http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,002,774
Page Views16,311,605
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ยูคาลิปตัสกับระบบการผลิต

                                                                                    
                        ยูคาลิปตัสกับระบบการผลิต

                     กรมป่าไม้ ได้ร่วมโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร โดยให้ปลูกป่าไม้ยูคาลิปตัส จำนวน 430,000 ไร่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537-2539 กำหนดพื้นที่เป้าหมายเป็นพื้นที่ปลูกทดแทนมันสำปะหลัง จำนวน 41 จังหวัด และพื้นที่เป้าหมายที่ยังเป็นนาข้าวไม่เหมาะสม จำนวน 46 จังหวัด
                         กรมป่าไม้ มีหน้าที่ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ ให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการให้ครบตามแผนงาน

เพาะชำกล้าไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส แจกจ่ายให้เปล่ากับเกษตรกร จำนวน 189,200,000 กล้า และแจกปุ๋ยให้เกษตรกร จำนวน 8,600,000 กก. ประสานงานกับ ธ.ก.ส. ให้กู้เงินทุนดอกเบี้ยต่ำ 5% ส่วนปลูกป่าภาคเอกชน สำนักส่งเสริมการปลูกป่ารับผิดชอบโครงการ และส่งต่อนโยบายให้สำนักงานป่าไม้จังหวัดที่เกี่ยวข้องปฏิบัติ

                     วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อแก้ปัญหาพืชเศรษฐกิจที่ผลิตได้เกินความต้องการตลาดจึงมีราคาตกต่ำ โดยเฉพาะมันสำปะหลัง ด้วยการปลูกยูคาลิปตัสแทน เพื่อจัดหาวัตถุดิบส่งเข้าอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น มีเงินออกเหลือเก็บมากขึ้น มีความเป็นอยู่ดีขึ้นและเหนือนสิ่งอื่นใดได้พื้นที่สีเขียวจากต้นยูคาลิปตัสพืชมากขึ้น ทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นต้นไม้ปกคลุมดินดูดซับน้ำฝน และลดการกับชะทำลายดิน อีกทั้งผลการวิจัยพบว่า ยูคาลิปตัสคืนปุ๋ยให้แก่แผ่นดินได้มากกว่าพืชเกษตรอื่น ๆ โดยเฉพาะมันสำปะหลัง

                         นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐประศาสนศาสตร์ รุ่นที่ 7 ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)ได้ทำการวิจัยประเมินผล การนำนโยบายการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตรไปปฏิบัติ ศึกษากรณีการปลูกไม้ยูคาลิปตัสคามาลดูเลนซิส ทดแทนมันสำประหลังและนาข้าวไม่เหมาะสม เป็นผลการปฏิบัติปี2537 ใน 16 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือเนื้อที่จำนวน 100,000 ไร่

                            งบลงทุนเพราะชำกล้าไม้ 44 ล้านกล้าเป็นเงิน 68,640,000 บาท ปุ๋ยให้ไร่ละ 20 กก.จำนวน 2 ล้านกิโลกรัม เป็นเงิน 13,160,000 และกู้เงิน ธ.ก.ส.ดอกเบี้ยร้อยละ 5 % สถานที่ศึกษา ท้องที่สำนักงานป่าไม้จังหวัดนครราชสีมา 4 อำเภอ คือ อำเภอสีคิ้ว, ด่านขุนทด อำเภอปักธงชัย และอำเภอวังน้ำเขียว จำนวน 100 ตัวอย่าง พบว่า

                          _ 1.ระดับความพึงพอใจของเกษตรกรต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ พึงพอใจมาก 58 % ปานกลาง 37 % และน้อย 5%

                           _ 2.ระดับความพึงพอใจของการปลูกไม้ยูคาลิปตัสทดแทนมันสำปะหลัง พึงพอใจมาก 73 %ปานกลาง 18 %_และน้อย 9 %

                          _ 3.ระดับความเชื่อว่าการปลูกไม้ยูคาลิปตัส จะทำให้รายได้พิ่มขึ้น เชื่อว่ามาก 63 % ปานกลาง 32 % และน้อย 5 %

                             _ 4.ระดับความคิดว่าไม้ยูคาลิปตัสจะขายได้ระดับมาก 50 % ปานกลาง 44 % และน้อย 6%

                             _ 5.ระดับความพึงพอใจ ความรวดเร็วในการกู้เงินร้อยละ 5% จากธ.ก.ส.มาก 45% ปาน

_กลาง 48 % และน้อย 7 %

                     _ 6.ระดับความเชื่อว่าไม้ยูคาลิปตัสจะขายได้สม่ำเสมอและยั่งยืน 72% ปานกลาง 23% น้อย 5 % 
                       จากผลการศึกษาได้พบว่า ไม้ยูคาลิปตัสได้สร้างความเชื่อถือให้กับเกษตรกรได้มาก เป็นผลของการพิสูจน์ทราบที่เกษตรกรได้พบเอง ทำให้ค่าความเชื่อถือสูงมาก ในขณะที่สื่อสารมวลชนยังให้ค่าความเชื่อต่ำเพราะว่าไม่ได้ข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้อง โดยเฉพาะประเด็นปัญหาเรื่องการตอบแทนเป็นตัวเงินดังที่เกษตรกรได้ทราบโดยตรง ความประสงค์ของเกษตรกรจึงดูสวนทางกับกระแสที่เกิดขึ้น

                          ประกอบกับเกษตรกรได้พยายามส่งเสริมกันเองในท้องที่ เพราะมั่นใจว่าปลูกพืชใดๆก็ขายไม่ได้ราคาเท่ากับไม้ยูคาลิปตัส สิ่งที่ทำให้เกิดแรงจูงใจมากขึ้นก็คือ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ให้กู้เงินในการปลูกบำรุงเสริมด้วย อีกทั้งไม้ยูคาลิปตัสเองมีคุณสมบัติที่จูงใจคือปลูกที่ไหนๆก็ได้ ปลูกได้โตเร็ว ขายไม้ได้รวดเร็ว สิ่งเหล่านี้ช่วยให้เกิดผลสนองทางบวกยิ่งขึ้น

                             ในโครงการส่งเสริมระบบการผลิตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โครงการปลูกป่าไม้โตเร็ว(ยูคาลิปตัส) ได้สร้างปรากฏการณ์ให้เห็นชัดๆว่า ได้ผลตอบแทนที่ไม่สูญเปล่า ทำให้เกษตรกรที่ร่วมโครงการประสบผลสำเร็จ และสามารถคืนต้นทุนการผลิตให้กับธนาคารได้อีกด้วย สินค้าไม่มีการเน่าเปื่อย ยิ่งปล่อยนานก็ยิ่งโตเป็นเม็ดเงินมากขึ้นๆทุกๆปีป้องกันการกดราคา ลดค่าจ้างแรงงานในการบำรุงและเฝ้ารักษา ค่าใช้จ่ายที่ต่ำ ใครที่ยังมีที่ทางมากพอจะลงทุน ก็รีบๆลงเถอะครับ ผลที่ตามมามีมากมายทีเดียว

 

 

 

 

Tags : Eucalyptus

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view