http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,956,912
Page Views16,263,214
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ยูคาลิปตัสไม้โตเร็วเจ้าปัญหา

                       ยูคาลิปตัสไม้โตเร็วเจ้าปัญหา

              เมื่อตอนที่แล้วได้ทิ้งท้ายไว้เกี่ยวกับ จุดเริ่มต้นไม้เจ้าปัญหาเมื่อ คุณกิตติ ดำเนินชาญวณิชย์ได้เริ่มโครงการโรงงานผลิตเยื่อและกระดาษ โดยดำเนินการส่งเสริมอย่างครบวงจร มีการส่งเสริมการปลูกป่าไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส มีฝ่ายวิชาการป่าไม้ ได้เจ้าหน้าที่ป่าไม้จังหวัดให้ความสะดวกทุกรูปแบบ มีโครงการขอเช่าพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ในท้องที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

             โครงการดำเนินมาด้วยดี มีชื่อเสียงในทางที่ดี มีแนวโน้มดีมากๆ แต่พอเริ่มการเช่าพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเพื่อปลูกป่าไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส จำนวน 200,000 ไร่ เพื่อจัดหาวัตถุดิบไว้ป้อนโรงงาน เรื่องดังกระฉ่อนไปทั่วประเทศเมื่อ พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ นำคณะมือ_ปราบบุกเข้าจับกุมการบุกเบิกการปรับพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่กำลังดำเนินการขอเช่าพื้นที่อยู่
              หากแต่ได้ลงมือดำเนินการไปก่อนเพื่อผลความก้าวหน้าเชิงธุรกิจ
เท่านั้นเอง ไม่เพียงแต่คุณกิตติ กลายเป็นผู้ร้าย แต่ไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส ก็เลยกลายเป็นไม้เจ้าปัญหาทันที ความเลวร้ายต่างๆถูกหยิบยกขึ้นมา โดยองค์กรภาคเอกชน หรือ NGO และสื่อมวลชน รวมหัวกันลงโทษทัณฑ์เจ้าไม้ป่าต้นนี้อย่างชนิดที่เรียกว่า ไม่ให้โอกาสตอบโต้ได้เลย

               ด้วยเหตุเหล่านี้ กรมป่าไม้และนักวิชาการป่าไม้ที่จับงานทดลอง วิจัย ตรวจสอบกันมานานมากกว่า 40 ปี จึงมีความรู้สึกว่า ไม่ยุติธรรม แต่อย่างไรก็ตาม กระแสที่เกิดขึ้นในขณะนั้นรุนแรงมากเชื่อว่าผู้อ่านคงได้ทราบกันทั่วไป เวลาที่ล่วงเลยมานี้ บรรดาผู้รู้ในวงการป่าไม้อยากชี้แจงมาก แต่ไม่มีสื่อใดๆที่ในขณะนั้นให้โอกาสเลย

                 คุณอุดม หิรัญพฤกษ์

               บัดนี้ ได้ร่วมกับกรมป่าไม้เพื่อศึกษาข้อเท็จจริง โดยผ่านสื่อมวลชน เป็นผู้รายงานสิ่งที่ได้พบเห็น ข้อดี ข้อเสียข้อน่ากังขา ข้อน่าห่วงใย โดยมีนักวิชาการป่าไม้ให้ความรู้ เกษตรกรที่ได้_พบควมสำเร็จ เมื่อ 1-3 ก.ย.2538 เดินทางไปเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง รวม 42 คน

                รศ.ประคอง อินทรจันทร์ เลขาฯสมาคมฯ ได้กล่าวว่า "ในพื้นที่ป่าต้นน้ำไม่มีนโยบายการปลูกป่าไม้ยูคาฯ เพราะเกรงปัญหาเรื่องการใช้น้ำเก่งของยูคาฯ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ดินเลว ป่าที่เสื่อมโทรม บนที่ดินกรรมสิทธิ์ของประชาชน ซึ่งผิดหวังต่อการปลูกพืชเกษตรอื่นๆมาแล้วหลายครั้ง หันเหมาปลูกไม้ยูคาลิปตัสแทน รายได้สูงกว่า และได้แน่นอน"

                คุณพิศาล วสุวานิช หัวหน้ากลุ่มจัดการเมล็ดพันธุ์ไม้ป่า สำนักวิชาการป่าไม้ให้ความเห็นกรณีการปลูกป่าไม้ยูคาฯ ณ สถานีทดลองพันธุ์ไม้ป่าท่าตูม อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ว่า "ผลผลิตจะแตกต่างกันมากระหว่าง สวนป่าไม้ยูคาฯที่คัดเลือกพันธุ์ดี กับไม่ได้คัดเลือกพันธุ์เลย เกษตรกรจะได้รับผลตอบแทนสูงกว่ามาก และคุ้มค่ากับการลงทุนที่ต้องลงทั้งเวลาและทรัพย์สิน" _

                   ดร.พิทยา เพชรมากนักวิชาการป่าไม้ 7 หัวหน้ากลุ่มวิจัยการปลูกสร้างสวนป่า สำนักวิชาการป่าไม้ กล่าวว่า"ผมรอเวลานี้มา 15 ปีแล้ว เพื่อจะได้แถลงให้กับสื่อมวลชนได้ ทราบว่างานวิจัย ทดลองของกรมป่าไม้ พิสูจน์ได้ว่าไม้ยูคาลิปตัสดีอย่างไร มีข้อเสียตรงไหน วันนี้รู้สึกดีใจมากที่สมาคมฯจัดให้เกิดขึ้นได้" ณ สถานีทดลองปลูกพันธุ์ไม้ป่าห้วยทา อ.น้ำเกลี้ยง จ.ศรีสะเกษ

                ดร.พิทยา กล่าวต่อว่า"การคืนปุ๋ยลงสู่ดิน 16 % เมื่อไม้ยูคาลิปตัสอายุ 4 ปี แล้วตัดออกไปขาย ปล่อยให้มีการแตกหน่อใหม่เป็นรอบที่สอง อีก 8 ปีต่อมา ไม้ยูคาลิปตัสคืนปุ๋ยให้กับดิน 32 %จากผลการทดลองปลูกถั่วลิสงในสวนป่ารอบสอง พบว่าให้ผลผลิตสูงกว่าเดิม"

                คุณนเรศ ไชยยงยศ  ป่าไม้เขตอุบลราชธานี ได้ให้สัมภาษณ์ว่า "ความต้องการใช้ไม้ที่นี่มีทั้ง ภาคเอกชนที่ทำเป็นธุรกิจชิ้นไม้สับเยื่อกระดาษ และประชาชนก็ใช้ในเรื่องของไม้เสาเข็ม ไม้ค้ำยัน ไม้ก่อสร้างโรงเรือนขนาดเล็กๆ และไม้แปรรูปจากยูคาลิปตัสเพื่อทดแทนไม้ป่าที่ได้ยกเลิกการทำไม้แล้ว ขณะนี้ ประชาชนไม่มีทางเลือกไหนเลยที่ดีกว่านี้ บ้านไม้ยูคาลิปตัสดังแล้ว " _

              คุณมานะ ศรีวงษ์วรรณะ ป่าไม้จังหวัดศรีสะเกษ "ที่จังหวัดของเราได้ส่งเสริมเกษตรกรปลูกป่าในโครงการปรับโครงสร้างการผลิต 2 ปีติดต่อกันนี้มากกว่า 40,000 ไร่ เป็นไม้ยอดนิยมที่ประชาชนให้ความสนใจปลูกมากกว่าไม้ชนิดใดๆ สิ่งที่เป็นห่วงมากคือ ผมพยายามที่จะติดต่อกับบริษัทภาคเอกชนบางบริษัท เพื่อขอให้ประกันราคาไม้ยูคาลิปตัสอแก่ประชาชนด้วย แต่ขาดความสนใจจากภาคเอกชน"

                อย่างไรก็ตามคุณวีระ ธรรมธวัชชัย เจ้าของโรงงานแปรรูปไม้ยูคาลิปตัสได้ช่วยซื้อไม้ขนาดต่างๆจากประชาชน เพื่อแปรรูปไม้สำหรับการก่อสร้างและเครื่องเรือนหลายประเภทเช่น บานประตู หน้าต่าง วงกบ โต๊ะ เก้าอี้ เตียงนอน ฯลฯ ซึ่งแสดงว่า ขาดแคลนไม้ใช้สอยจริงๆ เป็นปกติในการเดินทางไปศึกษาร่วมกับสื่อมวลชน จะถลกแถลงกันอย่างจริงจังด้วยความบริสุทธิ์ใจที่มีต่อกัน ความคิดเห็นของทุกคนอิสระที่จะแสดงได้ ไม่มีการถือเป็นอารมย์ยึดถือหลักเหตุผล ให้ความจริงทั้งสองด้านไม่ปิดบัง ไม่ซ่อนเร้นและกล้าหาญ ภายหลังจากการเดินทางพอจะสรุปได้ว่า

             "ในป่าไม้ยูคาฯมีไม้พื้นเมืองขึ้นผสมผสานเองได้ วัชพืชพวกสาปเสือ สาปหมา เห็ดต่างๆ ผึ้งมีให้เห็นจริงๆ ดัชนีนี้ชี้ให้เห็นได้ว่าสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศน์ไม่ผิดปกติ และสวนป่าไม้ยูคาฯเป็นป่าเศรษฐกิจที่ทดแทนพืชเกษตรอื่นๆได้ เพราะว่าขายได้กำไรสูงกว่า คืนปุ๋ยให้กับดินได้ สื่อมวลชนบางสาขาได้กล่าวตรงๆว่า "สมาคมฯจัดฉาก"พาไปดูเฉพาะในส่วนที่เห็นว่าได้ผลแล้ว ซึ่งมีฐานะดีมั่นคง จึงขอให้สมาคมฯ จัดอีกครั้งเพื่อไปพบกับเกษตรกรผู้ปลูกป่าไม้ยูคาฯรายย่อย ๆ บ้าง

               "เรื่องนี้คณะผู้จัดได้เสนอที่ประชุมสมาคมฯแล้วเมื่อ 12 ตค.38 ที่ประชุมเห็นชอบด้วย แต่หลังน้ำลด ภาวะบ้านเมืองเหมาะสม แถวๆแปดริ้วใกล้ๆแต่ได้เนื้อหาสรุปได้แน่ ให้คุณธงชัยฯไปสำรวจเส้นทาง ประสานงาน แล้วรายงานผล เพื่อนำเสนอข้อเท็จจริงให้สมบูรณ์ ห้ามจัดฉาก"

 

นายกสมาคมฯคนปัจจุบันได้เล่าให้ฟังว่า"เมื่อสมัยที่ท่านนายกเปรม ติณสูลานนท์ กล่าวถึงความเสียหายของยูคาฯ ผมได้ชี้แจงว่า ไม้ยูคาฯดีอย่างไร มีข้อเสียอย่างไรมีเอกสารอ้างอิงจากผลการวิจัยได้ ซึ่งเรื่องนี้ท่านนายกเปรมจึงให้ผมพิมพ์เผยแพร่ แต่อย่างไรก็ตาม กระแสมันแรงจนต้านไม่ไหว"

Tags : Eucalyptus

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view