http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,993,459
Page Views16,301,713
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส

ไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส

                        


ไม้มหัศจรรย์ ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส

โดยธงชัย เปาอินทร์
                                             
                     
        

บทที่ 1

                                        ข้อมูลพื้นฐานไม้มหัศจรรย์ ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส

 

1.   ชื่อและชนิดพันธุ์ 


 ชื่อพื้นเมือง
                             River red gum, red gum, Murray red gum, river gum. 

ชื่อทางพฤกษศาสตร์      Eucalyptus  camaldulensis  Dehnh.

ชื่อวงศ์                                         MYRTACEAE

ชื่อคามาลดูเลนซิส     ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านเคาท์แห่งเมืองคามาลโดลีแห่งประเทศอิตาลี เพราะว่าท่านเป็นผู้นำไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิสจากประเทศออสเตรเลียไปปลูกจนประสบผลสำเร็จบนที่ดินส่วนตัวในประเทศอิตาลีเมื่อปี พ.ศ.2375


2.
  ถิ่นกำเนิด


    ถิ่นกำเนิดของไม้ยูคาลิปตัสกว่า
700 ชนิดอยู่ในประเทศออสเตรเลียโดยกระจัดกระจายไปทั่วประเทศ ยกเว้นในรัฐทัสมาเนีย   ส่วนไม้ยูคาลิปตัสจำนวน 2 ชนิดเท่านั้นที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินโดนิเซีย แถวๆเกาะต่างๆ และติมอร์คือ ยูคาลิปตัส ยูโรฟิลล่า    (Eucalyptus  urophylla S.T.Blake)    และ ยูคาลิปตัส ดีกลุ๊ปตา (Eucalyptus deglupta Bl.) พบในปาปัวนิวกินี ติมอร์ อินโดนิเซีย และทางแถบใต้ของเกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์     ไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส พบว่ามีถิ่นกำเนิดในออสเตรเลียกว้างขวางมาก จากฝั่งตะวันออกถึงฝั่งตะวันตก จากเหนือจดใต้ของทวีปทีเดียว  

ไม้ยูคาลิปตัส  คามาลดูเลนซิส  ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศออสเตรเลีย มีลักษณะพิเศษ   คือ

1.  สามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่ริมน้ำ ที่ราบน้ำท่วม ดินเป็นทราย และดินเลวที่มีปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า 650 มม./ปี  รวมถึงดินเค็ม ยกเว้นดินที่มีหินปูนสูงยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส ไม่ทนทานนัก

2.  เติบโตรวดเร็วมากในที่ดินเลว 

3.  มีการแตกหน่อได้ดี  

4. ทนทานต่อน้ำค้างแข็ง(Frost) 



3.
นิเวศน์วิทยาที่เหมาะสม

            3.1 ลักษณะภูมิประเทศ

                 ดิน  ดินดีจนถึงดินเลว ดินจืดจนถึงดินเค็ม ดินเหนียวจนถึงดินทราย แม้กระทั่งดินลูกรัง

            ความเป็นกรดด่างของดิน     ค่า pH 6.0-7.5 ดินเค็ม มีค่าpHต่ำกว่า 6  ดินหินปูนมีค่า pH มากกว่า 6 ดินที่มีความแห้งแล้ง 6-8 เดือน ดินที่น้ำท่วมขัง 2-3 เดือน ก็สามารถเจริญเติบโตได้ 

            ดินเค็ม  ทุ่งกุลาร้องไห้  2.7 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่…… จังหวัดคือ บุรีรัมย์   ร้อยเอ็ด  ยโสธร ศรีสะเกษ  มหาสารคาม  สุรินทร์  ปลูกป่าไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส เมื่อปีพ.ศ.2528  เนื้อที่…      ไร่  ในโครงการส่งเสริมของประเทศออสเตรเลีย  พบว่า ต้นยูคาลิปตัสเติบโตได้ดีมาก ลดพื้นที่ดินเค็มได้อย่างมาก ปริมาณใบและเปลือกที่ร่วงหล่นสู่พื้นดิน ถูกเกษตรกรเก็บกวาดไปใส่เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวหอมมะลิ ทุกเช้าจะมีรถบรรทุกพาคนงานมากวาดกันมากมาย 

           ความตื้นลึกของดิน  เนื้อดิน และสภาพดินฟ้าอากาศ มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ถ้าดินตื้นต้นยู.คามาลดูเลนซิสจะค่อยๆตายจากเรือนยอดลงมาโคนต้น(Die-back) โดยจะเห็นอาการในฤดูแล้ง ดินทรายเกิดการระเหยน้ำสูง แห้งเร็ว ถ้าดินเหนียวน้ำขังระบายน้ำไม่ดีอาจเกิดรากเน่าได้ง่าย รากไม่สามารถจะหายใจและรากขาดอ๊อกซิเจน สำหรับใช้หายใจ ตายเป็นกลุ่มๆ

          ความลาดชัน  ขึ้นได้ตั้งแต่ที่ราบจนถึงที่ลาดชั้นกว่า 35 องศา

          ความสูงจากระดับน้ำทะเล  ตั้งแต่ 5-1,000 เมตร

     3.2 ลักษณะภูมิอากาศ

       อุณหภูมิ  จากอุณหภูมิอุ่นๆถึงร้อน ที่กึ่งเปียกชื้นตนถึงกึ่งแห้งแล้ง อุณหภูมิระหว่าง 27-40 องศาเซลเซียส และช่วงอุณหภูมิต่ำสุดระหว่าง 3-15 องศาเซลเซียส

     ปริมาณน้ำฝน  เฉลี่ย 200-2,000 มม./ปี  แต่มีบางพื้นที่ ต่ำสุด 150 มม.

     แสงสว่าง  เต็มวัน

 


                          


4 
การกระจายพันธุ์ 

       ในออสเตรเลีย     เป็นไม้ยูคาลิปที่มีการกระจายพันธุ์กว้างขวางมากที่สุด พบว่าเกิดใน แผ่นดินใหญ่ออสเตรเลีย ริมน้ำ พื้นที่น้ำท่วมถึง จนถึงพื้นที่ภูเขาสูง ยกเว้นในทัสมาเนีย ไม่เคยพบว่าเคยมีอยู่เลย

      ในต่างประเทศ    พบว่านิยมนำไปปลูกทั่วโลก  

 

5  ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ( Botanical Features)

      ใบ  ใบอ่อนออกตรงกันข้าม 2-3 คู่ สีแดงอมน้ำตาล แล้วออกสลับเวียนกันไป ใบรูปไข่ถึงรูปหอกกว้างๆ   ใบเป็นมันสีเขียว เขียวปนเทา หรือสีน้ำเงินเขียว  ใบแก่ออกสลับแบบเวียนกันไป รูปใบแบบรูปหอกหรือหอกแคบๆ ขนาดยาว 8-30  ซม.กว้าง 0.7-2 ซม. สีเขียวหม่นๆ ก้านใบ 12-15 .. ใบแก่หลังร่วงหล่นสีน้ำตาล  ใบห้อยลง เส้นใบมองเห็นได้ชัดเจน ทยอยหล่นไปตามอายุของใบ เป็นอินทรีย์วัตถุคืนสู่ดินทั้งปี  เส้นใบออกทะแยงแต่บรรจบกันก่อนถึงขอบใบเป็นวงรอบ ขอบใบมีไขครอบเป็นมัน ในเนื้อใบมีต่อมน้ำมัน แต่ไม่มากพอที่จะกลั่นน้ำมันได้ แหล่งที่มาจากเมืองเพทฟอร์ด ทิศเหนือของรัฐควีนแลนด์ มี 1,8-cineole และที่ในเสซเควทเทอร์เพน ปลูกกันกว้างขวางอาจเป็นแหล่งน้ำมันหอมระเหยยูคาลิปได้ในอนาคต  ?? ทำสีย้อมผ้าฝ้ายและผ้าไหมได้ดี ให้สีแดง สีส้ม สีเหลือง โดยมีสารเร่งการติดสี(Mordant)เพิ่มศักยภาพได้มากขึ้น 

      ดอก  เกิดระหว่างใบกับกิ่งยอด เป็นช่อซี่ร่มย่อย 7-11 ดอก ก้านดอกบางยาว 6-15 .. สีขาว เป็นดอกแบบรวมเพศในต้นเดียวกัน(ดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย) รูปร่างคล้ายดอกบัวโดยมีส่วนล่างเป็นรูปถ้วย  มีฝาปิด ตรงส่วนปลายฝาปิดมีรูปร่างแตกต่างกันเช่นคล้ายฝาชีครอบและมีจยอยยื่นออกมาจนถึงแบบแหลมธรรมดา รูปดอกยาว 4-6 ..กว้าง 3-6 ..ฐานรองดอกยาว 2-3 ..กว้าง 3-6 .. ในประเทศไทยออกดอกตลอดปี ออกทุกปี ดอกดกปีเว้นปีการผสมเกสรโดยแมลง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กๆ หรือนกและลม

ผล  เป็นรูปรีหรือรูปไข่ยาวและกว้าง  5-8 ..  ผิวนอกแข็ง เมื่ออ่อนมีสีเขียว และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ ขอบผลหนา รูปจานกว้างๆ แบ่งออกเป็น 3-5 ช่อง เมล็ดสีเหลืองออกน้ำตาล 15 เมล็ดต่อผล  ขนาดเล็กกว่า 1 มม. น้ำหนัก 1 ..จึงมีเมล็ด760,000 เมล็ด สีเหลือง   หลังผสมเกสรดอกพัฒนาเป็นผลใน 4 เดือน 1 กก.เพาะกล้าได้ประมาณ  549,000 กล้า  เมล็ดที่ดีควรเก็บจากแม่ไม้ที่สมบูรณ์เต็มที่หรืออย่างน้อยแม่ไม้อายุ 5 ปี ขึ้นไป  ต้นที่เจริญเต็มที่ในออสเตรเลีย  เก็บเมล็ดได้ต้นละ 12  กก.  ส่วนเมล็ดที่เก็บได้ในประเทศไทย 1  กก. เพาะกล้าไม้ได้  549,000  กล้า  

      ลำต้น  ในประเทศออสเตรเลียไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส มีทั้งคดงอและเปลาตรง ขึ้นอยู่กับว่าพบที่ไหนในประเทศดังกล่าว แต่โดยทั่วๆไปพบว่ามีลำต้นสูง 20-50 เมตร ความโตของลำต้น(เส้นรอบวง)ตั้งแต่ 0.9-2.1 เมตร เมื่อนำมาปลูกในประเทศไทยแล้ว ส่วนใหญ่ลำต้นเปลาตรงค่อนข้างมาก กิ่งก้านน้อย   เปลือกเรียบเป็นจำพวก RED GUM เปลือกนอกสีขาวนวล เปลือกในสีแดง มีน้ำยางสีแดงแทรกอยู่  เปลือกลอกออกเป็นแผ่นๆร่วงหล่นเป็นอินทรีย์วัตถุคืนสู่ดืน

     รากไม้  เป็นไม้ที่มีรากแก้วลึก สะกัดน้ำได้ดี จึงเติบโตได้รวดเร็วในที่แห้งแล้ง ทนทานต่อสภาพหลายอย่างได้ดี มีเชื้อราไมคอไรซ่า(Mycorrhiza) เพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตได้ถึง 5 เท่า  

       6. สกายสมบัติและกลสมบัติ   ความถ่วงจำเพาะ 0.6-0.9 ในสภาพแห้ง แต่แปรผันตามอายุของไม้ที่ทดสอบมีความหนาแน่นมาก  800-900 กก./ลบ..สำหรับไม้หนุ่มสดๆ และ 1,130 กก./ลบ..สำหรับไม้แก่    ความแข็งแรงเฉลี่ย 800-1,000กก./ตร.ซม.(ไม้อายุ 6-12 ปี) และถ้าอายุกว่า 10 ปีขึ้นไปแล้วความแข็งแรงจะสูงกว่า 1,000 กก./ตร.ซม. เช่นอายุ 20 ปีจะสูงถึง 1,400 กก/ตร.ซม. สูงกว่าไม้ตะเคียนทอง  และถ้าอายุ 6-8 ปี ความแข็งแรงจะเท่ากับไม้ยาง  การยืดหดตัวของเนื้อไม้ค่อนข้างสูง (อายุ 20 ปี) พบว่าเปอร์เซ็นต์การหดตัวทางด้านสัมผัสเฉลี่ย 6.49% ด้านรัศมีเฉลี่ย 3.25%(เทียบจากสภาพสด-แห้งในกระแสอากาศ) และด้านสัมผัส 10.27% ด้านรัศมี 6.31% (เทียบจากสภาพสด-อบแห้ง)  ความแข็งแรงจากการตัด  1344  กก./ตร.ศม.  การบีบ  713  กก./ตร.ซม.   การเชือด  199 กก./ตร.ซม.  ความดื้อ  1509  กก./ตร.ซม.  ความเหนียวจากการเคาะ  2.33  กก-ม.  ความแข็ง  868 กก. 

  

7. คุณสมบัติทางเคมี  (%)วิเคราะห์จากไม้อายุ 3,10,15 สารแทรกในเนื้อไม้คือลิกนิน 29.80,27.75,26.60 เพนโตแซน  19.45, 17.01, 17.15 โฮโลเซลลูโลส 78.5,73.66,73.73 เซลลูโลส  58.0, 58.36,58.18 และขี้เถ้า 0.44,0.33,0.43 และถ้าไม้อายุน้อย 3 ปีจะพบสารแทรกคือ น้ำตาลอิสระฟรุตโตส 0.55 กลูโคส 0.50 ซูโครส 0.48 แต่ในไม้อายุ 5-6 ปีไม่พบน้ำตาลซูโครส แสดงว่าไม้อายุน้อยมีปริมาณน้ำตาลมากกว่า ส่วนไม้ยางพารามีน้ำตาลสูงกว่าจึงผุง่ายกว่าเพราะว่าปลวกมอดชอบกินน้ำตาล น้ำมันหอมระเหย 0.4 มล.ต่อน้ำหนักใบสด 100 กรัม

 

8. ความร้อนจากฟืนและถ่าน   ฟืนให้ความร้อน  4.76  กิโลแคลอรี่/กรัม น้ำในกาขนาด 13 ลิตรเดือดใน 6.6 นาที ไฟลุกไหม้ดี 33 นาที  ถ่านไม้ให้ความร้อน  7.35 กิโลแคลอรี่/กรัม  เถ้าเหลืออยู่เพียง 0.15% เป็นฟืนและถ่านที่มีคุณภาพสูงกว่าไม้หลายชนิดทีเดียว ไม่แตกเป็นลูกไฟขณะติดไฟ 



 
            


9.
ความทนทานตามธรรมชาติ
   เนื้อไม้แปรรูปถูกปักลงดินเพื่อการทดลองความทนทานตามธรรมชาติ    แต่ต้นยู.คามาลดูเลนซิส สามารถทนน้ำท่วมขังได้นานกว่า 2-3 เดือน ทนแล้งได้นาน 6-8 เดือน ทนน้ำค้างแข็งได้ดี เพราะว่าโดยธรรมชาติไม้ชนิดนี้ขึ้นได้ตั้งแต่ริมฝั่งแม่น้ำจนถึงยอดเขาสูง

 

10. ลักษณะเนื้อไม้  แก่นจะเป็นสีแดงเข้ม หรือสีน้ำตาล เนื้อละเอียดแต่เสี้ยนสน ถึงเป็นคลื่นแข็ง บางครั้งบิดไปตามแนวลำต้น เหนียว ทนทาน ปลวกมอดไม่กิน แต่เชื้อราและแมลงทำลายได้ง่าย แปรรูปแล้วมักบิดงอ การนำมาใช้จึงต้องเพิ่มเทคนิคมากกว่าปกติ   อายุ 2 ปีขึ้นไปใช้เป็นชิ้นไม้สับลักษณะ MDF และแผ่นไม้อัดซีเมนต์ใช้ได้ดี อายุ 3 ปี ทดลองผลิตเยื่อได้ผลผลิตเยื่อสูงสุด 51.80% รองลงมาคืออายุ 5 ปี 46.31% 

เยื่อ  ความหนาแน่นของเยื่อ และกระดาษ  ยู.คามาลดูเลนซิส มีเยื่อใยสั้นขนาด  0.4-1.6 มม.  ไม้ยูคาลิปตัส  คามาลดูเลนซิส อายุ 3 ปี  ให้ผลผลิตสูงสุด  51.80% รองลงมาคืออายุ  5  ปี  46.31 %  อายุ 8 ปี  46.31 % อายุ   10  ปี  43.62 และอายุ  15  ปี 45.51  

11.  การแตกหน่อ  เป็นต้นไม้ที่มหัศจรรย์มีศักยภาพในการแตกหน่อสูงมาก  การจัดการหน่อจึงจำเป็นต้องเอาใจใส่มากกว่าปกติ  สามารถตัดแล้วแตกหน่อได้หลายรอบตัดฟัน จำนวนหน่อประมาณ 4-7 หน่อ บนพื้นที่ปลูกที่ดินอุดมสมบูรณ์(Good site) รอบตัดฟันของหน่อที่แตกจากตออาจจะ 7-10 ปี แต่ถ้าพื้นที่แห้งแล้ง(Dry site)ผลผลิตเฉลี่ยจะลดลงเหลือ 0.32-1.76  ลบ.ม.ต่อไร่ รอบตัดฟันต้องยืดออกไปเป็น 14-15 ปี (Y.S.  Rao,   FAO Regional Office)            
การจัดการหน่อขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้ไม้

                               
          

       

12.  อัตราการเจริญเติบโต  เมื่อนำไปปลูกเป็นป่าปลูกใหม่ มีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็วมาก โดยเฉพาะช่วงอายุ 1-10 ปี การเจริญเติบโตทางความสูง 2 เมตร/ปี และทางเส้นผ่าศูนย์กลางหรือความกว้างของลำต้นโต 2 เซนติเมตร/ปี มีรายงานจากอินเดียผลผลิตเฉลี่ยรายปี 1.6-2.4 ลบ.ม.ต่อไร่ อาร์เจนตินา 3.2-4 ลบ.ม.ต่อไร่  อิสราเอล 4.8 ลบ.ม.ต่อไร่  เตอรกี 2.72-3.2 ลบ.ม.ต่อไร่(จากกล้าไม้)  และ4-4.8 ลบ.ม.ต่อไร่ (แตกหน่อจากตอ) ที่รัฐอุตรประเทศ อินเดีย อายุ 4 ปี ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส สูง 12-14 เมตร เส้นรอบวง 40 เซนติเมตร รัฐ ฮาร์ราน่า  อายุ 2ปี สูง 8-10 เมตร เส้นรอบวง 20-30 เซนติเมตร มวลชีวภาพ(Biomass Produced) 5 –66.5 ตันแห้งต่อเฮกตาร์ต่อ 12-36 เดือน

อัตราการเจริญเติบโตในประเทศไทย  พบว่า อัตราการเจริญเติบโต

ที่แม่สะนาม อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ที่ภูเขาสูง ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,100 เมตร อายุ 6 ปี สูง 10-10.9 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 8.0-8.7 ซม. อัตราการรอดตาย 61.89%

ที่อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่  เป็นที่ราบสูง ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 300-500 เมตร อายุ 5 ปี สูง 8.4-9.8 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 7.9-9.7 ซม. อัตราการรอดตาย 86-90%

ที่ลานสาง จ.ตาก เป็นที่ราบต่ำ แห้งแล้ง ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง  อายุ 4 ปี สูง 9.1-9.7 เส้นผ่าศูนย์กลาง 8.2-9.0 เมตร อัตราการรอดตาย 75.7-89.5%

ที่ ท่าตูม จ.สุรินทร์ เป็นที่ราบต่ำ  แห้งแล้ง อายุ 6 ปี สูง 13-15 เมตร อัตราการรอดตาย 90%

ที่  อ.พล จ.ขอนแก่น ระยะปลูก 2x2 เมตร  อายุ 4 ปี 6 เดือน มีปริมาตร 41.76  ลูกบาศเมตร/ไร่

                          

 

13.  มวลชีวภาพ ผลผลิตและอัตราการสลายตัวของซากพืช 

มวลชีวภาพ  ไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส อายุ 5 ปี ระยะปลูก 4x4 เมตร มีค่า 31.87 ตัน/เฮกแตร์ 

      ซากพืช    จากใบ เปลือก กิ่ง ดอก ผล เมล็ด ไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส อายุ 4 ปี จำนวน 2.42 ตัน/เฮกแตร์/ปี มีอัตราการสลายตัวใน ½ ปีในช่วงฤดูฝนได้ดีถึง  71.30% 

 

14. โรคและศัตรู

 เชื้อราไมคอร์ไรซ่า(Mycorrhiza) มีปฏิกริยากับไม้ในวงศ์สนเขา(Pinaceae) ไม้ยาง(Dipterocarpaceae) ไม้ก่อ(Fagaceae) ไม้มะค่าโมง (Caesalpinaceae)ไม้กำลังเสือโคร่ง(Betulaceae) ไม้วงศ์ยูคาลิปตัส(Myrtaceae) ทำให้การเจริญเติบโตดีขึ้นกว่าปกติ 1-5 เท่า ที่พบอยู่ในรากไม้ยู.คามาลดูเลนซิสคือ เชื้อรา Thelephora  rumarioides Rehd. มักพบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ ส่วนภาคเหนือพบเชื้อรา Pisolithus  tinctorius  Scleroderma  verrucosum และเชื้อราสกุล Amanita และRussula

โรคแมลงศัตรูไม้ต้นนี้ในอดีตไม่ค่อยมีผลกระทบมากนัก แต่ปัจจุบันนี้พบว่า

เห็ด  พบว่าในป่ายูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส มีเห็ด 5 ชนิด คือ เห็ดระโงกขาว (Amanita peckiana) กินได้ เห็ดเสม็ดหรือเห็ดยูคา (Tylopilus felleus) กินได้ พบที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เห็ดยูคา(Tricholoma spp) กินได้ พบที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เห็ดปะการัง (Thelephora ramarioides) กินไม่ได้ และเห็ดฝุ่น (Scleroderma spp) และ Lycoperdon spp.) กินไม่ได้

 

15. สีธรรมชาติ  ใช้ย้อมสีผ้าไหมและผ้าฝ้ายได้ดี  ส่วนที่ใช้ได้แก่ เปลือก  ใบ  ดอก  ตาดอก   สีที่ให้ได้แก่สีแดง  สีส้ม  สีเหลือง 

 

 

Tags : Wood

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view