http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,007,425
Page Views16,316,465
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

องค์การบริหารท้องถิ่นกับการท่องเที่ยว

Many43/16พค44                   องค์การบริหารท้องถิ่นกับการท่องเที่ยว            

            ผ่านไปท้องถิ่นไหนในอดีต ถ้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวมักคิดถึงแต่อุทยานแห่งชาติหรือไม่ก็การท่องเที่ยว แต่วันนี้ เกิดองค์การบริหารท้องถิ่นที่เรียกว่า องค์กรของประชาชน ดำเนินการโดยประชาชนและเพื่อประชาชน ตามระบอบประชาธิปไตยเป๊ะ ระดับตำบลเรียกย่อๆว่า อ... ระดับเมืองเรียกว่า เทศบาล และระดับจังหวัดเรียก อ... งบประมาณแผ่นดินจากภาษีที่ให้กับองค์กรเหล่านี้ ส่วนหนึ่งต้องเน้นสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวและอนุรักษ์ทรัพยกรธรรมชาติ ดีไม่ดีอยู่ที่ใคร

            ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน พ.ศ.2540 มีหลายมาตราให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมการท่องเที่ยว ท้องถิ่นใครท้องถิ่นมัน พูดง่ายๆ คือองค์กรเหล่านี้เมื่อได้เงินภาษีและต้องใช้จ่าย ก็ต้องใช้จ่ายเพื่อการดังกล่าว ส่วนจะใช้ไปอย่างไรขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถและความเข้าใจของแต่ละองค์กร บางที่ได้ผลดี บางที่สูญสิ้นไปอย่างน่าเสียดาย ทั้งนี้เกิดขึ้นจากความไม่รู้ ขาดประสบการณ์ และไม่เข้าใจ

            ข้อเท็จจริง องค์กรท้องถิ่นเหล่านี้ต่างระดับความรู้ เป็นองค์กรใหม่ ความเชี่ยวชาญหรือวิสัยทัศน์จึงคับแคบ การกระทำแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์ช่วยเพิ่มความเสี่ยงการทุ่มเทงบประมาณอย่างหนัก หน่วยราชการเดิมที่เกี่ยวข้องก็มักถือตัว ไม่ร่วมมือในทุกๆทาง และมืดแปดด้านสำหรับสมาชิกองค์กรเหล่านั้น ความเสียหายอันเนื่องมาจากสิ่งเหล่านั้น มากจนแทบจะสูญเปล่า

             เพราะว่าองค์กรใหม่เหล่านี้เหมือนผู้บริหารกลุ่มใหม่ตามกฎหมายใหม่ กลุ่มบริหารเก่าตามกฎหมายเก่าหมดอำนาจและเงินตราทั้งสิ้น ระหว่างสององค์กรกลายเป็นปัญหาที่ร้าวฉาน ต่างไม่พยายามที่จะเกี่ยวข้องกันและกัน ต่างถือดีว่าตนเองถือกฎหมายคนละฉบับ และองค์กรหนึ่งมีงบประมาณ  แต่องค์กรหนึ่งกลับไม่มีอีกต่อไป แม้มีความรู้ความชำนาญก็วางเฉย

            บ้านเมืองของเราจึงมีแต่กลุ่มผลประโยชน์ที่ต่างก็หวังที่จะครอบคลุมผลประโยชน์กลุ่มของตนเองไว้ เป็นการแย่งยื้อหรือเกี่ยงงอนกันในแผ่นดินเดียวกัน ในตำบลเดิมเดียวกัน ในอำเภอเดียวกันและในจังหวัดเดียวกัน ไม่มีใครยอมใคร ไม่มีใครรักใคร ไม่มีใครหวังดีกับใคร และแม้ในที่สุดบ้านเมืองก็ไม่มีใครหวังดีเอาเสียเลย   ช่างน่าสงสารแผ่นดินไทยของเราเสียจริงๆ

            การตั้งองค์กรใหม่อยู่เรื่อยๆจึงเป็นการสร้างกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใหม่ขึ้นเรื่อยๆ ไม่จบไม่สิ้น จากอำเภอถึงกำนันผู้ใหญ่บ้าน แล้วถึงสภาตำบล วันนี้ องค์กรเกิดเก่าเหล่านั้นยังอยู่ แต่มีองค์กรใหม่เกิดขึ้นมาอีกกลุ่ม กลายเป็น อ... ถึง อ...  และเทศบาลอีกต่างหาก ไม่รู้ว่าอีก 5 ปีข้างหน้าจะเกิดองค์กรอะไรกันอีกหรือไม่ แต่เชื่อขนมเจ๊กกินได้ มันไม่ใช่หนทางแก้ไขปัญหา หากแต่สร้างปัญหาเพิ่มขึ้นๆ เพราะว่ามีองค์กรทับซ้อนกันเป็นคอนโดมิเนียมทีเดียว

            ก้าวใหญ่ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นต้องทำคือ หาความรู้ความเข้าใจและยอมรับความจริงหากไม่รู้ ยังมีความจำเป็นหรือไม่ที่ต้องอาศัยองค์กรอื่นๆที่เกี่ยวข้องช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยว การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้ถูกทาง ความอึมครึมสร้างแต่ความสับสบ ฐิทิมานะทำลายคนและสังคมมามากต่อมากแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดวิสัยทัศน์กว้างไกล  

             การเพิ่มความรู้เฉพาะทาง การใฝ่หาประสบการณ์ การจ้างผู้ชำนาญการศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสม การกำหนดทิศทางที่ถูกต้องและมีความเป็นไปได้ จนถึงเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า คงช่วยให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้น ในวันนี้ จังหวัดไหนๆ ถ้าจะต้องส่งเสริมการท่องเที่ยว การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สมควรหันหน้าร่วมกัน หรือต่างคนต่างทำ หรือธุระไม่ใช่ตัวใครตัวมัน บ้านเมืองจะเป็นเช่นไรก็ช่างมันอย่างนั้นหรือ ?

            ปัจจุบันนี้จังหวัดหนึ่งๆ อำเภอหนึ่งๆ เหมือนมีผู้ว่าและนายอำเภอสองคน กลายเป็นสองคู่ศัตรูถาวร คนหนึ่งรัฐบาลแต่งตั้ง อีกคนหนึ่งประชาชนเลือกตั้ง ไม่บ้าก็ฉิบหายหมด ทำยังไงกันดี

              วันนี้ องค์กรปกครองท้องถิ่นใดๆ มีรายได้ส่วนหนึ่ง( 5%) มาจากเงินรายได้ของอุทยานแห่งชาติที่อยู่ในพื้นที่นั้นๆ เช่นที่เขาใหญ่ 69,857,093 บาท  เอราวัณ 28,841,178 บาท อินทนนท์ 35,426,620 บาท อ่าวพังงา 29,728,709 บาท  เสม็ด 22,041,530 บาท หมู่เกาะสุรินทร์ 16,499,642 บาท ไทรโยค 13,042,873 บาท หมู่เกาะช้าง 10,346,710 บาท สิมิลัน 29,801,540 บาท น้ำตกพลิ้ว 19,299,785 บาท พีพี 12,342,246 บาท  รวมทั้งหมด  512,515,102.31 บาท ส่วนปีพ.ศ.2550 เงินรายได้อุทยานแห่งชาติ 468,791,405.12 บาท
               องค์กรปกครองท้องถิ่นเหล่านั้นตัดไป 5% เป็นเงินเท่าไร ครับ นี่คือปัญหาว่า เขาเอาเงินเหล่านั้นไปใช้เพื่อการส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ กิจกรรม เกี่ยวเนื่องกับอุทยานแห่งชาติเจ้าของเงินรายได้มากน้อยเพียงใด น่าติดตามชำแหละดูเช่นเดียวกับ เงินรายได้อุทยานแห่งชาติที่อุทยานแห่งชาติได้กลับมาพัฒนาอุทยานแห่งชาติตามสัดส่วนที่กรมอุทยานฯกำหนดนั้น ทำอะไร คุ้มค่าการลงทุนหรือไม่ และ รั่วไหลไปไหนบ้างหรือไม่ !!!  

Tags : National parks

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view