http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,029,406
Page Views16,339,132
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ต้นไม้ช่วยลดภาวะเรือนกระจกได้อย่างไร

 ต้นไม้ช่วยลดภาวะเรือนกระจกได้อย่างไร


                                 ต้นไม้ช่วยลดภาวะเรือนกระจกได้อย่างไร


           
ถ้าอนุสัญญาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีผลบังคับใช้ ประเทศใดที่ผลิตก๊าซอันเป็นต้นกำเนิดของภาวะเรือนกระจกมากเท่าใด ประเทศนั้นก็ต้องรับภาระในการชดใช้ เพื่อลดภาวะเรือนกระจกลงมากเท่านั้น การลดภาวะเรือนกระจกกระทำได้หลายวิธี แต่วิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากคือการปลูกป่าเพื่อให้ต้นไม้ดูดซับคาร์บอนไดอ็อกไซด์ไปเก็บและเปลี่ยนแปลงให้เป็นก๊าซดีๆได้ ประเทศไทยเดือดร้อนหรือไม่กับอนุสัญญาดังกล่าว

            ในแต่ละปีมีคาร์บอน ไดอ็อกไซด์ หมุนเวียนเกิดขึ้นในโลกนี้จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง,การหายใจของพืช,การทำลายป่า,การหายใจของจุลชีพในดิน,และการดูดซับและปลดปล่อยจากปฏิกริยาทางเคมีฟิสิกของน้ำทะเล(Fossil Fuel, RespirationbyPlants, Deforestation, soil Respiration, Physico-chemical Diffusion) รวม 207 พันล้านตัน(10 ยกกำลังเก้าMetric tons)ในขณะที่เกิดขบวนการสังเคราะห์แสงของต้นไม้ ปฏิกริยาทางเคมีของน้ำ รวม 204 พันล้านตัน ในแต่ละปีจึงมีก๊าซสะสมในชั้นบรรยากาศรวม 3 พันล้านตัน จากRichard A. Houghton and George M. Woodwell,Global Climatic Change, Scientific American, April, 1989 ปัจจุบันจะเพิ่มขึ้นมาอีกสักเท่าไร

                
                                          อนุรักษ์ป่าธรรมชาติไว้ให้ได้

           
แต่ต้นไม้ในโลกสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสงปีละ 100 พันล้านตันให้กลายเป็นใบ ดอก ผล เปลือกและเนื้อไม้ บางส่วนร่วงหล่นลงไปบนดิน บางส่วนย่อยสลายเป็นซากพืช(PeatและHumus)ในดินหน้า รวมแล้วได้ปีละ 50 พันล้านตัน อีก 50 พันล้านตันหายใจออกเป็นคาร์บอน ไดอ็อกไซด์ ดังนั้นต้นไม้และพืชสีเขียวจึงสามารถช่วยลดคาร์บอนได้ประมาณปีละ 50 พันล้านตัน ซึ่งเป็นปริมาณมากมายทีเดียว

            สิ่งที่ต้องกระทำคือ จะทำอย่างไรจึงจะหยุดยั้งการทำลายป่าลงให้ได้ หยุดการเผาป่าซึ่งไปทำลายใบไม้ร่วง,ใบไม้ป่นๆและฮิวมัสในดิน และปลูกต้นไม้ให้มากขึ้นทุกปีโดยปลูกให้พอเพียงกับความสมดุลของการเกิดก๊าซคาร์บอน หรือไม่ก็หาทางลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงประเภทต่างๆหรือหาทางแก้ไขด้วยเทคโนโลยีที่ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนลงไปบ้าง ฯ

            นายประวิทย์ จิตต์จำนงค์ หัวหน้ากลุ่มชีวภาพและชีวเคมี ส่วนวนวัฒนวิจัย กรมป่าไม้ (โทรศัพท์561-4292-3 ต่อ 450) กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อน ป่าในเขตนี้จึงมีศักยภาพสูงในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ เพราะว่าไม่มีหิมะปกคลุมเรือนยอดและปิดกั้นช่วงเวลาในการสังเคราะห์แสงแต่อย่างใด ซึ่งตรงกันข้ามกับประเทศในเขตอบอุ่นที่มีหิมะตกเป็นเวลายาวนาน และมีช่วงระยะเวลากลางวันสั้นทำให้ใบไม้สังเคราะห์แสงไม่ได้หรือร่วงหล่นหมดต้น ในขณะที่ประเทศเหล่านั้นผลิตก๊าซภาวะเรือนกระจกสูงสุด     

                   
                                           เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลง


           
นายประวิทย์ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า พืชที่มีสีเขียวทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นพืชล้มลุกหรือพืชยืนต้น หรือไม้ผล ตั้งแต่หญ้า วัชพืช ผัก ไม้ผลยืนต้น ไม้ยืนต้น ล้วนแต่ใช้ก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ในการปรุงอาหารตามกระบวนการสังเคราะห์แสง ยิ่งต้นพืชใดโตเร็วเท่าใดก็ยิ่งดูดซับและเปลี่ยนแปลงคาร์บอนไปไว้ในรูปของส่วนต่างๆของพืชนั้นๆ(เป็นเซลลูโลส ฯลฯ) ถ้าไม้เก็บคาร์บอนไว้ในรูปเนื้อไม้ กิ่ง ก้าน แล้วถูกตัดไปใช้ประโยชน์โดยไม่มีการเผาไหม้ คาร์บอนก็ยังอยู่ แม้แต่ใบไม้ที่ร่วงหล่นถ้าไม่มีไฟเผาก็เป็นคาร์บอนในรูปอินทรีวัตถุในดิน

            ความได้เปรียบของประเทศเขตร้อนจึงได้รับความสนใจมาก และถ้าหากประเทศที่พัฒนาแล้วยอมรับอนุสัญญาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(Climate change) ดังกล่าว ก็ย่อมจะต้องเป็นผู้จ่ายเงินทดแทนในการแก้ไขปัญหาสภาพของภาวะเรือนกระจก 
                อนาคตของประเทศไทยคือรับจ้างปลูกป่าแก้ปัญหาดังกล่าว เงินตราต่างประเทศจากกลุ่มบริษัทน้ำมัน รถยนต์ เครื่องจักรกลต่างๆ การใช้ถ่านหิน
(การผลิตกระแสไฟฟ้า) หรืออุตสาหกรรมโรงงานทั้งหลาย น่าที่จะหลั่งไหลเข้ามา

            ในบรรดาผู้ผลิตก๊าซเรือนกระจกทั้งโลก ผลผลิตจากกิจกรรมต่างๆของ Fossil-Fuel มีมากถึง 5,000-10,000 ล้านตัน ซึ่งนับว่ามากที่สุดในบรรดากิจกรรมที่มนุษย์เป็นต้นกำเนิด และการที่มีก๊าซภาวะเรือนกระจกสะสมเพิ่มขึ้นปีละ 3 ล้านตัน ก็ทำให้อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้นไปทุกปี อุณหภูมิสูงขึ้น 1 องศา มีผลในการเพิ่มการหายใจของต้นไม้จาก 10-30 % และก็ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายมากขึ้นอีก ทำให้ปริมาณน้ำในผืนโลกก็จะสูงขึ้น

            เมื่อปีค..1980 ในเขตร้อนมีการทำลายป่าเกิดขึ้นปีละ 11,000 ตร.กม. ปลดปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศถึง 0.4-2.5 พันล้านตัน ดังนั้นถ้าต้องปลูกป่าเพื่อรักษาสมดุลก๊าซคาร์บอนให้ได้ระดับนั้น ต้องปลูกป่า 1-2 ล้านตารางกิโลเมตร หรือ 625-1,250 ล้านไร่(เท่ากับพื้นที่รัฐอลาสก้า) เพื่อดูดซับคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ได้เพียง 1 พันล้านตันเท่านั้น ถ้าจะให้ดียิ่งต้องเร่งรีบปลูกป่าให้ได้ถึง 5 ล้านตารางกิโลเมตร จึงจะทันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  ลองนึกภาพดูนะครับว่ามันจะมากขนาดไหน

            ก๊าซที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการคงอยู่ในชั้นบรรยากาศนานหรือไม่ของก๊าซนั้นๆ ประกอบด้วย คาร์บอน ไดอ็อกไซด์ อยู่นาน 100 ปี มีเทนอยู่นาน 10 ปี ไนตรัสอ็อกไซด์ อยู่นาน 170 ปี คลอโรฟลูออโร คาร์บอน อยู่นาน 60-100 ปีจากThomas E. Graedel and Paul J. Crutzen, Scientific American, April, The Changing Atmosphere,1989 

            ในรายงานการศึกษาของดร.นิพนธ์ ตั้งธรรมและชาติชาย ตันฑสิริน ได้ร่วมกันทำการศึกษาเกี่ยวกับ Carbon emission Reducing Policies in The Thai Forestry Sector Emphasis on Forest Protection and Reforestation For Conservation มีรายละเอียดเกี่ยวกับความแตกต่างของมวลชีวภาพ(Biomass density)และองค์ประกอบของคาร์บอนในพืชและการเก็บคาร์บอนในดินของป่าประเภทต่างๆดังนี้คือ

                 

                                           ปลูกป่าขึ้นใหม่ซีครับ  

           
ป่าดงดิบชื้นมีอยู่ในพืช 54%(ส่วนของพืชบนดินและใต้ดิน)และในดินลึก(0-1 .) 331 tC/ha(ตันคาร์บอนต่อเฮกแตร์)  ป่าเบญจพรรณในพืช 52% ในดินลึก(0-1 .) 178 tC/ha ป่าเต็งรังในพืช 49% ในดินลึก 51 tC/ha ป่าสนเขา ในพืช 48%  ในดินลึก(0-1 .)169 tC/ha และในป่าชายเลนในพืช 55% ในดินลึก(0-1 .) 176 tC/ha และในต้นไม้แต่ละชนิดของแต่ละสวนป่าก็มีความหนาแน่นของมวลชีวภาพ(Biomass Density)แตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ เช่นที่อายุ 30 ปี  ไม้ยูคาลิปตัส 163 ตัน/เฮกตาร์ ไม้สน  252 ตัน/เฮกตาร์ ไม้สัก186 ตัน/เฮกตาร์ ไม้เลี่ยน 130 ตันเฮกตาร์ เฉลี่ยแล้วสวนป่าจะมีมวลชีวภาพ 184 ตัน/เฮกตาร์ แสดงว่าต้นไม้แต่ละชนิดมีขีดจำกัดของศักยภาพของการดูดซับคาร์บอนในรูปของมวลชีวภาพแตกต่างกันไป

            ดร.นิพนธิ์ สรุปว่า การป้องกันรักษาป่าอนุรักษ์ที่มีอยู่รวมทั้งป่าชั้นสองที่กำลังจะเติบโตฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และปลูกป่าเพื่อการอนุรักษ์ อีก 5 ล้านไร่ จะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนได้มากขึ้นเป็นเนื้อไม้ ใบไม้แห้ง ซากพืชในดิน ซึ่งต้องระวังไม่ให้เกิดไฟป่าไหม้ขึ้นได้ เพราะนั่นจะเป็นการปลดปล่อยคาร์บอนขึ้นสู่อากาศไปอีกนั่นแหละ(โทร.579-0172และ942-8113 ภาควิชาอนุรักษ์วิทยา คณะวนศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์)

             ทั้งนายประวิทย์และดร.นิพนธ์ ชี้ให้เห็นตรงกันว่า ต้นไม้หรือพืชใดๆก็ตามที่มีสีเขียวและเติบโตเร็ว ยิ่งโตเร็วมากเท่าไรก็ยิ่งเก็บคาร์บอนไว้ในรูปต่างๆได้มากเท่านั้น ป่าธรรมชาติเสียอีกที่เมื่อสมบูรณ์เต็มที่จะเพียงเปลี่ยนแปลงก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ด้วยการสังเคราะห์แสงปกติ แต่ช่วยดูดซับคาร์บอนในรูปเนื้อไม้ได้น้อยกว่าป่าปลูกใหม่ แล้วมีการตัดไปใช้ประโยชน์แล้วก็ปลูกใหม่หมุนเวียนเรื่อยไป

อีกทั้งยังคาดว่าหากอนุสัญญามีผลบังคับใช้ การปลูกป่าในเขตร้อนจะได้รับความสนใจมากที่สุด ซึ่งการปลูกป่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการดูดซับคาร์บอนฯและมีความเป็นไปได้ทางเทคนิค โอกาสดีที่สุดของเราคือ รับจ้างปลูกป่าเพื่อลดภาวะเรือนกระจก  ประเทศไทยมีความพร้อมรองรับหรือไม่ ส่วนกลุ่มต้นเหตุภาวะเรือนกระจกในประเทศเช่นบริษัทน้ำมัน รถยนต์ อุตสาหกรรม ข้าว อาหารสัตว์(การทำลายป่า) ไฟฟ้าฯ ล้วนคืนให้สังคมแค่การประชาสัมพันธ์และปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯเล็กน้อย

       ข้อมูลเพิ่มเติม  ต้นไม้ใหญ่ๆหนึ่งต้น อุณหภูมิที่เหนือเรือนยอด 35 องศาเซลเซียส ใต้ร่มเงาเรือนยอด 34 องศาเซลเซียส  แต่ถ้ามีต้นไม้เล็กๆใกล้ต้นใหญ่ๆ อุณหภูมิใต้ร่มไม้เล็กๆจะเหลือ 32 องศาเซลเซียส เช่นเดียวกับบ้านหลังหนึ่ง ปลูกอยู่กลางแดดแจ๋ อุณหภูมิในตัวบ้านจะอยู่ที่ 40  องศาเซลเซียส แต่ถ้ามีต้นไม้บดบังแดดก่อนถึงหลังคาบ้าน อุณหภูมิในตัวบ้านจะอยู่ที่ 29 องศาเซลเซียส

                                 
                                              ปลูกป่าชายเลนไง

               การปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้านอย่างถูกทิศทางที่เหมาะสมจะช่วยลดความร้อนในตัวบ้านไปได้อักโข และประหยัดค่าไฟฟ้าที่ต้องใช้กับแอร์คอนดิชั่น หฟรือพัดลม ไปได้อย่างมากมายไม่น้อย ยิ่งถ้าปลูกหลายต้นหลายระดับชั้น ก็ยิ่งจะทำให้บริเวณบ้านร่มเย็น ชุ่มชื้น และได้อากาศที่บริสุทธิ์จากอ็อกซิเจนที่ปลดปล่อยออกมาด้วย            

             

           

           

 

 

                                

 

 

 

 

 

 

 

Tags : climate change

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view