http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,957,395
Page Views16,263,705
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

การจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในฝัน

การจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในฝัน

การจัดการป่าอนุรักษ์ในฝัน 
โดยธงชัย เปาอินทร์
 

                                                

               
ต้นแบบการจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในประเทศอเมริกา  เป็นรูปแบบที่ได้รับการยอมรับและถือเป็นแบบอย่างที่ควรศึกษา  พัฒนา และปรับเปลี่ยนเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมกับพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในประเทศอื่นๆ  ที่อาจมีปัจจัยสิ่งแวดล้อมและช่วงเวลาที่แตกต่างกัน  จะอย่างไรก็ตามหลักการต้องเป็นหลักการ แต่การจัดการอาจเพิ่มหรือแปรเทคนิคได้ตามความเหมาะสม  เกิดอะไรขึ้นกับการจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของประเทศไทยหรือ
? ไฟป่าและการป้องกันป่าจากการรุกรานของมนุษย์จึงเป็นหอกตำใจ 


ต้นแบบในประเทศอเมริกา


               
ต้องเริ่มต้นที่ภูมิประเทศ อเมริกาเป็นเมืองหนาว มีหิมะและมีกราเซียร์เป็นตัวปลดปล่อยน้ำ  การสร้างเขื่อนในประเทศนี้จึงเป็นเขื่อนป้องกันอุทกภัยจากน้ำที่ละลายจากหิมะและกราเซียร์  พื้นที่ป่าอนุรักษ์เป็นพื้นที่ที่เขาเห็นว่ามีความสำคัญต่อกิจกรรมโดยรวมของสาธารณะชนทั้งประเทศเป็นหลัก  คนกับป่าแบ่งแยกกันอย่างชัดเจน  การประกาศจัดตั้งพื้นที่ป่าอนุรักษ์จึงเป็นป่าที่ปราศจากคนที่อาศัยอยู่ในเขตป่า ในขณะที่คนรอบพื้นที่ป่าอนุรักษ์มีจิตสำนึกที่พรักพร้อม  และการจัดการกระทำตามหลักวิชาการที่ประณีต(
intensive) แบบเบ็ดเสร็จในองค์รวม(one stop service)

                พื้นที่ป่าอนุรักษ์ของอเมริกาจึงเป็นพื้นที่ที่อาจประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เป็นคำประกาศศักดิ์สิทธิ์ มีการโยกย้ายชาวอินเดียนออกจากพื้นที่  เพื่อให้ป่าอนุรักษ์คงความสำคัญและรอดพ้นจากการรุกรานของมนุษย์  แต่เมื่อมีการท่องเที่ยวที่จำเป็นต้องโชว์วิถีชีวิตชาวอินเดียนแดง เขาเหล่านั้นแต่งสูทและขับรถเก๋งกลับไปแต่งองค์ทรงเครื่องและแสดงให้นักท่องเที่ยวชม เลิกก็กลับสู่ชุมชนที่อยู่อาศัย เป็นเงื่อนไขที่ทุกคนยอมรับ

ภายในอุทยานแห่งชาติหรือป่าอนุรักษ์บริบูรณ์ด้วยการบูรณาการการบริหารทรัพยากรอย่างยั่งยืนและมีความชัดเจนเรื่องวิชาการ  กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง  ในแต่ละอุทยานแห่งชาติมีหัวหน้าอุทยานเป็นผู้บริหารสูงสุด  สถานะของหัวหน้าอุทยานแห่งชาติที่นี่มีศักดิ์ศรีและความน่าเชื่อถือ ผู้ว่าการรัฐแต่ละรัฐต้องเชิญเป็นที่ปรึกษา  การบริหารขึ้นตรงกับส่วนกลางของกรมป่าไม้ของประเทศ

                องค์ประกอบในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของอุทยานแห่งชาติอเมริกาจึงประกอบด้วย 

1.การจัดการป้องกันรักษาป่า สัตว์ป่า พันธุ์พืชและอุบัติภัยนานาประการ  แต่งานนี้อเมริกาไม่มีปัญหาจากคนเหมือนประเทศไทย  ไม่มีการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ไม่มีการบุกรุกที่ดินอุทยาน  ไม่มีไร่เลื่อนลอย  คนมีสำนึกที่สมบูรณ์  ชุมชนรอบอุทยานยอมรับและร่วมอนุรักษ์เพราะว่ามันคือทรัพยากรของทุกคนและของชาติ  มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังหากอุทยานหรือใครเข้าไปทำความเสียหาย(Stakeholder) อันนี้รวมตลอดถึงการจัดการสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในอุทยาน  ต้นไม้หักขวางทางจราจร  หิมะถล่ม  แผ่นดินถล่มไหลลงมา 

2.การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เป็นหน่วยงานหนึ่งในอุทยานที่สั่งการโดยมีหัวหน้าอุทยานเป็นผู้สั่งการ แต่มีหัวหน้าสาขาที่รับผิดชอบในการปฏิบัติโดยยึดหลักการ  การฟื้นฟูทรัพยากรต้องกลมกลืนกับทรัพยากรธรรมชาติเดิมที่เคยมีอยู่เช่น ฟื้นฟูป่าที่เสื่อมโทรมจากไฟป่าหรือเพิ่มศักยภาพพืชอาหารสัตว์ป่าด้วยพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในท้องถิ่น แต่อาจเป็นพันธุ์ไม้ป่าในประเทศอเมริกาที่มีเผ่าพันธุ์อยู่นอกเขตอุทยานนั้นได้  ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากพื้นฐานเดิม  หน่วยงานนี้เหมือนหน่วยจัดการต้นน้ำในเมืองไทย

3.การศึกษาและวิจัย  เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ต้องกระทำตลอดเวลาที่ผ่านไป  เพราะว่าอาจเกิดความไม่เหมาะสมได้ในช่วงเวลาหนึ่ง  แต่อาจเกิดความเหมาะสมในอีกช่วงเวลาหนึ่ง  การศึกษาวิจัยจึงต้องกระทำทั้งสองทาง  ด้านวิชาการซึ่งอาจเป็นด้านป่าไม้  ด้านภูมิสถาปัตย์ ด้านการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ อาจคาดคะเนย์ว่า กราเซียร์ในพื้นที่จะละลายมากขึ้นเพราะการเปลี่ยนแปลงของอากาศ(Climate change)   ด้านการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยว  ประชาชน และองค์กรเอกชน   การป้องกันและดับไฟป่า  การศึกษาและวิจัยเพื่อผลการพัฒนาการจัดการอุทยานแห่งชาติอย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งประเทศไทยทำในทางตรงข้ามมากที่สุด 


              
                    เพราะว่าเขามีหิมะตก                               สีกลมกลืนกับธรรมชาติ

       4.การนันทนาการและสื่อความหมาย  เป็นกิจกรรมที่เน้นมากด้วยหลากหลายกรรมวิธี  และมีการปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสม  มีความปลอดภัย  มีความคิดสร้างสรรค์  มีวิชาการและทฤษฎี เช่นถ้านักท่องเที่ยวจะเข้าไปท่องเที่ยวในเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่กำหนด ระยะไกล-กลาง-ใกล้ ก่อนเข้าเขาจะให้ลงทะเบียนเวลาเข้า ชื่อที่อยู่ ชื่อผู้ที่สามารถติดต่อได้ ระบุเวลาออก หากผิดเวลาอาจหิมะถล่มหรือเกิดอันตราย  ฝ่ายจะแจ้งไปยังหน่วยป้องกันและจัดการอุทยานติดตามทันที 

5.การป้องกันและดับไฟป่า  เป็นกิจกรรมหลักที่อุทยานมีความพร้อม เป็นหน่วยงานที่สำคัญและต้องบัญชาการด้วยความรวดเร็วทันเหตุการณ์  มีเอกภาพการบริหารอย่างเต็มที่  ทั้งนี้เนื่องจากสภาพป่าของอเมริกาเป็นต้นสนซึ่งมีน้ำมันในเนื้อไม้เสียส่วนใหญ่ การเกิดไฟป่าแต่ละครั้งรุนแรงและต้องควบคุมใกล้ชิดด้วยอุปกรณ์พร้อมสรรพ  รถดับเพลิง  เฮลิคอปเตอร์  น้ำยาเคมี  น้ำ  หอดูไฟ แนวกันไฟป่า  ทางตรวจการ  การชิงเผา และบุคคลากรที่ฝึกปฏิบัติการอย่างชำนาญการ  เรียกว่ามีวัสดุอุปกรณ์ที่พร้อมใช้งานอย่างสม่ำเสมอ  มีให้ใช้ได้ตลอดเวลาของการเกิดอุบัติภัย  มีอำนาจสั่งการและปฏิบัติการได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ ที่สำคัญมีวิชาการที่ผ่านการศึกษาและวิจัย  เป็นหน่วยหนึ่งในกิจกรรมการป้องกันและดับไฟป่าที่อุทยานบัญชาการโดยตรง

                6.ภูมิสถาปัตย์และวิศวกรรม   เจ้าหน้าที่ที่มีฐานความรู้เรื่องภูมิสถาปัตย์และวิศวกรรมจะช่วยให้การจัดการอุทยานในเรื่องการก่อสร้างถนนป่าไม้  ทางตรวจการ  อาคารสิ่งก่อสร้างนานาประเภทที่กลมกลืนและโดดเด่นมีเอกลักษณ์ที่จดจำได้  เพิ่มความสะดวกและสุขสบายเมื่อพักค้าง หรือแม้แต่กิจกรรมการพักค้างนอกอาคารเช่นการกางเต็นท์ การสร้างจุดชมวิว ฯลฯ  ทุกอย่างมีวิชาการเฉพาะทางที่เป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญต่อการจัดการ  โดยคำนึงหลักความปลอดภัยของผู้รับบริการ 

          7.การประชาสัมพันธ์  เป็นเรื่องใหญ่ที่มีเจ้าหน้าที่ที่รู้และสามารถให้ข้อมูลได้อย่างตรงประเด็น  มีความเข้าใจทั้งนักท่องเที่ยวและเจ้าหน้าที่  มีความพร้อมที่จะเผยแพร่ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย  เป็นหน่วยงานที่ผลิตข่าวสารสื่อถึงนักท่องเที่ยวและประชาชนในสังคมอย่างต่อเนื่องและมีหลักวิชาการ ไม่กล่าวอ้างสร้างข่าวแบบปกปิดและเลื่อนลอย  โปร่งใส  ตรวจสอบได้  เอกสารที่แจกสวยงามและมิใช่เพียงน่าจับต้อง หากแต่น่าเก็บรักษาไว้เป็นอนุสรณ์ที่ได้ผ่านเข้าไปในอุทยานแห่งชาตินั้นๆ ด้วย


ทิศทางการจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในประเทศไทย 
 


               
ต้องสร้างความรู้ให้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า  ประเทศเขตร้อนอาศัยป่าไม้เป็นตัวปลดปล่อยน้ำ ไม่มีป่าจึงไม่มีน้ำ  ไม่มีความชุ่มชื้น  ไม่มีความอุดมสมบูรณ์  มีตะกอนตกสู่ที่ต่ำ และภูมิอากาศแปรปรวน ทฤษฎีการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำจึงเพื่อ  การปลดปล่อยน้ำในปริมาณที่สม่ำเสมอ  มีปริมาณมากพอเพียง  มีคุณภาพที่ดีใสสะอาดปราศจากตะกอนและสิ่งเจือปน  จะอนุรักษ์น้ำจึงต้องอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ  ถ้าเข้าใจทฤษฎีดังกล่าว  การกำหนดพื้นที่ป่าอนุรักษ์จึงควรที่จะต้องกำหนดพื้นที่เป็นลุ่มน้ำ  มีข้อมูลพื้นฐานเรื่องพื้นที่ป่าต้นน้ำ  การพัฒนาที่อยู่อาศัยของคนในลุ่มน้ำ  การพัฒนาที่ดินทำกิน  การพัฒนาสาธารณูปโภคและบริโภค ซึ่งถ้ากำหนดได้ดังกล่าวจะเพิ่มศักยภาพการกำหนดยุทธศาสตร์และการประเมินได้อย่างถูกต้องและชัดเจน 

                แต่ทุกวันนี้ประเทศไทยจัดการทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้และสัตว์ป่าด้วยการแยกส่วนการบริหารจัดการ  เป็นอุทยานแห่งชาติส่วนหนึ่ง  เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอีกส่วนหนึ่ง  และอีกส่วนหนึ่งที่เป็นป่าเสื่อมโทรมจากการทำไร่เลื่อนลอยมีหน่วยงานจัดการต้นน้ำ แต่ทั้งสามส่วนดังกล่าวกลับชัดเจนว่า ในป่ามีคนเป็นองค์ประกอบที่รวมอยู่ด้วยแทบทุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์   

           นั่นคือการประกาศเขตป่าอนุรักษ์ปราศจากหลักวิชาการ ทฤษฏีที่ไม่แน่นอน โดยเฉพาะเรื่องคน มีเพียงอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งเท่านั้นที่เมื่อประกาศเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ก็อพยพคนออกจนหมดสิ้น  ในภายหลังมีการเร่งและแข่งกันประกาศพื้นที่ป่าอนุรักษ์บนกระดาษแผนที่  จึงวงทับพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกินของชุมชนรวมไปทั้งหมด แต่ไม่มีการอพยพออก  เป็นกรรมวิธีปัดฝุ่นเข้าใต้พรม ปัญหาจึงลุกลามมาตราบทุกวันนี้ และเกิดกระบวนการแก้ไขในหลักการ ป่าอยู่กับคน อันเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุและปราศจากหลักการป่าอนุรักษ์ต้นแบบ 


    กระท่อมน่ารัก              

เมื่อทฤษฎีผิด  การบริหารจัดการผิดตามหรือไม่
?


               
วันนี้  กรมอุทยานแห่งชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช  เขาบริหารจัดการป่าอนุรักษ์อย่างไรกัน 

                1.สำนักอุทยานแห่งชาติ  บริหารจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ด้วยการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ มี พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติเป็นเครื่องมือ  โดยมีกิจกรรมการจัดการอุทยาน (มีหน่วยพิทักษ์อุทยาน) การนันทนาการและสื่อความหมาย  การวางแผนการและสำรวจจัดตั้งอุทยานเพิ่มขึ้น  การศึกษาและวิจัย  แต่ไม่มีการป้องกันและดับไฟป่า (ไม่มีอุปกรณ์และเครื่องมือที่รวมถึงงบประมาณ ไม่มีวิชาการการป้องกันเรื่องแนวกันไฟและการชิงเผา)  มักอ้างว่ามีหน่วยป้องกันไฟป่าตั้งอยู่แล้วเช่นที่เขาใหญ่ ฯลฯ  ไม่มีหน่วยงานภูมิสถาปัตยกรรมละวิศวกรรม    ไม่มีการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติโดยตรง และในสำนักบริหารพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ 1-16 มีส่วนนี้อยู่ด้วย

                2.สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า  บริหารจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์ด้วยการประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า   มี พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเป็นเครื่องมือ มีกิจกรรมการจัดการสัตว์ป่า(มีหน่วยพิทักษ์สัตว์ป่า)  การส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า  การวางแผนและการสำรวจจัดตั้งเขตเพิ่มขึ้น  มีส่วนศึกษาและวิจัยสัตว์ป่า(สถานีวิจัยสัตว์ป่า)  ไม่มีการป้องกันและดับไฟป่า(ไม่มีงบประมาณป้องกันและดับไฟป่าโดยเฉพาะเพราะว่าไปขึ้นกับสำนักจัดการไฟป่า)   มีรถแทรกเตอร์ล้อยางบ้างเป็นบางเขต  บางแห่งชำรุดและใช้การไม่ได้  ไม่มีหน่วยงานภูมิสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม  ไม่มีการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติโดยตรง และในสำนักบริหารพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ 1-16 มีส่วนนี้อยู่ด้วย

                3.สำนักป้องกันและปราบปราม  บริหารจัดการกิจกรรมการป้องกันรักษาป่าทั่วประเทศ  โดยเฉพาะพื้นที่ที่ประกาศเป็นป่าอนุรักษ์ประเภท อุทยานแห่งชาติ ไม่รวมพื้นที่เตรียมประกาศ  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่า แบ่งเป็นส่วนป้องกันและปราบปรามที่ 1-4     มีส่วนป้องกันและปราบปราบประจำสำนักบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ที่.1-16 มี พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ  พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า  พ.ร.บ.ป่าไม้ เป็นเครื่องมือ  และในสำนักบริหารพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ 1-16 มีส่วนนี้อยู่ด้วย

                4.สำนักจัดการไฟป่า  บริหารส่วนไฟป่าต่างๆในสำนัก  และมีส่วนไฟป่าในสำนักจัดการพื้นที่บริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่..1-16....เรียกว่าสถานีดับไฟป่าทั่วประเทศ  มีงบประมาณ  คน  อุปกรณ์การดับไฟป่า  แต่ไม่ได้ขึ้นตรงต่อหัวหน้าอุทยานหรือเขตรักษาพันธ์ หรือหน่วยจัดการต้นน้ำ เมื่อไฟป่าไหม้ในป่าอนุรักษ์ทั้งสามประเภทจึงเป็นเรื่องที่พะอืดพะอมที่สุด  ไม่มีกฎหมายเฉพาะเป็นเครื่องมือ ไม่มีส่วนศึกษาและวิจัยไฟป่า  ไม่มีส่วนภูมิสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม 

                5.สำนักอนุรักษ์และจัดการลุ่มน้ำ  บริหารส่วนต่างๆในสำนัก  ศูนย์จัดการต้นน้ำทั่วประเทศ 

มีส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำในสำนักบริหารพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ 1-16...และมีหน่วยย่อยทำงานในสนามทั่วประเทศ แต่พื้นที่หน่วยงานภาคสนามสาวนใหญ่แฝงอยู่ในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า  หรือพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเตรียมการสงวน  และป่าไม้ถาวรของชาติ มีส่วนศึกษาและวิจัยต้นน้ำ  ไม่มีกฎหมายเฉพาะเป็นเครื่องมือ ไม่มีส่วนภูมิสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม      ไม่มีส่วนป้องกันและดับไฟป่า 


   ส้วนใหญ่ขึ้นไปชมแล้วกลับลงมาพักค้างตีนดอย

เกิดอะไรขึ้นกับทฤษฎีการบริหารจัดการปัจจุบันนี้

               
               ทุกสำนักบริหารจัดการด้วยระบบกรอบทางวิชาการ
(Function) ก็ไม่ใช่  บริหารจัดการด้วยระบบรูปแบบการบริหารก็ไม่เชิง  แต่ที่คาดหวังกันนั้นมุ่งเน้นการกำหนดพื้นที่เป้าหมาย(Area  approach)  เป็นหลัก  ใคร่ขอลำดับความสับสนให้เห็นชัดเจนขึ้นดังนี้

1.     การกำหนดพื้นที่ป่าอนุรักษ์เป็นหลักควร  กำหนดพื้นที่ที่ทางวิชาการเห็นว่า เป็นพื้นที่ที่มีความจำเป็นและอาจเกิดผลกระทบกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยรวมต่อประเทศ จึงควรประกาศแบ่งพื้นที่โดยโซนซี(Conservation Zone)  แทนที่จะกำหนดที่พื้นที่ที่ประกาศเขตอนุรักษ์ประเภทอุทยานแห่งชาติ  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า  เขตห้ามล่าสัตว์ป่า  หรือพื้นที่เตรียมการประกาศ(อุทยานหรือเขตรักษา) หรือพื้นที่หน่วยงานของป่าต้นน้ำ  ซึ่งปลีกย่อย

2.     การบริหารจัดการ  กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช น่าจัดกำหนดกรอบให้แคบและครอบคลุม อาจต้องยุบเลิกสำนักหลายสำนัก เพราะว่าเป็นการทำงานซ้ำซ้อน กล่าวคือ  ในพื้นที่อนุรักษ์ทั้งหมด(โซนซี)  ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ  เมื่อมีทรัพยากรท่องเที่ยวบริบูรณ์พอเพียง  ประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเมื่อเห็นว่ามีทรัพยากรท่องเที่ยวน้อย แต่มีพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์และที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ทั้งหมด   ยุบและยัดหน่วยงานต่างๆที่เลอะเทอะเข้าไปอยู่ในกรอบของอุทยานและเขตรักษาพันธุ์ เพิ่มเอกภาพและศักยภาพการบริหารจัดการป่าอนุรักษ์ได้อย่างเด็ดขาด 

                                บอร์ดวอล์คข้ามน้ำพุร้อน

-ห
น่วยจัดการต้นน้ำ แท้ที่จริงเป็นกิจกรรมการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติในกรอบอุทยานแห่งชาติ  หรือเขตรักษาพันธุ์ ซึ่งแท้ที่จริงมีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่าโซนซีอยู่แทบทั้งสิ้น

-          หน่วยป้องกันรักษาป่ายัดเข้าไปอยู่ในหน่วยพิทักษ์อุทยานหรือเขตรักษาพันธุ์ ได้อัตรากำลังเพิ่ม  ทุกวันนี้หน่วยพิทักษ์ใช้ลูกจ้างประจำเป็นหัวหน้า(ไม่มีวุฒิป่าไม้หรือวนศาสตร์)

-          สถานีจัดการไฟป่า ยัดเข้าไปในกรอบของอุทยานแห่งชาติหรือเขตรักษาพันธุ์  ไฟไหม้ป่าเมื่อไรหัวหน้าอุทยานหรือเขตรักษา สั่งการได้ทันที

-          หน่วยภูมิสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมยัดเข้ากรอบอุทยานหรือเขตรักษาเช่นกัน 

ส่วนระดับสำนักอุทยานแห่งชาติและสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ควรแบ่งส่วนออกเป็น 4 ส่วนก็พอ  คือ ส่วนบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1(ภาคกลาง)   ส่วนบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่2 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)  ส่วนบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (ภาคใต้) ส่วนบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่  4 (ภาคเหนือ) ซึ่งเป็นระบบการจัดการแบบเบ็ดเสร็จในองค์รวม (One stop service) 

ในแต่ละส่วนแบ่งกรอบหน้าที่ออกเป็น  ฝ่ายวิชาการ(ศึกษาและวิจัย)  ฝ่ายจัดการ(หน่วยพิทักษ์-ป้องกันและปราบปราม)  ฝ่ายนันทนาการและสื่อความหมาย(ท่องเที่ยว ป.ช.ส.และบ้านพัก)   ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ   ฝ่ายฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(หน่วยจัดการต้นน้ำ)  ฝ่ายป้องกันและดับไฟป่า   

        3. ทฤษฎีที่ใช้กำหนดทิศทางการบริหารจัดการ   กรณีมีคน(ชุมชน)อยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ต้องตัดสินใจว่าจะใช้ทฤษฎี เชื่อคนได้  หรือทฤษฎี  เชื่อคนไม่ได้  เพราะว่าคนมีสมองโต   ฉลาดแกมโกง  มีความสามารถพิเศษเหนือธรรมชาติ และเห็นแก่ตัว  ในการจัดการของอเมริกาใช้ทฤษฎีไม่เชื่อคน  ทุกพื้นที่ที่กำหนดเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์จึงอพยพคนออกหมด  แต่ในประเทศไทยใช้ทฤษฎี ปัดฝุ่นเข้าใต้พรม  กำหนดพื้นที่ป่าอนุรักษ์บนแผ่นกระดาษ  วงทับไปหมดทั้งชุมชนและป่า  

จึงเกิดความพยายามที่จะตราพระราชบัญญัติป่าชุมชนขึ้น เพื่อให้ชุมชนมีสิทธิโดยถูกต้องในการอยู่อาศัยในเขตป่าอนุรักษ์  บางมาตราให้ใช้ไม้ในป่าอนุรักษ์ได้ และไม่ต้องมีใบเบิกทางกรณีตัดไม้ออก  อ้างการมีส่วนร่วม  นี่ทั้งบ้าทั้งเมา

                4.   การมีส่วนร่วมของประชาชน (Stake Holder) รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 กำหนดให้ชุมชนใกล้และในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ มีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ต้องแบ่งรายได้ให้ 5% มีงบประมาณเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกส่วนหนึ่ง  

กรณีดังกล่าวเกิดความสับสน  เพราะว่า ผลกระทบอันเกิดจากความเปลี่ยนแปลงหรือคงอยู่ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ส่งผลถึงชุมชนนอกเขตป่าอนุรักษ์ทั่วไปด้วย  เช่นเกิดอุทกภัย  ภัยแล้ง  ดังนั้นชุมชนทั่วไปในประเทศไทยหรือเฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำนั้นๆ แต่อยู่ใต้เขตป่าอนุรักษ์  ย่อมมีสิทธิเต็มร้อยที่จะมีส่วนร่วมเช่นกัน  แต่ไม่ประสงค์จะเข้าไปอาศัยและใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าอนุรักษ์โดยตรง  โวยได้เลยเช่นคนต้นน้ำปิงกับคนใต้น้ำปิงเช่นลุ่มน้ำเจ้าพระยา

ผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  บ้านเกิดข้าพเจ้าเคยมีฤดูน้ำ  ที่เดือนพฤศจิกายนจะมีน้ำเต็มทุ่งและคลอง  มีประเพณีการละเล่นเพลงเรือ  แข่งเรือ ลอยกระทง  แต่วันนี้  ไม่มีฤดูน้ำ  น้ำไม่เคยท่วมทุ่งอีกเลย  ไม่มีประเพณีเล่นเพลงเรือ  ไม่มีแข่งเรือ  การลอยกระทงแต่ลอยในคลองที่มีน้ำตื้นๆ  ข้าพเจ้าย่อมมีสิทธิโวยคนต้นน้ำ

5.การคุ้มครองป่าอนุรักษ์ทุกวันนี้  สำนักป้องกันและปราบปราม ปฏิบัติหน้าที่เฉพาะในพื้นที่อุทยานแห่งชาติที่ประกาศแล้ว  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า  และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า  นอกจากนี้เป็นพื้นที่อุทยานเตรียมการ  พื้นที่หน่วยจัดการต้นน้ำ  วนอุทยาน  กลายเป็นช่องว่างเพราะว่าพื้นที่ส่วนใหญ่แม้อยู่ในโซนซี แต่กรมไปแบ่งกับกรมป่าไม้ จึงเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ  ป่าเตรียมการสงวน  ป่าไม้ถาวรของชาติ กรมป่าไม้มีหน้าที่ป้องกันและปราบปราม  เห็นชัดไหมครับว่ามันสับสนจริงๆ  ใครจะทำงานถูก


       ธรรมชาติบันดาลให้   

บทสรุป

                ถ้ากำหนดการบริหารจัดการพื้นที่ป่าอนุรักษ์โดยใช้พื้นที่เป้าหมายเป็นหลัก(Area  Approach)  ระบบการบริหารจัดการมีอำนาจการบริหารจัดการอย่างมีเอกภาพ มีอัตรากำลัง  วัสดุอุปกรณ์  ยานพาหนะ  กฎระเบียบ  โดยเฉพาะ ผู้จัดการโครงการหรือหัวหน้าสำนักงาน หรือหัวหน้าหน่วยงาน  จำเป็นต้องมือสะอาด โปร่งใส ใจบริสุทธิ์ คำนึงถึงผลประโยชน์ของแผ่นดินมากกว่าประโยชน์ส่วนตน  ทีมงานยอมรับและร่วมใจปฏิบัติ  มีความรู้ถ่องแท้ในเรื่องที่ดำเนินการ   และประการสุดท้าย ประชาชนยอมรับได้

                เท่าที่เขียนมานี้เป็นเพียงส่วนของโซนซีเท่านั้น  แต่ในข้อเท็จจริงหากจะบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างถึงแก่นแล้วควรมองเป็นลุ่มน้ำ  โดยแต่ละลุ่มน้ำมีข้อมูลพื้นฐานที่ถูกต้อง  ซึ่งจะส่งผลถึงการวางยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่จะแม่นตรงและเกิดผลในเชิงบวก  การกำหนดพื้นที่เป้าหมายเป็นลุ่มน้ำจึงควรทำเป็นโครงการพิเศษโครงการนำร่องดูสักลุ่มน้ำ  กรอบเวลา 5 ปี ก็น่าจะเห็นผลกระทบได้อย่างมีนัยสำคัญ

                                      
                                                        บนเส้นทางก็ยังสวยงาม


Tags : National park

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view