http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,994,584
Page Views16,302,888
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ปลูกไม้สัก บนที่ดินดีและดินเลว

๑๐ กพ ๓๙

ปลูกไม้สัก บนที่ดินดีและดินเลว

                         เมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้วได้เดินทางไปจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกป่าไม้สักและไม้ยูคาลิปตัส ในส่วนที่ปลูกโดยทางราชการและที่ปลูกโดยภาคเอกชน การเดินทางไปศึกษาแต่ละครั้ง ได้พบเห็นหลายสิ่งหลายอย่างที่น่าจะได้นำมาเสนอ เพื่อให้เป็นความรู้ประกอบแก่เอกชนรายอื่นๆที่กำลังคิดจะทำหรือที่ทำไปแล้ว พบว่าเกิดปัญหาเช่นเดียวกัน จะได้หาทางแก้ไขให้ได้มากที่สุด ก่อนที่จะเสียเวลา เสียเงินตรา เสียความรู้สึก แล้วเข็ดขยาดการปลูกป่าไปเสียก่อน

                           จังหวัดกาญจนบุรีมีลักษณะพื้นที่ยาวรี จากเหนือจรดใต้ ทางด้านเหนือเป็นภูเขาสูง ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าส่วนใหญ่ที่เหลืออยู่ถือว่าป่าต้นน้ำต่างๆอยู่ที่นั่น แม่น้ำหลายสายไม่เคยขาดน้ำ

เขื่อนจึงถูกสร้างเพื่อเก็บกักไว้ใช้สอย สภาพดินทั่วไปเป็นดินลึก ดินอุดมสมบูรณ์ดี ปริมาณน้ำฝนสูงกว่าทางตอนใต้ของจังหวัดมาก เนื่องจากอิทธิพลของป่าที่เหลืออยู่ ป่ารอยต่อประเทศพม่าและมรสุมจากทะเลชายฝั่งประเทศพม่า ปริมาณน้ำฝนประมาณ ๑,๔๐๐-๒,๕๐๐ มม./ปี อุณหภูมิปกติ

                            สวนป่าไม้สัก ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ บริษัทกาญจนบุรีทำไม้จำกัด(โอนให้องค์การแล้ว)และสวนป่าของกรมป่าไม้ ในพื้นที่ทางตอนเหนือของจังหวัดนี้จึงมีอัตราการรอดตายสูง ปลูกด้วยระยะ ๒x๒ เมตร ๓x๓ เมตร ๒x๔ เมตร และ ๔x๔ เมตร สวนป่าไม้สักปลูกแล้วดายวัชพืชปีละ ๒-๓ ครั้ง ทำแนวกันไฟในฤดูแล้ง ตัดแต่งต้น ไม่เคยใส่ปุ๋ย แต่กระนั้นสวนป่าไม้สักเหล่านั้นซึ่งอยู่ใท้องที่ อ.สังขะบุรี อ.ทองผาภูมิและไทรโยค ยังได้ผลดี

                           ข้อสังเกตุคือ สวนป่าไม้สักที่พบเติบโตทางความสูงมากกว่าปกติ ส่วนทางความโตของลำต้นเล็กกว่าควรจะเป็น เหตุผลคือ ตั้งแต่ปลูกป่าไม้สักมาตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๒๑ ก็ไม่เคยมีการตัดสางขยายระยะเลย ต้นไม้เติบโตเร็วมากเท่าใดก็ยิ่งต้องตัดสางขยายระยะเร็วเท่านั้น เมื่อเรือนยอดชิดแก่งแย่งแสงสว่างและระบบรากแก่งแย่งอาหาร อัตราการติบโตจึงลดลงไปต้องรีบตัดสางให้ทันทีที่เกิดการแก่งแย่ง เพื่อเปิดช่องว่างให้มากขึ้น ทำไมไม่ทำกัน

                        คำตอบคือ ในการตัดสางขยายระยะทุกครั้งหรือในการปฏิบัติการณ์ใดๆ องค์การ บริษัทและกรมป่าไม้เอง ก็ต้องได้รับอนุมัติจากกรมป่าไม้เสียก่อนจึงจะดำเนินการได้ ถึงแม้ว่าจะได้กำหนดไว้แล้วในแผนการก็ตาม ไม่ได้รับอนุมัติก็ดำเนินการไม่ได้ ปัญหาอุปสรรคของการเจริญเติบโตอยู่ตรงนี้ ในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น ต้นสักสูญเสียโอกาสในการเจริญเติบโต ความเพิ่มพูนรายปีไปมากมายเพียงใด เท่ากับสูญเสียเงินไปมากเท่านั้น

                         ปัจจุบันนี้องค์การและบริษัท และเอกชนทั่วไป สามารถตัดสางขยายระยะได้ตามเวลาที่เหมาะสม เพราะว่ากฏหมายสวนป่า ๒๕๓๕ ได้กำหนดให้เป็นสิทธิของเอกชนแล้ว ออป.ฯ ก็ทำได้จะเห็นได้ว่าจังหวัดกาญจนบุรีปลูกป่าไม้สักได้ดี ต้องทางตอนเหนือเท่านั้น จึงจะไม่ต้องดำเนินการพัฒนาดินเลย ธรรมชาติเหมาะสมมาก ต้นสักไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควรก็เติบโตได้ดี ดังที่ได้พบในสวนป่าเกริงกระเวีย ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ สวนป่าหน่วยจัดการต้นน้ำผาตาด ของกรมป่าไม้ สวนป่าของฝ่ายจัดการที่ดินป่าสงวนแห่งชาติที่ผาตาดและไทรโยคใหญ่ เป็นต้น

                           พอล่องลงมาถึงเขตอ.บ่อพลอย อ.พนมทวน อ.เมือง อ.ท่าม่วง อ.ด่านมะขามเตี้ย เรียกว่าเขตกาญจนบุรีตอนใต้ สิ่งที่พบในสวนป่าของภาคเอกชนคือ มีทั้งที่ปลูกป่าไม้สักและไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส มีความแตกต่างกันมากอย่างเห็นได้ชัดเจน ระหว่างการปลูกป่าไม้สักทางตอนใต้กับปลูกไม้สักทางตอนเหนือ และความโดดเด่นของสวนป่าไม้ยูคาลิปตัส

                              สภาพทั่วไปของภูมิประเทศตอนใต้ ส่วนใหญ่เป็นที่รายจนถึงที่ลาดเนินเขา ป่าเดิมเป็นป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ดินที่พบจึงเป็นดินลูกรัง ดินทราบจัดจนขาวโพลน ดินขาดความอุดมสมบูรณ์มากเนื่องจากการทำไร่มันสำปะหลังและไร่อ้อยมานานหลายสิบปี บางแห่งมีระดับน้ำไต้ดินตื้นที่คนเมืองกาญจนบุรีเรียกว่าน้ำซับ บางแห่งมีดินแน่นจนเป็นดินดาน ปริมาณน้ำฝนต่ำกว่าทางตอนเหนือมาก ค่าเฉลี่ย ๙๐๐-๑,๐๐๐ มม./ปี อุณหภูมิปกติ ๒๕-๔๐ องศาเซลเซียส

                         ที่สวนป่าเอกชนแห่งหนึ่งในเขตต.ช่องด่าน อ.บ่อพลอย ปลูกป่าไม้สักจำนวน ๘๐๐ ไร่ บนที่ดินเดิมเป็นป่าเต็งรัง ดินเป็นดินลูกรังบ้าง ดินดานบ้างและบางส่วนเป็นดินปนหิน ดินขาดความอุดมสมบูรณ์มาก ไม่มีแหล่งน้ำแต่ขุดน้ำบาดาลได้ลึกประมาณ ๑๒๐ เมตร กักเก็บน้ำในบ่อได้เพียงบางฤดู แต่ไม่เคยรดน้ำให้เลยปลูกมาสองปีด้วยการจ้างปลูก แต่ไม่จ้างบำรุงสวนเดิมต่อไป

                          ปีแรกมีการดายวัชพืช ๒-๓ ครั้ง อัตราการรอดตายมากกว่า ๗๕ % ถือว่าปลูกป่าสักในที่ดินเลวได้ผล แต่ปรากฏว่าเจ้าของกิจการไม่เคยใส่ปุ๋ยให้เลย ไม่มีการเพิ่มหน้าดินอินทรีย์วัตถุต้นสักก็เลยแกร็นหมดทั้งสวน ต้นที่โตสูงสุดมีอยู่ไม่กี่ต้น ๑.๕๐ ม. ต้นเตี้ยสุดก็ ๑๒ ซม. พอย่างเข้าปีที่สอง ก็ไม่ได้บำรุงรักษาอีกทั้งปี วัชพีชปกคลุมไปหมดทั้งสวน น่าเสียดายมากเพราะต้นสักยังรอดอยู่

                        ความผิดพลาดสวนป่าสักแห่งนี้คือ เริ่มตั้งแต่การเลือกชนิดไม้ที่ปลูกไม่เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก ซึ่งในทางที่ถูกต้องตามหลักวิชาการป่าไม้ จะเลือกชนิดไม้ตามลักษณะของพื้ที่ปลูก เพราะว่าจะได้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการพัฒนาดินและน้ำให้พอเพียง เรื่องที่ผิดพลาดต่อมาคือการจ้างปลูกแต่ไม่จ้างดูแลต่อ ต้นไม้มีชีวิตอยากเติบโตเช่นกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แต่ต้องมีนิเวศที่เหมาะสม เรื่องที่สามคือการไม่พัฒนาดินเพิ่มขึ้นให้กับสวนป่าเลย ปล่อยตามยถากรรม เทวดาเลี้ยงจริงๆ

                         สิ่งที่เสียหายไปคือเงินทองที่ได้ลงทุนจ้างปลูกไปหลายล้านบาท ต้นสักที่ไม่ได้เติบโตเพื่อตอบแทนเป็นตัวเงินในอนาคต ถึงอย่างนั้นก็ไม่เสียไปมากกว่าเสียความรู้สึกของเจ้าของสวนป่าสักแห่งนี้ ที่พยายามจะสร้างสวนป่าไม้สักขึ้นบนที่ดินที่ปล่อยรกร้างว่างเปล่าแห่งนี้ นี่ถ้าได้ตคัดเลือกปลูกป่าไม้ชนิดที่เหมาะสมกับพื้นที่ดินเลว คือยูคาลิปตัสเสียแต่แรกสองปีที่ผ่านมาคงโตไม่น้อยกว่า ๕ เมตร

                            บทเรียนในการปลูกป่าสักบนที่ดินใดๆก็ตาม อย่าลืมธรรมชาติป่าไม้สัก เพราะว่ามิเช่นนั้นจะกลายเป็นเสียทั้งทรัพย์และเสียทั้งความรู้สึก จึงใคร่เสนอแนะให้ผู้ที่มีที่ดินในกาญจนบุรีตอนใต้ทั้งหลาย หันมาปลูกป่าไม้ยูคาลิปตัสเป็นดีที่สุด ได้ป่าเขียวขจีแน่นอน ได้เงินจากการขายไม้แน่นอน และได้ไปทุก ๓ ปี ต่อเนื่องตลอดไป เพราะว่าไม้ยูคาลิปตัสตัดแล้วแตกหน่อใหม่เอง แตกหน่ออีก ๕-๗ หน่อ ถ้าจะปล่อยให้เติบโตทั้งหมดก็ได้ หรือจะตัดทิ้งหลายหน่อแล้วปล่อยไว้หน่อเดียวก็ได้
                        บนที่ดินเลว ปลูกด้วยกล้าไม้พันธุ์เลว ปลูกและบำรุงสวนอย่างเลว ผลตอบแทนก็เลวด้วย แต่ถ้าดินเลว ปลูกด้วยกล้าพันธุ์ดี ปลูกและบำรุงด้วยอย่างดี ผลตอบแทนก็ดี สบาย สบาย ครับผม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Tags : Teak

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view