http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 08/05/2024
สถิติผู้เข้าชม14,065,156
Page Views16,376,840
« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

NGOs กับการพัฒนาทางวิชาการ

 NGOs กับการพัฒนาทางวิชาการ

 

                                               NGOs กับการพัฒนาทางวิชาการ  
      

NGOsหนึ่งในประเทศฟิลิปปินส์ดำเนินการกิจกรรมทางวิชาการที่สร้างความรู้ ความเข้าใจ จนเกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวหรือพันธุ์พืชอาหารทั้งหลายทั้งปวง แล้วลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามที่นักวิชาการขององค์กรแนะนำ องค์กรพัฒนาภาคเอกชนนี้คือ Community-Based Native Seeds Research Center,Inc(CONSERVE) Poblacion,pres.Roxas,Cotabato,ประเทศฟิลิปปินส์

องค์กรพัฒนาภาคเอกชนแห่งนี้ได้กำหนดวิสัยทัศน์(Vision)คือ การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชในอนาคตจะเป็นพลังสำคัญของกลุ่มเกษตรกรในการใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน ต่อความมั่นคงในการสร้างอาหารอย่างยั่งยืน อันจะนำมาซึ่งความสงบสุขและความเจริญยิ่งขึ้น

ส่วนภารกิจ(Mission)คือปฏิบัติการให้เครือข่ายเกษตรกรยอมรับในการอนุรักษ์อย่างเป็นระบบ การเก็บ การอนุรักษ์ การศึกษาวิจัย การพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากแหล่งพันธุกรรมพืช เพื่อพัฒนาการเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนตลอดไป

องค์กรนี้พัฒนาด้วยนักวิชาการหลายสาขาทั้งข้าวและพืช มีองค์กรภาคเอกชนระดับโลกคือเฮกส์(HEKS)แห่งสวิสเซอร์แลนด์ให้ทุนสนับสนุนองค์กร รัฐบาลฟิลิปปินส์ไม่ได้ให้ความช่วยเหลือด้านงบประมาณแต่อย่างใด

                                  

ในการอนุรักษ์พันธุกรรมข้าวและพันธุ์พืชนี้ เดิมทีไม่ได้ให้ความสนใจเลย มองไม่ออกด้วยซ้ำไปว่าเรื่องที่ค่อนข้างเป็นวิชาการเช่นนี้จะส่งเสริมเกษตรกรให้ดำเนินการได้อย่างไร  แต่เมื่อได้ไปเห็นนักวิชาการเกษตรคนหนึ่ง ฮิลด้า ที ฮินูเกลิ่ง(Gilda T. Ginogaling) นั่งประกอบกิจกรรมการนำเสนอภาพสาธิตต่างๆอย่างขะมักเขม้น จึงได้ไปสอบถามด้วยคำถามง่ายๆ และนั่นคือจุดเริ่มของความน่าสนใจ ทำไมจึงมีการเก็บและพัฒนาพันธุ์พืชและพันธุ์ข้าวโดยNGOs

ทราบกันทั่วไปว่าประเทศฟิลิปปินส์ประกอบด้วย 7,107 เกาะกระจายกันอยู่ห่างๆ เกาะสำคัญๆคือลูซอน มินดาเนา นิโกรส ซีบู มินโดโร ฯลฯ อยู่ท่ามกลางทะเล ทรัพยากรป่าไม้แทบไม่เหลือ มีแต่ประชากรหนาแน่นถึง 64 ล้านคนในขณะที่มีเนื้อที่ประเทศเพียง 307,055.55 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น คนมากอาหารไม่พอเพียง ประกอบกับทุกปีการเกษตรกรรมของประเทศนี้จะเสียหายระหว่าง 20-50% จากพายุหรือมรสุม โดยเฉพาะเมื่อเอลนิโนเกิดขึ้นแล้วตามมาด้วยลานิญาฝนฟ้ารั่วมากมายเกินพอดี กลายเป็นปัญหาเหมือนกัน อะไรที่มีมากไปน้อยไปย่อมเกิดปัญหานั่นเอง

การอนุรักษ์พันธุ์ข้าวและพันธุ์พืชที่เป็นอาหารได้สายพันธุ์พื้นเมืองจึงมีความสำคัญ เพราะว่ามีลักษณะประจำพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพทางธรรมชาติ ซึ่งอาจมีความต้านทานโรคดีกว่าพันธุ์จากแหล่งอื่นๆ หรือมีลักษณะพิเศษบางประการเช่นแม้ปริมาณน้ำฝนมากแต่ข้าวก็ไม่ฝ่อหรือเน่าเสียหาย แต่อย่างไรก็ดี อาจมีลักษณะด้อยทางพันธุกรรมบางประการในสายพันธุ์นั้นๆ  

การปรับปรุงพันธุ์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่จึงเกิดขึ้น เพื่อหวังผลในการผลิตที่ได้ทั้งปริมาณ คุณภาพและประหยัดต้นทุนในการผลิต ใช้เวลาน้อยลงในกระบวนการ อันอาจนำไปสู่การเพิ่มปริมาณอาหารด้านอื่นๆได้มากขึ้น

                                        


                       ข้าวพันธุ์ของฟิลิปปินส์มีทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว ข้าวเหนียวส่วนใหญ่เปลือกสีน้ำตาลไหม้ ข้าวเจ้าเปลือกเมล็ดสีเหลืองอ่อน แต่ก็มีทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียวที่มีเปลือกสีน้ำตาลไหม้เช่น ข้าวเหนียวพันธุ์  ปูลอทนาอูวัค
,บัลลาทิโน, ลูนายเมกา,มัคคา,เซริปิกิท ,บิลิทบลาน,ปูตีอูกานดาและข้าวเจ้าพันธุ์ แมนเดา,แกนดอน,มานิสิ,บาลาลาย ลูนายคราตัน,อะซูซีนา,มามีนมาตะฯลฯ

มีข้าวอยู่ 2 พันธุ์ที่มีเอกลักษณ์พิเศษคือ ดาลิดายและดาเรส เป็นข้าวพันธุ์เมล็ดเล็กมากเกือบจะเป็นเมล็ดหญ้าทีเดียว แต่เขาก็ใช้ประโยชน์ในการรับประทานอยู่ เป็นบ้านเราก็ให้นกกินเป็นอาหาร ส่วนข้าวเหนียวจะใช้กันเมื่อมีงานเทศกาลต่างๆเกิดขึ้น ส่วนพันธุ์ข้าวของประเทศไทยก็พัฒนาไปหลายสายพันธุ์ หากแต่ก็มีการเก็บสายพันธุ์ดั้งเดิมไว้โดยส่วนราชการเป็นส่วนใหญ่

จะอย่างไรก็ตาม ในการผลิตพืชอาหารต่างๆทั้งข้าวและพันธุ์พืชอาหารอีกหลายชนิด ต้องพึ่งพาป่าต้นน้ำอันเป็นแหล่งเสบียงใหญ่ในการผลิตน้ำ น้ำมีความจำเป็นต่อระบบการสังเคราะห์แสงของพืชพันธุ์ทุกชนิด พื้นที่ป่าต้นน้ำจึงต้องมีการทบทวนถึงปริมาณและศักยภาพที่แท้จริงของมัน โดยเฉพาะป่าต้นน้ำทางตอนขุนหรือตอนบน ซึ่งส่งผลกระทบสูงกว่าที่ใดๆ นี่ในเขตร้อนทั่วไป

แต่ประเทศฟิลิปปินส์ป่าไม้ได้หมดไปพร้อมกับการเติบโตของเมืองและการเพิ่มของประชากร ประเทศนี้กลับยังต้องผจญปัญหาสำคัญคือมีปริมาณน้ำมากกว่าปกติอยู่ดี ซึ่งทั้งนี้เป็นเพราะว่าประเทศนี้เป็นเกาะกลางทะเล ในเขตมรสุมหรือใต้ฝุ่น อยู่ไม่ไกลจากเส้นศูนย์สูตรนัก อย่างไรก็ดี เมื่อป่าบกหมด ป่าชายเลนก็หมด ปราการธรรมชาติที่จะช่วยสกัดกั้นฝนหรือพายุก็เป็นอันว่าหมดไปด้วย

เขียนถึงองค์กรพัฒนาภาคเอกชนแห่งนี้ก็เพราะว่า ในประเทศไทยไม่มีองค์กรพัฒนาภาคเอกชนที่ทำงานเป็นรูปแบบวิชาการอย่างแท้จริง  ยิ่งน่าสนใจมากตรงที่เขาสอนเกษตรกรในท้องถิ่นถึงขั้นการผสมพันธุ์ข้าว และพืชอาหารหลายชนิดเพื่อพัฒนาพันธุ์และเก็บรักษาพันธุ์พื้นเมืองไว้ เรียกว่าทำงานอนุรักษ์และในขณะเดียวกันก็พัฒนาไปด้วยเทคโนโลยีที่ประชาชนเข้าถึงได้อย่างง่ายๆ ทั้งๆที่ดูว่ายาก และแสดงว่าเพราะมีความจำเป็นต้องช่วยตนเองกันจริงๆจึงต้องเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง

อยากเห็น NGOs ในเมืองไทยทำเช่นนั้นบ้าง ไม่ว่าด้านใดๆก็ขอให้อิงวิชาการก็แล้วกันครับ

 

Tags : NGOs

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view