http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,002,161
Page Views16,310,981
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

การกระจายอำนาจและพัฒนาการจัดการป่าไม้

Dely186.doc/2มค42          การกระจายอำนาจและพัฒนาการจัดการป่าไม้                        

            รัฐบาลโดยกรมป่าไม้ได้ชื่อว่าจัดการป่าไม้มายาวนานกว่าร้อยปี ภาพที่เห็นคือป่าหมดลงไปทุกวันอย่างไม่สามารถหยุดยั้งได้ เป็นจุดอ่อนที่กรมป่าไม้ตอบได้ยากเย็นแสนเข็ญว่าป่าหมดไปเพราะใครกันแน่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 เป็นความหวังใหม่ที่ให้สิทธิ เสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะมีความเป็นไปได้เพียงใด ระดับไหน และพื้นที่เป้าหมายการจัดการอยู่ตรงไหนกันหรือ ที่แน่นอนประชาชนพร้อมหรือยัง

ตามรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดของประเทศไทย ในมาตรา 46 ว่าด้วยสิทธิของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม มีสิทธิในการฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นฯอันหมายถึงชุมชนที่ตั้งอยู่ก่อนการประกาศเขตป่า  มาตรา 56 ว่าด้วยเรื่องสิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์และมีส่วนร่วมในการจัดการบำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

มาตรา 58 ว่าด้วยสิทธิที่ในครอบครองของหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจหรือส่วนราชการท้องถิ่น เว้นแต่จะเกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ มาตรา59 ว่าด้วยสิทธิที่จะได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการก่อนดำเนินโครงการที่มีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม      มาตรา 60 สิทธิในการร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (คือการประชาพิจารณ์ก่อนที่จะเกิดการตัดสินใจว่าเอาหรือไม่เอาเช่นกรณี พ...ป่าชุมชนฉบับสวนบัวรีสอรท์ เชียงใหม่เป็นต้น)

มาตรา 70 ให้สิทธิในการกำหนดนโยบาย และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนถ่ายอำนาจจากประชาธิปไตยแบบมีตัวแทนมาเป็นประชาธิปไตยแบบประชาชนมีส่วนร่วม มาตรา 79 การกำหนดให้รัฐต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสงวน บำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม

รัฐบาลต้องปฏิบัติตามมาตราการนี้อย่างเคร่งครัดไม่ว่ารัฐบาลใดๆก็ตาม ยิ่งละเลิกแนวคิดและวิสัยทัศน์ดั้งเดิมที่ว่ารัฐเท่านั้นที่จะมีหน้าที่ในการสงวนและบำรุงรักษาตลอดจนการใช้อำนาจจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติหรือควบคุมสิ่งแวดล้อมบทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 290 ซึ่งมุ่งหวังว่าจะเป็นองค์กรท้องถิ่นที่มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฏหมายบัญญัติ นั่นคือ องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) 

            นายฉัตรชัย รัตโนภาส รองอธิบดีกรมป่าไม้ ได้เคยเล่าให้ฟังว่า แนวคิดตามรัฐธรรมนูญดังกล่าวข้างต้นนี้เป็นการให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เป็นไปตามกระแสอนุรักษ์ในสากลโลกปัจจุบันนี้ แต่เป็นเรื่องยุ่งยากแก่การทำความเข้าใจ อย่างไรก็ตามแนวคิดการเปลี่ยนถ่ายอำนาจหน้าที่ให้ประชาชนโดยเฉพาะ อบต.เป็นผู้มีส่วนร่วมและมีบทบาทสำคัญ น่าที่จะช่วยให้การตัดสินใจจัดการอนุรักษ์ป่าและพัฒนาการใช้ประโยชน์ให้ได้อย่างยั่งยืน  ส่วนคณะ อบต.จะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป่าไม้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับคณะ อ...เองและมีกรมป่าไม้เป็นพี่เลี้ยงที่ดีต่อไป

            เร็วๆนี้ก็มีการสัมมนาเรื่องการกระจายอำนาจการและพัฒนาการจัดการป่าไม้ในเอเซียและแปซิฟิคนี้ได้มีการประชุมระดับโลกขึ้นที่เกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์  โดยรีคอร์ฟ(RECOFTC) ซึ่งมี ดร.สมศักดิ์ สุขวงศ์ เป็นผู้อำนวยการองค์กร มีการนำเสนอแนวคิดกันมากมายหลายกระแส มีทั้งประเภทรัฐบาลผลักดันให้เกิดขึ้นตามแบบอย่างของรัฐบาลคิด การนำแนวคิดไปปฏิบัติร่วมกันระหว่างรัฐบาล องค์กรพัฒนาภาคเอกชน(NGOs) และประชาชนในท้องถิ่น

อย่างไรก็ดีต่างพื้นที่ต่างวัฒนธรรมประเพณีต่างศาสนาต่างช่วงเวลาและกฏหมายบ้านเมือง ย่อมยังไม่ชัดเจนที่จะกำหนดรูปแบบที่ลงตัวได้ แต่นัยสำคัญอยู่ที่ตัวบุคคล ยังมีความสำคัญต่อกระบวนการดังกล่าวอยู่ค่อนข้างมาก คำถามคือ มีความพร้อมหรือยัง?

             บทสรุปอยู่ที่ว่า ความเป็นไปได้ระดับหนึ่งคือมีการกำหนดในรัฐธรรมนูญแล้ว แต่ต้องรอกฎหมายลูกหลายๆฉบับ พอลงถึงการปฏิบัติการยิ่งต้องควรกำหนดไว้ที่พื้นที่เป้าหมายระดับไหน ป่าอนุรักษ์ต้นน้ำ ป่าอุทยานแห่งชาติและป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งเป็นส่วนที่ล่อแหลมต่อความเสื่อมสภาพและเกิดผลกระทบรุนแรงต่อลุ่มน้ำ อันมีผลกระทบต่อปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ของประเทศทีเดียว เรื่องสำคัญๆอย่างนี้ควรอยู่ในความรับผิดชอบของส่วนกลางดังที่สากลโลกเขาปฏิบัติกันหรือปล่อยสู่ท้องถิ่นไปด้วยเลย มันอยู่ที่ว่าท้องถิ่นนั้นๆมีความเข้มแข็งพอหรือยังด้วย  

            ทรัพยากรธรรมชาติไม่ใช่เครื่องจักรกล หมดไปแล้วแม้สร้างใหม่ได้ แต่ทำให้เกิดเหมือนเดิมไม่ได้ เช่นป่าดงดิบถูกทำลายจนเป็นเขาหัวโล้น อีกกี่พันปีจึงจะสร้างป่าดงดิบคืนเช่นเดิมได้ ถึงได้ก็ไม่สมบูรณ์เช่นเดิมแน่นอน หรืออาจไม่ได้เลย แนวคิดการจัดการและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติจึงต้องทำเป็นระบบในภาพรวม การพัฒนาสวนทางกันมานาน ผลที่เกิดขึ้นก็ดังที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้แหละครับ

Tags : National parks

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view