http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,957,254
Page Views16,263,562
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ดอกไม้เทศและดอกไม้ไทย ต้น 19.ทองกวาว

ดอกไม้เทศและดอกไม้ไทย ต้น 19.ทองกวาว

ดอกไม้เทศและดอกไม้ไทย

ต้น 19 ทองกวาว

โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

ต้นทองกวาว

ชื่อสามัญ   กวาว  ก๋าว  จอมทอง  จ้า  จาน  ทองต้น  ทองธรรมชาติ  ทองพรมชาติ  Polash,Parrot Tree, Bastard Teak

ชื่อวิทยาศาสตร์         Butea monosperma (Lam.) Taub.

ชื่อวงศ์                     LEGUMINOSAE- PAPILIONOIDEAE

ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์

            ในต่างประเทศ พบที่ อินเดีย  เมียนมาร์  กัมพูชา  ลาว

            ในประเทศไทย  ป่าเบญจพรรณ ป่าแดงและป่าหญ้าทั่วไป พบทางภาคเหนือมากกว่าทางภาคอื่น ๆ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันนี้นำไปปลูกประดับทั่วไปเกือบทุกภาค


ลักษณะประจำพันธุ์

            ต้นไม้  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 5-15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ลำต้นแตกกิ่งต่ำ คดงอ เปลือกนอกสีเทาถึงสีเทาคล้ำค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นร่องตื้น ๆ เปลือกในสีแดง สับเปลือกทิ้งไว้จะมีน้ำยางใส ๆ ไหลออกมาทิ้งไว้จะมีน้ำยางใส ๆ ไหลออกมาทิ้งไว้สักพักจะกลายเป็นสีแดง

            ใบ  ใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ เรียงเวียนสลับ ใบย่อยมี 3 ใบ เรียงตรงข้าม ใบย่อยที่ปลายเป็นรูปมนเกือบกลม ใบย่อยด้านข้างรูปไข่เบี้ยว กว้าง 8-15 ซม. ยาว 9-17 ซม. ปลายใบมน โคนใบสอบ แผ่นใบหนา หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนสาก เส้นแขนงใบข้างละ 5-7 เส้น ก้านใบย่อยยาว 3-5 มม.


ทองกวาวดอกเหลือง

            ดอก  ออกเป็นช่อแบบไม่แตกแขนง ตามกิ่งก้านและปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 2-15 ซม. ก้านช่อดอกมีขนสีน้ำตาล ก้านช่อดอกยาว 3-4 ซม. กลีบรองกลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปบาตรยาว 1.3 ซม. ส่วนบนแยกออกเป็นกลีบสั้น ๆ 5 กลีบ มีขนสีน้ำตาลดำปกคลุมตลอดกลีบดอกยาว 7 ซม. มี 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากันคล้ายดอกถั่ว กลีบด้านล่างรูปเรือแยกเป็นอิสระดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 6 ซม. ดอกมีทั้งสีแสดและสีเหลืองสด ดอกสีเหลืองพบที่เชียงราย อุบลราชธานี สุรินทร์ ระยะเวลาออกดอก กุมภาพันธ์-มีนาคม


            ผล  ผลเป็นฝักแบบรูปบรรทัดกว้าง 3.5 ซม. ยาว 15 ซม. ผลแก่สีน้ำตาลอมเหลืองมีขนอ่อนนุ่มสีขาวเป็นมัน มีเมล็ดเดียวตรงปลายฝัก  ฝักแก่ ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม 

การขยายพันธุ์  นิยมเพาะกล้าจากเมล็ด ทั้ง ๆ ที่แต่ละฝักมีเมล็ดเดียว กรณีทองกวาวดอกเหลือง หากจะขยายพันธุ์ต้องใช้การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ จึงจะได้ดอกสีเหลืองเหมือนต้นแม่ แต่ถ้าเพาะกล้าจากเมล็ดแบบอาศัยเพศ  จะได้ดอกสีแดงส้มเหมือนต้นแม่ทองกวาวทั่วไป

บันทึกผู้เขียนและผู้ถ่าย

            1.ด้านเป็นไม้ประดับ  ทรงต้นที่คด ๆ งอ ๆ กิ่งก้านที่บิดเบี้ยวไปตามลีลาธรรมชาติของไม้ต้นนี้ เมื่อประกอบกับปริมาณดอกที่ดกมีขนาดใหญ่และสีสันสดใส มองเห็นได้แต่ไกล หรือบางทีจะพบเป็นสีเหลืองอร่ามไปทั้งต้น จึงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับถนนหนทาง สถานที่ราชการที่มีบริเวณกว้าง ๆ เป็นไม้ในถิ่นกำเนิด นำไปปลูกประดับในป่าอนุรักษ์ได้ดี


            2.ด้านเป็นสีย้อมผ้าและเส้นใย ดอกสีเหลืองให้สีย้อมผ้าสีเหลือง ดอกสีแสดให้สีย้อมผ้าสีแสด  เปลือกให้เส้นใยทำเชือกและกระดาษได้    การเพาะเลี้ยงครั่ง         ชาวสุรินทร์นิยมเลี้ยงครั่งบนต้นทองกวาว

            3.ด้านเป็นพืชสมุนไพร มีสรรพคุณดังนี้คือ

                        ยาง  เป็นยาแก้ท้องร่วง

                        ราก  ภาคเหนือใช้รากผสมสมุนไพรตำรับที่ 13 ประคบบริเวณที่เป็นตะคริว ตำรายาไทยใช้รากขับพยาธิ แก้ท้องอืดเฟ้อ ริดสีดวงทวาร

                        เปลือกต้น  ยาพื้นบ้านใช้เปลือกต้นผสมสมุนไพรตำรับที่ 14 แก้ตานซางในเด็ก

                        เนื้อไม้  ภาคเหนือใช้แก่นผสมสมุนไพรตำรับที่ 12 ทาแก้ปวดฟัน

                        ใบ  ใบตำพอกแก้ฝี ถอนพิษแก้ปวด แก้ริดสีดวง ตำรายาไทยใช้ใบ แก้ฝี สิว ถอนพิษ แก้ปวด แก้ท้องอืด รักษาริดสีดวงทวาร เข้ายาบำรุงกำลัง

                        ดอก  ดอกถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ แก้ตาแดง ตำรายาไทยใช้ดอก แก้ไข้ ขับปัสสาวะ หยอดตา แก้ตาแดง

                        เมล็ด  ใช้บำบัดพยาธิตัวกลม ทาผิวหนังแก้ผื่นคัน แสบร้อนหรือเป็นผื่นแดง


ฝักทองกวาว

            ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา  พบสาร butinในเมล็ดมีฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจน มีผลเสียต่อสตรีที่ต้องการตั้งครรภ์ ส่วนผสมของทองกวาวและดีปลี สามารถกระตุ้นให้สัตว์ทดลอง สร้างภูมิคุ้มกันอาการท้องเสียจากเชื้อ Giardia lamblia โดยไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ

            ผ่านไปภาคเหนือ ผ่านมาภาคอีสาน จะเห็นดอกจานบานสะพรั่ง โดดเด่นเห็นแต่ไกล หากนำมาปลูกเป็นดงใหญ่ๆ ก็น่าพิศวงไม่น้อยเลยทีเดียว

Tags : ต้น 18.ทองหลางป่า

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view