life Guard ยามช่วยชีวิต บทบาทที่พึงสังวร โดยธงชัย เปาอินทร์

Life Guard ยามช่วยชีวิต บทบาทที่พึงสังวร  โดยธงชัย เปาอินทร์

Life Guard  ยามช่วยชีวิต :บทบาทที่พึงสังวร
โดยธงชัย  เปาอินทร์ 

 

      บนความสูญเสียครั้งแล้วครั้งเล่าจากอุบัติภัยที่เกิดขึ้นซ้ำซาก  อุทยานแห่งชาติยังคงความเสมอต้นเสมอปลายได้อย่างมั่นคง  ไม่มีมาตรการ  ไม่มีการจัดการ  ไม่มีใครต้องรับผิดชอบเมื่อเกิดเหตุอันเนื่องมาจากน้ำป่าไหลทะลักท่วมน้ำตก  ``ชายฝั่งทะเลที่กำลังเกิดคลื่นลมแรงหรือน้ำวนใต้ทะเลในบางพื้นที่  แต่ได้กลืนกินนักท่องเที่ยวไปนักต่อนัก 


           
ที่น้ำตกวังตะไคร้ นักท่องเที่ยวกำลังพักผ่อนกันอยู่ใต้น้ำตกและในลำธารที่มีน้ำไหลใสสะอาดตาและเย็นยะเยือก  ลูกเด็กเล็กแดง คนแก่คนเฒ่า  คนหนุ่มสาวกำลังสนุกสนานกับการเล่น  บางคนลอยน้ำไปกับห่วงยาง  แต่แล้วทันใดน้ำขุ่นไหลทะลักลงมาแดงฉาน  มีเสียงตะโกนให้ขึ้นจากน้ำ  แต่เสียงจอแจที่กำลังสนุกได้กลบเสียงเตือน  ชั่วพริบตาน้ำป่าไหลทะลักลงมาพัดพาเอาร่างเด็ก คนแก่ หนุ่มสาว หายไปกับสายน้ำ  ครั้งนั้นตายกันมากศพ   เพราะว่าวังตะไคร้ไม่มียามช่วยชีวิต(
Life Guard)

            ที่น้ำตกเหวสุวัต  เขาใหญ่  นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ลงเล่นน้ำตกอยู่จนเกินเวลาที่ควรจะต้องขึ้นจากน้ำ  แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง หรือเตือนให้ขึ้น  อากาศยามค่ำที่เย็นจัดในน้ำตกทำให้เป็นตะคริว จมน้ำตาย กว่าจะรู้ก็เมื่อเพื่อนๆตามหาว่าหายไปไหน  พบอีกทีก็ลอยไปติดซากต้นไม้ใต้น้ำตก  นี่ก็ไม่มีกติกาว่าจะเปิดและปิดให้ลงเล่นน้ำตก ณ จุดนั้นเวลาเท่าไร  ประการสำคัญเมื่อถึงเวลาต้องไล่ออกหมด เพื่อความปลอดภัย นี่ก็ ยามช่วยชีวิต

  

            ลงทะเลไปเกาะช้างเมื่อไม่กี่ปีมานี้  ช่วงนั้นเป็นฤดูฝนซึ่งปกติรีสอร์ท โรงแรม จะค่อนข้างเงียบเหงา (Low Season) นักท่องเที่ยวต่างชาติจะบางตา  นักท่องเที่ยวไทยประเภทสัมมนากลุ่มจะหนาตา เพราะว่าราคาและงบประมาณที่เหลือใกล้สิ้นปี  ยังจำได้ไหมว่า กลุ่มหนุ่มสาวจากบริษัทโทรมือถือดังไปสัมมนา แล้วเมาได้ที่ ลงไปเล่นน้ำทะเลขณะฝนตกฟ้าคะนอง ผลสุดท้าย ตายไป 2 คน รอดกลับขึ้นมาได้ 2 คน อบต.ที่นี่ไม่มีคำเตือน  อุทยานแห่งชาติเกาะช้างถือว่าหาดทรายเป็นเขตเอกชน ยามฝั่งช่วยชีวิตไม่มีเหมือนกัน 
 
                    

            ที่หาดแม่รำพึง   ระยอง มีชายหาดที่ทอดตัวยาวหลายกิโลเมตร แต่มีอยู่ช่วงหนึ่งว่ากันว่า ทะเลหัก น้ำวน  คนตายกันทุกปี ป้ายประกาศเตือนเก่าคร่ำแทบอ่านตัวหนังสือไม่ออก  เป็นเขตรับผิดชอบอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเสม็ด  ปีนั้น อำพล ลำพูน พาหลานไปเล่นว่าวกัน  หลานคนหนึ่งลงไปเล่นน้ำทะเล  ทันใดน้ำทะเลได้พัดกระแทกและกลืนกินร่างหลานของอำพลไปต่อหน้าต่อตา  จะใช่ไหมที่จะบอกว่า  แค่มีป้ายเตือนยังไม่พอ 

        มันต้องมีคนเฝ้าระวัง ยามช่วยชีวิต  ปีนี้ก็เกิดอีก จุดนี้แม้มียามช่วยชีวิตแต่คงต้องเป็นยามที่ห้ามเด็ดขาดไม่ให้ลงเล่นเลย ทำทุ่นหรือแนวรั้วกั้นไปเลย ฤดูร้อนกำลังมาถึง ปิดเทอมด้วย จำเป็นต้องเร่งปิดกั้นหรือมียามช่วยชีวิตเฝ้าระวัง  เตือน   ห้าม   ทำสักอย่างเถอะครับ ทำด้วยความสม่ำเสมอ เพราะว่าทำแบบไฟไหม้ฟางช่วยอะไรไม่ได้

           ไปไกลลงไปอีกหน่อย  ชายหาดเขตทหารหาญ  หาดอ่าวมะนาว ประจวบคีรีขันธ์  ซีกหนึ่งมีทะเลหักและน้ำวนใต้ทะเล มีนักท่องเที่ยวตายทุกปี  นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่กลุ่มฉิ่งฉับทัวร์  ที่นี่ก็จมน้ำตายกันบ่อยครั้ง  จนกระทั่งมีการสร้างหอนั่งให้ทหารไปเฝ้า  แต่วันนี้ เหลือแต่หอนั่งสนิมเขรอะ จะพังไม่พังแหล่  สอบถามได้ความว่าเพราะหอนั่งจะพังเลยไม่มีใครสั่งการให้เฝ้าอีก  ประมาทไปหรือไม่  เกือบจะดีแล้วนะทหารหาญ  แต่ก็....................

            อุทยานแห่งชาติหาดสวนสน ระนอง  มีหอคอยนั่งหลังเกิดสึนามิถล่มไปจนยับเยิน  หอคอยสร้างไว้สูงมาก  แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่ไปนั่งประจำการ ยามช่วยชีวิต  ต้องรอให้เกิดเหตุแล้วถึงจะวิ่งขึ้นไปส่องดูดาวเสียละกระมัง  หรืออุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา  เกาะหลีเป๊ะ สตูล   เกาะสิมิลัน  พังงา  หมู่เกาะสุรินทร์  พังงา  หมู่เกาะพยาม ระนอง  สรุปว่าอุทยานแห่งชาติทางทะเลทุกแห่ง ต้องมียามช่วยชีวิต ทำไมไม่ทำกันสักทีวะ


                         

         น้ำตกที่ส่วนใหญ่จะมีหลายชั้น  แต่ละชั้นก็จะมีนักท่องเที่ยวที่นิยมผจญภัยไต่ขึ้นไปชม  และทรัพยากรท่องเที่ยวประเภทน้ำตกส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ประเภทอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า  วนอุทยาน  และอีกหลายแห่งที่ อ.บ.ต.หรือเทศบาล รับผิดชอบอยู่  โดยเฉพาะน้ำตกที่ดังๆ มีนักท่องเที่ยวนิยมมาก  ยิ่งต้องพึงระวัง  ต้องมียามช่วยชีวิตทุกชั้น  ทุกช่วงเวลา  เมื่อปิดต้องไล่ออกหมด  ถ้าเมามายมากๆต้องห้ามขาด เว้นแต่จะไม่ได้ห้ามหรือไม่มีเจ้าหน้าที่อยู่ ณ ที่นั้นเลย

            ธุรกิจท่องเที่ยวทุกสาขา เช่น เดินป่าเที่ยวถ้ำ  ล่องแพ  ล่องแก่ง(เรือยาง) พายเรือแคนู ดำน้ำดูปะการังทั้งน้ำตื่นและน้ำลึก ส่องสัตว์(เช่นเขาใหญ่)  ร้านอาหาร  ร้านของฝาก  ร้านกาแฟ ถ้ากระทำในเขตป่าอนุรักษ์ทั้งอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุกแห่งต้องขออนุญาตตามระเบียบเป็นการอนุญาตรายปี หรือรายกี่เดือน เหมือนซื้อลิขสิทธิ์เพลงทุก 3 เดือน 6 เดือน 12 เดือน 

           เช่น ล่องแก่ง กำหนดกติกาได้ว่า ผู้ขออนุญาตต้องไม่ทำลาย  ไม่เกิดความเสียหาย  ต่อเกาะแก่ง ลำน้ำ  ต้นไม้ สัตว์ป่า มลภาวะเป็นพิษ และต้องมียามช่วยชีวิตฝั่งละ 2 คน ทุก 50 เมตร หรือทุกจุดที่ล่อแหลมเสี่ยงภัย เมื่ออนุญาตแล้วเจ้าหน้าที่ต้องติดตามตรวจสอบตามเงื่อนไขให้ใกล้ชิด จริงจัง สม่ำเสมอ 

                      ล่าสุดเลยทีเดียว เด็กหลงป่าที่น้ำตกกรองแก้ว ซึ่งอยู่หลังศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่  ยังเกิดเรื่องขึ้นจนได้ นี่คือเหตุบ่งชี้ถึงการจัดการอุทยานแห่งชาติย่อหย่อนหรือไม่ หรือเพียงคำนึงถึงแต่เรื่องผลประโยชน์พึงได้กันหรือไม่ ธุรกิจส่องสัตว์บนเขาใหญ่ ร้านอาหารผูกขาดของเจ้าหน้าที่และครอบครัว ฯลฯ

                   


                สรุปกรณีน้ำตกถล่มหรือน้ำป่าถล่มถ้ำที่เขาสก ฯลฯ เป็นอีกบทเรียนที่แลกด้วยชีวิตและชื่อเสียงของประเทศ  มิใช่เพียงกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช  หากแต่ภาคเอกชน  องค์กรเอกชน(อ.บ.จ.-อ.บ.ต.-เทศบาล)ต้องรับผิดชอบ ดังนั้นต้องมีเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังทุกช่วงเวลาที่มีความเสี่ยง   มีทีมพร้อมหอนั่งสังเกตการณ์ อุปกรณ์ที่จะเตือนภัยและช่วยเหลือ   โดยผ่านกระบวนการฝึกอบรมเข้ม   ต้องมีทุกระยะความเสี่ยง และตลอดเวลาที่เปิดให้ท่องเที่ยว  

                ล่าสุด 8 พฤษภาคม 2554 เวลา 19.00 น.สภ.เพ อ.เมือง จ.ระยอง ได้รับแจ้งว่านักท่องเที่ยวถูกคลื่นถล่มจมน้ำหายไป 4 คน แต่ได้พยายามช่วยกันเองจนได้คืนมา 3 คน ส่วนอีกหนึ่งคนหายไปกับทะเล คาดว่าตาย เหตุเกิดที่หาดพุทรา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเสม็ด-เขาแหลมหญ้า นักท่องเที่ยวเป็นกลุ่มนิสิตปี 4 จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ งานนี้คงหมดสนุก และคงมีแต่ความเศร้าสะเทือนใจ

                   อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเสม็ด-เขาแหลมหญ้า เคยจับกุมบังกาโลและร้านอาหารทั้งหมด 34 ราย แต่กลายเป็นว่า จังหวัดระยองอ้างว่าเป็นพื้นที่ทหารเรือเก่า จึงใช้กฎหมายราชพัสดุ ออกใบอนุญาตให้พ่อค้า โรงแรม รีสอร์ท บังกาโล เปิดทำการได้ เหมือนว่าเช่าที่ราชพัสดุ ทั้งๆที่เดิมทหารเรือขอใช้ประโยชน์ป่าสงวนผืนนี้จากกรมป่าไม้ ต่อมากรมป่าไม้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาตั้งอุทยานแห่งชาติเกาะเสม็ด ซึ่งตามมาตรา 3 ในพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 กำหนดไว้ว่าหากกฎหมายใดขัดกับกฎหมายนี้ ให้ใช้กฎหมายนี้บังคับใช้ นั่นหมายความว่าพื้นที่เกาะเสม็ดทั้งเกาะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอุทยาน แต่จังหวัดเอาไปออกอนุญาตเอง ผิดหรือถูก

                  เมื่อเกิดการตายเช่นนี้ ใครควรต้องออกมารับผิดชอบ จังหวัดระยองโดยราชพัสดุจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง อุทยานแห่งชาติ เทศบาล อบต.เกาะเสม็ด

                  เกาะเสม็ดมันจึงเละเทะไปทั้งเกาะด้วยบาร์เบียร์และความสูญเสีย  

 

หรือไอ้ตูบคือยามช่วยชีวิต

 

Tags : Life Guard ยามช่วยชีวิต ท่องเที่ยวทั่วถิ่นไทย

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view