http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,994,495
Page Views16,302,799
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ความดีของไม้ยูคาลิปตัส บนที่ดินเค็ม

๑๗ กพ ๓๙

ความดีของไม้ยูคาลิปตัส บนที่ดินเค็ม

                   เมื่อเกิดการต่อต้านยูคาลิปตัสมาก ๆ อะไรก็ไม่ดีไปเสียหมด ทั้งๆที่กรมป่าไม้เองสั่งการให้

ศึกษาศักยภาพของไม้ยูคาลิปตัสหลายด้านหลายมุม แต่ผลของการทดลอง การวิจัย เห็นผลได้ช้าเหตุที่เห็นผลช้าก็เพราะว่าต้องการความแน่นอนของผลวิจัย ประกอบกับต้นไม้ใช้เวลาเติบโตไม่ใช่ชั่ว ๓ เดือน ๖ เดือนเช่นพืชไร่ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อผลการวิจัยสำเร็จออกมา ก็มีประโยชน์ต่อวงการมาก วันนี้สถานการณ์ไม้ยูคาลิปตัสดีขึ้น ผลการวิจัยให้ประโยชน์ที่ควรรู้และใช้ได้ต่อไป

                  ในพื้นที่ดินเค็มส่วนใหญ่อยู่ในภาคอิสาณแบ่งได้เป็น ๓ ระดับคือดินเค็มมาก ดินเค็มปานกลาง

และดินเค็มน้อย เช่นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ ๕ จังหวัดคือร้อยเอ็ด ยโสธร มหาสารคาม สุรินทร์และศรีสะเกษ  เป็นพื้นที่กว้าง ๒.๑ ล้านไร่  นอกจากนี้พื้นที่จังหวัดอื่นๆเช่น กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ นครราชสีมาฯลฯ ก็เป็นพื้นที่ดินเค็มในวงกว้างขวางถึง ๑๘ ล้านไร่ จะเค็มมากเค็มน้อยอย่างไรก็ตาม คนอิสาณไม่มีทางเลือกใด ๆ เลย การประกอบอาชีพทั่วไปจึงมีผลได้ผลเสียเท่าที่ศักยภาพของดินจะเอื้ออำนวยให้

                  ที่บ้านดงบัง ต.หัวนาคำ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ ตั้งอยู่ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล๑๗๐ ม. ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย ๑,๒๐๐ มม./ปี ช่วงฝนตกอยู่ระหว่างเดือน พฤษภาคม-ตุลาคม ได้ถูกกำหนดให้เป็นที่ทำการทดลองปลูกป่าไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส เพื่อตรวจสอบการใช้น้ำของไม้ชนิดนี้ในพื้นที่ดินเค็ม ด้วยเครื่องมือบันทึกข้อมูลและเครื่องตรวจสอบชนิดเสียบในเนื้อไม้ ซึ่งจะตรวจเช็คความร้อนในเนื้อไม้อ่อน(Sapwood)เพื่อคำนวณหาอัตราการไหลของน้ำในท่อลำเลียงได้

                 พื้นที่ดินเค็มในส่วนที่มีระบบการชลประทานแห่งนี้ มีส่าเกลือขึ้นมาบริเวณผิวดินในฤดูแล้ง เนื่องจากเกิดการระเหยของน้ำ เกลือจึงตกผลึกในช่องว่างของเม็ดดิน ในการทดลองปลูกไม้ยูคาลิปตัส ได้ทดลองในพื้นที่ดินเค็มปานกลาง(2 mS2cm)และเค็มมาก(10-40 mS/cm) เครื่องมือที่ใช้วัดการใช้น้ำของไม้ที่ใช้เป็นตัวแทนศึกษา ใช้วิธี Heat pulse velocity

                   ผลของการทดลองพบว่า ไม้ยูคาลิปตัสอายุ 3 ปี ปรากฏว่า การใช้น้ำมากอยู่ระหว่างเวลา 7.00-16.00 น.และใช้มากที่สุดอยู่ระหว่างเวลา 10.00-14.00 น.ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการสังเคราะห์แสงมากที่สุด บนพื้นที่ดินเค็มปานกลางไม้ยูคาฯเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอก(1.30 ม.) 4.3-6.5 ซม. ใช้น้ำอยู่ระหว่าง 5-27 ลิตร/ต้น/วัน และบนพื้นที่ดินเค็มจัด ไม้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอก 4.2-9.7 ซม. การใช้น้ำอยู่ระหว่าง 2.5-37.7 ลิตร/ต้น/วัน

                 สรุปว่ายิ่งดินเค็มมากเท่าใด ต้นไม้ยูคาฯในที่ดินเค็มจัดก็ใช้น้ำมากกว่าดินเค็มปานกลาง ในขณะที่ไม้กำลังเติบโตใช้น้ำมากกว่า อย่างไรก็ดี ต้นยูคาลิปตัส ที่ปลูกในพื้นที่ดินเค็มปานกลางนั้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับอก 4.3-6.5 ซม.หรือ ความโตทางเส้นรอบวง 12.9-19.5 ซม. นำมาเปรียบเทียบกับไม้ยูคาลิปตัสที่ปลูกในที่ดินเค็มจัด มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับอก 4.2-9.7 ซม.หรือ 12.6-29.1 ซม.ที่ดินเค็มจัดต้นยูคาฯใช้น้ำมากกว่าจริง แต่ก็เติบโตได้รวดเร็วกว่า
                     งานนี้เป็นฝีมือของ ดร.เจษฏา เหลืองแจ่ม ส่วนวนวัฒนวิจัย กรมป่าไม้ และปีนี้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นในการประชุมการป่าไม้แห่งชาติประจำปีพ.ศ.2538  ต้องขอปรบมือให้สำหรับคนหนุ่มรุ่นใหม่ ที่ยังมีไฟอยู่อย่างเหลือเฟือ ประโยชน์ที่ได้รับคือ ไม้ยูคาฯปลูกได้ในที่ดินเค็มจัด-ดินเค็มน้อย หากเป็นดังที่กล่าวมานี้ แสดงให้เห็นได้หรือไม่ว่า จะพัฒนาป่ายูคาลิปตัสในท้องที่ภาคอีสาน ให้เป็นมวลรวมมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพราะว่าไม่มีไม้ป่าชนิดใดๆปลูกขึ้นได้ดีเท่านี้
                       เรื่องนี้ได้พบว่าที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เดิมก็เป็นที่รกร้างว่างเปล่า ดินเป็นทรายจัด แล้วก็เค็ม ซึ่งก็มีทั้งส่วนที่เค็มมากเค็มปานกลางและเค็มน้อย ระดับน้ำใต้ดินสูง ปลูกอะไรก็ไม่ได้ผล ประชาชนยากจนมาก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับอุมัติโครงการพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ ตามมติคณะรัฐมนตรี ๙ ตุลาคม ๒๕๒๒ โดยมี ๕ กระทรวง(เกษตร มหาดไทย สาธารณะสุข ศึกษาและวิทยาศาสตร์) ๒๑ กรม 
                          กรมป่าไม้เป็นส่วนหนึ่งในด้านพัฒนาป่าไม้โตเร็ว ตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๒๕-๒๕๓๘ ปลูกป่าได้รวม ๒๗,๗๓๕ ไร่ โดยกระจายปลูกไปทั้ง ๕ จังหวัดคือร้อยเอ็ด ยโสธร มหาสารคาม สุรินทร์และศรีสะเกษ ต้นไม้ที่ปลูกประกอบด้วย ไม้ยูคาลิปตัส กระถินณรงค์ และกระถินเทพา

                         ผลปรากฏว่า ไม้ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส สามารถปลูกได้เติบโตดีที่สุด วิธีการปลูกก็ต้องยกแปลงเหมือนปลูกผักทั่วไป ที่ต้องยกแปลงก็เพราะว่าระดับน้ำใต้ดินสูง และดินทรายจับตัวแน่น นอกจากนั้นยังต้องไถพรวนเสริมแปลงตลอด เพื่อให้ระบบรากเดินได้ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ปุ๋ย ซึ่งทั้งปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี ใส่ลงไปทุกระยะที่ปรับปรุงดินปีหนึ่งไม่เกิน ๓ ครั้งก็พอเพียงแล้ว เนื่องจากดินเสื่อมทรามมาก ไม่มีอินทรีย์วัตถุในดินเลย แร่ธาตุอาหารกับดินเค็มก็ยังมีผลกระทบด้วย

                            ปัจจุบันนี้ ป่าไม้ยูคาลิปมี อายุ ๑๔ ปี ลำต้นอวบใหญ่ เปลาตรง ทรวดทรงจัดได้ว่ามีลักษณะดี เนื่องจากเมล็ดที่ใช้เพาะกล้าไม้ได้รับการสนับสนุนจากองค์การ CSIO ประเทศออสเตรเลีย นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนให้มีการวิจัยเกี่ยวกับระดับน้ำใต้ดิน พบว่าไม้ยูคาลิปตัสในทุ่งกุลาร้องให้นี้ ทำให้ระดับน้ำใต้ดินลดลงปีละ ๑๐ ซม. ใบที่ร่วงหล่นกลายเป็นอินทรีย์วัตถุให้กับดิน ดินก็ดีขึ้น ฯลฯ

                              ทุ่งกุลาร้องไห้วันนี้ มีป่าไม้ยูคาลิปตัสขึ้นโดดเด่นเป็นสง่าจริงๆ ไม่มีไม้ชนิดใดเติบโตได้ดีเท่าและรอดตายในอัตราที่สูงที่สุด มองไปทางไหนก็พบเห็นแต่ป่าไม้ยูคาลิปตัส ซึ่งประชาชนทั่วไปได้รับแจกกล้าไม้ฟรีจากโครงการด้วย เพื่อให้ปลูกเป็นไม้ฟืน เผาถ่าน และปลูกเป็นป่าเศรษฐกิจส่วนตัวทำให้พื้นนาดอน ไร่ร้าง กลายสภาพเป็นป่าไม้ยูคาลิปตัส ความอุดมสมบูรณ์เริ่มกลับคืนมาอีกครั้ง มีนกบินมาหากินและพักอาศัย มีร่มเงาให้วัวควายเดินหาหญ้ากิน มีเห็ดให้เก็บเมื่อหน้าฝน ฯลฯ

                      ลุงเลียน เอี่ยมจิ๋ว เกษตรกรอ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด รับแจกกล้าไม้ยูคาลิปตัสมา ๔๐๐ กล้า ปลูกในนาดอนๆได้ ๑ ไร่ ตัดขายครั้งแรกเมื่ออายุ ๕ ปีได้ ๓,๕๐๐ บาท คนซื้อมาตัดเอาเอง อีก ๓ ปีต่อมาตัดขายหน่อที่แตกใหม่ได้ ๘,๕๐๐ บาท กำลังจะตัดขายรุ่นที่สามอีก ๒ ปีข้างหน้าได้ตอบว่า ฝนปีต่อไปนี้จะปลูกเพิ่มในนาข้าวอีก ๑๐ ไร่ เพราะได้เงินเป็นก้อนดี และปลูกครั้งเดียวเท่านั้น ไม่ต้องเอาใจใส่มาก ปล่อยๆไปก็ได้เงินใช้ คราวที่แล้วกล้าที่แจกหมดเลยได้น้อยไป

                    รายการสุดท้ายที่รองอธิบดีกรมป่าไม้ นายสถิต สวินทร ได้พาไปดูคือ เกษตรกรกวาดใบยูคาลิปตัสไปใส่นาข้าวแล้วไถกลบ กลายเป็นอินทรีย์วัตถุให้ดินดีไป เรื่องนี้ไม่เชื่อก็ต้องไปดูเอง

 

 

 

 

Tags : Eucalyptus

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view