http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,956,883
Page Views16,263,184
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

จากหมู่บ้านช้างการบินไทยสุรินทร์ถึงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้วยช้าง(1)

Dely139.doc  จากหมู่บ้านช้างการบินไทยสุรินทร์ถึงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้วยช้าง(1)

            หากทรัพยากรช้างเป็นจุดขายที่มีศักยภาพในกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของไทย การที่การบินไทยพยายามจะอนุรักษ์หมู่บ้านช้างสุรินทร์เพื่อรักษาทั้งวิถีชีวิตคนและช้าง ให้เป็นเอกลักษณ์หนึ่งที่มีคุณค่าโดดเด่นอันประเมินค่ามิได้ คิดดูให้ดี ทั้งโลกนี้มีบ้านเมืองไหนบ้างที่เลี้ยงช้างไว้ในบ้าน เหมือนสัตว์เลี้ยงชนิดหนึ่งเช่นวัวควายหรือสุนัข และมีความใกล้ชิดกับคนเสมือนหนึ่งเป็นเพื่อนตาย

ช้างได้กลายเป็นมรดกตกทอดที่มีคุณอนันต์ของคนสุรินทร์ แต่ก็มีความยากลำบากในการจรรโลงไว้อย่างยิ่ง  เพราะว่าช้างตัวโต กินจุ ใช้พื้นที่อาศัยมาก มีราคาแพงตัวละ 1-7 แสนบาท ช้างมีความน่ารักเช่นเดียวกับสัตว์เลี้ยงอื่นๆ มีความน่าหวาดกลัวและอันตรายแฝงอยู่ แต่คนไทยสุรินทร์เก่งสามารถควบคุมและบังคับช้างได้ ทั้งช้างทั้งคนจึงน่าอนุรักษ์ไว้พร้อมๆกัน

หมอช้างและควาญ จึงเป็นบุคคลพิเศษที่สมควรถนอมรักษาไว้อย่างยิ่ง เป็นทรัพยากรที่ประเทศเพื่อนบ้านไม่มีหรือมีน้อยโดยเฉพาะประเทศอินโดนิเซียและมาเลเซีย(ต้องมาขอควาญช้างจากประเทศไทยไปฝึกช้างป่า)  ถือว่าเป็นความทระนงของชายชาวสุรินทร์ก็ว่าได้ สมควรที่จะยกย่องและภาคภูมิใจ

            การบินไทยเป็นองค์กรเอกชนที่มีความคิดในเรื่องการอนุรักษ์ช้างบ้านให้อยู่ในพื้นที่ที่ควรอยู่ พร้อมกับส่งเสริมอาชีพคนในหมู่บ้านที่เกี่ยวข้องไปด้วย คนอยู่ได้ช้างก็อยู่ได้ ช้างอยู่ได้คนจะอดตายก็คงจะไปไม่รอด จึงได้เริ่มต้นหมู่บ้านต้นแบบการร่วมอนุรักษ์ดังกล่าวที่บ้านตากลาง ตำบลกระโพธิ์ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เรียกชื่อเสียใหม่ว่า หมู่บ้านช้างการบินไทยสุรินทร์ คนที่นี่มีเชื้อสายเป็น กวยหรือส่วย ส่วนช้างก็มีเชื้อสายเป็นช้างเอเซีย(Elephas Maximus)

            เรื่องราวของส่วยหรือกวยกับช้างนี้ หากย้อนอดีตไปถึงปีพ..2369 เจ้าพระยามหาศักดิพลเสพยกทัพไปปราบกบฏอนุราชเวียงจันทร์เสร็จสิ้นแล้ว ต่อมาปีพ..2370 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้มีพระบรรณฑูรย์ให้งดส่วยแรงที่สุรินทร์(ชายสุรินทร์ไม่ต้องไปเป็นทหาร)และปลดระวางกองทัพช้างศึกเหล่านั้น หมู่บ้านช้างจึงเกิดขึ้นจากกองกำลังทัพช้างดังกล่าว กระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดสุรินทร์ แต่ยังคงมีหน้าที่จับช้างป่ามาฝึกและจัดหาของป่าส่งไปยังพระนครตามใบบอก

ปัจจุบันนี้ จึงมีช้างบ้านลูกหลานช้างศึก(วีรชนช้าง)เหล่านั้นอยู่ที่นี่ ไปเห็นมากับตาเลยทีเดียว เป็นภาพที่แปลกประหลาดและน่ารักมาก เขาปล่อยช้างไปหากินหญ้า ฟางข้าว ใบไม้ ในทุ่งนาร่วมอยู่กับวัว ควาย ชาวนาก็เดินไปมาตามแต่ธุระที่เกิดขึ้น ซึ่งภาพของช้างในความทรงจำและความรู้สึกของคนทั่วไปคือช้างต้องอยู่ในป่า ดุร้าย ทรงพลัง แต่ช้างที่นั่นน่ารักเช่นเดียวกับสมาชิกในครอบครัว

ช้างกลายเป็นเพื่อนเล่นของเด็กๆในหมู่บ้าน ถามว่าต้องควาญช้างหรือไม่ที่เลี้ยงเขา ก็ได้ทราบว่าเด็กๆในครอบครัวนั้นๆก็ไปตามกลับบ้านได้เหมือนต้อนวัวควาย ใครไม่เคยเห็นก็จะไม่เชื่อ ต้องลองไปดูกันดีกว่า จะรู้แจ้งเห็นจริงอะเมซิ่งช้างที่นั่น วิถีชีวิตอย่างนี้หาดูไม่ได้ที่อื่นๆ เป็นจุดขายการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์จริงๆ

            ช้างที่เห็นอ้วนพี ดูสุขสมบูรณ์ดี ไม่ยักเห็นช้างซี่โครงบาน หอบตัวโยนหรือแห้งเหี่ยวอิดโรย อาจเป็นเพราะว่าหลังฝนช้างผ่านฤดูกาลอิ่มอร่อยกับผักหญ้ามาอย่างเต็มที่ ในฤดูกาลอื่นๆอาจผอมแห้งไปตามสภาพอาหารที่มีอยู่น้อยหรือไม่ ป่าสงวนแห่งชาติดงภูดิน(เหลืออยู่หมื่นไร่เศษๆ)ในบริเวณหลังหมู่บ้านและริมฝั่งปากแม่น้ำชีและแม่น้ำมูล ซึ่งมีพืชผักมากมาย ป่าทามริมฝั่งจึงคงมีคุณค่า เว้นแต่ป่ายูคาลิปตัสเท่านั้นที่ช้างไม่กินเลย

            อย่างไรก็ดี ปัจจัยเหตุที่ช้างสุรินทร์ไปเดินหากินด้วยหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะไปหากินต่างถิ่น ในกรุงเทพแถวสีลม บางรัก สาธร บางลำพู กิจกรรมที่ไปทำคือ ให้ช้างแบกอาหารบนสะเหรี่ยงวันละ 200 กก. แยกเป็นถุงละ 20 บาท เพื่อขายให้กับคนไทยใจบุญ ขี้สงสาร อยากใกล้ชิดช้าง อยากลูบคลำดู อยากรอดท้องช้างเอาบุญ หรือให้ช้างแสดงท่ามอบคำนับ กลายเป็นช้างเซลล์แมน ช้างตลก ช้างโชคลาภ ช้างขอทาน ช้างดารา ช้างนักกีฬา ฯลฯ จึงเกิดความสมเพชแก่กลุ่มผู้มีสติ ช้างและคนสุรินทร์ถูกตำหนิ

            ค่านิยมของชาวไทยกับต่างชาติโดยเฉพาะชาวยุโรปแตกต่างกัน ฝรั่งเห็นช้างมาอยู่ผิดที่และช้างเล่นกีฬา ก็หาว่าทรมานสัตว์เลี้ยง ไม่ชอบ ดีไม่ดีพาลเกลียดชังคนไทยไปเสียเลย เรื่องอย่างนี้บางทีก็ต้องใช้ดุลยพินิจให้ดีๆ แต่สำหรับคนไทย ลูกหมายืนได้ก็ว่าเก่ง ช้างย่อตัวนั่งได้ก็ว่าน่ารัก ช้างเตะฟุตบอลได้ก็สนุกขำขัน เฮกันไปดูเป็นที่นิยมเช่นเดียวกับละครสัตว์ การขายคนไทยกับต่างชาติจึงต่างกัน

            การบินไทยใกล้ชิดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมามาก รู้ว่าค่านิยมเป็นอย่างไร ความรู้สึกเป็นอย่างไร ชอบในการอนุรักษ์ตามวิถีชีวิตในธรรมชาติอย่างไร จึงได้ให้แนวทางกำหนดเป็นต้นแบบในรูปหมู่บ้านช้างขึ้น ให้ช้างกลับมาอยู่อย่างสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่เช่นเดิม อยากให้แสดงก็แสดงได้ที่ศูนย์คชศึกษาของหมู่บ้าน ที่นี่จึงสมควรจะขายวิถีชีวิตของช้างกับคน ความผูกพันที่น่ารักระดับช้าง

            คนที่เกี่ยวข้องกับช้างมีอยู่ 3 กลุ่มคนคือ กลุ่มที่ 1. เป็นหมอช้าง ควาญช้าง คนตามช้าง ตะพุ่นหญ้าช้าง  กลุ่มที่ 2. ครอบครัวของคนเหล่านั้น และกลุ่มที่ 3. เจ้าของช้าง ส่วนใหญ่เป็นผู้มีอันจะกิน มีเงิน จึงมีแรงซื้อช้างเก็บไว้ แล้วจ้างกลุ่มคนกลุ่มที่ 1. ให้มีอาชีพถาวร ช้างไม่มีงานทำ เจ้าของอาจเลิกจ้างคนเหล่านั้น จึงต้องออกไปเร่ร่อนหากินตามบาทวิถี

            คำกล่าวที่ว่า รักฉันต้องรักหมาของฉันด้วยถูกเปลี่ยนเป็น รักช้างของฉันต้องรักฉันด้วย โครงการช่วยช้างต้องช่วยคนจึงเกิดขึ้นดังนี้ การบินไทยตั้งมูลนิธิหมู่บ้านช้างการบินไทยสุรินทร์ขึ้น เพื่อดำเนินการกิจกรรมต่อไปนี้

ในปีพ..2540 เริ่มที่ช่วยคนให้มีน้ำกินที่สะอาดด้วยประปาหมู่บ้านมากกว่า 200 ครัวเรือน เพื่อให้มีน้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาดถูกสุขอนามัยหมดเงินไป 870,000 บาท แจกจ่ายไปทุกครัวเรือน    การเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวนอกฤดูการเกษตรกรรมปกติ ด้วยการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมให้ได้มาตราฐาน จัดหาตลาดรองรับ ให้การสนับสนุนไปประมาณ 20,000-30,000 บาท

            พร้อมๆกันช่วยช้างด้วยการจัดซื้ออุปกรณ์วางยาสลบช้าง (ปืนยิงยาสลบ) 4 ชุด 200,000 บาทมอบให้กับปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ไว้ใช้ยามคับขัน ขุดสระน้ำให้ช้างใช้ลงอาบ เนื้อที่ 8 ไร่ หมดเงินไป 700,000 บาท มีแผนจะขยายพื้นที่ไปอีก 40 ไร่ใช้เงินประมาณ 2-3,000,000 บาท

            ในปีพ..2541 จะปลูกหญ้าอาหารช้าง พันธุ์จัมโบ้และหญ้าขน ใช้พื้นที่ปลูก 200 ไร่ คาดว่าจะรองรับช้างได้ 80 เชือก งบประมาณ 1,374,000 บาท ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ให้ใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติดงภูดินปลูกป่าพืชอาหารช้างจำนวน 782 ไร่ และในปีพ..2542 จำนวน 4,000 ไร่ ไม่ทราบว่าจะต้องหมดเงินไปอีกกี่บาท ใครเห็นดีด้วยก็ช่วยกันบริจาคได้ที่การบินไทย

            เมื่อได้เห็นสภาพป่าดงภูดินแล้วก็เหนื่อยแทนการบินไทยและชาวตากลาง ดินป่าเสื่อมสภาพไปมากแล้ว ป่ารุ่นใหม่ที่กำลังฟื้นตัวเหล่านั้นทะนุบำรุงให้ดี ก็จะกลายเป็นพืชอาหารได้อย่างมาก แต่การช่วยปลูกเพิ่มใหม่ก็ช่วยให้เร็วขึ้น ส่วนชนิดพันธุ์ที่ปลูกน่าจะต้องไปดูบัญชีอาหารช้าง 54  ชนิดที่นายวิทยา สังคะกุลและรัตนา ลักขณาวรกุล, ช้างเอเซียในประเทศไทย,2535 ประกอบด้วยก็จะดีที่เดียว

            การบินไทยทำงานนี้สำเร็จเมื่อใด เชื่อว่าทั้งช้างและ คน สุขสบายไปพร้อมๆกันครับ

             

Tags : wildlifes

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view