http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,960,184
Page Views16,266,507
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

อุทยานแห่งชาติเพื่อประชาชน


                                                 อุทยานแห่งชาติเพื่อประชาชน


           
วัตถุประสงค์สำคัญข้อ2.ของการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติก็คือ เพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการกลางแจ้งสำหรับประชาชน หรืออุทยานแห่งชาติเพื่อประชาชน(National Park For People) ในประเทศไทยไม่สามารถสนองความต้องการดังกล่าวได้อย่างมีศักยภาพเพราะว่าอะไร หากต้องจัดการอุทยานแห่งชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ จะดำเนินการจัดการอย่างไรดี เป็นไปได้หรือไม่ที่จะให้มีการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและประชาชน  

            ตั้งแต่ปีพ.. 2505 อุทยานแห่งชาติประกาศจัดตั้งแล้วกว่า  102  อุทยาน และกำลังอยู่ระหว่างรอการประกาศในราชกิจจานุเบกษาอีกมากกว่า 40 แห่ง ปัญหาสำคัญคือ การจัดการอุทยานแห่งชาติเพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการของประชาชนไม่สามารถสนองตอบได้อย่างเต็มรูปแบบก็เพราะว่า

            ในอดีต อุทยานแห่งชาติถูกนโยบายของผู้บริหารระดับสูง กำหนดการให้มุ่งเน้นที่การป้องกันรักษาป่าที่อุดมสมบูรณ์หรือธรรมชาติสวยงามไว้ให้ได้ เป็นการยึดครองพื้นที่ป่าเอาไว้ ส่วนการท่องเที่ยวและนันทนาการได้ถูกจำกัดไว้แต่พอเป็นกระสายเท่านั้น

            เหตุผลประกอบคือไม่มีการร้องขอสิ่งอำนวยความสะดวกในการรองรับการท่องเที่ยวอันได้แก่ บ้านพัก นักท่องเที่ยว  ศูนย์อาหารและร้านจำหน่ายของที่ระลึก ฯลฯ เพื่อนักท่องเที่ยวเลย หากแต่ใช้บ้านพักของพนักงานเจ้าหน้าที่(ตามงบประมาณ) มาดัดแปลงให้เป็นบ้านพักสนองความต้องการระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะว่ากลัวว่าสำนักงบประมาณจะไม่อนุมัติให้ ความผิดพลาดคือ ไม่เคยมีการขอไปยังสำนักงบประมาณแต่อย่างใด คิดกันเอาเองว่าจะไม่ได้รับการพิจารณา

            ผลกระทบที่เกิดขึ้นมาคือ เจ้าหน้าที่ต้องไปปลูกสร้างบ้านพักชั่วคราวอยู่อย่างยากลำบาก เป็นการทำลายขวัญของคนที่ต้องเฝ้าระวังทรัพยากรที่สำคัญของชาติไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกประการหนึ่งคือ บ้านพักเหล่านั้นนอกจากถูกออกแบบมาเพื่อการอยู่อาศัยของพนักงานเจ้าหน้าที่ ความพรักพร้อมแก่การรองรับนักท่องเที่ยวจึงมีในระดับต่ำ และเหนือสิ่งอื่นใดทุกอุทยานแห่งชาติจะขาดแคลนทรัพยากรอำนวยความสะดวก ขาดงบซ่อมบำรุงบ้านพัก ที่นอนหมอนมุ้งอยู่ในสภาพที่โทรมจนได้รับคำนิยมว่า นอนอย่างยากลำบากและกลิ่นไม่สะอาดต้องไปนอนที่อุทยานแห่งชาติ

            ดังนั้นในแผนแม่บทอุทยานแห่งชาติทุกแห่งที่จัดทำไว้ จึงเกิดความสับสนเรื่องกิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยว อ้างว่ามีจำนวนบ้านพักเท่านั้นเท่านี้ แต่ข้อเท็จจริงคือจำนวนบ้านพักพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ดัดแปลงไปเพื่อการดังกล่าว  แม้แต่แผนแม่บทเหล่านี้ก็บิดเบือนข้อเท็จจริงทุกประการ ยังซ่อนเร้นความจริง          

            มีนักอนุรักษ์เล่าว่า บ้านพักเหล่านี้ถูกอิทธิพลจากข้าราชการระดับสูง ระดับกลาง นักการเมือง หรือแม้แต่พระสงฆ์องค์เจ้า บีบบังคับให้ใช้เพื่อตัวกูและพวกพ้องมากมาย บางครั้งสั่งการไปให้เตรียมพร้อมทั้งที่พักและอาหาร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติต้องรับกรรมที่ไม่ได้ก่อแต่อย่างใด มีการกำหนดว่าบ้านพักหลังใดอยู่ในอุทยานใด อันเป็นที่นิยมชมชอบเป็นอำนาจของใคร เพื่อรองรับแขกสำคัญๆของตนเองและพวกพ้อง หรือเจ้าลัทธิของใคร
          บ้านพักเหล่านี้จึงไม่ได้เป็นทั้งเพื่อขวัญกำลังใจเจ้าหน้าที่แล้วยังไม่ใช่เพื่อประชาชนคนทั่วไป อันน่าจะได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมกัน

              โดยเฉพาะมีอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพปุย บ้านพักมีอยู่ 11 หลัง เคยถูกอนุญาตโดยอธิบดีคนหนึ่งให้ผู้มีอิทธิพลใช้ประโยชน์ไปถึง 7 หลังอย่างถาวร  แต่ภายหลังได้คืนให้แล้ว วัดอะไรอยู่แถวๆคลองหลวง

            คำตอบที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ที่ให้กับประชาชนผู้มาขอใช้สิทธิ จ่ายทั้งเงินค่าที่พักและค่าอาหาร นอกจากนี้ยังต้องมาจับจองตามกำหนดเวลาที่กำหนดไว้อย่างอดทน มักได้รับคำตอบว่าเต็ม ไม่ว่าง มีคณะนั้นคณะนี้ไปใช้เสียแล้ว โดยเฉพาะอุทยานแห่งชาติดังๆที่เป็นที่นิยมเช่น เขาใหญ่ สิมิลัน ตะรุเตา ดอยสุเทพ-ปุย อินทนนท์ เขาแหลม ภูเรือ ภูกระดึง เขื่อนศรีนครินทร์ หมู่เกาะสุรินทร์ ฯลฯ

            ประการสำคัญเงินรายได้ที่เก็บไปนั้น ในหลักการไม่มีบ้านพักเพื่อการท่องเที่ยวแต่มีระเบียบให้เก็บเงินจากการพักค้างได้จากบ้านพักเจ้าหน้าที่ งงจริงๆ เรื่องนี้มีนักท่องเที่ยวสงสัยกันมากว่า เหตุใดที่นอนหมอนมุ้ง ผ้าปู จิปาถะสกปรก เหม็นอับ ชื้นจนราขึ้นกรัง ถนนหนทางขรุขระ ไม่มีการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม ร้านค้า อัตราค่าเข้าอุทยาน ฯลฯ โดยเฉพาะมีอุทยานแห่งชาติบางแห่งเก็บเงินรายได้ปีละมากกว่า 5 ล้านบาท แต่ส่งกลับไปพัฒนาอุทยานนั้นๆน้อยมาก

            ในภาวะปัจจุบันนี้ ทั้งรัฐบาล(...)และรมว.ว่าการกระทรวงเกษตรฯนายปองพล อดิเรกสาร คาดหวังว่าจะใช้ฐานการท่องเที่ยวจากทรัพยากรท่องเที่ยวในธรรมชาติของอุทยานฯ ซึ่งก็แม่นตรงที่สุด เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าในอุทยานแห่งชาติได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั่วโลก ปัญหาสำคัญอย่างยิ่งยวดคือ อุทยานฯเหล่านั้นมีความพร้อมแค่ไหน จะทันกับสถานการณ์การประชาสัมพันธ์ปีอะเมซซิ่งหรือไม่ จะมีเงินลงทุนทำกิจการดังกล่าวได้หรือไม่ ฯลฯ

            ทั้ง นายปองพล อดิเรกสาร รมว.กษ. และนายปลอดประสพ สุรัสวดี อธิบดีกรมป่าไม้ ได้เสนอแนวคิดในการจะให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการการท่องเที่ยวในอุทยานฯโดยกฏหมายและระเบียบกระทำได้อยู่แล้ว เพราะว่า พรบ.อุทยานแห่งชาติพ..2504 มาตรา 16(13) ,18, 19,และ23 กรมป่าไม้ได้ตราระเบียบว่าด้วยการอนุญาตให้เข้าไปดำเนินกิจการท่องเที่ยวและพักอาศัยในอุทยานแห่งชาติ พ..2536 ประกาศ ณ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ..2536 โดยนายผ่อง เล่งอี้ อธิบดีกรมป่าไม้ในยุคนั้น

            ตราบจนถึงวันนี้ ยังไม่มีการร้องขอเข้าไปใช้ประโยชน์ดังกล่าวแต่อย่างใด ทั้งๆที่ในระเบียบนี้ให้โอกาสแก่ประชาชนที่สนใจในกิจกรรมดังนี้คือ การจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม ของที่ระลึก  ที่พักอาศัยหรือกิจการอื่นที่จำเป็นแก่การท่องเที่ยว และการบริการนำเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ เงื่อนไข รายละเอียดต่างๆในระเบียบนี้หากท่านผู้ใดสนใจก็ติดต่อโดยตรงที่กรมอุทยานแห่งชาติฯ

            การจะของบประมาณแผ่นดินเพื่อการลงทุนเห็นทีจะเป็นไปไม่ได้ ให้ ออป.ก็เหนื่อยใจแทน ทำอะไรก็เหมือนราชการเป๊ะ แต่ถ้าให้เอกชนมาร่วมลงทุนหลายๆรูปแบบ(Privatization)น่าจะสดใสและเป็นไปได้อย่างรวดเร็วที่สุด ก็ขอร้องป่าวประกาศมา ณ ที่นี้ ด้วยความหวังว่า วันหนึ่ง อุทยานแห่งชาติจะพิสูจน์สัจธรรมที่ว่า อุทยานแห่งชาติเพื่อประชาชนครับ   

Tags : National parks

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view