http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,023,990
Page Views16,333,589
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ไม้ในที่ดินกรรมสิทธิ์


Dely164.doc/                         ไม้ในที่ดินกรรมสิทธิ์                


           
ทุกครั้งที่เกิดเรื่องคดีความทางป่าไม้ อดใจไม่ได้สักครั้งที่จะต้องแสดงความคิดเห็นร่วมด้วย แม้ว่าหลายครั้งจะตามเรื่องได้ช้า กว่าจะปรากฏให้ได้เห็นกันเรื่องก็แทบจะเงียบหายไป บทความก็อย่างนี้แหละครับ เหตุเกิดคราวนี้ เป็นการทำกินเกี่ยวกับไม้หวงห้ามในที่ดินกรรมสิทธิ์ แต่พิลึกตรงที่ไปโผล่อยู่ในที่สูงชัน เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ ซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์

            ก่อนที่จะกล่าวถึงเรื่องไม้ในที่ดินกรรมสิทธิ์ ใคร่ขอเรียนว่า ที่ดินกรรมสิทธิ์หมายถึงที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน(นส.4)หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน(นส.3 หรือนส.3 .) หนังสือประเภท สค.1 , นส.2, เป็นเพียงหนังสือตราจองหรือจับจองที่ดินทำกิน ใช้ประโยชน์อื่นใดในทางกฏหมายหรือจำนองจำนำหรือขอกู้เงินจากสถาบันการเงินไม่ได้ทั้งสิ้น ภบท.5 ภบท.6 เป็นหางตั๋วการชำระภาษีบำรุงท้องที่หรือภาษีดอกหญ้า  4 ประเภทนี้ล้วนแต่ไม่ใช่เอกสารสิทธิ์

            ความแตกต่างของโฉนดกับ นส.3และนส.3 .คือ โฉนดที่ดินมีหมุดหลักเขตแน่นอน มีตัวเลขหมุดกำกับที่หัวหมุด ลงระวางในแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศได้ถูกต้อง ส่วน นส.3 และนส.3 .ไม่มีหมุดหลักฐานแสดงอาณาเขตที่ถาวร อาจออกให้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือป่าตามมติคณะรัฐมนตรีหรือป่าไม้ถาวรของชาติ ในส่วนที่อยู่หรือไม่อยู่ในแผนที่ระวางทางอากาศ จึงมีทั้งของจริงและของผิดกฎหมาย ความฉ้อฉลในเรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นทุกหน่วยราชการทั้งประเทศไทย เป็นเรื่องธรรมดา

            กรมป่าไม้เคยอนุญาตให้มีการทำไม้ในที่ดินกรรมสิทธิ์(ส่วนใหญ่เป็นนส.3และนส.3)ได้ แต่ก็เกิดเรื่องราวจนระงับกันไป มีการทุจริตคิดมิชอบจากกลุ่มข้าราชการกรมป่าไม้ กรมที่ดิน และกรมปกครอง ซึ่งเป็นกลไกในการตรวจสอบรับรอง (เอกสารสิทธิ์ก็เลยบินเข้าป่าไปหาไม้)  เงื่อนไขการอนุญาตให้ทำไม้ได้ก็เพื่อใช้สอยในครัวเรือนเท่านั้น แต่ก็เอาไปแอบแฝงค้ากันจนร่ำรวยไปหลายคน ตกทุกข์ได้ยากเพราะคดีติดตัวไปจนตายก็หลายคน ระงับไปได้ก็ช่วยให้เบาบางปัญหาไประยะหนึ่ง

            แต่พอยกเลิกสัมปทานทำไม้ป่าบกเมื่อปีพ..2532 ก็เกิดกลัวว่าเมื่อปิดป่าแล้วจะทำให้ประชาชนไม่มีไม้ใช้สอย คิดด้วยความรู้เช่นนั้นก็ทำข้อตกลงใหม่ เกิดการทำไม้ในที่ดินกรรมสิทธิ์ได้อีกครั้งหนึ่ง ทำเพื่อใช้สอยในฐานะเจ้าของที่ดิน ในข้อเท็จจริง ในที่ดินกรรมสิทธิ์ดังกล่าว นอกจากไม้สักและยางแล้วไม้ทุกชนิดถือว่าเป็นทรัพย์ส่วนควบของที่ดิน เจ้าของที่ดินมีสิทธิในการทำไม้เพื่อการใช้สอยได้ ขนย้ายก็ได้ แต่ถ้าเป็นไม้สักและยางต้องขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

             ย้อนกลับไปเรื่องไม้ในที่ดินกรรมสิทธิ์อีกครั้ง ตามข่าวเป็นไม้ยาง และไม้กระยาเลยอื่นๆ ไม้อื่นๆทำได้ แต่ไม้ยางแม้ทำได้แต่ก็ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ผ่านกระบวนการตรวจสอบหลายขั้นตอน รวมทั้งเรื่องที่น่าเอะใจเกี่ยวกับเอกสารสิทธิ์ที่นำมาแสดงว่าถูกต้องหรือไม่  ที่แน่นอนจริงๆคือเอกสารสิทธิ์ที่เป็นโฉนดที่ดิน หากเห็นว่ายื่นมาขอละก้อ อุ่นใจได้เพราะของจริง

                 ไหนๆก็ไหนๆ ขอเรียนเพื่อให้ประชาชนได้ทราบว่า พระราชบัญญัติสวนป่าพ..2535 ได้กำหนดไว้ในมาตรา 3 ต้นไม้ หมายความว่า ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่แล้วหรือปลูกขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้และหมายความรวมถึงต้นไม้ที่ขึ้นอยู่แล้ว หรือปลูกขึ้นเพื่อประโยชน์อย่างอื่นแต่อาจใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ได้ด้วย หมายความว่าไม้สักและยางหรือไม้อื่นใดทั้งหวงห้ามและนอกหวงห้าม หากขึ้นอยู่ในที่ดินกรรมสิทธิ์ ก็นำมาประกอบกับความในมาตรา 4 ได้ ซึ่งมาตรา 4 กล่าวว่า 
                   ที่ดินที่จะขอขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่าตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องเป็นที่ดินประเภทหนึ่งประเภทใดดังนี้
(1) ที่ดินที่มีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามประมวลกฏหมายที่ดิน ฯลฯ หมายความว่า ต้นไม้ในที่ดินกรรมสิทธิ์ที่มีอยู่ก่อนหรือปลูกขึ้นมาใหม่ ก็สามารถนำที่ดินและต้นไม้เหล่านั้นมาขึ้นทะเบียนสวนป่าได้ แล้วเก็บหนังสือรับรองการแจ้งไว้ดีๆ และขอขึ้นทะเบียนดวงตราประจำสวนป่าตามมาตรา 9 ให้เรียบร้อย

                    ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับก็คือ มาตรา 10 ในการทำไม้ที่ได้จากการทำสวนป่า ผู้ทำสวนป่าอาจตัดหรือโค่นไม้ แปรรูปไม้ ค้าไม้ มีไม้ไว้ในครอบครอง และนำเคลื่อนที่ผ่านด่านป่าไม้ได้ แต่การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้  ซึ่งหมายความว่า ไม้ในที่ดินกรรมสิทธิ์ที่มีอยู่ตามขอบสวนขอบที่ดินหรือแนวเขตที่ดินหรือกระจายอยู่เป็นหย่อม เจ้าของทะเบียนสวนป่ามีสิทธิทำไม้เพื่อขายได้ แปรรูปได้และเคลื่อนย้ายได้

                 แต่ตามมาตรา 11 ก่อนการตัดหรือโค่นไม้ที่ได้มาจากการทำสวนป่า ให้ผู้ทำสวนป่าแจ้งเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อออกหนังสือรับรองการแจ้ง และเมื่อแจ้งแล้วให้ผู้ทำสวนป่าดำเนินการตัดหรือโค่นไม้ดังกล่าวได้  การแจ้งและการออกหนังสือรับรองการแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด ในการนี้ นายทะเบียนอาจกำหนดเงื่อนไขอื่นใดที่ผู้ทำสวนป่าต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการตัดหรือโค่นไม้ การตี ตอก หรือประทับตราที่ไม้ไว้ด้วยก็ได้ ข้อสำคัญ หนังสือรับรองการแจ้งต้องมีไว้แสดงเสมอ เผื่อว่ามีใครสงสัยหรือร้องเรียนไปโดยหลงผิด ก็จะได้นำแสดงได้ทันที

เห็นหรือไม่ว่า กรมป่าไม้มีทางออกให้เสมอ ส่วนการร้องขอจะช้าเร็วก็ขึ้นอยู่กับ บทบาทและหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน จะได้คำนึงถึงสิทธิของบุคคลอื่นมากน้อยแค่ไหน แม้ว่าจะมีระเบียบกรมป่าไม้เพื่อประชาชน แต่ในทางปฏิบัติก็มักจะขึ้นอยู่กับคนที่ปฏิบัติ จริงใจต่อหน้าที่เพียงใด

เมื่อเรื่องเกิดขึ้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเมี่ยงภูทอง จังหวัดพิษณุโลก ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย พรบ.คุ้มครองและสงวนพันธุ์สัตว์ป่าพ..2535 และเขตอุทยานแห่งชาติภูสอยดาว จังหวัดอุตรดิตถ์ ป่าอนุรักษ์ที่เตรียมการประกาศ  จึงใช้ พรบ.ป่าสงวนแห่งชาติพ..2507และ พรบ.ป่าไม้พ..2484 อยู่ จะอย่างไรก็ตาม เป็นพื้นที่สำคัญที่ถือว่าเป็นป่าอนุรักษ์ ตามการจำแนก(Zone C)

              ดังนั้น เหตุที่เกิดในพื้นที่ป่าอนุรักษ์เช่นนี้ สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและส่วนที่เกี่ยวข้องคือส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่าและส่วนอุทยานแห่งชาติ ซึ่งเปรียบเสมือนแม่ทัพภาคและแม่ทัพน้อยของกรมป่าไม้ สมควรจะต้องสำแดงบทบาทที่แท้จริงออกมาให้ปรากฏ เพราะว่าเป็นหน้าที่ มิเช่นนั้นแล้วอาจเกิดเหตุการณ์ลุกลามใหญ่โตอย่างกรณีป่าสาละวินอีกก็เป็นได้ จะได้อวดผลงานกับเขาบ้าง

Tags : Man made forest

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view