http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,956,943
Page Views16,263,246
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

กระแสไม้พะยูงดัง กระแสคนอยากปลูก คุ้มหรือไม่ โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

กระแสไม้พะยูงดัง กระแสคนอยากปลูก คุ้มหรือไม่ โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

กระแสไม้พะยูงดัง กระแสคนอยากปลูก คุ้มหรือไม่

โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

              ผมเคยตีตราไม้ในพื้นที่ป่าไม้เขตอุบลราชธานี เคยตรวจปราบปรามการกระทำผิด พรบ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ในท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ และยโสธร จึงเคยแบกไม้พะยูงของกลางขนาดหน้า 8x8 นิ้ว ยาว 4 เมตร หนักแทบไหล่หลุด บั้งข้าราชการแทบกระเด็น(แต่งเครื่องแบบสีกากี) เคยซื้อแจกันไม้พะยูงมาฝากแม่เพื่อใช้ตั้งไว้ดูเล่นๆ ตามประสาคนรักพ่อแม่พี่น้อง สุดท้ายซื้อโต๊ะกินข้าวตัวเบิ้อเริ่มเทิ่มฝากแม่อีกเป็นฉากสุดท้ายที่เคยเกี่ยวข้องกับไม้พะยูง

           ผมย้ายมาปฏิบัติงานที่ด่านป่าไม้กรุงเทพ กองคุ้มครอง กรมป่าไม้ ตรวจสอบใบเบิกทางทั้งภายในประเทศและส่งออกไม้ไปต่างประเทศ เคยพบการกระทำผิดและกระทำถูกต้องตามกฎหมายกรณีไม้พะยูงเหลี่ยมส่งออก ในช่วงเวลานั้นไม้พะยูงส่งออกไปแค่ประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น ว่ากันว่าชาวญี่ปุ่นชื่นชอบเพราะว่าเป็นไม้ที่มีสีแดงเข้ม ลวดลายวิจิตรพิศดาร และมีราคาแพง เพื่อใช้ประดับเป็นเสากลางเรือน แบบว่า เอาไว้อวดกันอยู่ในที ในช่วงเวลานั้นขายกันกิโลกรัมละ 200 บาทเท่านั้น แต่ก็ถือว่าแพงมากๆ (ปีพ.ศ.2519

 

ดร.นิคม แหลมสักและ ดร.ดำรงค์ ศรีพระราม

           หลังจากนั้นผมก็มาเขียนหนังสือ"ต้นไม้ยาน่ารู้" ขาย เล่มที่หนึ่ง สี่สี ขนาดเอสี่ปกแข็ง 374 หน้า   เล่มที่สอง สี่สี ขนาดพ็อกเก็ตบุ๊ค 274 หน้า ในเล่มที่สองนี้มีต้นพะยูงเป็นเนื้อหาอยู่ด้วย แล้วก็ไม่เคยข้องแวะกับไม้ต้นนี้อีกเลย

            จนวันหนึ่งเดินไปเห็นต้นพะยูงในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม กำลังออกดอก ผมรอจนมันเป็นฝัก ก็ไปเก็บมาเพาะชำ เพื่อปลูกเล่นๆในบ้าน โดยไม่อาศัยหลักวิชาการป่าไม้นัก ผมคิดง่ายๆเพียงว่า ปลูกมะม่วงมะขามได้ก็ปลูกต้นพะยูงได้ ผลคือเติบโตเร็วมากพอสมควร ปีเดียวสูงเพียงอก แต่ด้วยความไม่รู้แต่หวังดีตัดมันทิ้งเฉยเลย

ผู้อภิปรายให้ความรู้

                ส่งเรื่องต้นพะยูงไปลง นสพ.มติชนรายวัน แล้วก็ลงในเว็บไซต์ทองไทยแลนด์ดอทคอม โดยมีเนื้อหาดังนี้ครับ

ชื่อพื้นเมือง  กระยง กระยุง ชะยุง แดงจีน ประดู่ตม ประดู่ลาย ประดู่เสน ประดู่น้ำ พระยูงไหม หัวลีเมาะ
ชื่อวิทยาศาสตร์  Dalbergia cochinchinensis Pierre
ชื่อวงศ์  LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
สถานภาพ  ไม้หวงห้ามธรรมดาประเภท ก

นักวิชาการป่าไม้ด้านการปรับปรุงพันธุ์และไม่ท่อนกลมที่ลักลอบตัดกัน

นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์
     ในประเทศ  ป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้ง แถบภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สูงจากระดับน้ำทะเล 100-200 เมตร
     ในต่างประเทศ  กัมพูชา ลาว
ลักษณะทั่วไป
     ต้นไม้  ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 25 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมค่อนข้างโปร่ง กิ่งห้อยย้อยลง เปลือกนอกสีน้ำตาลแดง เรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดอ้าสี่เหลี่ยมหรือลอกเป็นแผ่นบาง เปลือกในสีขาวอมชมพู
     ใบ  ใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ ช่อใบยาว 10-15 ซม. มีใบย่อย 7-9 ใบ เรียงสลับ ใบรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-7 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน กลมหรือเป็นรูปลิ่มกว้าง ๆ ขอบใบเรียบ หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีขาวนวล ใบเหนียวคล้ายแผ่นหนังบาง ๆ เส้นแขนงใบข้างละ 5-7 เส้น ก้านใบย่อยยาว 3-6 ซม.
     ดอก  ออกเป็นช่อแยกแขนงตามซอกใบและปล่ายกิ่ง กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกรูปดอกถั่วมี 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-8 มม. มีกลิ่นหอม ดอกสีขาว
     ผล  ผลเป็นฝักแห้งไม่แตก แบนและบาง รูปขอบขนานสีน้ำตาลแดง กว้าง 1.2 ซม. ยาว 4-6 ซม. เมล็ดรูปไตสีน้ำตาลเข็ม มี 1-4 เมล็ด

ไม้พะยูงเหลี่ยมและศพเขมรถูกยิงตาย


     ระยะเวลาการออกดอกและเป็นผล
          ออกดอก  พ.ย.-ก.ค.

          ผลแก่       ก.ค.-ก.ย.
     การขยายพันธุ์  เพาะกล้าจากเมล็ด
     ลักษณะเนื้อไม้  สีแดงอมม่วง หรือสีม่วงเป็นมันมีลายสีดำหรือสีน้ำตาลอ่อน เสี้ยนสน เป็นริ้วแคบ ๆ เนื้อละเอียดเหนียวแข็ง
     ชั้นคุณภาพ   A
     ลักษณะทางกายวิภาค  ที่เห็นได้ด้วยแว่นขยายขนาด 10-15 เท่า (handlens)
          พอร์ ส่วนมากเป็นพอร์เดี่ยว (solitary pore) และพอร์แฝด (multiple pore) มีน้อย แบบของการเรียงตัวไม่เด่นชัด การกระจายเป็นแบบกระจัดกระจาย (diffuse porous) พอร์ใหญ่ทางภายในพอร์มีสารตกค้าง (deposit) เป็นบางพอร์ เส้นเรย์เห็นไม่ค่อยช้ด พาเรงคิมาเป็นแบบปีก (aliform parenchyma) และพาเรงคิมาแบบปีกต่อ (confluent parenchyma) มีลายริ้ว (ripplemark)
     สกายสมบัติ  ความแน่น (กก./ม.3) 1,032 ความยากง่ายในการผึ่งไม้ ยาก การอบไม้ ตารางที่ 1
     กลสมบัติ  (strength properties) ชั้นความแข็งแรง มีแรงดัดสถิต มอดูลัสแตกร้าว 171 MPA มอดูลัสยืดหยุ่น 16,377 MPA แรงอัดขนานเสี้ยน 117 MPA แรงเฉือน 26.0 MPA ความแข็ง 13,523 N ทั้งหมดในสภาพแห้ง
     ความทนทานตามธรรมชาติ  ความทนทานสูงมากกว่า 15 ปี
     คุณสมบัติการใช้งาน  การเลื่อย การไส การเจาะ การกลึงค่อนข้างยาก การยึดเหนี่ยวตะปูดีมาก การขัดเงาปานกลาง
การใช้ประโยชน์
     ด้านการทำฟืนและถ่านไม้  ฟืนให้ความร้อน 5,112 แคลอรี/กรัม ถ่านไม้ให้ความร้อน 7,352 แคลอรี/กรัม
     ด้านเป็นไม้ประดับ  เนื่องจากเป็นไม้มีค่าหายากและเนื้อไม้สวยงามยิ่งกว่าไม้ชิงชัน หรือรกะพี้เขาควาย และใกล้สูญพันธุ์ สมควรปลูกเป็นไม้อนุรักษ์พันธุกรรมพืชในสวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ แต่ถ้าปลูกเป็นไม้มีค่าทางเศรษฐกิจจะได้ไม้ราคาแพงมาก เพราะว่าในอดีตได้มีการทำไม้ชนิดนี้ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นมาก ขายเป็นกิโลกรัม นับว่าเป็นไม้ที่น่าจะมีการพัฒนาพันธุ์เพื่อใช้เป็นสินค้าได้ราคาสูงที่สุด ประการสำคัญมีชื่อเป็นมลคล เชื่อกันว่าปลูกแล้วจะช่วยพยุงให้โชคดีมีชัยเสมอ

 

ใบพะยูง 


     ด้านสมุนไพร สรรพคุณ
          ราก   แก้ไข้พิษ

          เปลือกต้น  เปลือกต้มเอาน้ำอมแก้ปากเปื่อย

                 

            ประเด็นวันนี้ เป็นเรื่องที่เกิดกระแสการลักลอบตัดไม้พะยูงแล้วส่งออกไปขายยังประเทศจีน ลูกบาศก์เมตรละเป็นแสนสองแสนบาท เท่านั้นเอง ข้าราชการไทยทั้งหลายก็แปลงร่างเป็นผู้ร้ายในทันที ไม่เว้นแม้แต่นักอนุรักษ์ที่ทำหน้าที่เป็น หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หน่วยป้องกันรักษาป่า ตำรวจ ทหาร ฯลฯ ล่อกันตั้งแต่ระดับคนงานขึ้นไปจนถึงระดับใหญ่ เงินไม่เข้าใครออกใครจริงๆ ว่ากันไปถึงกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชอบงานชี้เป้า ได้เงินเร็ว มาก และไม่เสี่ยง

ดอกพะยูง

             ฝ่ายคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน อดรนทนไม่ได้ก็ลุกขึ้นมาตั้งประเด็น ไม้พะยูง ปรับปรุง ฟื้นฟู หรือสงวน โดยจัดการเสวนากันในหมู่นักวิชาการด้านป่าไม้ นิสิตระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ข้าราชการเกษียณ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2554 ณ หอประชุมธีระ สูตบุตร อาคารสารนิเทศ 50 ปี  โดยเชิญเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของกรมศุลกากรมาบรรยายให้ฟัง  ข้าราชการจากกรมป่าไม้เรื่องการปลูกไม้พะยูง ข้าราชการกรมอุทยานฯเรื่องการป้องกันและปราบปรามไม้พะยูง

             ฟังความได้ว่า การลักลอบส่งออกโดยสำแดงบัญชีสินค้าอื่นที่ไม่ใช่ไม้ หลีกเลี่ยงการเสียภาษี หลีกเลี่ยงการหาหลักฐานการได้ไม้มาอย่างถูกกฎหมาย ได้กำไรมากขึ้น ส่วนเจ้าหน้าที่จากกรมอุทยานฯก็เล่าเรื่องการลักลอบ การปราบปราม การต่อสู้ถึงตาย และก็กล่าวว่า ขะโมยไม้มีทั้งคนไทยและชาวเขมร เพราะว่าราคาการลักลอบคุ้มค่าเสี่ยง เมื่อขะโมยตัดแล้วก็ส่งออกไปทางชายแดนด้วยการพุ่งไม้ลงจากฝั่งประเทศไทยซึ่งอยู่สูงกว่าฝั่งเขมร ดุเดือดเลือดพล่านยังกับในภาพยนตร์

ฝักพะยูง

             คนสุดท้ายมาจากกรมป่าไม้ เป็นนักวิชาการด้านการปลูกและปรับปรุงพันธุ์ไม้พะยูง ท่านได้เล่าว่าปลูกได้โตเร็วตามสมควร ขึ้นอยู่กับพื้นที่ปลูก แม้ปลูกนอกเขตที่เป็นถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติก็ขึ้นได้ดี เจริญเติบโตเร็ว ส่วนเนื้อไม้จะงดงามเพียงใดยังไม่ได้เล่าความให้ฟัง จึงยังไม่มีข้อพิสูจน์ว่า ถ้านำไม้พะยูงไปปลูกต่างถิ่น (ซึ่งเดิมทีเดียวไม้พะยูงเกิดและเติบโตอยู่ในท้องถิ่นอีสานทั้งเหนือและใต้)  เช่นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เติบโตดี หรือแม้แต่ภาคใต้ก็โตดี

             ความสวยงามของเนื้อไม้พะยูงตามธรรมชาตินั้นอยู่ที่ลวดลายวงปีที่ถี่ยิบ เนื่องจากการเจริญเติบโตปีละนิดๆ ลำต้นส่วนใหญ่คดงอก็ยิ่งทำให้เกิดลวดลาย  สีเนื้อไม้แดงเข้มจนอมม่วง กระพี้สีขาว เรียกว่าเนื้อไม้พะยูงสวยยิ่งกว่าไม้ชิงชันหลายชั้น แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีสถิติที่นำมาแสดงและแจกให้ทราบ จึงต้องเว้นไว้ว่า จะเขียนถึงเรื่องการปลูกทดลองต่างถิ่นอีกครั้งหนึ่ง 

             สรุปว่า ในที่ประชุมอยากให้ปลูกไม้พะยูงเป็นไม้เศรษฐกิจตัวใหม่ โดยไม้พะยูงเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. แต่ก็ไม่ใช่ไม้สักและไม้ยาง ตามมาตรา 7 แห่ง พรบ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ซึ่งเกิดปัญหามาตลอด

              ปัญหาใหญ่ที่ผมเห็นคือ ความล้มเหลวการส่งเสริมการปลูกป่าภาคเอกชนในอดีต เป็นตราบาปของวงการป่าไม้ และประชาชนคนที่สนใจปลูกไม้สักและยาง ด้วยว่า พรบ.สวนป่าพ.ศ.2535 ได้วางกับดักเอาไว้มากมายหลายมาตรา

               ที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิงคือ การคดโกง การทุจริตคิดมิชอบ ของเหล่าข้าราชการ จนทุกวันนี้ ถ้าใครพูดว่าอยากปลูกไม้สัก จะมีแต่คนส่ายหน้าแล้วก็ด่ายับ นี่คือสภาพความเสื่อมทรามในด้านความเชื่อมั่นการปลูกป่าไม้เป็นอาชีพที่กรมป่าไม้ในอดีตได้สร้างวีรกรรมขึ้น ช่วงเวลานั้นผมเขียนหนังสือชื่อการลงทุนปลูกไม้สักเพื่อการค้า หลังจากนั้นก็ได้รับเชิญให้เขียนลงใน นสพ.หลายฉบับ จนเบื่อสุดๆ

               แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยราคานับแสนบาทต่อลูกบาศก์เมตร จูงใจให้อยากปลูกไม้พะยูง ปลูกเลย ไม่จำเป็นต้องเลือกหลอกว่าต้นเปลาตรงหรือไม่ ขอเพียงให้มีอัตราการเจริญเติบโตดีก็ใช้ได้แล้ว ข้อสังเกตที่ผมเคยเห็น เมื่อปลูกไว้ไม่ว่าที่ไหนๆ ยกเว้นชายเลนและชายหาด ไม้พะยูงเติบโตได้อย่างรวดเร็วตามสมควร อาจปลูกเพียง 10 ปี ถึง 15 ปีก็ตัดมาใช้ประโยชน์ได้  ขายได้เงินมหาศาล อยากได้เมล็ดพะยูงอีกสัก 20-30 วัน เมล็ดไม้พะยูงในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสนก็จะแก่ เก็บไปเพาะกล้าได้ มีเพียบ

                หาต้นไม่เจอ โทรมาถามได้ จะไปชี้เป้าให้ฟรีๆ 081-9416364  

                ท่านที่มีที่ดินอยู่แถวภาคอีสาน ติดต่อซื้อกล้าไม้พะยูงได้จากอาจารย์ นพพร นนทพา นักวิชาการป่าไม้ที่จบไปจากคณะวนศาสตร์ ม.เกษตร บางเขน แต่ไปรับราชการที่คณะเภสัชศาสตร์ ม.ขอนแก่น ตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ คลิ๊กไปที่หน้าเว็บไซต์ www.khundong.com  โทร.089-4182100 ท่านมีเป็นแสนๆต้น ราคาย่อมเยา ปรึกษาเรื่องการปลูกและการดูแลได้

                ท่านที่มีที่ดินอยู่แถวภาคกลาง ติดต่อซื้อกล้าไม้พะยูงได้จากอาจารย์บุญฤทธิ์ ภูริยากร นักวิชาการป่าไม้ ที่เกษียนจากราชการไปแล้ว จบปริญญาตรี-โท จากคณะวนศาสตร์ ม.เกษตร บางเขน เพาะกล้าไม้ขายนานาชนิดอยู่ที่ แก่นจันท์พรรณไม้ ห่างจ.ราชบุรี 5 กม. โทร.081-9879497 ได้กล้าไม้พันธุ์แท้ ราคาคุยกันเองได้เลย หรือจะปรึกษาเรื่องปลูก ตกแต่งสวนหย่อม เชี่ยวชาญมาก

                อาจารย์สองท่านนี้ ผมเชียร์และการันตี ของจริง ของจริง

 


                    

Tags : ไม้ชิงขัน

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view