http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,995,609
Page Views16,303,959
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ปักกิ่งหรรษา ตอน 13 ไหว้พระที่วัดลามะก็สนุกดี

ปักกิ่งหรรษา ตอน 13 ไหว้พระที่วัดลามะก็สนุกดี


ตอน 13 ไหว้พระที่วัดลามะก็สนุกดี


            ในหนังจีนฮ่องกงที่เข้ามาฉายให้คอหนังในเมืองไทย เห็นภาพพระลามะแล้วก็อดคิดไม่ได้ว่า เหตุใดหนอพระลามะถึงได้โหดเหี้ยม ดุดัน และเหมือนไม่ใช่พระในศาสนาพุทธนิกายหนึ่ง แต่นั่นก็ยังพอคิดยกประโยชน์ให้กับคำว่าหนัง หรือภาพยนตร์ แท้จริงแล้ว พระลามะเป็นเช่นไรหนอ ลองตามคุณโจวไปไหว้พระวัดลามะเถอะ แล้วก็จะได้รู้กันเสียทีว่า พระคุณท่านเป็นเหมือนอย่างในหนังกำลังภายในหรือไม่

วันนี้ วันดีนะ เช้านี้ก็จะได้ไปไหว้พระกันเสียที เป็นพระวัดลามะด้วย หรือเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า หย่งเหอกง  แปลว่า วังประสานสันติ วัดนี้มีประตูทางเข้าทางทิศใต้เป็นประตูที่สวยงามมาก ตกแต่งอย่างวิจิตรพิสดารและมีขนาดใหญ่ ส่วนทางทิศเหนือติดทางรถไฟใต้ดินกั้นด้วยกำแพงวัดแน่นหนา  เดิมทีเดียววัดนี้เป็นวังของอ๋องหย่งเจิ้น ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ของจักรพรรดิคังซี  สร้างขึ้นเมื่อ ค.. 1694”  คุณโจวทำหน้าที่ทันทีที่ขึ้นรถนำเที่ยวเรียบร้อย

                      

                “ด้วยราชประเพณีที่ยึดถือสืบต่อๆ กันมา เมื่อเจ้าชายองค์ใดขึ้นครองราชย์สมบัติ วังที่เคยประทับของเจ้าชายองค์นั้นก็จะต้องนำมาสร้างเป็นวัด พอองค์ชายสี่ขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงโปรดให้นิมนต์พระสงฆ์จากมองโกเลีย 500 รูป มาจำพรรษาที่พระราชวังแห่งนี้เมื่อปีค..1723 ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมต้องเป็นพระลามะจากทิเบตไม่ปรากฎเหตุผล แต่ด้วยความใส่ใจในพระวัดลามะทำให้มีพระเพิ่มมากถึง 1,200 รูป ในศตวรรษที่18 ส่วนใหญ่เป็นพระชาวมองโกเลีย ทิเบต และแมนจูเลีย ปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธ

ในวัดนี้ห้ามคนทั่วไปเข้าไปเลย แต่ด้วยเกิดเหตุการณ์แปลกๆ ในวัด จำนวนพระก็เริ่มลดปริมาณลง วิหารทรุดโทรมก็ไม่ได้รับการบูรณะ พอปี ค..1900 กองทัพของชาวยุโรปบุกยึดวัดนี้ แล้วใช้เป็นที่ทำการพลเรือน จนถึง ค..1980 ได้มีการบูรณะวัดอีกครั้งแล้วยกเป็นวัดเช่นเดิม คราวนี้พระลามะมีแค่ 80 รูป   อ้าว ถึงวัดพอดี ขอเชิญลงได้เลยครับ” นักท่องเที่ยวลงกันหมด

โดยเหตุที่เคยเป็นวังเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินมาก่อน รูปแบบของอาคารที่สร้างจึงวิจิตรพิสดารมาก แล้วก็คงลักษณะวังเอาไว้อย่างเหนียวแน่น นั่นคือจากประตูทางเข้าจะต้องผ่านอาคารต่างๆ หลายชั้นกว่าจะถึงหลังสุดท้ายอันเป็นที่ประทับขององค์รัชทายาท ประตูทางเข้าที่เห็นอยู่เป็นแค่ประตูปูนที่จำลองขึ้นใหม่ ประตูเดิมเป็นไม้สวยงามได้ถูกญี่ปุ่นรื้อแล้วยกไปสร้างที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อ ค.. 1930 กฎหมายสิทธิมนุษยชนน่าจะช่วยได้หรือไม่ เพื่อทวงสิทธิอันชอบธรรม

ในส่วนแรกของวัด มีหอกลอง หอระฆัง และศาลาสองหลังมีแผ่นศิลาที่สลักความคิดเห็นของพระเจ้าเฉียนหลงเกี่ยวกับนิกายลามะไว้ถึง 4 ภาษา

ในส่วนที่สองเป็นพระที่นั่งเทียนหวางเตี้ยน (พระที่นั่งกษัตริย์สวรรค์) เป็นที่ประดิษฐานพระเมตไตรยพระเวทโพธิสัตว์ และท้าวจาตุโลกบาลทั้งสี่ มีแผ่นศิลาจารึกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นิกายลามะ ซึ่งเชื่อกันว่าเทือกเขาหิมาลัยทางตะวันตกของทิเบตนั้นเป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้า จึงมีการจำลองด้วยสัมฤทธิ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง” คุณโจวพาเดินไปพูดไป ชี้มือเป็นครั้งคราว

ที่กำลังจะเข้าไปนี้มีความสวยงามมาก เดิมทีเดียว อ๋อง ใช้เป็นที่รับรองแขก เป็นห้องโถงใหญ่ รวมๆกันทั้งหมดส่วนนี้เรียกว่า พระราชวัง หย่งเหอกง (วังประสานสันติ) เมื่อยกเป็นส่วนหนึ่งของวัดจึงใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 3 องค์ องค์กลางเป็นพระศากยมุนีที่ถือกันว่าเป็นพระพุทธเจ้าในปัจจุบันนี้ ด้านข้างสององค์เป็นพระพุทธเจ้าในอดีตองค์หนึ่ง อีกองค์หนึ่งเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตเรียกว่าพระเมตไตรย ส่วนด้านข้างๆ ก็เป็นพระอานนท์ พระกัสสปะ ศิษย์ใกล้ชิดและอรหันต์ทั้ง 18 องค์

นั่นไง คุณโจวยังบรรยายถึง 18 อรหันต์ แต่ในหนังกำลังภายใน 18 อรหันต์ไม่ใช่พระเคร่งธรรมมะ แต่เก่งกาจเรื่องตีรันฟันแทง เรื่องจริงเป็นอย่างไรครับมีคนที่สงสัยมากโพล่งขึ้นมาเฉยๆ

หนังครับ แต่งแต้มสีสันให้ได้เงินเข้าไว้ ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏหลักฐานใดๆ แต่มีพระอรหันต์ 18 องค์ดังคำกล่าวอ้างเสมอคุณโจวเล่าไปยิ้มไป

พวกที่สร้างหนังก็เป็นจีนโพ้นทะเลยุคเก่า ยังมีภาพหลงมายาเหลืออยู่ก็ได้คุณโจวว่า

                    

               “ตามผมมาครับ เรากำลังจะไปยังส่วนที่เรียกว่า หย่งอิ๋วเตี้ยน (หอพิทักษ์นิรันดร์) ห้องนี้อ๋องเคยใช้เป็นที่พักผ่อนส่วนพระองค์ พอเป็นวัดลามะก็เลยประดิษฐานพระองค์ใหญ่มาก ฟาหลุนเตี้ยน เคยใช้เป็นห้องศึกษาธรรมะของพระสงฆ์ตอนหลังทิ้งไว้เฉยๆ ธรรมจักรถือเป็นปัญญาชั้นสูงสุดคุณโจวร่ายไปเรื่อยๆ พวกเราก็แหงนคอมองไปตามมือที่ชี้นำทาง พอดีพระลามะสององค์เดินผ่านมา พวกเราหันไปมองกันแทบทุกคน

พระลามะนี่ดูๆ ก็สุภาพเรียบร้อย แต่ไม่โกนขนคิ้วเหมือนพระบ้านเรานะคนหนึ่งปรารภขึ้นมาลอยๆ

ผ้าเหลืองก็สีสุขุมดี ท่าทางไม่เห็นว่าจะดุดันเลย คงเป็นแค่หนังอย่างที่คุณโจวว่านั่นแหละนะผมเสริม มีคนเห็นด้วยเยอะ พยักหน้ากันใหญ่ แต่ไม่มีใครกล้าไปถามท่านตรงๆ สักคน

หลังสุดท้ายเป็นพระราชวังที่อ๋องทรงประทับมาก่อน ใหญ่โตและสวยงามมากเป็นพิเศษ มีหลายชั้น ดูเหมือนสามชั้นนะ ชายคาหลังคามองดูซิครับ อลังการมากคุณโจวแหงนคอตั้งบ่า ตัวแกยิ่งเตี้ยๆ อยู่ด้วย ลูกทัวร์ก็แหงนคอตามอีก

หลังนี้เรียกว่า ว่านฟุเก๋อ (ศาลาหมื่นสุข) ปัจจุบันนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพระเมตไตรย เป็นพระแกะสลักจากไม้จันทร์ท่อนเดียว สูง 25 เมตร ฝังลงดินไป 8 เมตร เป็นพระพุทธรูปที่องค์ดาไลลามะองค์ที่ 7 ส่งมาถวายพระเจ้าเฉียนหลง เพียงเพราะแค่พระเจ้าเฉียนหลงจะช่วยปราบกบฎให้ แต่กองทัพไปไม่ถึงองค์ดาไลลามะก็ปราบปรามเสร็จก่อน

แสดงว่าแท้จริงพระลามะเป็นพระดีแน่ๆ” ลูกทัวร์หญิงคนหนึ่งเปรยขึ้น

ไม่ดีจะเป็นพระได้อย่างไร เป็นพระในพุทธศาสนาด้วยซิครับคุณเชษฐ์เอ่ยเสริม

เดินจนเหนื่อยอ่อน ผมหมดแรงด้วย ก็เลยนั่งดูโน่นดูนี่ไปเรื่อยๆ อ้าว ทำไมนั่งเฉยเสียล่ะครับ ไม่เห็นขยับไปดูอะไรอีกเลย มีเครื่องสวดมนต์ของพระธิเบตมากมายหลายแบบ เป็นกงล้อธรรมะก็มี การเกิดและการเกิดใหม่ เป็นความเชื่อของพระลามะนะคุณพิสิษฐ์ถา                


                “ผมนั่งสังเกตคนที่มาไหว้พระที่หน้าศาลา กระถางธูปควันโขมงทีเดียว แต่อะไรก็ไม่สนุกเท่ากับการมองดูวิธีการไหว้พระของแต่ละคน ลองมานั่งกับผมซีแล้วจะเห็นผมเอ่ยชวนเชิญ

ดูผู้หญิงคนนั้นนะ เขายืนใส่รองเท้าเสร็จสมบูรณ์ ไหว้ด้วยการยกช่อธูปขึ้นเหนือหัวแทบสุดความยาวแขน แล้วก็โค้งพุ่มมือลงจนต่ำระดับเอว แกยกอยู่อย่างนั้นมาสิบกว่าครั้งแล้ว ยังไม่มีทีท่าว่าจะคำนับแล้วปักธูปสักทีผมชี้ชวนให้สังเกต คุณพิศิษฐ์มองตามแล้วยิ้มกว้าง

“21 ครั้ง อ้าวหยุดแล้วนะ กำลังปักธูป แหมพิถีพิถันจริงๆ ดูเหมือนจะอธิษฐานไปด้วยนะครับผมบรรยายต่อ ไม่มีการกราบไหว้ซ้ำแล้วนะ แกเผ่นแหนบไปเลย

คนเมืองไหนวะ ไหว้พระแบบนี้ แต่จีนโพ้นทะเลแน่ๆ เดาไม่ออกเลย อย่างไรก็คงไม่ใช่คนไทยแน่นอน

มาอีกแล้ว คราวนี้มาถึงก็ถอดรองเท้าออก นั่งพับเพียบเรียบร้อย จุดธูปแค่สามดอก หมายถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไหว้เรียบร้อยจัง ปักธูปแล้วกลับมานั่งกราบสามครั้งอย่างสวยงามแบบเบญจางคประดิษฐ์ ผู้หญิงคนนี้เป็นคนไทยแน่นอน”

ใช่เลย ผู้หญิงบ้านเราไหว้พระสวยอย่างนี้แหละคุณพิศิษฐ์เสริมทันที

มาอีกรายแล้ว คราวนี้นั่งคุกเข่าไม่ถอดรองเท้า คงร้อนนะ แต่จุดธูปมาเป็นกำมือเชียว โอ้โฮ ดูท่าแกคุกเข่าไหว้ซี ยกพุ่มมือแตะปลายผมเลยทีเดียว” ผมกระซิบ

หนึ่ง สอง สาม ………สิบเจ็ด ปักธูปแล้ว คราวนี้ก้มกราบ แหมท่ากราบของแกเร่งรีบหรือไงนะ ปลายนิ้วไม่แตะพื้นเลยด้วยซ้ำนะ ชาติไหนล่ะนี่พวกเราหัวเราะพร้อมกัน

มาอีกราย คราวนี้ลองทายกันนะ มีเพิ่มมาอีกสองคน เรียงสาม สนุก” ผมยิ้มหัวแล้วเฝ้ามองพฤติกรรมสามสาว ข้อสังเกต ไม่เห็นมีผู้ชายไหว้พระเท่าไร น้อยมากจนแทบกล่าวได้ว่าไม่มี

สามสาวสามแบบ คนหนึ่งคำนับพร้อมธูปที่จุดไฟลุกโชนเต็มกำมือ อีกคนนั่งคุกเข่าพร้อมธูปจำนวนมากกว่าสามดอกยกจรดเหนือหัว ยกแล้วยกอีก  อีกคนยืนย่อๆ ขาหนึ่งอยู่ข้างหน้า อีกขาหนึ่งอยู่ข้างหลัง ธูปที่กำมีมากพอประมาณ  แต่ท่าไหว้เหมือนตั้งการ์ดชกมวย ยกเขย่าสั้นๆ ควันธูปฟุ้งไปทั้งบาง แต่แล้วก็ปักลงในกระถางธูป ไม่มีสาวคนไหนกราบเลยสักคน

ไม่รู้มาจากโพ้นทะเลไหน ฮ่องกงก็ไม่ใช่ ไต้หวันก็ไม่น่าจะใช่ หรือว่าสิงคโปร์” ผมบ่น

จะมาจากไหนก็ไม่สำคัญแล้ว มันสำคัญที่เรารู้แล้วว่าวัฒนธรรมการไหว้พระมีหลายรูปแบบ สนุกดีนะ ขอแค่รู้จักสังเกตแล้วคิดในมุมที่เห็นเป็นเรื่องขบขัน ก็จะรู้สึกโปร่งใส ถ้าไปไหนๆ มองอะไรก็เคร่งเครียดจริงจังไปเสียหมด ชีวิตนี้มีแต่หน้างอเป็นม้าหมากรุกจริงๆสองเราก็เลยได้ฮากันอีกครั้ง

 

Tags : china tour

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view