http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,023,958
Page Views16,333,557
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

โรงงานแปรรูปไม้สักจากสวนป่ามีปัญหา


Dely162.doc/                    โรงงานแปรรูปไม้สักจากสวนป่ามีปัญหา


           
เรื่องที่เกิดขึ้นต่อไปนี้ จะโทษใครกันดี ระหว่างกรมป่าไม้ผู้ส่งเสริมให้ปลูกป่าเศรษฐกิจ เพื่อให้ประชาชนร่วมลงทุนปลูก แล้วมีสิทธิตัดขายหรือแปรรูปขายเพื่อการค้า กับประชาชนผู้โง่เขลาหลงไปปลูกป่าเศรษฐกิจเข้า แต่ข้อเท็จจริง ปัญหาที่เกิดขึ้นวันนี้เกิดจากกรมป่าไม้ผู้ส่งเสริมทั้งสิ้น ประชาชนพร้อมที่จะกระโดดไปร่วมกันสร้างป่าเศรษฐกิจเพื่อหาวัตถุดิบทดแทนไม้ป่าจากป่าธรรมชาติ ยอมเสียเงิน เสียเวลา แล้วต้องมาเสียกำลังใจและเสียความรู้สึกกับความคับแคบของระบบราชการที่แฝงเร้นด้วยอำนาจบางประการ จะเอาอย่างไรกันแน่

            นายสามชาย พนมขวัญ นักธุรกิจเมืองแพร่ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ไปสำเร็จปริญญาโทจากประเทศสวีเดนแล้วกลับมาใช้ชีวิตในบ้านเกิดเมืองนอน เป็นบุตรชายของอดีตผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้แพร่ นายรัตน์ พนมขวัญ ในวงการป่าไม้มีใครบ้างที่ไม่รู้จักบุคคลผู้นี้ แต่เมื่อถึงคราวบุตรชายต้องมาดำเนินกิจการด้านป่าไม้ กลับพบว่ามีปัญหาเกิดขึ้น

            นายสามชายขอเช่าพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติบ่อแก้ว แม่สูง แม่สิน อ.วังชิ้น จำนวน 263 ไร่ ปลูกป่าไม้สักไว้ทั้งสิ้นตั้งแต่ปี 2532 ปัจจุบันมีขนาดโตระหว่าง 45-60 ซม.ที่ระดับอก ต่อมาปลูกป่าไม้สักไป 400 ไร่ในที่ดินกรรมสิทธิ์เมื่อปีพ..2536 เพิ่มปริมาณขึ้นทันทีเมื่อกฏหมายสวนป่าคลอดออกมาและก็รู้อีกว่าการขออนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้ใดๆให้ถือปฏิบัติตาม พรบ.ป่าไม้ พ..2484 (มาตรา 10 แห่ง พรบ.สวนป่าพ..2535)

            นายสามชายได้รู้ได้เห็นกิจการป่าไม้ภาคยุโรปมาอย่างมีระบบ พอเห็นช่องทางก็รีบคว้าทันที ประกอบกับมีเพื่อนๆอยู่ในองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้และกรมป่าไม้ ด้วยวิสัยทัศน์มองเห็นอยู่ด้วยว่า วัตถุดิบจากสวนป่าไม้สักของ ออป.ในท้องที่ภาคเหนือมากมาย มีเกินกำลังความต้องการเสียด้วย จึงตัดสินใจขออนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้เพื่อประดิษฐกรรม ในคำขอนั้นระบุแหล่งที่มาของไม้ ประเภทไม้ชัดเจน

            นายพยุง นพสุวรรณ อธิบดีกรมป่าไม้ ได้อนุญาตให้เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ..2539 ว่า อนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้ด้วยเครื่องจักรเพื่อประดิษฐกรรม ทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ในบ้านเรือน ไม้ปาร์เก้ โดยใช้ไม้ท่อนและไม้แปรรูปจากสวนป่าที่ขึ้นในที่ดินกรรมสิทธิ์ ชนิดไม้ดังนี้คือ ไม้ยูคาลิปตัส ยางพารา สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์ กระถินณรงค์ กระถินเทพา มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี และตาล (ชนิดไม้เหล่านี้บางชนิดทำเป็นธุรกิจก็ขาดทุน 100 %)

            และไม่อนุญาตให้ใช้ไม้สักจากสวนป่าหรือไม้สักที่ปลูกขึ้นในที่ดินกรรมสิทธิ์เป็นวัตถุดิบป้อนโรงงาน เนื่องจากขัดกับนโยบายกรมป่าไม้ และอาจมีปัญหาด้านการควบคุมของเจ้าหน้าที่ และยังสำทับมาอีกว่า ให้จังหวัดปฏิบัติตามนัยหนังสือกรมป่าไม้ที่ กส 0704(2)/.12636 ลงวันที่ 14 กรกฏาคม พ..2525 เรื่องซ้อมความเข้าใจระเบียบหลักเกณฑ์วิธีพิจารณาและอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยใช้เครื่องจักรเพื่อประดิษฐกรรม ข้อ 7 โปรดสังเกตุคำว่า กส.เก่าจริงๆ อุตสาห์ไปงัดขึ้นมา

            ต่อมานายสามชายร้องขออีกครั้งไปยังกรมป่าไม้ ขอให้กำหนดชนิดไม้สักจากสวนป่าเพิ่มเติมในใบอนุญาตตามที่ขอ และนายสถิตย์ สวินทร อธิบดีกรมป่าไม้ได้ประมวลเรื่องนำเสนอไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า กรมป่าไม้ได้ปรับปรุงนโยบายเรื่องการอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้ ตาม พรบ.ป่าไม้พ..2484 ลงวันที่ 1 กย.2538 โดยอนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้ด้วยเครื่องจักรเพื่อประดิษฐกรรม ที่ใช้ไม้จากสวนป่าหรือไม้ที่ปลูกขึ้นทุกชนิดเป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานได้ และนโยบายดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจาก รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว ซึ่งที่จริงเรื่องนี้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมป่าไม้ตัดสินใจได้เอง ก็เลยเสียเวลา พอดีนายสถิตย์ย้ายไปอีก

            แต่อย่างไรก็ดี นายสถิตย์ได้แสดงถึงความกว้างขวางในวิสัยทัศน์ เพราะว่าส่งเสริมเขาแล้วก็ควรส่งเสริมให้ถึงที่สุด กล่าวคือ ส่งเสริมให้ปลูก ส่งเสริมให้เป็นอาชีพปลูกป่าไม้ขาย ก็ควรจะส่งเสริมให้มีการพัฒนา แปรรูปไม้ได้อย่างคล่องตัวเพื่อเร่งเร้าใจให้อยากประกอบธุรกิจนี้มากยิ่งขึ้น เมื่อมีตลาดรองรับก็ยิ่งจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกป่ามากขึ้น มันเป็นหลักประกันว่าขายได้แน่ มีผู้ซื้อแน่ ถามสักคำ จะมีไม้ชนิดไหนในโลกนี้ที่ดีกว่าไม้สัก ราคาแพงกว่าไม้สัก มีดีแล้วแต่ขัดกันเองอยู่ได้

            เรื่องราวเกี่ยวกับโรงเลื่อย โรงค้า โรงงานแปรรูปไม้ด้วยเครื่องจักรเพื่อประดิษฐกรรม เหล่านี้ มีเรื่องไม่ชอบมาพากลอยู่มากมาย ยิ่งเรื่องขออนุญาตตั้งอย่างนี้ ก็ไม่รู้ขยันไปงัดนโยบายเก่าแก่ปี 2525 ขึ้นมาอ้างกันได้ ไอ้ทีย้ายโรงเลื่อยจากปากน้ำไปตั้งในป่าที่แม่สอด   กลับหลบหลีกระเบียบได้คล่องแคล่วหาตัวจับยาก อ้างว่าการขอย้ายมิใช่การขอตั้งใหม่ไปโน่น ทั้งๆที่แหล่งไม้ก็ไม่มี  

            นับตั้งแต่ได้รับใบอนุญาตตั้งโรงงาน หมดเงินไปมากกว่า 10 ล้านบาทเพื่อสั่งซื้อสั่งทำแล้วติดตั้งเครื่องจักรจากใต้หวัน เสียเวลาไป 2 ปีเศษ จ่ายดอกเบี้ยเดือนละ 1 แสนบาทเศษ โรงงานยังผลิตสินค้าออกไม่ได้เลย เพราะว่าตั้งเป้าไว้จริงๆคือทำปาร์เก้ไม้สักจากสวนป่า ไม้พื้นลิ้นร่องที่ประกอบจากชิ้นส่วนไม้สักขนาดเล็กๆ ฯลฯ แต่อนุญาตให้ใช้ไม้ยางพาราจากภาคใต้โน่น ไม้มะพร้าวจากเกาะสมุยมั้ง หรือไม้ตาลจากเมืองเพชรบุรี ไม่เสียสติไปเสียก่อนก็นับว่านายสามชายเป็นลูกผู้ชายที่อดทนมาก

            วันหนึ่งได้เสวนากับผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการปลูกป่า นายสุวัช สิงหพันธ์  ได้ยืนยันแข็งขันว่า ในฐานะนักวิชาการป่าไม้ วันนี้ต้องยืนนโยบายส่งเสริมให้เอกชนปลูกป่ากันเองเพื่อใช้กันเองและขายกันเอง หากวันนี้ไม่ทำก็คงจะเดือดร้อนหาวัตถุดิบมาทดแทนได้ยากขึ้นทุกวัน แม้แต่ประเทศเขมรเองเขาก็ขายไม้จากป่าธรรมชาติไปจนหมดแล้ว รอแต่การตัดออกเท่านั้น จะไปหวังพึ่งการนำไม้เข้าที่ต้องเสียดุลการค้าปีละหลายหมื่นล้านบาทอยู่ได้อย่างไร ต้องช่วยตัวเอง

            กรมป่าไม้วันนี้ต้องตอบดังๆ จะส่งเสริมให้ประชาชนช่วยจัดหาวัตถุดิบมาสนองตอบความต้องการใช้ไม้ทั้งภายในและภายนอกประเทศหรือไม่ หากต้องการจะปลดปลาสนาการอันมิชอบและยุ่งยากให้กับประชาชนได้หรือไม่ เหตุใดจึงกลัวกันจนเกินกว่าเหตุออกกฏหมายมากมาย ใบเบิกทางที่วิ่งทางรถเก๋งที่สาละวิน ก็ออกโดยผิดๆประพฤติมิชอบจากคนของกรมป่าไม้หรือไม่ นักบริหารมืออาชีพเขาไม่กลัวการตัดสินใจมิใช่หรือ ฟันธงมาเลยจะรอเชียร์  เพื่อชาติและประชาชน           

           

           

 

 

Tags : Man made forest

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view