http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 08/05/2024
สถิติผู้เข้าชม14,056,083
Page Views16,366,667
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ลุ่มแม่น้ำท่าจีน สถานการณ์น่าหวาดเสียว

                                              ลุ่มแม่น้ำท่าจีน สถานการณ์น่าหวาดเสียว

            การวางแผนบริหารจัดการเป็นระบบลุ่มน้ำ ถือว่าเป็นหลักการที่น่าจะดีเยี่ยม ถ้าการบริหารจัดการมีเป้าหมายที่ชัดเจน กลยุทธที่เป็นไปได้ เกิดผลตอบสนองในเชิงบวก ประชาชนยอมรับ มีความรอบรู้ในเรื่องที่จะกำหนดเป็นกลยุทธ์ และผู้จัดการมีความสามารถอย่างมืออาชีพ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องต้องรู้จักคำว่า ตัวตนของคำว่าข้าราชการวันนี้มิใช่เจ้าขุนมูลนายดั่งในอดีตกาล ใช่เลยครับ ต้องคิดใหม่ ทำใจใหม่

            เริ่มต้นที่หลักการแบ่งประเภทลุ่มน้ำ ด้วยพื้นที่ป่าไม้มีต่ำกว่า20% ของพื้นที่ลุ่มน้ำ  พื้นที่การเกษตรกรรม 60-80% ของพื้นที่ลุ่มน้ำ ความหนาแน่นของประชากร มากกว่า 130 คนต่อตร.กม.ของพื้นที่ลุ่มน้ำ และคุณภาพน้ำ เสื่อมโทรมมาก-พอใช้  ลุ่มน้ำท่าจีนจึงถูกกำหนดเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำประเภทที่ 3 ผิดหรือถูก ?  ความศักดิ์สิทธิ์ของคำว่าป่าต้นน้ำหายไปหรือไม่ ?

            ด้วยเหตุผลคือ ในลุ่มน้ำท่าจีนจำนวน 13,477.13 ตร.กม.หรือ 8,423,531.25 ไร่ มีพื้นที่ป่าไม้เหลืออยู่เพียง 7.65 % หรือ 644,369.06 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกเปิดเป็นที่ดินทำกินด้านเกษตรกรรม ซึ่งอาจจะรวมพื้นที่อยู่อาศัย ที่ราชการ ที่แหล่งน้ำ ถนนหนทาง 79.46 %หรือ 6,693,337.93 ไร่  โดยมีประชากรอยู่อาศัยหนาแน่นมากถึง 163 คนต่อตร.กม. เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำ 

            เห็นตัวเลขเพียงประเด็นนี้ก็บอกได้เลยว่า คนลุ่มน้ำท่าจีนหัวล้านเกินพิกัด ทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำถูกเปิดพื้นที่จนแทบจะเป็นคนหัวล้านแบบชะโดตีแปลงชัดๆ มิน่าถึงเป็นเมืองขุนช้าง บ้านศรีประจันต์ เหลือพื้นที่ป่าไม้เป็นกระจุกหรือก๊กอยู่หย่อมหนึ่ง 7.65%

             ตรวจสอบพื้นที่จากกูเกิ้ลเอีร์ทหรือพ้อยท์อเซีย ก็จะเห็นว่า ลุ่มน้ำท่าจันมีผืนป่าเหลืออยู่อย่างเอนจอนาจใจเหลือกำลัง ซ้ำร้ายป่าไม้ที่เหลืออยู่ก็ยังเป็นป่าไม้รุ่นสอง หรือซากต้นไม้ที่หลงเหลืออยู่บ้าง ซึ่งตั้งแต่ต่อเขตจังหวัดอุทัยธานีลงมา มีป่าเต็งรังส่วนใหญ่ ป่าดิบเขา(ป่าสนเขา)ส่วนน้อย และเป็นป่ารุ่นสองที่ยังดีอยู่ในอุทยานแห่งชาติพุเตย 317 ตร.กม.หรือ 198,422 ไร่  อนุรักษ์ไว้ให้ได้ต่อไปก็ยังมีคุณค่ามากพอเพียง ขอเพียงหน่วยราชการและคนเมืองด่านช้างสุพรรณบุรีต้องตระหนักให้จงหนัก ท่านอยู่เหนือน้ำ ท่านต้องรักษาเพราะว่าทุกวันนี้ท่านคือผู้ที่สร้างปัญหาป่าต้นน้ำเสื่อมโทรม

            หันมาดูปริมาณฝนรายปีเฉลี่ย 1,000.42 มม. ปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ย 1395.44 ล้าน ลบ.ม. ทั้งลุ่มน้ำมีโครงการพัฒนาอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 1 แห่งคือ เขื่อนกระเสียว อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี มีพื้นที่รองรับน้ำ 1,200 ตร.กม.ปริมาณน้ำท่าที่เข้าอ่าง 285.80 ลบ.ม. ความจุ 240 ล้านลบ.ม. ติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังน้ำ 900 กิโลวัตต์ พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยรายปี 3.36 ล้านหน่วย ต้นทุนไฟฟ้า 3.5 บาท/หน่วย  

แต่ทั้งลุ่มน้ำรวมมีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดขนาดใหญ่ 1 แห่งและขนาดกลาง 16 โครงการ รวมความจุเก็บกัก 294.48 ล้านลบ.ม. พื้นที่ชลประทาน 3,965.ล้านไร่ ขนาดเล็ก 261 โครงการ ความจุเก็บกัก 22.23 ล้านลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 557,000 ไร่ และโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 7 โครงการ พื้นที่รับประโยชน์ 11,000 ไร่  ทั้งหมดทั้งปวงเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อสกัดน้ำกักเก็บไว้ใช้ประโยชน์ เนื่องเพราะว่าระบบน้ำต้นทุนจากผืนป่าเสื่อมทรามไป

ทั้งลุ่มน้ำมีประชากร 2,200,703 คน  ทำให้เกิดปริมาณน้ำเสียจากชุมชน 535,356.00 ลบ.ม./วัน อุตสาหกรรม 475,797.40 ลบ.ม/วัน นาข้าว 7,813,948.00 ลบม/วัน ฟาร์มสุกร 10,727.00  ลบ.ม./วัน เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 1,359,041.00 ลบ.ม./วัน รวมปริมาณน้ำเสียต่อวัน 10,194,869.40 ลบ.ม/วัน คุณภาพน้ำลุ่มน้ำท่าจีนตอนกลางจนถึงตอนล่างจึงเสื่อมโทรม  สมควรแล้ว

เชื่อหรือไม่ว่า ทั้งลุ่มน้ำมีระบบบำบัดน้ำเสียชุมขนเพียง 4 แห่ง  เสียดายที่ข้อมูลจากหนังสือลุ่มน้ำ 25 ลุ่มน้ำของกรมทรัพยากรน้ำไม่ยักแฉว่ามีที่ไหนบ้าง การวิเคราะห์เจาะลึกจะได้ลึกลงไปอีก บางทีข้อมูลดิบหยาบการวิเคราะห์วิจารณ์ก็พลอยหยาบไปด้วยประการฉะนี้ครับ ทิศทางการแก้ไขเรื่องคุณภาพน้ำที่ปรากฎกลับไม่กล่าวถึงเลยว่า ในลุ่มน้ำท่าจีนมีปริมาณโรงงานอุตสาหกรรมเท่าไร ประเภทไหน มีปริมาณน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดหรือไม่ เพราะว่า อะไร

หันมาดูพื้นที่ป่าไม้ลุ่มน้ำท่าจีนอีกครั้ง จะพบว่ามีพื้นที่ป่าเหลืออยู่  แบ่งเป็นป่าธรรมชาติ 1003.35 ตร.กม.หรือ627,093.75 ไร่ ป่าเสื่อมโทรม 22.04 ตร.กม.หรือ 13,775 ไร่  และป่าปลูก 5.40 ตร.กม. หรือ 3,375 ไร่ รวม 644,243.75 ไร่ พื้นที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนไป 125.31 ไร่ ลองตามมาดูตัวเลขสับสนอีกนะครับ (หน้า2-75)

ในจำนวนพื้นที่ป่าไม้ที่เหลืออยู่ 644,369.06 ไร่ 7.65%ของพื้นที่ลุ่มน้ำ   ขีดความสามารถในการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทย แยกออกเป็น ประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์ประเภทอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า รวมเป็น 2.23 ไม่มีหน่วยวัด พื้นที่เตรียมการประกาศไม่มี  พื้นที่ป่าสงวนโซนซี 159.0168  ไม่มีหน่วยวัด รวม 161.24 หรือร้อยละ 12.53  รวมทั้งหมด 1192.08 ร้อยละ 8.84  ต้องรู้เอาเอง มึน

            จะอย่างไรก็ตาม  พื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีนที่ประกาศเป็นลุ่มน้ำประเภทที่ 3 นั้นผิดพลาดแน่นอน เพราะว่าทุกลุ่มน้ำย่อมต้องมีพื้นที่ป่าต้นน้ำที่สูงชัน ลาดเอียง หรือเป็นพื้นที่ขุนห้วยต่างๆ ที่รองรับน้ำให้ไหลไปรวมตัวกันเป็นแม่น้ำท่าจีน จึงควรจะมีพื้นที่เป้าหมายของยุทธศาสตร์ในบริเวณเหล่านั้น เพื่อให้เกิดศักยภาพการฟื้นตัวของป่าต้นน้ำอย่างสมบูรณ์ ซึ่งลุ่มน้ำท่าจีนโยรวมมีความลาดชันต่ำ ที่เป็นลาดเนินขึ้นไปทางด่านช้าง แต่กลายเป็นไร่  นาน้ำฝนฤดูเดียว  เป็นส่วนใหญ่

ถ้าพื้นที่ส่วนลาดเนินปลูกพืชไร่และนาน้ำฝนฤดูเดียว อาจเปลี่ยนแปลงการประกอบอาชีพเป็นอาชีพปลูกป่าไม้ขาย หรือสวนยางพารา ในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือที่ดิน สปก.4-01 บังคับใช้กติกาต้องปลูกป่า 20%  น่าจะช่วยให้เกิดความชุ่มชื้นลุ่มน้ำตอนบนได้ไม่น้อย หรือถ้าพื้นที่จุดนั้นเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติก็ควรปลูกป่าต้นน้ำ หรือให้เกษตรกรเช่าพื้นที่เพื่อปลูกป่า โดยมีเงื่อนไขเรื่องเงินส่งเสริม  เงินทุนดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนดอกเบี้ยและเงินต้นระยะยาว

            ภายในปี2568 ประเทศไทยจะมีน้ำใช้อย่างพอเพียงและมีคุณภาพ โดยมีระบบบริหารจัดการองค์กร ระบบกฎหมาย ในการใช้ทรัพยากรน้ำที่เป็นธรรม ยั่งยืน โดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิตและการมีส่วนร่วมในทุกระดับมติ ครม. .25 กค. 2543 เห็นชอบวิสัยทัศน์น้ำแห่งชาติ ถ้าจะเป็นหมัน หากไม่แก้ไขเรื่องระบบการจำแนกประเภทลุ่มน้ำชั้นต่างๆ และละเลยซึ่งป่าต้นน้ำอย่างสิ้นเชิง 

 

 

 

 

Tags : Watershed management

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view