http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,020,963
Page Views16,330,494
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

บทบาทที่ต้องทำบนความทุกข์ของชาวบ้าน

บทบาทที่ต้องทำบนความทุกข์ของชาวบ้าน

                          บทบาทที่ต้องทำบนความทุกข์ของชาวบ้าน

            เมื่อชาวบ้านที่อาศัยอยู่ห่างไกลในป่าดงพงพีเดือดร้อน ใครคือผู้มีบทบาทและหน้าที่ในการแก้ไข คำตอบวันนี้อยู่ที่ เขาเดือดร้อนเรื่องอะไร  องค์กรของรัฐที่เข้าไปแก้ไขๆ ได้ตรงประเด็นหรือไม่ ตามไปดูกรมทรัพยากรน้ำทำงานในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ดินแดนที่เกิดปัญหาจนโด่งดังไปทั่วประเทศ แผ่นดินถล่มบ้านทะลายที่นาที่ไร่หายไปกับตา บรรเทาความกลัวได้แค่ไหนหรือ ส่วนในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกสนองตอบความต้องการน้ำไปทำการเกษตรกรรมอย่างจริงจังได้ไหม

                        
                 
            บ้านน้ำลี ม.6 ต.น้ำหมัน อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ มีราษฎร 230 ครอบครัว ประชากร 850 คน ตั้งบ้านเรือนอยู่สองฝั่งห้วยน้ำริดขนาดกว้าง3-4 เมตร อันเป็นห้วยสาขาแม่น้ำน่าน พื้นที่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน ค่อนข้างสูงชันกว่า 35 องศา มีวัด โรงเรียน และที่ดินทำกินบนภูเขาส่วนหนึ่ง ริมร่องเขาแคบๆอีกส่วนหนึ่ง มีหน่วยจัดการต้นน้ำลีของกรมอุทยานแห่งชาติฯ อยู่  1 หน่วย ปลูกป่าฟื้นฟูป่าต้นน้ำเสื่อมโทรม                                       

           วันที่ 21-23 พค.2549 เกิดอุทกภัยอันเนื่องมาจากปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมามากเกินพิกัดที่ดินจะอุ้มน้ำไว้ได้ ประกอบกับตลอดลุ่มน้ำแห่งนี้มีบ้านน้ำต๊ะ อยู่เหนือต้นน้ำขึ้นไป ก็ทำไร่บนเขาสูง ป่าต้นน้ำลุ่มน้ำนี้เสื่อมโทรมมาก จึงเกิดดินถล่มลงมาอย่างหนัก บ้านเรือนเสียหาย 53 ครัวเรือน คนสูญหายไป 15 คน พบศพ 5 ศพ ลำห้วยถูกแรงดันน้ำเบิกจนที่นาริมห้วย บ้านเรือน สะพาน หายไปหมด     

               กรมทรัพยากรน้ำ โดยสำนักทรัพยากรน้ำภาค 9 ผู้รับผิดชอบพื้นที่ลุ่มน้ำน่านส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์และพิษณุโลก ได้เข้ามาสำรวจความเสียหายและเยียวยาด้วยการ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าเรื่องน้ำกินน้ำใช้ เรื่องระบบเตือนภัยน้ำท่วมดินถล่ม ที่โรงเรียนบ้านน้ำลีและบ้านน้ำต๊ะ ในทันทีเมื่อปีพ.ศ.2550  นอกจากนั้นได้ขุดลอกแก้มลิงลำห้วยให้กว้างและทำขอบลำห้วยด้วยตะแกรงลวดพร้อมหินก้อนโตๆเพื่อรักษาชายตลิ่งที่ต้องปะทะแรงขับดันของน้ำในหน้าฝน 

                             

             ในความรู้สึกของชาวบ้าน รู้สึกดีใจที่ทางราชการเข้ามาดูแล เกิดความอบอุ่นใจมากที่ไม่ถูกทอดทิ้ง แต่สิ่งที่ชาวบ้านกังวลมากคือที่ทำกินริมห้วยชายเขาที่สูญหายไป ทำให้เขากลายเป็นชุมชนที่อยู่อาศัยแต่ไม่มีที่ดินทำกินอีกเลย บนเขาป่าไม้ก็ปล฿กป่าต้นน้ำไปจนแทบหมดสิ้น ได้อาศัยเป็นแรงงานอยู่ส่วนหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่ได้อพยพกันออกไปทำงานโรงงานบ้าง เมืองใหญ่บ้าง เหลือแต่คนแก่กับเด็กๆ

                                   

              นอกจากนี้ กรมทรัพยากรน้ำยังได้จัดระบบประปาหมู่บ้านแบบพัฒนาให้กับราษฎรบ้านด่านห้วยใต้ ม.6 ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์  มีการจัดการบริหารระบบแจกจ่ายน้ำ  มีการทดสอบคุณภาพน้ำก่อนนำมาเข้าสู่ระบบและหลังผ่านกระบวนการแล้ว คุณภาพน้ำประปาจากกรมทรัพยากรน้ำแบบหอยโข่ง ซับเมอร์ซิเลิ้ล ได้ถึง 9 หมู่บ้าน 1,527 ครัวเรือน ด้วยระบบที่พัฒนาแล้ว ชาวบ้านได้ร่วมกันบริหารจัดการจนได้ผลกำไรคืนสู่ชุมชนอย่างไม่น่าเชื่อ นี่ก็เพราะว่าเกิดอุทกภัยเหมือนกัน

          

              แต่ที่ราษฎรบ้านป่าสัก อ.นครไทย จ.พิษณุโลก เกิดภัยแล้งจัดขาดน้ำอุปโภคและบริโภคอย่างร้ายแรง ประชากร 14 หมู่บ้านเดือดร้อน ในที่สุด กรมทรัพยากรน้ำได้เข้าไปสำรวจแหล่งทรัพยากรต้นน้ำ จนได้ทำเลที่เหมาะสม จึงได้พัฒนาเป็นอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำคูบ ส่งผลให้เกษตรกรมีน้ำใช้ได้ถึง 5,000 ไร่ มีปริมาณน้ำไหลบ่า 20 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่อ่างเก็บน้ำคูบเก็บรักษาไว้ได้  8.9 ล้านลูกบาศก์เมตร    

   
           

                            
               เกษตรกรส่วนใหญ่ของชาวบ้านป่าสักพึงพอใจที่มีแหล่งน้ำไว้ใช้สอยตลอดไป นอกจากนั้นยังมีการปล่อยปลาโตเร็วลงไปในอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ จนทุกวันนี้มีปลากินอย่างอุดมสมบูรณ์ มีน้ำไว้เล่นแข่งเรือประจำหมู่บ้าน สงกรานต์ก็เล่นกันที่นี่ เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและสืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่เกือบจะสูญหายไป             

                                      

             กรมทรัพยากรน้ำทำให้ปัญหาที่เกิดจากธรรมชาติหมดไป เกิดความอบอุ่นใจกับประชาชน ได้น้ำกินน้ำใช้อย่างมั่นคง มีอยู่อย่างพอเพียง มีให้ใช้ได้ตลอดเวลา มีคุณภาพของน้ำดี ราษฏรมีกำลังใจทำมาหากินมากขึ้น ได้ประเพณีหลายอย่างกลับคืนมา มีอาหารประเภทโปรตีนเพิ่มมากขึ้นจากปลาและสัตว์เลี้ยง มีรายได้จากการเกษตรกรรมพออยู่พอกิน และอาจมีมากจนถึงกับขายได้ด้วย 

                               

               ไม่มีการพัฒนาใดที่ไม่เกิดการทำลาย แต่ในการทำลายตรงนั้นมีได้ทรัพยากรคืนกลับมาเสมอ มันขึ้นอยู่กับว่า เมื่อพัฒนาแล้วต้องได้มากกว่าเสียครับ ขอขอบคุณท่านอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ นายศิริพงศ์ หังสพฤกษ์ และผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 9 คุณวิรัช  ศรีฟ้า ที่กรุณานำชม


                            
                  
           

Tags : thinktang

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view