http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,003,984
Page Views16,312,864
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

พังแหรโมเดล

พังแหรโมเดล

*พังแหรโมเดล*


โดย นพพร นนทพา  ขุนดงพันธุ์ไม้ 

ประเทศไทย ปิดป่าบก ยกเลิกสัมปทานป่าไม้ เมื่อเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ เรียกว่า พายุเก เกเรสมชื่อครับ ปีนั้น 2532 และที่กระทูน นครศรีธรรมราช และถ้าผมจำไม่ผิดไทยเริ่มปลูกป่ามาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผ่านมาเกือบ 30 ปี ในความรู้สึกของหลายคนคงคิดว่า ไม่เห็นมีป่าเพิ่มขึ้นเลย จริงๆแล้วการปลูกป่า ในส่วนที่มีการดูแลนั้นสำเร็จครับ เพียงแต่ไม่ได้ออกสื่อ งานปลูกป่าฟื้นฟู หลายแปลงในสังกัดหน่วยงานต่างๆ สำเร็จอย่างดี


แต่ที่ไม่สำเร็จ คือการปลูกป่าแบบหันหลัง แค่ถ่ายภาพแล้วเดินกลับ ซึ่งก็มากโขพอสมควร มากกว่าการปลูกป่าแบบดูแล ในขณะเดียวกัน การบุกรุกของราษฎร ก็รวดเร็ว จนไม่อาจจะต้านทานได้ จนมาถึงวันนี้ ยากที่จะเยียวยา เพราะไม่เพียงแต่ทำให้โลกร้อน แต่สิ่งที่น่ากลัวที่สุด ไม่ใช่ภัยแล้ง ครับ สิ่งที่จะเกิดขึ้นนับตั้งแต่นี้ คือ ดินโคลนถล่ม ซึ่งคนที่ได้รับผลกรรมนั้นก็คือ คนบุกรุกโดยตรงนั้นเอง  สิ่งที่จังหวัดที่มีภาวะเสี่ยง ควรทำในเบื้องต้น เพื่อเตือนภัยคือ ส่งนักธรณีวิทยาไปสำรวจโครงสร้างดิน เพื่อประกาศเป็นเขตอันตราย แต่ในส่วนของคนปลูกป่าฟื้นฟู


วันนี้ผมมีโมเดล สำคัญที่อยากนำเสนอ ก่อนเขียนบทความนี้ 1 นาที ทราบจากรุ่นน้องคนหนึ่งว่า อ. สคาร ผู้เชี่ยวชาญ ด้านปลูกป่า ซึ่งเป็นพี่ที่ผมเคารพ ได้ออกสื่อไปแล้ว แต่ผมยังไม่ได้ฟังหรืออ่าน ขอออกตัวก่อนว่า เรื่องราวที่อ. สคาร กล่าว อาจจะคล้ายหรือตรงกันกับที่ผมเขียนในวันนี้ ขอรับรองด้วยเกียรติว่า ผมไม่ได้ลอกอ. สคาร แต่อาจจะมีตรงกันบ้าง เพราะเราเรียนจากสำนักเดียวกันนั้นเอง โมเดลที่ผมจะเขียนนี้ชื่อว่า*พังแหรโมเดล* ขอให้ทุกที่อ่านลองหลับตานึกตามเป็นช่วงๆเพื่อให้เกิดภาพ และให้คลิกดูภาพทุกภาพที่ผมเอามาลง ผมจะบรรยายเสริมในภาพนั้นๆเพื่อความเข้าใจมากขึ้น ครับ


ในการเกิดป่านั้น มีขบวนการทดแทนแบบเป็นขั้นเป็นตอน โดยมีความชื้นและความสมบูรณ์ของดินเป็นตัวกำหนด การเกิดป่า จะเริ่มจากที่โล่ง จากนั้นก็มีพวกหญ้า วัชพืช เข้ามาทดแทน แล้วก็เป็นไม้พุ่มเล็ก ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก จนถึงไม้ยืนต้นขนาด บางพื้นที่อาจจะไปถึงแค่ทุ่งหญ้า บางพื้นที่ก็เป็นป่าเต็งรัง เบญจพรรณ ดิบแล้ง ดิบชื้น ในขบวนการเกิดป่านั้นๆอาจจะใช้เวลานานเป็นร้อยๆปี แต่เมื่อเราจำเป็นที่จะต้องสร้างป่าให้ได้ ในระยะเวลาอันสั้น หลายคนจึงนำไม้ที่เป็นปลายทางของป่าไปปลูก เราจึงเห็นการปลูกป่าที่ไม่สำเร็จ


แนวทางที่จะสำเร็จ คือ เราจะต้องเลียนแบบธรรมชาติ แต่ย่อลง ให้เหลือเวลาน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ วันนี้ผมจะมาย่อระยะเวลาการเกิดป่าให้เหลือ 5 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่น้อยที่สุด ที่การปลูกป่า จะสำเร็จ ภายใต้เงือนไข ที่ไม่ต้องมีการดูแล   แต่หากดูแลได้ ปีเดียวก็สำเร็จ สามารถเอาไม้ปลายทางมาปลูกได้เลย


ผมเฝ้าคิดค้นหาพืชชนิดที่จะช่วยตอบโจทย์ มาเกือบ 5 ปี จนผมพบต้นไม้เป้าหมาย คือ พังแหร เขามีคุณสมบัติมากกกว่าไม้เบิกนำตัวอื่นๆ มากยังไงเรามาดูกันครับ

1.โตไวเท่าๆกับหญ้า  2.ทนแล้ง  3.ไม่ผลัดใบ 4.ออกดอกออกผลเร็ว เป็นอาหารนกได้ภายใน 2 ปี 5.ระบบรากคล้ายๆพวกหญ้า คือมีรากฝอยเยอะ 6.ไฟไหม้ ไม่ตาย 7.คลุมวัชพืช ได้ 100 % 8.มีอายุไขสั้น

ปัญหาการปลูกป่าบ้านเราคือปลูกแบบหันหลัง ไม่กลับไปดูแลอีกต่อไป เมื่อถึงหน้าแล้ง ไฟที่จุดโดนคน ก็ลุกลาม ต้นไม้ที่รอดจากหน้าฝน ยังไม่ได้พิสูจน์ความอดทนเลย โดนไฟครอกตายเสียก่อน แต่พังแหร ไฟไม่ไหม้ ครับ

เรามาดูแนวการปลูกป่าตาม พังแหรโมเดล ของผมดูนะครับ

1. ปีที่หนึ่ง ปลูกพังแหร ที่เพาะเป็นต้นกล้า ใช้โพลีเมอร์ ผสมกับดินเพาะ เพื่อแก้รองรับการปลูกแบบหันหลัง ปลูกโดยไม่ต้องรดน้ำ ช่วงเวลาที่เหมาะสม ต้นฤดูฝน ที่หญ้ายังไม่สูง ระยะ ปลูก 10*10 เมตร แล้วก็รอไปจนครบ 3ปี ในระหว่างนี้ก็เตรียมต้นกล้าที่มี รากสะสมอาหาร (Storage root) ไว้สำหรับปลูกในปีที่ 42. เมื่อเวลาผ่านไป 3 ปี เข้าปีที่ 4 พังแหรจะโตเต็มที่ จะกินพื้นที่ รัศมีประมาณ 4 เมตร ให้นำกล้าไม้จำพวกที่มีรากสะสมอาหาร พวกนี้จะมีคุณสมบัติคล้ายๆ กับพังแหร คือเป็นไม้ทำหน้าที่เบิกนำ แต่จะไม่ตายในระยะเวลาอั้นสั้นเหมือนพังแหร และจะไม่ทนไฟ เราก็เลือกชนิดเคยพบพื้นที่ป่านั้นๆมาปลูก พวกที่มีระบบรากแบบนี้ได้แก่ สัก สมอภิเพก ก่อกิน สำโรง ปอขาว ปอแดง อ้อยช้าง อุโลก มะกอกป่า ไกร โพขี้นก นำไปปลูกใต้เรือนยอด ของพังแหร ทั้งหมด เราก็จะได้กลุ่มต้นไม้ ตามระยะปลูก 10*10 เมตร โดยมีพังแหรเป็น หน่วยป้องกันภัยจากไฟป่าให้ ไม้ที่เราเอาไปปลูก จะยังไม่โตดี ถึงแม้จะได้รับแสงน้อยก็ตาม เพราะรากสะสมอาหารของเขานั้นเอง

3.เมื่อเข้าปีที่ 5 สิ่งที่อัศจรรย์จะเกิดขึ้น เมื่อพังแหรเริ่มอายุมาก เขาจะโปร่งขึ้น เป็นโอกาสดีที่ไม้ที่เราปลูกไว้ จะได้รับแสง และเป็นช่วงเวลา ที่เราจะได้นำต้นไม้อื่นๆ มาปลูกให้ครบตามโครงสร้างป่า โดยมีพังแหรเป็นพี่เลี้ยง

4. นับจากปีที่ 6 เป็นต้นไป พังแหรจะเริ่มโทรม และทยอยตาย ไม้ที่มีรากสะสมอาหาร จะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงแทนพังแหร

จะเห็นว่า พังแหรโมเดล ที่ผมเก็บข้อมูลมาเกือบ 5 ปีนี้ เน้นไปที่ ให้พังแหรขับไล่วัชพืช ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ต้นไม้ตายเนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี เมื่อมีวัชพืชน้อยลง ความรุนแรงของไฟก็จะน้อยลง เป็นประเด็นสำคัญ คู่กับการเลียนแบบธรรมชาติ คือต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูป่า หากเราลัดขั้นตอน ผมมั่นใจว่า โอกาสจะตำน้ำพลิกละลายแม่น้ำนั้นมีสูงมาก เว้นแต่ท่านจะมีแผนดูแล แบบการปลูกพืชสวน พังแหรจึงเป็นทางเลือก ที่จะช่วยป้องกัน ดินโคลนถล่ม ในช่วงแรก และช่วยเป็นพี้เลี้ยง และฟื้นฟูป่า ก่อนที่เขาจะหมดอายุไขลง เมื่อราวๆ 5-10 ปี ครับ

หวังว่า โมเดลที่ผมเสนอขึ้นมานี้จะมีประโยชน์ต่องานปลูกป่าป้องกัน และฟื้นฟูไม่มากก็น้อย หรืออาจจะนำไปปรับใช้ ก็ได้ครับ หากต้องการสอบถามเพิ่มเติม สามารถโทรติดต่อผมได้ที่ 0894182100 หรือ เข้าไปที่แก๊งขุนดง ก็ได้ครับ  ปล. ฝากแชร์ด้วยครับ เป็นกระทู้แรก ที่อยากให้ทุกท่านแชร์

Tags : ช้างน้าว

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view