http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,960,918
Page Views16,267,268
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ขึ้นดอยบ่ไหว

ขึ้นดอยบ่ไหว


                                                ขึ้นดอยบ่ไหว

                 เมื่อคิดจะสร้างวัด ชาวบ้านกิตตินันท์ได้ร่วมกันเลือกพื้นที่บนดอยเตี้ยๆท้ายหมู่บ้านด้านทิศตะวันตก พื้นที่ราวๆ 5 ไร่เศษ คิดกันว่าดอยเตี้ยๆ "กำลังเม๊าะ" วัดจะหันหน้ามาทางทิศตะวันออก "ผ่อมาก็หันหลังคาเฮือนกู่หลัง" แสงธรรมสาดส่องทั่วทุกหลังคาเรือน ชาวบ้านแบ่งกันออกเป็นสามส่วน ส่วนหนึ่งไปลงแขกขุดถนนขึ้นดอย อีกที่สองไปอัดอิฐดินลูกรัง และส่วนที่สามไปหาเสาไม้ขนาดวัดรอบ 5 คืบยาว 9 ศอก เหลากลม 12 ต้น ไม้แปรรูปจำพวกแป เส อกไก่ ไม้เครื่องโครงหลังคา ให้ใช้ไม้ล้มขอนนอนไพรมาใช้งาน งานพัฒนาเริ่มอีกครั้งอย่างตั้งมั่นและวาดหวัง

                         



               กลางวันหมู่หาไม้เข้าป่าคัดเลือกเสาเหลากลมเนื้อแข็ง ได้ต้นไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้เต็ง ไม้รัง แล้วคัดไม้ลงตีนดอย ทอยกันออกทีละต้นๆ เป็นงานหนักหนาชวนเหนื่อย พอได้ไม้เสาครบก็หาไม้มาเลื่อยทำไม้เครื่องโครงหลังคา หน้าต่างประคู หมดภาระก็หมดหน้าที่  หมู่อัดอิฐดินลูกรังเข้าป่าหาดินลูกรัง คนเฒ่านั่งทุบดินให้ป่น คนหนุ่มสาวผสมดินกับปูนอัตราส่วน 3:1 (ปูน 1 ส่วน ดิน 3 ส่วน) เทลงบล็อคเหล็กเพื่ออัดเป็นอิฐดินลูกรัง 
                ได้ไม้เสา ไม้เครื่อง วงกบประตูหน้าต่าง และอิฐ พร้อมสรรพ ค่ำลงก็เดินทยอยกันขึ้นดอย หมู่ช่างวางโครงรากฐาน หนุ่มสาวขนอิฐและไม้ขึ้นวัด ทุกค่ำคืนที่หนาวเหน็บทุกคนทำงานบุญตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เสียงพูดคุยโขมงโฉงเฉงดังลั่นดอย เสียงหัวเราะเมื่อมีเรื่องชวนหัว และเรื่องเล่าขำขัน นานนับเดือนเลื่อนเป็นครึ่งปี วัดทรงไทยแฝด 2 ห้องนอน 1ห้องน้ำ แล้วเสร็จ เพียงแค่บอกกล่าวเล่าเรื่องก็มีผู้ใจบุญถวายพระประธานให้วัด 


                          
 

                เมื่อได้รับอนุญาตให้เป็นวัดตามพุทธศาสนาแล้ว วัดว่างร้างพระจะทำอย่างไรกันหรือ นิมนต์มาจากหลายวัด ก็จำพรรษาได้ไม่นาน ท่านก็จำลาไปหาวัดเดิม วัดกลางป่าเขา เงียบเหงาและวังเวง หาพระอยู่ยาก จนกระทั่งวันหนึ่ง ได้นิมนต์พระมหาประนอมมาจากวัดพระธาตุเขาน้อย จังหวัดน่าน จึงได้มีพระอยู่จำพรรษามานานกว่า 20 ปี ท่านจำวัดองค์เดียว ท่านกวาดลานทุกเช้าตรู่ ท่านฉันมื้อเดียว  และท่านทำกิจของสงฆ์ตามหน้าที่ที่สืบสานพระพุทธศาสนาองค์เดียว   ชาวบ้านอบอุ่นใจได้มีแสงธรรมนำทาง 
                เวลาที่ล่วงเลยไป วัดกลับเงียบเหงาและวังเวงมากขึ้น วันหนึ่งได้เข้าไปกราบและสนทนาธรรม จึงได้ทราบว่า "คนเฒ่าเปิ้นขึ้นดอยบ่ไหว" ก็เลยไม่ค่อยมีคนขึ้นมาทำบุญทำทานกันนัก ชาวบ้านขอให้ลงไปสร้างศาลาวัดเชิงดอยได้ไหม นี่ไง เรื่องที่คิดและทำไว้ ณ เวลาหนึ่ง พอถึงอีกเวลาหนึ่งก็ใช้ไม่ได้ ก็ตอนสร้างวัดคนหนุ่มคนสาวกำลังแรงเดินขึ้นดอยได้สบายๆ แต่วันนี้ล่วงเลยมานาน เป็นคนเฒ่ากันลงไปทุกวัน  หมดแฮงแรงน้อยลง


                          

                ผู้มีใจกรุณาร่วมทำบุญผ้าป่าสามัคคี 2 ปีซ้อน ได้เงินสะสมไว้ถึง 180,000 บาท กะกันว่าจะสร้างศาลาวัดเชิงดอยขนาด 10x16 เมตร ยกพื้นสูง 1.50 เมตร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนให้เป็นศาลาการเปรียญเพื่องานบุญงานกุศล มูลค่าการก่อสร้างอยู่ที่ 640,000 บาท ไม่รวมกระเบื้องปูพื้นศาลาอีก 1 ส่วน งานนี้ได้ผู้ใจบุญเสนอว่าจะมาทอดผ้าป่าอีก 1 ครั้ง ได้เงินเข้าวัดอีกเล็กน้อย ที่เหลือจะเหมาจ่ายเองทั้งหมด 


                                   

                                                    รุ่นทะลุซุ้ม

            แต่ถ้าคนเฒ่ายังจ่ม(บ่น)ว่า "ขึ้นศาลาบ่ไหว" ละก้อ คราวนี้หามขึ้นแล้วสวดก็แล้วกัน

Tags : ศาสนา

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view