http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,957,283
Page Views16,263,591
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

การบริหารจัดการน้ำการรับฟังความคิดเห็นจังหวัดนครสวรรค์และอุทัยธานี

การบริหารจัดการน้ำการรับฟังความคิดเห็นจังหวัดนครสวรรค์และอุทัยธานี

การบริหารจัดการน้ำ

การรับฟังความคิดเห็นจังหวัดนครสวรรค์และอุทัยธานี

โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

            เมื่อเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในปีพ.ศ.2554 ด้วยสาเหตุหลายประการอันได้แก่ มีพายุเข้าภาคเหนือผ่านภาคอีสานตอนบนตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคมถึง 5 ลูก ทำให้เกิดอุทกภัยร้ายแรงนานหลายเดือน ประกอบการบริหารจัดการน้ำในช่วงเวลานั้นขาดเอกภาพ ประสิทธิภาพการจัดการจึงไม่มีประสิทธิผลเท่าที่ควร สร้างความเสียหายให้กับประชาชนทั่วไป

             และนั่นคือต้นธารของการเกิดแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย ด้วยมติคณะรัฐมนตรีให้ใช้เงินเพื่อจัดการถึง350,000 ล้านบาท ครอบคลุมพื้นที่มีปัญหาทั่วประเทศ 17 ลุ่มน้ำสำคัญ 36 จังหวัด ซึ่งเชื่อได้ว่าจะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำทั้งกรณีเกิดอุทกภัยและภัยแล้ง

              เรื่องนี้ นายประวิน พัฒนะพงษ์ รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ในฐานะคณะอนุกรรมการการจัดการทำการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน(อรป.) กล่าวว่า รัฐบาลตระหนักดีถึงภัยจากภาวะน้ำท่วมเช่นกรณีปี 2554 ส่งผลกระทบต่อทรัพย์สินและเศรษฐกิจของประเทศมากมายมหาศาลจึงได้จัดทำยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยขึ้นในกรอบวงเงิน 3.5 แสนล้านบาท ภายใต้ชื่อ โครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย โดมีคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย(กบอ.)รับผิดชอบ

               เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามกฎหมายจึงเปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบรวมทั้งกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน  โดยมีสถาบันการศึกษา ผู้แทนภาคเอกชน เครือข่ายภาคประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมด้วย ทั้งนี้ เพื่อจะได้สรุปรวบรวมข้อมูลนำเสนอแก่คณะกรรมการพิจารณาแก้ไข ปรับปรุง โครงการเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดแก่ประชาชน

นางอรวิน บุตรวงศ์

               นางอรวิน บุตรวงศ์ ผู้อำนวยการส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักพัฒนาการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า เพื่อให้การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนได้สื่อสารผ่านสู่สายตาประชาชนคนทั่วไป จึงได้จัดให้มีการนำสื่อมวลชนร่วมเข้ารับฟังด้วย โดยในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2556 นี้ได้นำสื่อมวลชนมาร่วมฟังความคิดเห็นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศึกษาดูงานการจัดการพื้นที่ปิดล้อมและพื้นที่แก้มลิงตามโครงการท้องที่เทศบาลนครสวรรค์ และเทศบาลชุมแสง ส่วนวันที่ 5 พฤศจิกายน 2556 จะได้นำชมและฟังความคิดเห็นจากตำบลเกาะเทโพ และอ.ทับทัน จ.อุทัยธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่คลองผันน้ำตามระบบจะตัดผ่านด้วย

             นายชัยโรจน์ มีแดง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ได้ให้ความคิดเห็นกรณีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ว่า เมื่อโครงการบริหารจัดการน้ำจะออกแบบ จึงเป็นเรื่องที่ถูกต้องที่จะได้รับฟังความรู้สึกนึกคิดจากประชาชนผู้มีส่วนได้รับผลกระทบโดยตรง  อันเป็นการสื่อสารสองทาง วันนี้พี่น้องชาวนครสวรรค์มาร่วมด้วยถึง 4,500 คน  ส่วนใหญ่มีความเห็นชอบที่รัฐบาลวางแผนการเช่น กรณีเขื่อนแม่วงศ์ หรือการสร้างเขื่อนและแก้มลิง อย่างไรก็ดี คงต้องรอฟังการสรุปโดยละเอียดจากคณะกรรมการรับฟังอีกครั้ง

นายชัยโรจน์ มณีแดง ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์

             ในการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่มีส่วนได้เสีย พื้นที่จังหวัดนครสวรรค์นั้น ทางโครงการได้จัดนิทรรศการน้ำเพื่อชีวิตให้ได้ชมและศึกษารายละเอียดหลายส่วน ประชาชนแต่ละอำเภอที่เกี่ยวข้องทั้งกรณีน้ำท่วมซ้ำซากและกรณีแล้งซ้ำซาก ให้คำตอบส่วนตัวว่า ยามแล้งมีความต้องการน้ำเพื่อการเกษตรกรรมก็ไม่มีน้ำเหลืออยู่เลย มันไหลไปหมด

ชาวบ้านลาดยาวขึ้นปราศรัยดุเดือด

              ยามฝนถล่มน้ำก็ไหลมาจากทุกแม่น้ำลำคลองจนท่วมไปทั่ว ก็อย่างที่ได้รู้และเห็นกันทุกปี ไม่มีปีไหนที่ชาวนครสวรรค์จะหนีอุทกภัยได้เลย ไม่มากก็น้อย ต้องโดน  โดยเฉพาะน้ำที่ไหลมาตามแม่น้ำปิงและแม่น้ำวัง แม่น้ำน่านและแม่น้ำยม นอกจากนั้นยังแถมน้ำที่ไหลมาจากจังหวัดชัยภูมิไหลลงสู่แม่น้ำน่านที่เทศบาลชุมแสงด้วย แหล่งรวมน้ำที่แท้จริง

                ชาวบ้านที่ขึ้นไปแสดงความคิดเห็นหน้าเวทีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ส่วนใหญ่เป็นคนอำเภอลาดยาว แม่วงศ์ แม่เปิน  ล้วนแต่อยากได้เขื่อนแม่วงศ์หนึ่งในหลายเขื่อนที่อยู่ในแผนเชื่อนของการบริหารจัดการน้ำ เขาเล่าถึงยามเมื่อไม่มีน้ำจากฝนจะทำนา และเล่าว่าเมื่อฝนมาทำนาได้แต่ก็ไม่ได้ข้าวเพราะเมื่อฝนมามันมามากเกินจนกลายเป็นน้ำท่วม นาล่มไปอีก ต้องรอเมื่อฝนซาฟ้าเปลี่ยนจึงเริ่มทำนาได้อีกครั้ง ผลผลิตต่ำไปครึ่งๆ

สองน้าสาวคู่นี้ บอกว่าบ้านไร่ของเธอแล้ง

                นอกห้องเสวนา ผมนั่งคุยกับน้าสาวสองสามคน ถามว่าอยู่ในเขตสามอำเภอนั่นไหม เธอตอบว่าไม่ใช่ แต่เธอก็อยากได้เขื่อนแม่วงศ์ อยากให้เพื่อนบ้านสุขสบายมีน้ำทำนา แล้วเธอมาทำไมกันเล่าในเมื่อน้ำไม่ท่วม เธอตอบว่ามาเพราะว่าไร่บ้านฉันมันดอน แล้ง ร้อน ปลูกมันก็ได้ต่ำกว่าที่อื่นๆ หากได้คลองส่งน้ำจากเขื่อนแม่วงศ์ไปถึงก็จะได้น้ำไปทำให้ได้มันมากกิโลขึ้นบ้าง นี่ก็เป็นอีกเรื่องที่ชาวนครสวรรค์อยากได้

                มีโต๊ะนักต่อต้านเขื่อนตั้งอยู่ไกลๆ ผมไม่อยากเข้าใกล้นัก กลัว แต่ก็ตัดใจเข้าไปขอเอกสารต้านเขื่อนแม่วงศ์ เพื่อนำมาอ่านประกอบ ได้ความรู้ว่า นักต่อต้านเขื่อนเหล่านั้นเป็นคนต่างถิ่นแทบทุกคน มีบ้างที่เป็นคนนครสวรรค์ แต่เป็นเหมือนเอ็นจิโอกลายๆ ใครทำอะไรที่ไหนก็ไปต่อต้านไปทั่ว ถ้าจะชอบ หรือเป็นอาชีพ แต่ก็เป็นอีกแง่มุมหนึ่งที่เกิดขึ้นเสมอในการพัฒนาใหม่ที่จะเกิดขึ้น

                 สรุปว่า ส่วนใหญ่ชาวนครสวรรค์ที่มาร่วมเสวนา อยากให้สร้างเขื่อนแม่วงศ์ อยากเห็นการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ อยากได้น้ำไว้ใช้มากกว่าท่วมแล้วก็ไหลเลยไปหมด อยากเพิ่มศักยภาพที่ดินทำกินโดยอาศัยน้ำ อยากเห็นความเปลี่ยนแปลงที่น้ำท่วมนครสวรรค์ซ้ำซาก อยากได้แก้มลิงเก็บกักน้ำไว้ใช้และชะลอการไหลเลยของน้ำ อยากเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางการพัฒนาแนวใหม่

               ที่ฝ่ายจัดการคุณภาพน้ำ เทศบาลนครสวรรค์ ดร.ธนาภัสสร์ แสงเกียรติยุทธ ได้บรรยายสรุปโครงการพัฒนาพื้นที่ปิดล้อมป้องกันน้ำท่วม บ่อบำบัดน้ำเสีย แล้วพาไปชมเขื่อนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าเมืองนครสวรรค์ ได้เห็นการพัฒนาจากปูนกั้นน้ำเป็นถนนคนเดินเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างเอนกประสงค์ น้ำไม่มาก็ค้าขายกันไป กลายเป็นแหล่งเดินกินบรรยากาศริมฝั่งแม่น้ำที่งดงาม

                 นอกจากนั้น ยังได้ไปชมการพัฒนาพื้นที่ปิดล้อมป้องกันอุทกภัยของเทศบาลชุมแสง แหล่งชุมนุมน้ำที่กล่าวได้ว่า ท่วมทุกปี แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าคณะผู้บริหารเทศบาลชุมแสงสามารถปิดล้อมพื้นที่เศรษฐกิจไว้ได้จากน้ำท่วมเมื่อปีพ.ศ.2554 จนถึงกับได้รับการชื่นชมและเยี่ยมเยือนจากนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 

น้ำจากชัยภูมิลงสู่แม่น้ำน่าน ไหลแรง

                 วันที่ 5 พฤศจิกายน 2556 เดินทางไปฟังนายบุญเลิศ พรหมจิระโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี เล่าเรื่องความไม่รู้เกี่ยวกับโครงการบริหารจัดการน้ำ โดยเฉพาะความคับข้องใจที่ได้รับข่าวสารข้อมูลน้อยเกินไป จนเกิดความกังวลว่า ถ้ามีการผันน้ำผ่านจังหวัดอุทัยธานี จะมีสะพานเชื่อมต่อการคมนาคมระหว่างที่ดินทิศตะวันตกและทิศตะวันออกของคลองดังกล่าวหรือไม่  อย่างไร  ข้อมูลได้รับน้อยเกินไป

                ออกจากศาลากลางจังหวัดได้เดินทางไปยังอำเภอทัพทัน ได้พบกับนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุทัยธานี นายเผด็จ นุ้ยปลี และพี่น้องที่ได้รับผลกระทบจำนวนหนึ่งซึ่งก็เกิดความคับข้องใจในเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับคลองผันน้ำผ่านที่ดินทำกิน บางคนกังวลเรื่องสะพานเชื่อมต่อที่ดินสองฟากฝั่งคลอง บางคนกังวลเรื่องการเวนคืนที่ดินว่าจะได้ราคาคุ้มค่าไหม  บางคนก็หวาดกลัวว่าถ้าที่ดินของตนถูกคลองพาดผ่านทั้งหมด ที่เคยมีที่อยู่ที่ทำกินจะไปทำกินที่ไหน เป็นความกังวลที่เกิดขึ้นเพราะว่าข้อมูลข่าวสารไม่ชัดเจน

นายเผด็จ นุ้ยปลี นายกอบจ.อุทัยธานี

                เรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงเรื่องราวแต่หนหลังครั้งเมื่อตอนเป็นเด็ก ผมเคยตามแม่ไปช่วยลากโซ่แนวตัดคลองส่งน้ำชลประทานผ่านที่นา เสียที่ดินไปส่วนหนึ่ง แต่ได้น้ำมาทำนามากขึ้น ที่เคยทำนาได้ปีละครั้งก็กลายเป็นสองถึงสามครั้ง ซ้ำถนนคันคลองได้กลายเป็นถนนขนส่งพืชผลจากนาข้าว ราคาที่ดินพุ่งสูงขึ้น ความวิตกกังวลของพ่อกับแม่ผมเมื่อแรก กลายเป็นความสุขสมที่ได้ทั้งน้ำและถนนพาดผ่าน นี่คือประสบการณ์ของผมคนแก่อายุ 65 ปีจากอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง

                  เมื่อมีการพัฒนา ย่อมมีผลกระทบจากการพัฒนา อาจจะเป็นชั่วเวลาหนึ่งหรืออาจจะเกิดขึ้นเป็นผลบวกอย่างยั่งยืน ขึ้นอยู่กับแผนการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบทั่วประเทศและอย่างยั่งยืน

เส้นแดงคือคลองผันน้ำตะวันตก

                 สรุปว่า ข้อมูลข่าวสารที่สื่อสารต้องชัดเจน เป็นข้อมูลที่เทียบเคียงใกล้ความจริงสูงสุด  ผู้ที่ทำหน้าที่สื่อสารต้องเข้าใจในเนื้อหาสาระและแนวทางจริง พูดเรื่องยากให้เห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายๆ  องค์กรที่เกี่ยวข้องต้องมีความชัดเจนและกระจ่างแจ้งในเรื่องที่ประชาชนคนทั่วไปข้องใจและวิตกกังวล กระบวนการนำเสนอต้องง่าย ไม่ยุ่งยาก และต้องกระทำหลายๆครั้งจนเข้าใจได้ตรงกัน ความวิตกกังวลของคนยากจนที่ได้รับผลกระทบนั้นรุ่นแรงสำหรับเขา จึงต้องใจเย็น ค่อยๆให้ความรู้ความเข้าใจ เหมือนชาวบ้านนอกเขาคุยกัน พูดเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย เข้าใจไหม

เส้นแดงตัดตอนน้ำให้ไหลเร็วและพ้นเมือง

คลองผันน้ำยม-น่าน ตัดตอนน้ำเหนือนครสวรรค์

เมืองอุทัยธานีมีภาพเขียนสีในถ้ำเขาปลาร้า

 

                 

 

Tags : นกเหยี่ยวดำอพยพนับพัน

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view