http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,996,494
Page Views16,304,906
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

วิถีชีวิตคนขยันที่อ่างทอง


                                                  วิถีชีวิตคนขยันที่อ่างทอง

 


           
กลับไปบ้านเกิดที่จังหวัดอ่างทอง ได้เห็นคนขยันทำกินกันยกหมู่บ้านแล้วปลื้มใจ ไม่มีคนอดอยากอย่างแน่นอน เพราะว่าทุกบ้านปลูกพืชผลเต็มพื้นที่  บ้านทุกหลังทำงานเก็บเกี่ยวพืชผักกันทั้งวัน มีการจัดการเป็นระบบ รวมตัวกันขายและช่วยให้เกิดงานต่อเนื่องถึงคนอีกหลายกลุ่ม การทำกินอย่างยั่งยืนเป็นทฤษฎีคนขยันที่ทำกันมานานกว่า 20 ปี  เป็นตัวอย่างที่น่าจะนำไปใช้ได้ทุกที่

            จากตัวจังหวัดอ่างทองก่อนถึงอำเภอวิเศษชัยชาญ มีแยกขวามือให้เลี้ยวรถไปตามถนนสายเล็กๆเข้าหมู่บ้านโพธิ์รังนก หมู่ที่ 2 ตำบลโพธิ์รังนก  อำเภอโพธิ์ทอง ประมาณ 8 กม. จะพบกลุ่มบ้านหนาแน่นเรียงรายสองฟากถนน ทุกบ้านปลูกพืชผักพื้นบ้านนานาชนิด เช่นที่

            บ้านของนายสุวิทย์ กะวะยาวง หนุ่มโสดเจ้าของที่ดิน 10 ไร่เศษ ปลูกบ้านชั้นเดียวอยู่กลางที่ดิน รอบๆบ้านปลูกชะอมเป็นแปลงเว้นแต่ทางเข้าออกบ้าน รอบรั้วปลูกมะพร้าว กระท้อน ดอกแค ใบยอ ขี้เหล็กบ้าน สะเดา  กล้วยน้ำว้า กล้วยตานี  ข่า ตะไคร้ มีบ่อปลาขนาดย่อมๆอยู่กลางสวน นายสุวิทย์เล่าว่าที่ดินตรงนี้เขาทำกินคนเดียวประมาณ 4 ไร่เท่านั้น อีก 6 ไร่เศษให้เขาเช่าทำนาเป็นรายปี ทำไม่ไหวแล้วเพราะว่าทุกๆวันเขาจะต้องเหลือเด็ดชะอมออกขาย จ้างแรงงานมาช่วยมัดเป็นกำ 2 คน แล้วก็นำไปขายเองด้วยรถมอเตอร์ไซด์

            ในแต่ละวันเด็ดพืชผักในสวนไปขายแทบไม่เว้น เรียกว่ามีเงินหมุนเวียนเข้ามาไม่ขาดมือ หากเขาป่วยหรือหยุดก็ไม่ได้เงิน พืชผักที่ปลูกก็จะแก่เกินไปทำให้เกิดปัญหาตามมาคือต้องตัดแต่งใหม่ ดังนั้น การแตกยอดของพืชผักเหล่านี้ต้องเด็ดขายสม่ำเสมอ เป็นการบังคับให้ต้องขยันไปในตัว ปุ๋ยก็ใส่บ้างประปราย น้ำก็ใช้ระบบสปริงเกอร์หมุน หากตักรดด้วยแรงคนก็ทำไม่ไหว                    
             “วันหนึ่งๆเด็ดชะอมแล้วกำด้วยกาบกล้วยตานี ห่อเป็นมัดด้วยใบกล้วยตานี ทนทานดีในการขนส่ง ส่วนกล้วยน้ำว้าก็จะตัดทั้งใบและผลกล้วยไปขาย ใช้ใบห่อไม่ดีแตกง่ายไม่ทนทานเท่ากล้วยตานี ชะอมกำละ 2 ขีด ขายส่งกำละ 2 บาท ประมาณกก.ละ 10 บาท วันละ 300-400 กำ แล้วแต่ฤดูไหนแตกดีไม่ดี เรียกว่าทุกอย่างในสวนนี้กินเองก็ได้แต่เมื่อเหลือก็ขายออกไป

            นายสุวิทย์เล่าว่า ทำกินอย่างนี้มามากกว่า 20 ปีแล้ว เห็นเขาทำกันก็ทำตามอย่าง พืชผักที่ปลูกก็เอาทุกชนิดที่ขายได้ ที่เลือกชะอมมากหน่อยก็เพราะว่าขายได้ทั้งปี ปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานหลายสิบปี ไม่ต้องปลูกใหม่ เพียงแต่ขยันตัดแต่งขายบ่อยๆ ใส่ปุ๋ยให้บ้างไม่มากนัก ยากำจัดเพลี้ยบ้าง อยากทำมากกว่านี้แต่ก็ตัวคนเดียว ก็ไม่มีความจำเป็นมากนัก

            ออกจากอ่างทองวิ่งรถไปตามถนนลาดยางระหว่างอำเภอบางปะหันจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กับอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี พอถึงบ้านตะลุง เลขที่ 46 หมู่ 2  ตำบลตะลุง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ของนายวินัย จันทร อยู่ทางขวามือขาไปข้ามสะพานข้ามคลองเล็กๆ         นายวินัยเล่าว่า ที่ดินสวนผสมแปลงนี้ปลูกมะพร้าว กล้วยน้ำว้า กล้วยตานี ดอกแค ชะอม ข่า  มะละขี้นก  มะละกอ และขุดบ่อปลาดุกขนาดใหญ่เนื้อที่ 2 ไร่ มีหลายบ่อในเนื้อที่ 30 ไร่ แต่ถ้ามีแค่ 4-5 ไร่หากทำจริงจัง รับรองว่าไม่อดตาย มีเงินใช้ทุกวัน

            ในพื้นที่ 4-5 ไร่ที่ว่านี้ นายวินัยยืนยันว่า เขาขุดบ่อปลาดุกขนาด 2 ไร่ ลึก 2.5 เมตร ต้องน้ำลึกหน่อยหมดค่าจ้างขุดไป 60,000 บาท ลงทุนครั้งแรกค่าลูกปลาและอาหารประมาณ 100,000 บาทจับขายได้ประมาณ 300,000 บาท ส่วนคันบ่อปลูกพืชผักดังกล่าว            ทำกินเต็มรูปแบบผสมผสานนี้แค่ 2 ปีเศษ แต่มีรายได้เกินกว่าทุนที่ลงไปแล้ว ในครอบครัวทุกคนต้องทำงานหมด เว้นแต่เด็กเล็กๆคือลูกเล็กๆ

ตระเวนไปหลายแห่ง ได้พบว่าบางบ้านก็ปลูกมะกรูดขายใบและผลผสมด้วย มะนาวก็มีประปราย พริก โหระพา กระเพรา ตำลึงก็เก็บตามรั้ว ดอกแคต้น มะรุมที่เก็บทั้งฝักอ่อนและยอดอ่อนขาย ขิง กระชาย ผักชีฝรั่ง และตะไคร้ผสมกล้วยน้ำว้า ต้นตะไคร้ตัดไปขายเป็นกำๆ แล้วก็ใช้ใบที่เหลือป่นเป็นผง ทำเป็นชาตะไคร้ขาย

เรื่องนี้เลขาธิการมูลนิธิฟื้นฟูชนบท นายวันชัย จุลสุคนธิ์ ซึ่งรับซื้อและจัดจำหน่ายสินค้าแปรรูปการเกษตรทุกชนิด ได้ตอบว่า ตะไคร้มีชื่อเรียกว่า Lemon Grass เมื่อนำไปป่นแล้วชงเป็นชาให้น้ำชาสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมเหมือนมะนาวและรสเย็น เป็นพืชสมุนไพรไทยที่มีคุณค่ามาก  ชื่ออย่างนี้ฝรั่งต่างชาตินิยมมาก  ดังนั้น หากพื้นที่ดินใดๆไม่ว่าจังหวัดไหนๆปลูกพืชผลอย่างเป็นระบบจะมีเงินใช้ทั้งปี  การดัดแปลงว่าควรจะปลูกอะไรเหมาะสมก็พิจารณาได้ด้วยตนเอง ไม่ยากเลย

เช่นที่ภาคเหนือ ปลูกมะรุม แคบ้าน ริมรั้วที่ดิน ปลูกตำลึง มะไฮ พริก ข่า ตะไคร้ ผักหวานบ้าน ผักหวานป่า สะเดา ฯลฯ ให้มีเกือบทุกชนิด ทุกๆบ้าน ก็จะมีผลผลิตเป็นกอบเป็นกำ เหลือกินก็ขายได้แน่นอน วิธีนี้พัฒนาของกินให้มีพร้อมก็ไม่ต้องไปอาศัยซุปเปอร์มาเก็ตในป่าแต่อย่างใดเลย เว้นแต่บางชนิดที่ปลูกไม่ได้เท่านั้น

 

 

 

 

 

 

Tags : Food security

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view