http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,960,542
Page Views16,266,877
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ข้อมูลที่แท้จริงอยู่ไหน

Dely151.doc/9พค41                          ลุ่มน้ำเจ้าพระยา  ข้อมูลที่แท้จริงอยู่ไหน

                หากจะกล่าวถึงเจ้าพระยาแค่เพียงเป็นแม่น้ำ ก็กล่าวกันแต่เพียงว่าเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่เรียกกันว่าสายเลือดใหญ่ของพื้นที่การเกษตรกรรมและวิถีชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่ ตั้งแต่ภาคเหนือไล่ล่องลงมายังภาคกลาง แล้วออกทะเลที่ปากน้ำสมุทรปราการ แต่ถ้าพูดถึงลุ่มน้ำเจ้าพระยา กลับมีความหมายไกลไปถึงแม่น้ำหลายสายสำคัญๆที่รวมตัวกันอยู่ภายใต้ขอบเขตเดียวกัน อันได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง แม่น้ำสะแกกรัง แม่น้ำป่าสักและแม่น้ำท่าจีน

                พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยากินเนื้อที่มากถึง 98,703,750 ไร่ เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำที่ถูกการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำเป็นชั้น 1-2-3-4-5 คละเคล้ากันอยู่ในพื้นที่เดียวกัน โดยการแบ่งแยกชั้นจากข้อมูลที่นำมาเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาคือ  ความลาดชันของพื้นที่ ความสูงจากระดับน้ำทะเล ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะดินและลักษณะหิน และในจำนวน 8 ลุ่มน้ำย่อยดังกล่าว มีลุ่มน้ำน่านใหญ่ที่สุด 34,330 ตร.กม. รองลงมาได้แก่ลุ่มน้ำปิง 33,898 ตร.กม.

                ในลุ่มน้ำทั้ง 8 ลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำเจ้าพระยามีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยคือ น่าน 9,581 ล้านลบ..(31.8%)   ปิง 6,686 ล้าน ลบ..(22.2%) วัง 1,429 ล้านลบ..(4.74%) ยม 1,430 ล้าน ลบ..(4.75%) แม่น้ำเจ้าพระยา(ตอนล่าง) 4,925 ล้านลบ.. สะแกกรัง 519 ล้านลบ.. ป่าสัก 2,708 ล้านลบ..(9%) และท่าจีน 2,815 ล้านลบ..(9.4%) รวมเป็น 30,093 ล้านลบ..(ข้อมูลจากนายปราโมทย์ ไม้กลัด 19มีค39)  

                เห็นชัดเจนทีเดียวว่า ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยจากลุ่มน้ำสำคัญคือ ปิง วัง ยม น่าน 63.49%ของปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยของทั้งลุ่มน้ำเจ้าพระยา แน่นอนบทบาทสำคัญของพื้นที่ป่าต้นน้ำเหล่านั้นน่าจะมีผลกระทบสูง พื้นที่มีเนื้อที่โดยรวมกว้างขวางและทอดตัวยาวมากกว่า 700 กม. ลองมาดูนะครับว่าข้อมูลเรื่องป่าที่เหลืออยู่ทั้งลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นอย่างไร  เหลืออยู่อย่างมีสัดส่วนที่เหมาะสมเพียงใด และมีความชัดเจนหรือไม่

                ข้อมูลที่มีอยู่คือสถิติพ..2531(นิพนธ์ ตั้งธรรมและคณะ,2538) มีป่าลุ่มน้ำปิง 49% ลุ่มน้ำวัง 61% ลุ่มน้ำยม 33% ลุ่มน้ำน่าน 43% ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 1.5% ลุ่มน้ำสะแกกรัง 28% ลุ่มน้ำป่าสัก 18% และลุ่มน้ำท่าจีน 16% เฉลี่ยทั้งลุ่มน้ำมีป่าเหลืออยู่ 28.94% เป็นเนื้อที่ป่า 28,564,865.25 ไร่ ถ้าว่ากันตามหลักการจัดการลุ่มน้ำ พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาแห่งนี้มีป่าต้นน้ำเกิน 25% พอเพียงต่อการปลดปล่อยน้ำลงสู่ลุ่มน้ำอย่างมีศักยภาพ ส่วนจะมีคุณภาพหรือไม่ไม่แน่ใจเพราะเท่าที่ทราบ คุณภาพมีปัญหาเรื่องความสะอาด การปนเปื้อนของสารพิษตกค้างในน้ำ ในสัตว์น้ำ ในพืชน้ำ แต่ช่วงเวลาที่น้ำไหลหลั่งลงมาไม่สม่ำเสมอ ไม่แน่ไม่นอน เรียกว่ามีปัญหาเกิดขึ้น

                ในเนื้อที่ป่าที่เหลืออยู่ 28.94%ของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ดังกล่าว มีป่าแต่ละประเภทอยู่อย่างละเท่าไร มีความจำเป็นหรือไม่ในเรื่องข้อมูลป่าต้นน้ำ ต้องตอบตรงนี้ว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด เพราะว่าป่าแต่ละประเภท มีลักษณะเฉพาะตัวในเรื่องของพรรณพืชป่า ความหลากหลายทางชีวภาพ ลักษณะภูมิประเทศของดินหิน และรวมตลอดถึงลักษณะของภูมิอากาศ อันหมายถึงศักยภาพของป่าต่อลุ่มน้ำ การควบคุมชั้นบรรยากาศใต้เรือนยอด การระเหยและคายน้ำของพรรณพืชและดิน

                ป่าดงดิบแล้วหรือชื้นก็ตาม มีต้นไม้ป่าและพรรณพืชผสมอย่างหลากหลาย ส่วนใหญ่ไม่ผลัดใบในคราวเดียวหัน หากแต่ทยอยกันผลัดใบๆไม้จึงร่วงหล่นลงสู่ดินหนาแน่นขึ้นทุกวัน ความพรุนของดินก็สูงกว่าเพราะว่ามีซากพืชย่อยสลายเป็นอินทรีย์วัตถุ เป็นฮิวมัส หน้าดินจึงร่วนซุย โดยเฉพาะอย่างยิ่งป่าดงดิบมีพรรณไม้ใหญ่ สูงเปราตรงไม่น้อยกว่า 40 เมตร มีเรือนยอดแผ่กว้างปกคลุมดินจนแสงแดดแทบไม่ตกถึงพื้นดิน ชั้นบรรยากาศภายใต้ร่มเงาของเรือนยอดลงมาจนถึงใต้ดินที่ระบบรากไปถึงจึงชุ่มเย็นมากเช่นไม้ยาง ตะเคียนทอง กะบาก เคี่ยมคะนอง ฯลฯ

                ป่าสนเขา ส่วนใหญ่มีพรรณไม้น้อยชนิดกว่า เป็นไม้สนเขาประเภทสองใบและสามใบ แม้ว่าจะมีความเขียวคงที่ทั้งปี ปกคลุมดินได้อย่างมีศักยภาพ ดินที่มีใบสนร่วงหล่นทับถมทุกปีอาจกลายเป็นเชื้อไฟป่าเผาไหม้ไปหมดได้ง่ายๆ เพราะว่าไม้สนเหล่านี้มีน้ำมันสนอยู่ทุกอนู ยิ่งใบที่ร่วงหล่นไปทับถมอยู่ตามกิ่งก้านก็ยิ่งเป็นพาหะให้เชื้อไฟลามขึ้นึงเรือนยอดได้ง่ายจึงค่อนข้างล่อแแหลมต่อไฟป่ามาก

                ป่าเบญจพรรณเป็นป่าค่อนข้างโปร่ง มีพืชพรรณไม้หลากหลายชนิด แต่ก็มีการผลัดใบสลับกันไปตลอดเวลา จึงเรียกกันติดปากว่าป่าโปร่ง เช่นมีไม้สัก แดง ประดู่ มะค่าโมง ไผ่ต่างๆฯลฯ  พื้นป่าจึงได้รับแสงแดดมากกว่าป่าชนิดแรกๆมาก เป็นป่าที่อยู่ต่ำกว่าป่าสนเขา พื้นที่ไม่ค่อยลาดชันนัก มีลักษณะภูเขาเป็นเขาดินมากกว่าเขาหิน ศักยภาพในการให้ร่มเงา(ต้นไม้เตี้ยกว่า)และต้นน้ำรองลงมาจากสองประเภทแรกมากมีเดียว โดยเฉพาะเกิดไฟไหม้มากกว่าด้วย ผลัดใบมากกว่า

                ป่าเต็งรังหรือป่าแดงหรือป่าแพะ เป็นป่าโปร่ง มีพืชพรรณไม้หลากหลายชนิด แต่ส่วนใหญ่เตี้ย และผลัดใบพร้อมๆกันในฤดูแล้ง เช่นไม้เต็ง รัง มะเกิ้ม มะกอกป่า แดง เก็ดแดง เก็ดดำ ตะคร้ำ ฯลฯ ดินมีลักษณะเป็นลูกรังมีเชื้อประสานของซีเมนต์อยู่ในปริมาณที่สูง เป็นหินตาแมวก้อนเล็กๆคลุกเคล้าอยู่มาก หน้าดินตื้น ไม้มีขนาดเล็กเตี้ย ปกคลุมพื้นดินได้ต่ำที่สุด การดูดซับน้ำของดินต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดไฟป่าไหม้ดินทุกๆปี อินทรีย์วัตถุต่ำ ดินจะกระด้างแข็งเช่นเดียวกับเครื่องปั้นดินเผา มีความมันบนผิวหน้าดิน ประสิทธิภาพการดูดซับน้ำเสียไป  การไหลเลยของน้ำสูง การเก็บน้ำหรือชลอการไหลต่ำ แดดสิองถึงพื้นดินมาก การระเหยของน้ำจากดินและพืชสูง

                ดังนั้นป่าต้นน้ำของลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่เหลืออยู่ 28.94%นั้น หากเป็นป่าดงดิบที่เหลือยู่ก็สุดยอดของการเป็นป่าต้นน้ำ แต่ถ้าป่าส่วนใหญ่ที่เหลือเป็นป่าเบญจพรรณก็ยังพอทำเนา แต่ถ้าป่าเต็งรัง ศักยภาพของการเป็นป่าต้นน้ำและควบคุมสิ่งแวดล้อมย่อมมีความด้อยสูง ส่วนใหญ่ป่าที่เหลืออยู่ก็มักจะเป็นป่าประเภทนี้เสียด้วย เพราะว่าดินไม่เหมาะแก่การเกษตรกรรม เกษตรกรก็เลยปล่อยทิ้งไว้ให้ดูต่างหน้า ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ดินลึกดินดีดินอุ้มน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุสูง ก็เลยหมดไปอย่างรวดเร็ว สมประโยชน์กันดีระหว่างคนกับป่า

                ป่าต้นน้ำจึงไม่ใช่แค่เพียงว่ามีป่าที่เหลืออยู่เท่านั้นเท่านี้แต่เพียงตัวเลข หากแต่ต้องพิจารณาลงลึกไปด้วยว่า มันเป็นป่าอะไรที่เหลืออยู่ ศักยภาพ ประสิทธิภาพ คุณภาพ น่าจะต้องมีบทบาทสำคัญกว่าปริมาณ ข้อมูลป่าที่เหลือทั้งประเทศ 25.62% โดยเฉพาะใครจะตอบได้ว่าป่าลุ่มน้ำสำคัญๆของประเทศมีเหลืออยู่ตรงไหน ปริมาณเท่าไร ประเภทของป่าที่เหลืออยู่คือป่าประเภทไหน ถ้าต้องปลูกป่าฟื้นฟูระบบนิเวศจะต้องเพิ่มในปริมาณเท่าใด จึงจะเอื้ออำนวยประโยชน์ได้อย่างแท้จริง             ข้อมูลพื้นฐาน(Data Base)เรื่องป่าถึงเวลาที่จะต้องลงลึกกันได้หรือยัง เพราะว่ามันยุค ดาวเทียม แล้วครับ  

 

               

Tags : Watershed management

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view