http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,024,127
Page Views16,333,728
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ไม้ไผ่กับต้นน้ำต้นชีวิต


Dely163.doc/                         ไม้ไผ่กับต้นน้ำต้นชีวิต                         


           
ในป่าธรรมชาติมีไผ่เป็นไม้แทรกซ้อนอยู่อย่างกลมกลืน พบมากในป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบชื้น เป็นองค์ประกอบหนึ่งในความหลากหลายของพันธุ์พืช เป็นเกราะกำบังดินและน้ำอีกชั้นหนึ่งของป่า และเป็นไม้เบิกนำที่ทดแทนป่าเสื่อมโทรมได้อย่างรวดเร็ว การฟื้นตัวของไผ่ช่วยให้ระบบนิเวศน์อื่นๆตามมาอย่างรวดเร็วขึ้น ผลกระทบของไผ่ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์และป่าต้นน้ำมีมากมาย ประเทศไทยควรรื้อฟื้นเรื่องไผ่มาหากินกันได้แล้ว

ไม้ไผ่ในประเทศไทยมีหลายหลากพันธุ์เช่น ไม้ไผ่สีสุก ไผ่ฮก ไผ่ซางนวล ไผ่ข้าวหลาม ไผ่ผาก ไผ่หนาม ไผ่รวก ไผ่เฮี้ยะ ไผ่ไร่ ไผ่บง ไผ่เลี้ยง ไผ่สีทอง ไผ่ป่า ฯลฯ แต่ละชนิดขึ้นอยู่ในสภาพของระบบนิเวศใกล้เคียงกัน บางชนิดเท่านั้นที่มีช่วงการกระจายพันธุ์กว้างมาก ตั้งแต่ที่ริมชายฝั่งทะเลถึงยอดเขาสูงจากระดับน้ำทะเล บางชนิดขึ้นได้ในที่ดินแห้งแล้ง ทนทาน


                                   

          ไม้ไผ่แตกลำต้นจากเหง้าใต้ดิน เป็นการขยายกลุ่มกอออกไปแต่ละปี ส่วนใหญ่จะขยายในฤดูฝนแล้วเจริญเติบโตตลอดฤดูกาล เมื่อไผ่ตายขุยเมล็ดที่ร่วงหล่นจะงอกแทนกอเก่าได้ หน่อไม้ไผ่เป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ป่า หน่อไม้ไผ่เป็นที่วางไข่ของผีเสื้อกลางคืนแล้วเติบโตเป็นหนอนไม้ไผ่ในลำปล้องที่เติบโตขึ้นทุกเวลา กลายเป็นอาหารของมนุษย์ นก กระรอก กระแต ฯ กิ่ง ยอด ก้านไผ่บดบังแสงแดดและกรองน้ำฝนที่ตกกระทบดิน ลำต้นใช้ประโยชน์ได้มากมายหลายประการกล่าวคือ

            เป็นวัตถุก่อสร้างบ้านอยู่อาศัย เป็นไม้ค้ำยันการก่อสร้าง เป็นฟากสับปูเป็นพื้นบ้าน เป็นเครื่องใช้สอยในครัวเรือน เช่นกระบอกน้ำ กระบอกหุงข้าว (ข้าวหลาม) ไม้ขัดหม้อ สานเป็นพัด สุ่มไก่ เครื่องมือจับปลาเช่นข้อง สุ่ม รอบ ไซ แร้ว กรงสัตว์ ทับพี เป็นอาวุธเช่นด้ามแหลนหลาว ด้ามมีดพร้า ด้ามจอบเสียมทางการเกษตรกรรม  เป็นรั้วบ้าน เป็นปราการกำบังลมเรือกสวน เป็นเยื่อกระดาษและเป็นอาชีพที่ดีในการจักสานกระเตงใส่หมาก กระเป๋าใส่เสื้อผ้า เสื่อปูนอน กรุเพดาน และตบแต่งทั่วไป

            เมื่อป่าไม้ถูกบุกรุกทำไร่เลื่อนลอย ไผ่เป็นไม้ชนิดแรกที่มักโผล่ขึ้นมาทดแทนอย่างรวดเร็ว มีศักยภาพสูงในการส่งลำต้นและขยายกอออกครอบคลุมพื้นที่ ไผ่เบิกนำเหล่านั้นคือ ไผ่ผาก ไผ่ไร่ ไผ่รวก ไผ่บง ไผ่เฮี้ยะ ไผ่ซางนวล ฯ เพราะเหตุนี้จึงนับกันว่าไม้ไผ่มีส่วนสำคัญต่อการทดแทนและมีผลกระทบต่อต้นน้ำ เรื่องราวของไม้ไผ่ได้มีการทดลองศึกษาวิจัยพอสมควร แต่ก็ไม่มากนัก (ช่วยวิจัยเพิ่มเติมหน่อยนะครับนักวิจัย)

            นายประเดิมชัย แสงคู่วงษ์ นักวิชาการป่าไม้ 7. ได้เคยทำการวิจัยเรื่องปริมาณตะกอนและน้ำไหลบ่าหน้าดินที่สถานีวิจัยเพื่อรักษาต้นน้ำแม่กลอง กาญจนบุรี พบว่า ปริมาณตะกอนจากป่าแดง(ป่าแพะหรือป่าเต็งรัง) ป่าไผ่ ป่าปลูกยางนาควบกับข้าวโพดและข้าวไร่ เฉลี่ย 139.53 , 70.26 , 263.42 , 101.91 กก./เฮกแตร์/ปี แสดงว่าป่าไผ่มีตะกอนไหลลงมาน้อยที่สุดช่วยปกคลุมดินจากผนได้ดีกว่า

            ปริมาณน้ำไหลบ่า พบว่าเฉลี่ย 96.20 , 80.60 , 85.60 , 93.85 ลบ../เฮกแตร์/ปี แสดงว่าในป่าไผ่ช่วยป้องกันการไหลบ่าของน้ำได้มากที่สุด มากกว่าป่าแพะอีกเช่นกัน ซึ่งไปสอดคล้องกับผลการวิจัยในเรื่องไม้ไผ่ช่วยดูดซับน้ำได้ดีเพียงใดของประเดิมชัยกับสมยศ รุ่งโรจน์วณิชย์ในปีพ.. 2528  สถานที่เดียวกัน เรื่องปริมาณน้ำฝนที่ถูกสกัดกั้นโดยเรือนยอดของไผ่อายุ 3 ปี (ชนิดไผ่ผากและไผ่นวล)โดยวัดจากปริมาณน้ำฝนทั้งหมด

พบว่าปริมาณน้ำพืชยึด(Interception)ช่วยให้น้ำฝนไม่ตกกระทบดินได้ถึง 69.77และ75.75% น้ำตามลำต้น(Stemflow)จำนวน 6.13และ0.79% น้ำพืชหยด(Throughfall) ได้ถึง 24.10และ23.46% ของปริมาณน้ำฝนทั้งหมด  แสดงว่าไม้ไผ่นวลช่วยสะกัดกั้นการตกกระทบของน้ำฝน มีน้ำหยดลงดินและน้ำไหลตามลำต้นน้อยกว่าไผ่ผาก เหตุผลคือ ไผ่ซางนวลมีลำต้นใหญ่กอหนากว่าสูงกว่าไผ่ผาก

นอกจากนี้ป่าไผ่ยังให้ปริมาณการร่วงหล่นของใบไม้(litter)มากถึง 2447.0 กก/เฮกแตร์/ปี และปริมาณการสลายตัวของเศษไม้ใบไม้ไผ่ 11.88 ตัน/เฮกแตร์/ปี ในป่าไผ่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียว(Clay loam) ความหนาแน่นรวมของดินเฉลี่ย 1.03 ความสามารถในการดูดยึดน้ำ(water holding capacity) เฉลี่ย 51.29% pHของดิน 5.6-6.1 ปริมาณอินทรีย์วัตถุในดินอยู่ในช่วง 1.44-5.44 % ปริมาณฟอสฟอรัสโพแทสเซียมและแคลเวียมในดินชั้นบนความลึก 0-10 ซม.มีค่า 29,312และ890 ppm โดยปริมาณเหล่านี้จะลดลงตามลำดับความลึกของดินที่เพิ่มขึ้น

ป่าไม้ไผ่จึงเป็นป่าอีกประเภทหนึ่งที่ควรรักษาไว้ และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เพราะว่าถ้าไม่นำออกมาใช้ประโยชน์เสียเลยก็จะหนาแน่นจนเกินกว่าที่ควร อันอาจมีเชื้อไฟที่ทำให้เกิดไฟไหม้อย่างรุนแรงได้ อย่างไรก็ดี สังคมไทยทั่วไปใช้ประโยชน์จากไม้ไผ่มากมาย แต่มีปัญหาอยู่อย่างหนึ่งที่ข้องใจมากคือ การใช้สอยไม้ไผ่จากป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งมีอยู่มากและขึ้นอยู่ในลุ่มน้ำชั้น 5-2 เคยเป็นป่าโครงการทำไม้มาก่อนพอปิดป่าปุ๊บเกิดปัญหาทันทีไปตัดไม้ไผ่มาใช้ก็เท่ากับทำไม้ แก้ไขให้หน่อย

ที่อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทองได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตสินค้าจากไม้ไผ่หลายรูปแบบ เป็นงานฝีมือที่ทำในยามว่าง กลายเป็นสินค้าขึ้นหน้าขึ้นตาของจังหวัดและด้วยความเห็นดีเห็นงามดังกล่าว มูลนิธิฟื้นฟูชนบท(โทรศัพท์ 02-9700810-1) เจ้าของโครงการ ไทยแลนด์แฮนดิ์เมดเพื่อรองรับสินค้าทุกประเภทที่ทำขึ้นด้วยฝีมือคนไทยทั่วประเทศ อันเป็นงานฝีมือที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมของชนเผ่าได้อย่างมีคุณค่า เช่นเชี่ยนหมากจากไม้ไผ่ของคนลุ่มน้ำเจ้าพระยา  ขันโตกไม้ไผ่อย่างไทยเหนือ ฯลฯ

นายวันชัย จุลสุคนธ์ เลขาธิการมูลนิธิฟื้นฟูชนบท ได้กล่าวว่า งานฝีมือของคนไทยนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะที่งดงาม มีความอ่อนช้อยแฝงอยู่อย่างมีศิลปะและยังประโยชน์แก่ชีวิตประจำวันของชาวชนบทมาก ลองพิจารณาจากข้องใส่ปลาของคนลุ่มน้ำเจ้าพระยา จะเห็นว่าความคดโค้งของรูปทรงลวดลายตอกเล็กจากไม้ไผ่สอดประสานกันอย่างละมุนตา เป็นงานที่ใช้ในชีวิตจริง แต่สวยงามมากๆ

ลักษณะเช่นนี้ชี้ให้เห็นถึงวัฒนธรรมรักสวยรักงาม อุปนิสัยที่อ่อนโยน มีความสุนทรีย์อยู่ทุกกิจกรรมของงาน คันไถไถนาที่วาดลวดลายโค้งเว้าอย่างเหมาะเจาะกับงานและแข็งแรง กรอบของงอบที่ใช้ใบจากกับไม้ไผ่สอดประสานกันอย่างวิจิตรพิศดาร วงรอบที่กลมกลึงลาดเอียงที่ดูมีศิลปะ ชาวต่างชาตินิยมมาก ดังนั้น หากพบว่ามีฝรั่งมังค่าใส่ขึ้นเครื่องบินก็เป็นปกติ เขาเห็นว่าสวยเหลือเกิน

รอบรั้วบ้าน รอบขอบเขตที่ดินทำกิน ปล่อยว่างไว้ก็รกหญ้าปลูกไม้ไผ่วันนี้ มีแต่ได้กับได้ครับ

             

 

 

 

 

 

 

 

 

 

           

Tags : Research of Watershed management center

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view