http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,956,510
Page Views16,262,801
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

คิดสั้น คิดเขลา คิดตัดสวนยางพาราจากป่าสงวนแห่งชาติ

คิดสั้น คิดเขลา คิดตัดสวนยางพาราจากป่าสงวนแห่งชาติ

คิดสั้น คิดเขลา คิดตัดสวนยางพาราจากป่าสงวนแห่งชาติ

โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

www.thongthailand.com

             ในอดีต สวนยางพาราปลูกแต่ภาคใต้ คนอีสาน คนเหนือ ล่องใต้ไปรับจ้างกรีดยางบ่งสัดส่วนคนตัด 40% เจ้าของสวน 60% คนใต้ร่ำรวยมหาศาล ต้นยางพาราคือห่านที่ไข่เป็นทองคำ

             เจ้าของสวนยางพาราเป็นนายหัวของคนกรีดยางจากเหนือและอีสาน แต่เมื่อคนอีสานและคนเหนือกลับไปปลูกยางพาราที่บ้านเกิด เจ้าของสวนยางทางภาคใต้ขาดแคลนคนกรีด ชีวิตนายหัวชักไม่มีความสุข

             ประการสำคัญ พิสูจน์ผลงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ว่าต้นยางพาราปลูกได้ดีมีน้ำยางมากทั้งภาคเหนือและภาคอีสาน  ภาคใต้ไม่ใช่แหล่งปลูกยางพาราแห่งเดียวอีกต่อไป

             คนใต้ปลูกยางพาราในป่าสงวนแห่งชาติ ในป่าอุทยานแห่งชาติ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า  ในที่ดินมีโฉนด นส3.ก นส.3 สค.1   ตั้งแต่ตีนเขาจนถึงสันเขาซึ่งสูงชันและเป็นป่าต้นน้ำทั้งสิ้น และสูงชันเกินกว่า 35%

              ปีพ.ศ.2532 เกิดอุทกภัยใหญ่ร้ายแรงมหาศาลที่อำเภอกระทูน จังหวัดนครศรีธรรมราช สื่อมวลชนโหมประจานว่า กรมป่าไม้ตกเป็นจำเลยสังคมทันใด ด้วยข้อหาว่าปล่อยปละละเลย ให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า  แต่นายสนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คลั่ง หรือ มีเล่ห์กลใดไม่อาจทราบได้ จึงประกาศปิดป่าสัมปทานทั่วประเทศ

              ภายหลังพิสูจน์ทราบกันว่า ซากต้นไม้ที่ลอยมาทับถมบ้านเรือน เรือกสวน ไร่นา คร่าชีวิตคนไปนั้น เกิดแต่สวนยางพาราทั้งสิ้น เพราะว่าป่าดงดิบได้ถูกทำลายไปจนหมดก่อนหน้าสวนยางพาราแล้ว  

             ถ้ายุทธการทวงคืนผืนป่าเกิดที่ภาคใต้ เพื่อเอาป่าดงดิบซึ่งเป็นป่าต้นน้ำลำธารชั้นหนึ่งชั้นสองคืนมา ผมเชียร์ขาดใจ

             เอาแค่สวนยางพาราที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าก็พอ

             แต่ด้วยความคิดสั้น คิดเขลา คิดตัดสวนยางพาราจากป่าสงวนแห่งชาติในภาคอีสานและภาคเหนือ พร้อมเปิดยุทธการ “ทวงคืนผืนป่า” ดูช่างน่าสมเพช

             ข้อเท็จจริง ป่าสงวนแห่งชาติในภาคอีสานเหลือไม่กี่เปอร์เซ็นต์ กรมป่าไม้ปกป้องไม่ได้ ถูกบุกรุกทำกินไปทุกตารางนิ้ว สถิติพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทย พ.ศ.2557 บอกชัดเจน


             คิดสั้น ว่าตัดสวนยางพาราจากภาคอีสานและภาคเหนือลงไปแล้ว พื้นที่กรีดยางน้อยลงไป ราคายางทางภาคใต้จะมีราคาสูงขึ้น                         

              คิดเขลา ว่าตัดสวนยางพาราจากป่าสงวนแห่งชาติในภาคอีสานและภาคเหนือ จะเป็นการทวงคืนผืนป่าได้หรือ

              คิดตัดสวนยางพาราจากป่าสงวนแห่งชาติในภาคอีสานและภาคเหนือ จะตัดท่อน้ำเลี้ยงคนอีสานและคนเหนือ ให้ล่องใต้ไปรับจ้างกรีดยางอีกนั้นหรือ ฝันค้างละกระมัง

             เพราะว่าคนอีสานและคนเหนือที่ชาญฉลาดเขาปลูกยางพาราในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์เช่น นส.3 นส3.ก โฉนดที่ดิน น้อยที่สุดก็ สปก.4-01 จะมีบ้างที่ปลูกสวนยางพาราในป่าสงวนแห่งชาติ

             ถ้าคิดดี เมื่อเขาเปลี่ยนจากการปลูกพืชไร่อายุสั้นๆ เป็นสวนไม้ยางพาราอายุหลายสิบปี ย่อมได้ป่าปกป้องผืนดิน และได้อาชีพถาวรของคนอีสานและคนเหนือ ยั่งยืนกว่าไหม

            ถ้าคิดเป็น เปิดให้ผู้ที่ปลูกยางพาราในป่าสงวนแห่งชาติ ขึ้นทะเบียนขอเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะว่า มาตรา 16ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507 เปิดช่องไว้ให้เขาทำกินได้

 

              ต้นยางพาราคือพืชเกษตร ชนิดหนึ่ง ที่กรีดเอาน้ำยางได้นานถึง 25 ปี คนปลูกมีเงินใช้อย่างยั่งยืน  มีต้นไม้ปกคลุมภูเขาหัวโล้น ให้สิ่งแวดล้อม มีต้นไม้ดูดซับอากาศพิษและแปลงเป็นอากาศดี  นกหนูมีที่อยู่อาศัยและหากิน  หลังจากนั้นยังตัดต้นไม้ขายให้กับโรงงานเฟอร์นิเจอร์ทั่วประเทศ ได้ราคาแพง  ได้เงินอีกก้อนใหญ่   ลดการใช้ไม้จากป่าธรรมชาติ ซึ่งไม่มีเหลือแล้ว

              เปิดให้ลงทะเบียนเช่าพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติทั่วประเทศ ทุกอำเภอ ได้เงินเข้าประเทศมหาศาล ได้คืนความสุขให้กับเกษตรกรผู้ยากไร้ 

            

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view