http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,024,110
Page Views16,333,711
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ป่าฟื้นตัวได้ หากไม่ถูกรบกวน


Dely158.doc/             ป่าฟื้นตัวได้ หากไม่ถูกรบกวน              


           
เป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ป่าฟื้นตัวได้เอง หากไม่ถูกรบกวนจากมนุษย์ แต่ในความเป็นจริงนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า กว่าที่ป่าจะฟื้นตัวได้เองต้องฝ่าฟันกับอุปสรรคจากไฟป่า ความแห้งแล้ง วัชพืชที่บดบัง ซึ่งหมายรวมถึงสิ่งแวดล้อมจะเอื้ออำนวยหรือไม่ ต่อการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติของต้นไม้ในป่า ความพยายามของมนุษย์จึงต้องคิดค้นวิธีการเร่งเร้าให้เกิดขึ้นโดยเร็วด้วยการปลูกป่า   ผิดหรือไม่ ?

            นาย พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล นักวิชาการป่าไม้ 7 . กลุ่มวิจัยลุ่มน้ำ ส่วนวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการฟื้นตัวของป่าและลุ่มน้ำที่บ้านแลง  ตำบลบ้านแลง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง อันเป็นสถานีวิจัยเพื่อรักษาต้นน้ำ ห้วยหินดาด การวิจัยเพื่อค้นหาชนิดพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมกับการปลูกเพื่อฟื้นฟูสภาพพื้นที่ป่าหลังการทำไม้และการทำไร่เลื่อนลอย โดยการคัดเลือกพื้นที่ๆพอจะเป็นตัวอย่างของภาคตะวันออกได้ คือที่นี่

            สภาพป่าเดิมของพื้นที่ทำการวิจัยคือ ป่าดงดิบแล้ง มีไม้ป่าเศรษฐกิจที่สำคัญๆเช่น ไม้ยางนา ตะเคียนทอง ตะแบกใหญ่ มะค่าโมง กะบาก ยมหิน ฯลฯ ผ่านการทำไม้แบบเลือกตัดจนป่าบางเบาและถูกราษฏรบุกรุกเข้าทำไร่ จนป่าไม่สามารถคืนสภาพได้หลายแห่ง แต่สำหรับป่าในสถานีวิจัยแห่งนี้ได้รับการคุ้มครองโดยหน่วยงานนี้ ทำการวิจัยการฟื้นตัวของป่าชั้นสองที่สืบพันธุ์โดยธรรมชาติใหม่

            เครื่องชี้วัดของหลักการจัดการลุ่มน้ำ ใช้ปริมาณและช่วงเวลาในการไหลของน้ำท่าหรือน้ำในลำธาร โดยเก็บจากห้วยมะเฟือง ตั้งแต่ปีพ..2528-2536 พื้นที่ 15 %ของลุ่มน้ำห้วยมะเฟือง ช่วยให้ป่าธรรมชาติที่เหลืออยู่ฟื้นตัวขึ้นมาโดยเฉพาะการเจริญเติบโตของกล้าไม้และลูกไม้

ความแน่นทึบของโครงสร้างจากพันธุ์ไม้เหล่านั้น ช่วยให้ดินดูดซับน้ำและระบายน้ำได้ดีขึ้น ทำให้น้ำไหลบ่าหน้าดินในช่วงฤดูฝนลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน มีผลทำให้ปริมาณน้ำท่าลดลง  และการเคลื่อนตัวช้าๆของน้ำในดินชั้นล่าง จะช่วยยืดระยะเวลาในการไหลของน้ำท่าให้เพิ่มมากขึ้น มีผลทำให้ปริมาณน้ำท่าในช่วงฤดูฝนลดลง

            นอกจากนี้ค่าของการคายระเหยน้ำ(Evapotranspiration)เพิ่มมากขึ้นจากความแน่นทึบของเรือนยอดต้นไม้เหล่านั้น ชั้นบรรยากาศใต้ร่มเรือนยอดต้นไม้ที่หนาแน่นจะมีความชื้นสัมพัทธิ์ที่สูงกว่าชั้นบรรยากาศเหนือเรือนยอดหรือที่โล่งแจ้ง นี่ยิ่งต้นไม้มีความสูงมากขึ้นเท่าใด ชั้นบรรยากาศใต้ร่มเงาเรือนยอดก็ยิ่งมีมากขึ้นไปด้วย อากาศก็เย็นสบาย ตกกลางคืนละอองน้ำใต้ร่มเงาเรือนยอดเหล่านี้จะกลั่นตัวกันเป็นหยดน้ำ พรมไปทั้งพื้นที่ นี่ก็เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำให้กับดินอีกกระบวนการหนึ่ง

            จากป่าที่ฟื้นตัวอย่างช้าๆที่บ้านแลง มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและสรุปได้ว่า ทำให้ปริมาณและช่วงเวลาการไหลของน้ำเปลี่ยนไป ความแน่นทึบของโครงสร้างป่าทำให้ดินดูดซับน้ำได้มากขึ้น ส่งผลให้น้ำท่าในช่วงต้นฤดูฝนลดลง แต่ไปเพิ่มช่วงเวลาการไหลของน้ำหลังฤดูฝนให้มากขึ้น โดยรวมปริมาณน้ำท่ามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ผลการทดลองนี้มีตัวอย่างอีกแห่งหนึ่ง ส่งผลกระทบต่อลุ่มน้ำใกล้เคียงกับอีกลุ่มน้ำหนึ่งบนยอดภูเขา

            ที่ลุ่มน้ำสบสาย อ.ท่าวังผา จ.น่าน น้ำสบสายมีความยาว 17.17 กม. พื้นที่ลุ่มน้ำนี้เดิมเป็นป่าดงดิบเขา มีไม้ประเภทก่อเป็นพื้น เป็นพื้นที่ภูเขาสูงชัน 295-1082 .จากน้ำทะเล รวมพื้นที่ทั้งลุ่มน้ำ 56.7 ตร.กม.(35,437.5 ไร่) สภาพป่าปัจจุบันถูกถางทำไร่เลื่อนลอยจนหมดทั้งลุ่มน้ำ หน่วยจัดการต้นน้ำสบสายจึงได้จัดตั้งขึ้นเพื่อปลูกป่าปรับปรุงต้นน้ำปลูกป่าทดแทนในจำนวน 100 ต้น/ไร่ตามกรรมวิธีการปลูกป่าต้นน้ำเดิมรวมจำนวน 4,000 ไร่ เป็นไม้สนเขา ซ้อ เป็นส่วนใหญ่บนขุนต้นน้ำ

            รอบขอบลุ่มน้ำแห่งนี้มีชาวไทยภูเขาบ้านปางหมู บ้านดอยติ้วและบ้านขุนงาว อยู่อาศัยและถางป่าเหล่านี้เพื่อการทำกิน ต่อมาได้รับการจัดการอย่างถูกต้องด้วยการอพยพออกจากพื้นที่ขุนต้นน้ำแห่งนี้ ลุ่มน้ำนี้จึงเหลือหมู่บ้านใต้ลุ่มน้ำเพียงหมู่บ้านคนไทยคือบ้านน้ำป้าก บ้านห้วยธนู บ้านห้วยม่วงบ้านสบสาย ส่วนที่ป่ากลายเป็นป่าต้นน้ำเสื่อมโทรม วัชพืชขึ้นกันหลากหลายชนิด รวมทั้งต้นกล้าไม้ป่าหลายชนิด ป่าทำท่าจะฟื้นตัวเองอีกครั้งหนึ่ง แต่เป็นไปได้อย่างเชื่องช้า เพราะว่าสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ประการสำคัญแม่ไม้ไม่มีเหลืออยู่ในบริเวณนั้นอีกเลย จึงไม่มีเมล็ดไม้โปรยมางอกมากนัก

            หน่วยจัดการต้นน้ำสบสายได้งบปลูกป่าเพื่อปรับปรุงต้นน้ำมาไม่มากพอ พื้นที่ตรงขุนต้นน้ำสบสายจึงไม่ได้รับการปลูกป่าเพื่อให้มีต้นไม้ปกคลุมดินอย่างรวดเร็ว ประจวบกับต่อมามีการกันพื้นที่ออกเพื่อกำหนดเป็นพื้นที่ปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯแปลง FPT 61/1 เนื้อที่ 12,000 ไร่ แต่ไม่มีผู้จองปลูกและปล่อยเป็นป่าเสื่อมโทรมดังเดิม บางปีได้งบประมาณเพื่อการป้องกันไฟป่า บางปีไม่ได้

            นาย วิชัย ทรงวัฒนา  นักวิชาการป่าไม้ 7 . ทำหน้าที่หัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำสบสาย ได้อธิบายว่า แม้ว่าพื้นที่แปลงปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติแปลงนี้จะไม่มีการปลูกป่าแต่อย่างใด แต่ประชาชนเข้าใจดีว่า เป็นป่าของในหลวง จึงได้ร่วมกับทางหน่วยฯพิจารณาถึงโครงสร้างป่าต้นน้ำแห่งนี้ทั้งลุ่ม แล้วกำหนดว่า ณ ผืนป่าดังกล่าวห้ามราษฏรใดๆเข้าถากถางทำกินอีกต่อไป ปล่อยให้เป็นป่าฟื้นตัวตามธรรมชาติ

            ผลของการปล่อยให้พื้นที่ป่าต้นน้ำสบสายปลอดการถากถางเปิดพื้นดินเพื่อการทำไร่ ป่าฟื้นตัวขึ้นด้วยวัชพืชและลูกไม้นานาชนิดซึ่งเป็นไม้เบิกนำ พื้นดินถูกปกคลุมด้วยพืช บดบังแสงแดด ลดแรงตกกระทบของฝนและช่วยให้การดูดซับน้ำเป็นไปได้ระบบนิเวศน์ของลุ่มน้ำกำลังสร้างโครงสร้างป่าใหม่อย่าช้าๆ และหากไม่มีการรบกวนอีกต่อไป ทั้งจากการทำลายและไฟป่า ป่าดีขึ้นแน่นอน

            เชื่อหรือไม่ก็ตามแต่พิสูจน์ได้ แม้เดือนเมษายนของทุกปี พื้นที่ลุ่มน้ำนี้ได้เอื้ออำนวยให้มีน้ำไหลตลอดปี น้ำใสสะอาดในตอนต้นน้ำ ส่วนใต้น้ำน่าจะมีสารพิษตกค้างอยู่บ้าง เพราะว่าเกษตรกรยังใช้สารเคมีและไม่มีมาตรการยับยั้ง อย่างไรก็ดี ทฤษฏีที่ว่า ป่าฟื้นตัวได้ หากไม่ถูกรบกวน  ป่าต้นน้ำชั้น 1 a 1b จึงน่าจะปลอดจากการรบกวนและถ้าปลูกป่าเพื่อปรับปรุงต้นน้ำได้ยิ่งดี จะได้มีต้นไม้ปกคลุมพื้นที่ได้เร็วขึ้นมากกว่า 30 ปี การปลูกป่าจึงมีแต่ผลดี ส่วนจะปลูกเป็นแถวเป็นแนวอย่างไรก็ได้

            ถ้ามีป่าอุดมสมบูรณ์ 100% ปริมาณน้ำท่าจะไหลออกมาน้อย แต่ช่วงเวลาการไหลจะยาวนาน ในทางตรงกันข้าม หากป่าเสื่อมโทรมลงไปเท่าไร ปริมาณน้ำท่าก็จะไหลออกมามาก แต่ช่วงเวลาการไหลจะสั้น ประชาชนต้องตัดสินใจแล้วว่า อยากมีน้ำไว้ให้ไหลตลอดปีดีหรือปล่อยให้ไหลโครมเดียวแห้งเลย
             นายสมเพิ่ม กิตตินันท์ นักวิชาการป่าไม้โท ฝ่ายวนวัฒวิจัย กองบำรุง กรมป่าไม้ ได้ทำการศึกษาวิจัยการฟื้นตัวตามธรรมชาติของไม้สัก เมื่อพ.ศ.2506 พบว่า เมื่อเมล็ดไม้สักที่ร่วงหล่นตามธรรมชาติงอกตามฤดูกาล แต่พอพ้นฤดูหนาวย่างเข้าฤดูแล้ง ไฟป่าได้ไหม้และต้นกล้าไม้สักเล็กๆตาย แต่เนื่องจากต้นไม้สักมีการสะสมอาหารลงที่รากเรียกว่า เหง้า 
 ต้นบนดินถูกไฟไหม้ไปแต่เหง้ายังมีชีวิต 
              ปีต่อมาเหง้าสักก็พุ่งลำต้นขึ้นเหนือดินอีกครั้ง แต่ก็ถูกไฟป่าไหม้ตายไปอีก เหง้าเติบโตจากการสะสมอาหารมากขึ้น เหตุเกิดขึ้นอยู่อย่างนี้ถึง 15 ปี ต้นสักจึงสะสมเหง้าจนมีพลังมากขึ้นแล้วส่งลำต้นโผล่พ้นดินขึ้นไปได้ในฤดูเดียวถึง 1.28 ซม พ้นไฟป่า รอดตายกลายเป็นป่าไม้สักได้  เชื่อไหม? เมื่อขุดเหง้าสักขึ้นมาดู มีร่อยรอยแผลเป็นที่เหง้านับจำนวนปีได้ว่า ต้องตายมากี่ครั้ง
               นี่คือวิชาการป่าไม้ที่เรียนรู้ว่า ทำไมต้องปลูกป่าทดแทน เหตุผลก็คือ เพาะกล้าสร้างเหง้า 1 ปี เอาเหง้าที่แกร่งและสะสมอาหารพอเพียง (ขนาดเท่านิ้วชี้) ไปปลูกชั่วปีเดียวต้นสักพุ่งขึ้นไปเมตรเศษๆ การปลูกป่าจึงจำเป็นเพราะว่าช่วยร่นระยะเวลาการฟื้นตัวของป่าไม้ได้เร็วขึ้นครับ  แต่แทบไม่น่าเชื่อว่า สภาผู้แทนราษฎรได้ระงับการปลูกป่าของกรมป่าไม้ ข้อหา เกิดการทุจริตค่าจ้างแรงงานและไม่มีผลงาน จนถึงวันนี้ป่าแต่ละแห่งฟื้นตัวช้าไป 15 ปีทุกแห่ง ไอ้พวกโง่อวดฉลาด หรือ ไอ้พวกขี้โกงทำการทุจริตจนต้องสูญเสียหลักการและงานไปอย่างถาวร ปลูกป่าประชาอาสาแค่ไหนก็ไม่มีป่าเกิดขึ้นหรอก เลิกเถอะวะ  
                วันนี้ แม่ไม้ตามธรรมชาติเหลืออยู่น้อย พันธุ์ไม่ดี ลักษณะทราม คดงอ แตกกิ่งก้านมาก เป็นโพรง เติบโตช้า ข้อสำคัญ สิ่งแวดล้อมเปลี่ยน ภูมิอากาศเปลี่ยน ไม่รู้ว่าถ้าปล่อยให้สืบพันธุ์ตามธรรมชาติ จะต้องใช้เวลาอีกกี่สิบปี  มันต้องส่งเสริมให้เอกชนปลูกป่าบนที่ดินของเขาอย่างจริงจังเพื่อประโยชน์ของพวกเขา ป่าจึงจะเกิดมากขึ้นๆ

Tags : Man made forest

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view