http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,005,058
Page Views16,313,995
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

หน้าที่และบทบาทหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ

dely115.doc/  30 สค 40     หน้าที่และบทบาทหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ


           
ถ้ามองตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ 3 ประการสำคัญคือ เพื่อป้องกันรักษาป่าไม้(Protected)ที่สมบูรณ์ให้คงสภาพธรรมชาติไว้ให้ได้ เพื่อการสำรวจ ศึกษา ค้นคว้า วิจัยและทดลองในทางวิชาการ(Research)และเพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการและสื่อความหมายธรรมชาติกลางแจ้ง(Outdoor Recreation) หน้าที่และบทบาทของหัวหน้าอุทยานแห่งชาติจึงมิใช่เพียงแค่การเฝ้าป่าและต้อนรับแขกอย่างแน่นอน ถ้าเป็นเช่นนั้น หัวหน้าอุทยานแห่งชาติควรมีหน้าที่และบทบาทอย่างไรกันแน่

            แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงหน้าที่และบทบาทหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ ใคร่ขอให้ได้ทราบความหมายของคำว่าอุทยานแห่งชาติเสียก่อนว่า มันคือพื้นที่ที่มีขนาดกว้างใหญ่ไพศาล มีความหลากหลายทางชีวภาพด้านพืช สัตว์ จุลินทรีย์ เป็นแหล่งรวมของพันธุกรรม เป็นพื้นที่ที่ควรใช้ในการศึกษาวิจัย มีความสำคัญต่อพื้นที่ป่าต้นน้ำ มีธรรมชาติที่สวยงามเช่นน้ำตก หินผา กล้วยไม้ ดอกไม้ป่า แมลง สัตว์สวยงาม หรือมีความ แปลกประหลาด หรือมีค่าหายาก ล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์หรือสิ้นสภาพไป โดยมีสิ่งของมีค่าที่หาค่ามิได้มากมายหลายสิ่ง ประมาณกันว่าอุทยานแห่งชาติหนึ่งๆอาจมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 10 ตารางกิโลเมตร 

            พื้นที่อุทยานแห่งชาติคุ้มครองโดยกฏหมาย  พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติพ..2504 มีองค์กรรับผิดชอบคือส่วนอุทยานแห่งชาติ สังกัดสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่และบทบาทตามกรอบองค์กรที่กำหนด การบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติเป็นสายการบังคับบัญชาที่ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการส่วนอุทยานแห่งชาติ ภายในอุทยานแห่งชาติแบ่งหน้าที่และบทบาทออกเป็นหน่วยพิทักษ์อุทยาน จำนวนหน่วย บุคลากร งบประมาณขึ้นอยู่กับสัดส่วนของพื้นที่และความสำคัญพื้นที่นั้นๆ

           การบริหารงานอุทยานแห่งชาติที่กล่าวกันว่ามีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ธรรมชาติ ฯลฯ อยู่ในสายการบังคับบัญชาของหน่วยงานส่วนกลาง

            ในพื้นที่แต่ละอุทยานแห่งชาติ อาจมีกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งตามวัตถุประสงค์การจัดการอุทยานแห่งชาติ หรืออาจมีหลายกิจกรรมในอุทยานเดียวกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับทรัพยากรที่มีอยู่ในอุทยานนั้นๆ เช่นอุทยานบางแห่งมีเพียงชายหาดที่สวยงาม แต่ไม่มีพื้นที่ป่าไม้ที่สมบูรณ์หรือมีความหลากหลายแต่อย่างใด เรียกว่าทรัพยากรท่องเที่ยวมีค่าสูงกว่าทรัพยากรป่าไม้หรือทรัพยากรชีวภาพ

            เช่นที่อุทยานแห่งชาติสิรินารถ หรือชื่อเดิมว่า อุทยานแห่งชาติหาดในยาง ซึ่งประกาศจัดตั้งมาตั้งแต่ปีพ.. 2524 มีพื้นที่รับผิดชอบ 56,250 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่หาดทรายแก้วจนถึงหาดในยางยาวประมาณ 13 กิโลเมตรทรายละเอียดสีขาวสวยงาม แต่ไม่มีสภาพป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ อยู่ในเขตปกครองตำบลไม้ขาว ตำบลสาคูและตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 

            นายณรงค์ มหรรณพ เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 7 ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติสิรินารถ ส่วนอุทยานแห่งชาติทางทะเล ต้องทำงานหนักในหน้าที่การจัดการอุทยานในด้านการป้องกันรักษาพื้นที่หาดทรายขาวสวยงาม เต่าทะเล หญ้าทะเล พร้อมๆไปกับการจัดการเพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการและสื่อความหมายกลางแจ้ง เป็นหลัก การบุกรุกทำลายหรือยึดถือครอบครองพื้นที่สาธารณประโยชน์ที่ประชาชนทุกคนควรมีสิทธิใช้ร่วมกัน จึงหนักหนาต่อผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นมากมาย

            มีการบุกรุกบริเวณอ่าวทุ่งหนุง (หน้าโรงแรมคราวน์และโรงแรมเพิร์ลวิลเลจ)ตั้งแต่ปีพ..2524จำนวน 6 ราย ต่อมามีการสร้างโรงแรมทั้งสองแห่งใกล้พื้นที่อุทยาน จึงมีราษฏรบุกรุกเข้ามาในเขตอุทยานอีก 107 รายโดยสร้างอาคารถาวร จำนวน 77 ราย แบบชั่วคราว อาคารสิ่งก่อสร้างชั่วคราว 30 ราย รวมเนื้อที่ชายหาด 8 ไร่เศษ เหตุที่เกิดขึ้นนี้มีปัญหาเรื่องอิทธิพลในท้องถิ่นและผลประโยชน์มากมาย

            ถ้านายณรงค์ ในฐานะหัวหน้าอุทยานแห่งชาติยอมรับสภาพการบุกรุก ทำนิ่งดูดาย แล้วหันเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ บางทีอาจมีเรื่องเสียหายเกิดขึ้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ธรรมชาติชายหาดเสียหาย เกิดความโสโครกไปทั่วหาด มลภาวะเป็นพิษลงทะเล หรือถูกมองว่าเจ้าหน้าที่รับผิดชอบมีเอี่ยวเรื่องผลประโยชน์ เสื่อมเสียมาถึงหน่วยงานเจ้าสังกัด ภาพพจน์เสียหายไปด้วย

            แต่นายณรงค์มุ่งมั่นทำงานตามกรอบหน้าที่ในการป้องกันพื้นที่อุทยานไว้และถนอมรักษาทรัพยากรท่องเที่ยวคือหาดทรายสาธารณของแผ่นดินที่ทุกคนควรมีสิทธิในการใช้ประโยชน์อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม นายณรงค์ย่อมต้องได้รับความยุ่งยากลำบากใจในการดำเนินการจับกุมหรือด้วยกลวิธีประณีประนอม เพื่อให้เกิดการยอมรับกฏหมายและความถูกต้องตามหลักการบริหารจัดการ

            แน่นอนนายณรงค์จะต้องเหนื่อยยากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องระมัดระวังตัว ต้องสร้างพลังใจให้กล้าแข็ง อดทน แล้วเสริมด้วยความมีมนุษย์สัมพันธ์ในการหาแนวร่วมต่อสู้ โดยยึดถือกฏหมายและระเบียบเป็นหลัก โชคดีที่นายณรงค์ได้รับการสนับสนุจากนายอำเภอถลาง นายพีระศักดิ์ พูนเดช ช่วยกันยืนยันความถูกต้องของกฏหมายและทรัพยากรท่องเที่ยวของมหาชน การปฏิบัติการผลักดันผู้บุกรุกจึงเกิดผลสำเร็จสวยงาม ได้รับความเชื่อถือและศรัทธาจากประชาชนทั่วไป 

             หน้าที่และบทบาทของนายณรงค์ได้ปฏิบัติการไปตามวัตถุประสงค์ข้อที่หนึ่ง ข้อที่สาม ส่วนข้อที่สอง ในเรื่องการวิจัยเต่าทะเล หญ้าทะเล ขยะ และการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในทางวิชาการอันเป็นวิทยาศาสตร์ ความสมบูรณ์ในหน้าที่และบทบาทหัวหน้าอุทยานน่าจะส่งผลให้กิจกรรมดำเนินไปได้ตามวัตถุประสงค์โดยมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น การศึกษาเรื่องเต่าทะเลของนายวีรชาติ เทพพิพิธ นักวิชาการป่าไม้ ประจำอุทยานแห่งนี้ เกิดประโยชน์อย่างมากมาย

            จะสรุปได้หรือไม่ว่า หัวหน้าอุทยานแห่งชาติมิใช่เพียงแค่การเฝ้าป่าและต้อนรับแขก หากจะต้องมีหน้าที่และบทบาทที่ถึงพร้อมด้วยคุณลักษณะทางวิชาการที่เรียกว่า สหวิทยาการ อันประกอบด้วย วิชาการจัดการอุทยานแห่งชาติในการป้องกันทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน วิชาการศึกษาวิจัย ทดลองค้นคว้าทางวิชาการที่เป็นวิทยาศาสตร์ วิชาการจัดการท่องเที่ยวและนันทนาการและสื่อความหมายธรรมชาติ และวิชาการบริหารจัดการองค์กร บุคลากร งบประมาณ และเครื่องมือต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล

             โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ สังคมโลกมุ่งเน้นเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ(Biodiversity)ด้านพืช ด้านสัตว์หรือแม้แต่จุลินทรีย์ ทรัพยากรพันธุกรรม(Genetic Resources) ทรัพยากรท่องเที่ยวและนันทนาการ ความสำคัญของป่าต้นน้ำ แหล่งศึกษาวิจัยและทดลอง

            การบริหารจัดการพื้นที่เหล่านี้ในรูปแบบโครงการมนุษย์และพื้นที่สงวนชีวมณฑล(Man and Biosphere Reserve Programme) พื้นที่ชุ่มน้ำ(Ramsar Site)และแม้กระทั่งการค้าระหว่างประเทศ   เช่นไซเตส(Cytes) ก็กลายเป็นเครื่องมือในการควบคุม คุ้มครอง ป้องกันและผลักดันให้นานาประเทศในโลกได้ร่วมกันอย่างมีความต่อเนื่อง เพื่อรักษาสมดุลของโลก ผลประโยชน์ทางการค้า คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและสิทธิประโยชน์นานาประการ  สิ่งเหล่านี้กลายเป็นทั้งอาวุธและมาตราการในการคุ้มครองธรรมชาติ

            ถึงวันนี้ หน้าที่และบทบาทของหัวหน้าอุทยานแห่งชาติ จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ทันสมัย ซึ่งตรงข้ามกับคำว่า ล้าสมัย(Old Fashion) ควบคู่ไปกับการพัฒนาของสังคมโลกที่กำหนดร่วมกันเป็นอนุสัญญานานาประเภทแล้ว

 

           

Tags : National parks

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view