http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,956,761
Page Views16,263,061
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ปักกิ่งหรรษา ตอนที่ 12 ชามเหสีเจ็ด โดยอึ้งเข่งสุง

ปักกิ่งหรรษา ตอนที่ 12  ชามเหสีเจ็ด โดยอึ้งเข่งสุง

                                        

ชามเหสีเจ็ด

ในคณะทัวร์ไปท่องเที่ยวปักกิ่งครั้งนี้นับได้ 100% เต็ม เป็นลูกหลานจีนโพ้นทะเล  ทุกคนรู้จักเครื่องดื่มยอดนิยมกันเป็นอย่างดี ชา หรือฉา ในสำเนียงจีนปักกิ่ง มาทัวร์ครั้งนี้ดื่มน้ำชาทุกมื้ออยู่แล้ว  ดังนั้น เมื่อได้ท่องเที่ยวไปหลายรายการรวมไฟท์บังคับทั้งหลายด้วย นักท่องเที่ยวก็เลยร้องขอสิทธิบังคับคุณโจวบ้าง  ว่า อยากจะหาซื้อใบชาดีๆ กลับไปฝากญาติ เพื่อนฝูง และเก็บเอาไว้ดื่มเอง

คุณโจวครับ อย่าลืมนะวันนี้ ว่างเมื่อไรช่วยจัดรายการซื้อชากันหน่อยคุณประชาร้องมาจากที่นั่งทางท้ายๆ รถทัวร์

ได้ครับ แต่ต้องไปตามรายการก่อน มีช่วงเวลาว่างผมจะจัดการนำท่านไปซื้อชาแน่นอนคุณโจวรับปากอย่างเข้มแข็งสมกับเป็นผู้นำทัวร์

ไหนๆ ก็สนใจเรื่องชากันแล้ว ผมก็จะเล่าประวัติชาให้ทราบกันพอเป็นกระษัย” คุณโจวทำหน้าที่ไกด์ที่ดีอีกตามเคย ให้ข้อมูลความรู้และความเข้าใจก่อนการนำเที่ยวเสมอๆ

เมื่อ 59 ปี ก่อน ค.. ชาวจีนนำใบชามาตากแห้งแล้วส่งไปขายรวมกันที่ตลาดนครเฉิงตู เมืองเอกของมณฑลขื่อชวน(เสฉวน) หลังจากนั้นมีการนำไปขายยังเมืองหวู่ตู มณฑลกานซู่ ซึ่งเป็นเมืองชายแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน  ณ ที่เมืองนี้มีการตั้งโรงขายชาเกิดขึ้น สินค้าชาถูกส่งไปขายยังเมืองนอกด่านตามเส้นทางสายไหม จนถึงประเทศทางตะวันตก เมืองเฉิงตูเป็นแหล่งผลิตใบชาและหวู่ตู กลายเป็นตลาดขายส่งใบชา โรงขายชาเหล่านี้มีการให้ทดลองดื่มชา ทั้งแบบชงและเคี้ยวใบแห้ง พอใจในรสชาติและกลิ่นชาจึงตกลงซื้อขายกัน  คนที่สนใจก็ฟังนิ่ง แต่คนที่สนใจมากกว่าก็จดบันทึกเป็นการใหญ่

                                      

                    “สมัยราชวงศ์ถังมีการปลูกต้นชามากกว่า 20 ชนิด แหล่งผลิตใบชายุคนั้นคืออำเภอฉีโจว มณฑลอานฮุย และอำเภอหูโจว มณฑลเจ้อเจียง ช่วงที่จักรพรรดิถังหมิงอ๋วงครองราชย์มีการบันทึกว่า พระนิกายเซนปลูกชากันมาก และการดื่มน้ำชาช่วยให้การสวดมนต์ภาวะนาได้ผล ไม่ง่วงเหงาหาวนอน กระปรี้กระเปร่า จิตใจแจ่มใส นั่งสมาธิได้ดี  ในที่สุดมีกวีลู่หยู่ ในสมัยถังนี้แหละแต่งตำราสรรพคุณชาเรียกว่า ฉาจิง (คำภีร์ชา)  ตำราเล่มนี้ถือว่าเป็นตำราเรื่องชาเล่มแรกของโลก และทำให้เกิดความนิยมดื่มชากันทั่วไป” คุณโจวเหนื่อยจนดื่มน้ำเปล่า

มีคำบรรยายว่า การดื่มน้ำชาในตอนกลางคืนทำให้ตาสว่าง นอนไม่ค่อยหลับ แต่ถ้าดื่มตอนเช้าๆ จะช่วยให้สดชื่นกระฉับกระเฉง  น้ำชาเข้มๆ ดื่มแล้วลดความอ้วนได้ดีเพราะว่าไปละลายไขมันในร่างกายออกมา แก้ท้องเสียได้ชะงัดนัก และไม่ควรดื่มชาเมื่อต้องกินยา อาจลดฤทธิ์ยาไปได้  ผลของการวิจัยเรื่องการดื่มน้ำชาของคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ประกาศเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 1999 ในชามีสาร ฟลาโวนอยด์ส  ซึ่งต่อต้านการเกิดภาวะโลหิตจับตัวเป็นก้อน และการก่อไขมันสะสมในเส้นเลือดแดง  ดังนั้นการดื่มน้ำชาทุกวันช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้ดี  วันนี้ชาขายดีแน่ๆ

หลังการท่องเที่ยวตามรายการ มีช่วงเวลาว่างประมาณสองชั่วโมง คุณโจวสั่งให้รถทัวร์ไปยังสนามกีฬาแห่งหนึ่ง ที่นั่นมีร้านขายใบชาตั้งอยู่ เป็นร้านเดี่ยวๆ ในที่เปลี่ยวๆ ดูไม่น่าเป็นทำเลขายเลย แต่พอเข้าไปในร้าน โอ้โฮ มีถ้วยชาวางเรียงรายเพื่อขายเป็นชุดๆ เต็มไปหมด ชุดหนึ่งมีราคาตั้งแต่ 500-5,000 หยวน พอลองคูณด้วย 5.8 บาทเข้าไปก็หลายสตางค์ทีเดียว

ทุกคนเข้าไปในห้องทดลองดื่มชา จะมีการสาธิตพิธีชงชาโดยสาวชาวพื้นเมืองชนชาติไป๋ แต่งตัวด้วยชุดประจำเผ่าสีสันสดสวย รูปร่างก็อรชรอ้อนแอ้น ไม่ดื่มชาก็ใจเย็นละครับงานนี้

ครั้งหนึ่งสมัยราชวงศ์ถัง ถังหวืนจง (..826-841) บันทึกไว้ว่า สามารถเก็บภาษีชาอำเภอเดียวมีรายได้มากกว่าการเก็บภาษีเหมืองแร่ทั้งประเทศ” สาวน้อยบรรยายเป็นภาษาปักกิ่ง ดีที่คุณโจวแปลเป็นไทย
                  “เก็บภาษีชาแพงมากหรือครับผมถาม

                             



                  “ร้อยละสิบคุณโจวแปลเป็นไทยให้ฟัง ทุกคนร้องโอ้โฮ

น้ำชายังช่วยลวกหรือล้างกลิ่นคาวจากเนื้อเป็ด ไก่ ห่าน นก ได้ดี น้ำชาต้มไข่สีสวยและไม่มีกลิ่นคาว แม้ปวดท้องก็แก้ได้” สาวน้อยยังพรรณาคุณค่าของน้ำชา

กากใบชาตากแห้งใส่หมอนหนุนนอนทำให้มีกลิ่นหอมชวนนอนหลับดี ไม่เป็นโรคปวดศีรษะด้วย  เอาไปใส่ในถังข้าวสารก็ช่วยดูดความชื้นได้ ข้าวก็ไม่ขึ้นรา ใส่ตู้เย็นก็ดูดกลิ่น ทำให้ตู้เย็นมีกลิ่นสะอาด ถึงที่สุดกากชายังใช้ใส่เป็นปุ๋ยให้ต้นไม้เจริญเติบโตดี ดูดน้ำได้มากกว่าปกติเหมือนฟองน้ำ บางทีร้านอาหารระดับภัตตาคารยังใช้น้ำชาใส่ชามไว้ให้ล้างมือดับกลิ่นคาว อ้อ อย่าเผลอไปยกน้ำชาในชามดื่มก็แล้วกัน ผิดวัตถุประสงค์  สาวน้อยยังบรรยายไม่จบ แต่สมาชิกครอบครัวเรายิ้มแล้วมองหน้ากันและกัน เรื่องนี้เคยมีความหลังกันอยู่

ชากลายเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมไปถึงชาวตะวันตกมาก จนในที่สุดชากลายเป็นสินค้าส่งออกที่ทำเงินให้กับประเทศมาก ผลิตได้ปีละ 6.65 แสนตัน ขายในประเทศ 3.95 แสนตัน ส่งออก 2.7 แสนตัน (สถิติ ปี 1998) ที่ร้ายกว่านั้น วันหนึ่งในอาณานิคมของอังกฤษ ณ อเมริกา ระหว่างดื่มน้ำชากันในตอนเช้า เกิดการวิพากษ์ว่า อังกฤษเก็บภาษีชาแพงเกินไป ในที่สุดก็เลยเกิดการต่อต้าน และลุกลามไปถึงการปลดแอกประกาศอิสรภาพของแผ่นดินไปเลยคุณโจวช่วยเสริม มีเสียงหัวเราะ ชาปลดแอกได้ด้วยแฮะ

ชาที่ชาวตะวันตกใช้บริโภคแตกต่างไปจากจีนดั้งเดิมมาก ชาฝรั่งเขาเอาใบชามาป่นเป็นผง แล้วบรรจุในถุงบางๆ ชงแต่ละครั้งดื่มได้ครั้งเดียว มีการใส่น้ำตาลหรือนมสดด้วย พิธีการดื่มจึงแตกต่างกันอย่างมาก เป็นวัฒนะธรรมการดื่มกินชาของแต่ละสถานที่ และแต่ละวัฒนะธรรมคุณโจวเล่าต่อ

ที่น่าเศร้าคือ ชาวตะวันตกได้ใบชาไปดื่มเป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ แต่ชาวจีนได้รับเอาฝิ่นมาสูบๆ แล้วงานการไม่ทำ เซื่องซึม เหงาหงอย ไม่มีเรี่ยวแรง หมดสติ ไม่มีสมอง ในที่สุดกลายเป็นบุคลที่ไร้ประสิทธิภาพกันไปทั้งประเทศ ประเทศชาติก็เลยอ่อนแอ แพ้สงครามตลอดมาคุณโจวแถม

ในสมัยจักรพรรดิคังซี ปีที่ 39 วัดอี้เฟิงซื่อ ซึ่งสร้างขึ้นในปี ค..1700 มีต้นชาใหญ่ที่สุดในโลกต้นหนึ่ง มีอายุมากกว่า ห้าศตวรรษ สูง 3 เมตร วัดรอบขนาดความยาว 4 เมตร เรือนยอดแผ่ปกคลุมพื้นที่ 56 ตารางเมตร ชาต้นนี้มีชื่อว่า หวนฉิวตี้ยีซู่ เมื่อออกดอกจะมีสีแดงเต็มต้น มีดอกชานับหมื่นดอก ผีเสื้อมาดูดกินน้ำหวานกันมากมาย ต้นชาต้นนี้เกิดจากต้นชาสองต้นที่อยู่ใกล้กัน แล้วมาโตเป็นต้นเดียวกัน หนุ่มๆ สาวๆ จึงนิยมมาสาบานรักกันที่ชาต้นนี้มาก” สาวน้อยยังสนุกกับการเล่า

                            



                  “ในพิธีกินชาจะมีการทดลองให้กินชารสขม รสหวานและชาคืนรส โดยจะชงชาให้กินทีละชนิดๆ” แล้วสาวน้อยก็ทำกรรมวิธีชงชาให้ดู เริ่มต้นที่ขั้นตอนการลวกกาน้ำชา แม้แต่การวนเขย่ากาก็มีลีลาสวยงาม ดูแล้วก็นึกภาพในหนังจีนหลายเรื่อง บางทีก็ใส่ชาใบเดียวแล้วบรรยายสรรพคุณว่าชงครั้งเดียวใบเดียวกินได้นานถึง 24 ชม. ชงแล้วก็รินใส่ถ้วยแจก ทดลองดื่มแล้วก็ให้ลูกทัวร์ถือถ้วยชาไว้เลย เพื่อรอการดื่มชายี่ห้ออื่นๆ อีก ชาเป็นชาก้อนก็มี และบางทีก็เป็นชาใบย่อยๆ  มีพนักงานสวยๆ รินน้ำชาให้ทีละรายการ ดื่มไปแล้วก็หอมหวานเหมือนกับคำกล่าวอ้างจริงๆ บางทีก็มีการทดลองดื่มให้ดูว่าชาชนิดนี้ต้องดื่มให้เกิดเสียงดังด้วยจึงจะถือว่าอร่อย เสียงดังที่ว่า จิ๊บๆๆๆๆ

หลังจากเมาน้ำชากันถ้วนหน้าก็จบการสาธิต จากนั้นเป็นการเสนอให้พิจารณาชาชนิดต่างๆ มีราคาติดไว้ให้ดูด้วย ล้วนแต่แพงหูฉี่ ก็เลยชักเมาราคาชาอีกเหมือนกัน มีความรู้สึกว่าราคาแพงมาก แต่นักช็อบจากเมืองไทยไม่ย่อท้อ มุ่งหน้าหอบกันแหลกตามเคย ความที่ผมดื่มน้ำชาทีไรมักท้องอืด ก็เลยเลิกดื่มมานานแล้ว วันนั้น แม้สาวสวยๆ จะเชิญชวนด้วยความอ่อนหวานเพียงใด ก็ใจแข็งไม่ซื้อเลยสักยี่ห้อ

ชายี่ห้อไหนดีคุณโจว  ผมถามหาความรู้

ชาหยางกุ้ยหลิง ตรามเหสีเจ็ดดีที่สุด ชาชนิดนี้มเหสีเจ็ดโปรดปรานมาก ก็เลยมีการตั้งชื่อตามชื่อพระนาง แต่ชาชนิดนี้พระนางซูสีไทเฮาทรงโปรดปรานเป็นพิเศษ” คุณโจวตอบแทนสาวน้อยนักสาธิต

งั้นที่ว่า ชาเขียวเมืองหังโจวดีที่สุดก็ไม่ใช่ซิคะคนหนึ่งถาม

คงดีกันคนละอย่าง นานาจิตตังครับคุณโจวไม่ยอมรับว่าชาไหนดีกว่าชาไหน ดีไปหมดครับ

อันเนื่องมาจากชาเป็นเครื่องดื่มสารพัดประโยชน์เช่นนี้ และนิยมดื่มกินกันมากในมหาราชวัง พิธีการต่างๆ จึงถูกเสกสรรปั้นแต่งอย่างสวยงาม มีขั้นตอน มีการกำหนดที่ชัดเจน เครื่องชงชาก็มีรูปแบบสวยงาม แต่ละแบบก็แตกต่างกันออกไป แล้วก็ยังมีวัตถุประสงค์ของการดื่มด้วย เช่นดื่มเป็นยา ดื่มเป็นเครื่องดื่มปกติ ดื่มเพื่อสันถวะไมตรี ดื่มเพื่อเป็นสิริมงคล” บรรยายกันละเอียดยิบ

แต่ไม่ว่าชายี่ห้อไหนจะดีหรือไม่ดีก็ตาม วันนี้ประเทศจีนได้เงินจากใบชาไปแล้วแน่นอน

 

Tags : china tour

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view