http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,995,183
Page Views16,303,501
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

การเปลี่ยนแปลงทางเคมีในไม้สักกาน

การเปลี่ยนแปลงทางเคมีในไม้สักกาน

การเปลี่ยนแปลงทางเคมีในไม้สักกาน

โดย  พงศ์  โสโน  ทัศนีย์  รัติวานิช

บทคัดย่อ

            จากผลการทดลองหาส่วนประกอบทางเคมีของไม้สักที่โค่นดิบและไม้สักกาน โดยใช้ตัวอย่างประเภทละ 1 ต้น พบว่า ในไม้กานนั้น นอกจากจะมีความชื้นต่ำทำให้ไม้ลอยตัวในน้ำได้แล้ว ยังมีส่วนประกอบทางเคมี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกสารแขกซึ่งมีส่วนทำให้ไม้มีความทนทานหรือล่อแหลมต่อการทำอันตรายของแมลงและราเปลี่ยนแปลงไปในส่วนที่เป็นกระพี้ของไม้กาน ปรากฏว่าสารพวกแป้งและน้ำตาล ไม่มี เพราะไม้ใช้หมดไปก่อนตาย แต่กลับมีสารลาพาดอลเกิดขึ้นแทน ซึ่งสารชนิดนี้ไม่มีในกระพี้ไม้ดิบ

              อนึ่ง สารพวกแทนนิน ยาง ไขมัน และอื่น ๆ ซึ่งละลายในแอลกอฮอลและมีอยู่ทั้งในกระพี้และแก่น มีปริมาณลดลงอย่างมีนัยสำคัญในไม้สักกาน


คำนำ

            ในอุตสาหกรรมการทำไม้ขอนสัก ที่ให้ไม้ตายและแห้งเป็นเวลาประมาณ 2 ปี เป็นต้นมาแต่ต้น มีการกานไม้ คือสับ เสียก่อน จึงจะทำการตัดฟันชักลาก ทั้งนี้กระพี้ให้ขาดโดยรอบลำต้นตอนโคน ๆ ทำ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อลดน้ำหนักของไม้ ทำให้ไม้ลอยน้ำได้ สามารถล่องลงมายังตลาดตามลำน้ำซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายถูกลง และจำเป็นต้องทำในเวลานั้น เพราะไม่มีทางคมนาคมอย่างอื่น

            ในการสับการไม้นั้น  นอกจากทำให้ไม้เบาสะดวกแก่การขนส่งทางน้ำแล้ว ยังเชื่อว่าทำให้คุณสมบัติในด้านอื่น ๆ รวมทั้งคุณสมบัติทางเคมีเปลี่ยนไปได้หลายอย่าง

            วัตถุประสงค์ของการทดลองครั้งนี้ ก็เพื่อให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลง ทางเคมีจากปริมาณของสารอินทรีย์ ที่มีความสำคัญบางชนิดในไม้ดิบและไม้สักกาน


การทดลองและผลที่ได้

            ไม้ที่ใช้ในการทดลอง ตัดจากป่าในท้องที่จังหวัดกำแพงเพชร จากไม้กานที่ผู้ได้รับสัมปทานทำออก และจากไม้โค่นดิบที่ราษฎรตัดทิ้งไว้และยังสดอยู่ มีระดับสูงจากพื้นดินประมาณ 100 ซม.

            ไม้กาน มีขนาดวัดรอบแว่นที่ตัดเป็นตัวอย่างมา 114 ซม. นับวงปีได้ 100 ปีเศษ (ตอนที่เป็นกระพี้ไม้โตช้ามาก นับไม่ได้ชัด)จำนวน 1 แว่น

            ไม้ดิบ มีขนาดวัดรอบแว่นตัวอย่าง 134 ซม. นับวงปีได้ 134 ปี จำนวน 12 แว่น

            แต่ละแว่นแยกตัวอย่างออกเป็นส่วน ๆ คือที่มีอายุ 1-10, 11-20, 21-30,...และส่วนที่เป็นกระพี้ รวม 9 ส่วน ดังภาพที่ 1 ตัวอย่างหมายเลข 1-8 เป็นส่วนที่เป็นแก่น ส่วนตัวอย่างหมายเลข 9 เป็นกระพี้


ภาพที่ 1  การเลือกตัวอย่างจากแว่นไม้สัก

            ในการศึกษา ได้หาปริมาณของสารต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  1. เทคโตควีโนน (Tectoquinone)
  2. ลาพาคอล (Lapachol)
  3. ดีโซซีลาพาคอล (Desoxylapachol)
  4. สารละลายแอลกอฮอล (Alcohol extract)
  5. น้ำตาล (Free sugar)
  6.  โซโลส (Xylose)
  7. กลูโคส (Glucose)

สารในลำดับที่ 1-3 วิเคราะห์โดยวิธีเพเปอร์โครมาโตคราฟี ใช้อุปกรณ์คือ

Paper     :  S&S No.2043b.Mgl

Solvent  : Methyl alcohol:Petroleum ether (80-100°C) :: 1:1

สารที่ 4 ใช้วิธี  TAPPI Standard 6m-59

สารที่ 5 ใช้วิธีธินเลเยอร์โครมาโตกราฟี ใช้อุปกรณ์คือ

Layer     : Kieselguhr G

Solvent  : Ethylacetate : Isopropanol+Water (2:1) ::65:35

Colour reagent  : 2,4 dinitrophenylhydrazine

สารที่ 5 และ 6 ใช้วิธีย่อยไม้ด้วยกรดกำมะถันเข้มข้น 72% แล้ววิเคราะห์หาปริมาณไซโลสกับเซลลูโลสด้วยวิธีที่ใช้กับสารที่ 5

      ผลการทดลองที่ได้ สำหรับเทคโตควีโนน ดีโซซิลาพาคอล สารละลายแอลกอฮอล ไซโลส และกลูโคส รวมแสดงไว้ในตารางที่ 1

      สารลาพาคอล พบแต่เฉพาะในไม้ส่วนที่เป็นกระพี้ของไม้สักกาน มีปริมาณ 0.536% ของไม้อบแห้ง ตัวอย่างอื่น ๆ ทั้งในไม้ดิบและไม้กานรวมทั้งส่วนที่เป็นกระพี้ของไม้ดิบ ตรวจไม่พบสารชนิดนี้

      น้ำตาล ตรวจพบแต่ในส่วนที่เป็นกระพี้ของไม้ดิบ มีปริมาณแยกเป็นน้ำตาลชนิดต่าง ๆ ดังนี้

ตารางที่ 1 สารประกอบอินทรีย์ที่แยกได้จากไม้สักดิบและไม้สักกาน

ราย

การ

แก่น

 

กระพี้

ค่าทางสถิติ

   1

2

  3

  4

5

6

   7

   8

9

X

SD.

เทคโตดวีโนน (Tectequinone)

สักดิบ

สักกาน

0.421

0.310

0.406

0.340

0.407

0.330

0.364

0.362

0.380

0.315

0.397

0.333

0.376

0.331

0.350

0.279

0.322

0.265

0.380

0.318

0.032

0.032

ดี โซซิลาพาคอล (Desexylapachol)

สักดิบ

สักกาน

0.377

-

 

0.320

0.222

0.364

0.224

0.240

0.403

0.531

0.331

0.592

0.242

0.280

0.257

0.314

0.276

0.221

0.252

0.355

0.276

0.131

0.055

สารละลายแอลกอฮอล (Alcohol extract)

สักดิบ

สักกาน

10.35

 4.41

10.44

6.69

9.99

6.43

10.71

7.23

11.99

7.00

11.25

6.91

11.48

6.58

10.96

6.87

7.36

3.69

10.50

6.20

1.26

1.18

ไซโลส (Xylose)

สักดิบ

สักกาน

8.504

8.674

8.529

8.935

8.507

8.486

8.541

8.610

8.548

5.751

5.696

5.959

5.707

8.551

8.507

8.703

5.755

8.700

7.588

8.040

1.323

1.182

กลูโคส (Glucose)

สักดิบ

สักกาน

42.96

34.70

34.12

47.66

34.02

45.26

34.17

45.92

34.19

46.01

45.57

47.67

45.65

45.60

43.37

34.81

34.53

34.40

38.73

42.45

5.15

5.58

หมายเหตุ   ตัวเลขที่ให้เป็นเปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของไม้อบแห้ง

          ฟรุคโตส (Fructose) 0.416%      ตรวจไม่พบน้ำตาลในกระพี้ของไม้

            กลูโคส (Glucose)    0.277%      กาน หรือจากตัวอย่างอื่น ๆ ที่เป็นแก่น

            ซูโครส (Sucrose)      0.277%       

 

  1. 3.  วิจารณ์ผลการทดลอง

            จากผลการทดลองที่ได้ ทำให้เราได้ข้อมูลซึ่งอาจนำมาพิจารณาแยกเป็นเรื่อง ๆ ไปได้ ดังต่อไปนี้

            3.1  ไซโลสและกลูโคส  เป็นสารที่ได้จากการย่อยเซลลูโลส ซึ่งประกอบเป็นส่วนสำคัญของเนื้อไม้แท้ ๆ ตามตัวเลขที่ปรากฏจะเห็นได้ว่าในไม้ ไม่ว่าแก่นหรือกระพี้ ไม้ดิบหรือไม้กานปริมาณของไซโลสและกลูโคสมีไร่เรี่ยกันโดยตลอด ซึ่งแสดงว่าการสับ กานไม้สัก ไม่มีส่วนกระทบกระเทือนต่อองค์ประกอบส่วนที่เป็นเนื้อไม้แท้ ๆ

            3.2  น้ำตาล  เป็นอาหารสำหรับหล่อเลี้ยงชีวิตเซลล์เพื่อให้มีชีวิตอยู่และเจริญเติบโตต่อไปได้ มีอยู่ในเนื้อไม้ในฐานะที่เป็นสารแซกอย่างหนึ่ง ในไม้ที่ตัดสดนั้นเห็นได้ว่ายังมีน้ำตาลตกค้างอยู่ในส่วนที่เป็นกระพี้ แต่ตรวจไม่พบในไม้กาน

            จากข้อมูลนี้ ชี้ให้เห็นว่าในไม้กานนั้นเซลล์ของไม้ตายไปในลักษณะตายอด ตายหยาก เมื่อใช้อาหารเช่นน้ำตาลเป็นต้นที่สะสมไว้หมดแล้วจึงตาย การที่ไม่มีน้ำตาลในตัว ให้ให้กระพี้ไม้ปลอดจากการทำอันตรายของมอดไม้แห้งและราสีได้ ซึ่งจัดเป็นความรู้ที่น่าสนใจในกรณีที่จะต้องตัดไม้เล็กยังมีส่วนที่เป็นกระพี้หนามาใช้ประโยชน์ในโอกาสต่อไป

            3.3  ลาพาคอล ก็เป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันว่าการกานไม้ เป็นการปรับปรุงคุณภาพไม้ส่วนที่เป็นกระพี้ให้ดีขึ้นในด้านความทนทานอีกอย่างหนึ่ง เพราะในไม้กานเท่านั้น ที่สารชนิดนี้ในกระพี้ และมีอยู่แต่เฉพาะในส่วนที่เป็นกระพี้เท่านั้น

            สารลาพาคอล มีคุณสมบัติเป็นพิษต่อมอดปลวก และเป็นพิษต่อผิวหนังได้ด้วย แต่ทั้งนี้ ก็ยังมีพิษน้อยกว่าดีโซซิลาพาคอล

            3.4  เทคโตควีโนนและดีโซซิลาพาคอล  เป็นสารที่เป็นพิษต่อแมลงและช่วยให้ไม้มีความทนทานดี สารสองชนิดนี้มีกระจายทั่วไป ไม่เลือกว่าเป็นแก่น หรือกระพี้ (เว้นแต่ตัวอย่างที่ 1 ของไม้ กาน ซึ่งตรวจไม่พบดีโซซิลาพาคอล)

            จากข้อมูลในตารางที่ 1  ซึ่งนำมาแสดงเป็นแผนภาพให้เห็นความแตกต่างในภาพ 2 ก. สำหรับเทคโตควีโนน และ 2 ข. สำหรับดีโซซิลาพาคอล จะเห็นได้ว่ากระพี้มีสารพวกนี้น้อยกว่าส่วนที่เป็น แก่นบ้างก็เพียงเล็กน้อย ความแตกต่าง ในเรื่องปริมาณระหว่างไม้ดิบและไม้กาน ก็ไม่ชัดแจ้งนัก แม้ส่วนใหญ่จะมีแนวโน้มว่ามีน้อยลงในไม้กานก็ตาม

            สูตรโครงสร้างของเทคโตควีโนนลาพาคอล และดีโซซิลาพาคอล แสดงรวมไว้ในภาพที่ 3

            3.5  สารละลายแอลกอฮอล เหมือนกับเทคโตควีโนนและดีโซซิลาพาคอล ตรงที่มีในไม้ไม่เลือกว่าเป็นกระพี้หรือว่า เป็นแก่น แต่ที่ต่างกันก็อยู่ที่ว่ากระพี้มีสารพวกนี้น้อยกว่าแก่น และไม้กานมีสารพวกนี้น้อยกว่าไม้ตัดสด ซึ่งผลการวิเคราะห์ทางสถิติก็พบว่าความแตกต่างนี้มีนัยสำคัญ (ดูภาพ 2ค)

            สารที่ละลายในแอลกอฮอลนั้นมีหลายชนิด เช่น ยางไม่ละลายน้ำ (Resins)ยางละลายน้ำ (Gums) ไขมัน (Fats) ขี้ผึ้ง (Waxes) น้ำฝาด (Tannin) สารให้สี (Colouring matters) และสารที่ละลายน้ำได้อื่น ๆ อีกบางตัว นี่แสดงว่าก่อนตายนั้น นอกจากน้ำตาลหรืออาหารในสภาพปกติแล้ว แม้แต่อาหารที่เก็บไว้ในสภาพของไขมัน ขี้ผึ้ง ยาง ฯลฯ ก็ยังถูกเซลล์ในไม้นำมาใช้ประทังชีวิตเสียมาก

            เทคโตควีโนน ลาพาคอล และอื่น ๆ ที่กล่าวมาเป็นสารแทรกเช่นเดียวกับน้ำตาล

            3.5  สารละลายแอลลกอฮอล เหมือนกับเทคโตควีโนนและดีโซซิลาพาคอล ตรงที่มีในไม้ไม่เลือกว่าเป็นกระพี้หรือว่า เป็นแก่น แต่ที่ต่างกันก็อยู่ที่ว่ากระพี้มีสารพวกนี้น้อยกว่าแก่น และไม้กานมีสารพวกนี้น้อยกว่าไม้ตัดสด ซึ่งผลการวิเคราะห์ทางสถิติก็พบว่าความแตกต่างนี้มีนัยสำคัญ (ดูภาพ 2 ค.)

            สารที่ละลายในแอลกอฮอลนั้นมีหลาย

 

  1. 4.  สรุป

            โดยสรุป อาจกล่าวได้ว่าในไม้กานมีแต่สารที่เป็นองค์ประกอบของไม้ของไม้แท้ ๆ ได้แก่ เซลลูโลสและกิกนินเท่านั้นที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง สารที่จัดเป็นพวกสารแทรกทั้งหมดล้วนแต่ได้รับความกระทบกระเทือน เห็นได้ชัดที่สุด จากการหายไปของน้ำตาลในกระพี้ไม้กาน และการเกิดมีขึ้นของลาพาคอลในส่วนเดียวกันนี้ สารที่ละลายได้ในแอลกอฮอลลดปริมาณลงอย่างมีนัยสำคัญในสารที่ทำให้ไม้มีความทนทานต่อแมลงสองชนิด คือเทคโตควีโนนและดีโซซิลาพาคอล แม้จะมีปริมาณลดลงไม่มากและไม่เสมอไปก็พอเห็นได้ว่ามีแนวโน้มต่ำลง

  1. 5.  คำนิยม

            ไม้ตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองนี้ได้รับความเอื้อเฟื้อจากเจ้าหน้าที่ป่าไม้จังหวัดกำแพงเพชรโดยการจัดการของคุณจินดา  จึงประเสริฐ เป็นผู้จัดหาและส่งให้ถึงกรมป่าไม้ คุณศิริ  เจือวิจิตรจันทน์ เป็นผู้ช่วยคำนวณหาค่าทางสถิติในตารางที่ 1 ให้ จึงขอให้ได้รับความขอบคุณจากผู้รายงานไว้ ณ ที่นี้

Tags : บ้านทุ่งแสนสุขตอน 32

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view