http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,004,283
Page Views16,313,186
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ประเพณีแซนโฏนตาเมืองขุขันธ์ตอน3. เครื่องเซ่นไหว้ โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

ประเพณีแซนโฏนตาเมืองขุขันธ์ตอน3. เครื่องเซ่นไหว้  โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

ประเพณีแซนโฏนตาเมืองขุขันธ์ตอน3.

เครื่องเซ่นไหว้ 

โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

                     พลเมืองขุขันธ์มีหลายเชื้อชาติอันได้แก่ ส่วยหรือกวย เยอ เขมร ลาว ไทย และจีน แต่ด้วยเมืองขุขันธ์มีรากเหง้ามาจากชาวส่วยมาก่อน เป็นผู้สร้างบ้านแปลงเมืองขุขันธ์ สืบสานวัฒนธรรมประเพณีมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะวัฒนธรรมการแต่งตัว และประเพณีแซนโฏนตา โดดเด่น ชาวเมืองขุขันธ์จึงได้เห็นชอบที่จะใช้อัตลักษณ์ชาวส่วยเป็นต้นแบบ เพื่อรวมพลังจัดงานประเพณีแซนโฏนตาเมืองขุขันธ์ให้ยิ่งใหญ่และอลังการ ดังนั้นทุกเชื้อชนจึงแต่งตัวด้วยชุดงดงามและเข้มขลังของชาวส่วย และประกอบเครื่องเซ่นไหว้ตามแบบอย่างของชาวส่วยด้วยเช่นกัน

บายศรีรูปช้าง..ช่างปราณีตและน่ารักมากๆ

                พอผมโผล่เข้าไปในงานประเพณีแซนโฏนตา จึงเห็นแต่ชายและหญิงแต่งองค์ทรงเครื่องเหมือนกันหมด ดูเด่นเป็นเอกลักษณ์ที่งามสง่า มองไปทางไหนก็เห็นเหมือนๆกันไปหมด แยกแยะไม่ออกว่าเป็นผู้คนของเชื้อชนชาติใด รู้เพียงว่านี่คือพลเมืองขุขันธ์ วันนี้ประเพณีดีงามทุกคนจึงแต่งตัวตามแบบอย่างแล้วมาร่วมกัน นี่ถ้าเป็นหมู่บ้านชาวมอญหรือรามัญ หรือหมู่บ้านของชาวลาวหรือชาวเวียงจันทน์ แล้วสืบสานประเพณีได้เช่นนี้บ้าง ก็คงจะเป็นงานที่ยิ่งใหญ่เหมือนกับประเพณีแซนโฏนตาเมืองขุขันธ์

ผู้เฒ่าของแต่ละหมู่บ้านแต่งชุดไหมผ้าเก๊บและซิ่น

                ความโดดเด่นของประเพณีแซนโฏนตาเมืองขุขันธ์ ยังมีองค์ประกอบที่เพิ่มความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ นั่นคือ เครื่องเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ชาวเมืองขุขันธ์ได้ร่วมใจร่วมกายกันประดิดประดอยอย่างงดงาม มีความแปลกแตกต่างกันแต่ละองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) แต่ทุกๆ อบต.ได้ประกอบเครื่องเซ่นไหว้ 3 ส่วนดังนี้คือ 

มาร่วมงานประเพณียิ่งใหญ่เมืองขุขันธ์

                1. เครื่องสักการะบูชาหรือเครื่องบัดพลี ได้แก่ ธูป เทียน ข้าวตอกดอกไม้ น้ำอบ น้ำหอม บายศรี  ซึ่งแต่ละ อบต.ได้ออกแบบเครื่องเซ่นไหว้ของตนแตกต่างกัน มีความสวยงาม และปราณีตบรรจง สมกับเป็นเครื่องบัดพลีแด่บรรพบุรุษโดยแท้  บางอบต.ประดิดประดอยเป็นช้างน้อยสองเชือก บางอบต.สร้างบายศรีเป็นรูปเจดีย์คู่ บาง อบต.บายศรีมีงาช้างคู่ประดับ จัดกลีบบายศรีกันสวยงามมากๆ 

บายศรีกระพร้อมรูปต่างๆ ล้วนต้องมีแนวคิดประดิษฐ์

                2.เครื่องเซ่นไหว้ ที่เป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ได้แก่ ผ้าซิ่นไหม  สะไบ  โสร่ง ผ้าขาวม้า ซึ่งในสมัยก่อนตอนโน้นต้องถักทอกันข้ามวันข้ามคืนเพื่อให้เสร็จทันงานประเพณี แต่ปัจจุบันนี้อาจมีการซื้อมาจากตลาดมาไหว้แทนได้ ลูกหลานที่ประสบความสำเร็จในชีวิตก็อาจจะซื้อสร้อยคอ  แหวน  เงิน/ทอง ให้กับบรรพบุรุษเป็นการแสดงความเคารพรัก แต่เครื่องหอมกระแจะจันทร์  แป้ง  กระจก  หวี  ขาดไม่ได้เหมือนกับว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่อาจถูกถามหาได้

เครื่องเซ่นไหว้หลากหลายเด้อ

                3. เครื่องเซ่นไหว้ประเภท กระยาสังเวย ประกอบด้วย อาหารคาวเช่น ข้าวสวย ข้าวเหนียว  ไก่ เป็ด หมู หัวหมู แกง ต้ม น้ำพริก ปลาย่าง อาหารหวานก็เช่น ข้าวต้มมัดไส้กล้วย  ข้าวต้มมัดไส้หมู ขนมเทียน  ข้าวต้มมัดห่อด้วยใบหมาก  ข้าวเม่า  กระยาสารท  ฯลฯ  ผลหมากรากไม้ เช่น ส้มโอ ส้ม กล้วยน้ำว้า เผือกมัน อ้อย และเครื่องดื่มประเภทต่างๆเช่นสุรา น้ำหวาน(สมัยก่อนใช้น้ำอ้อย) ฯลฯ หมาก พลู บุหรี่ ฯลฯ

ไก่ย่าง กล้วยน้ำว้า และบายศรี งามเหลือ

 

                เครื่องเซ่นไหว้แต่ละ อบต.ทำมาแตกต่างกันไปตามความถนัดและวัตถุดิบที่มีอยู่  บาง อบต.จัดมาเป็นหาบ ในแต่ละกระบุงใส่ด้วยเครื่องเซ่นไหว้และทุกกิจกรรมต้องติดด้วยดอกไม้เสมอ โปรดพิจารณาจากภาพที่ถ่ายมาลงให้ชมกันว่า แต่ละเครื่องเซ่นไหว้แต่งแต้มกันมาในรูปแบบแตกต่างกันเพียงใด แต่ทุกเครื่องเซ่นไหว้จะไม่หนีไปจากเครื่องเซ่นไหว้ 3 ประเภทดังที่กล่าวข้างต้น 

นี่ก็อีกรูปแบบของบายศรี

                 เนื่องจากกล้วยเป็นพืชท้องถิ่นที่ปลูกง่าย ให้ลูกดก และทนทาน จึงนิยมใช้กล้วยเป็นหลักในการทำขนมนมเนยให้ลูกหลานได้กินกัน คล้ายๆกับตรุษจีนที่แต่ละครอบครัวชาวจีนอยากกินอะไรก็จัดหาไปไหว้ หรือรู้ว่าบรรพบุรุษชอบกินอะไรก็จัดหาไปไหว้ เพื่อให้บรรพบุรุษพึงพอใจ มีการเผากงเต้กไปให้ด้วย  แต่สำหรับประเพณีแซนโฏนตานี้ มีเอกลักษณ์ตามแบบอย่างของชาวส่วย

บายศรีประกอบงาช้างสื่อว่าเป็นเมืองช้างดั้งเดิม

                 ริมถนนเส้นหลักของเมืองขุขันธ์ มีร้านขายกล้วยมากมายเหลือคณานับทีเดียว  ว่ากันว่าเป็นกล้วยที่ส่งมาขายจากจังหวัดหนองคาย และจังหวัดเลย  จนถึงกับร่ำลือกันว่า กล้วยแสนหวี ดูๆแล้วก็เห็นว่าท่าจะจริง เมืองขุขันธ์เป็นเมืองแห้งแล้ง อาจจะปลูกกล้วยได้ผลไม่ดีนัก จนไม่พอเพียงกับความต้องการของงานในแต่ละปี จึงได้มีแม่ค้านำมาสนองให้ถึงถิ่น ผมเดินดูก็เห็นจริงว่า แต่ละครอบครัวซื้อหากล้วยน้ำว้ากันถุงใหญ่ๆ เพื่อนำกลับไปทำขนมหรือใช้ไหว้บรรพบุรุษตามประเพณี  

พญานาค ก็เป็นบายศรี

                 ผมเองเพิ่งเคยมาร่วมงานประเพณีแซนโฏนตาครั้งแรก ก็รู้สึกงง แต่เมื่อได้ฟังจากปากของนายอำเภอบ้าง ผู้เฒ่าผู้แก่บ้าง ก็ช่วยให้เข้าใจอะไรๆได้มากขึ้น ประกอบกับทั้งวันผมเดินไปคุยกับพี่น้องผองชาวขุขันธ์ พร้อมกับถ่ายรูปไปด้วย ยิ่งเพิ่มความกระจ่างมากยิ่งขึ้น สิ่งที่ผมได้เห็นจากเครื่องแต่งตัว เครื่องเซ่นไหว้ และอีกหลายประการทำให้ผมมั่นใจได้ว่า ในอนาคตประเพณีแซนโฏนตาเมืองขุขันธ์จะกลายเป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบงานประเพณีและวัฒนธรรมพื้นถิ่น

ซิ่ไหมและไหมลายลูกแก้วย้อมมะเกลือ ตัดเย็บด้วยมือ

    

                  ยิ่งได้เห็นเขาแต่งองค์ทรงเครื่องกันด้วยชุดผ้าเก๊บ(ผ้าไหมลายลูกแก้ว)สีดำเป็นเงา แขนยาวราวๆสามส่วน ด้วยผ้าขาวม้าพาดไหล่เท่ห์ระเบิด นุ่งโสร่งลายสก็อต ส่วนหญิงนั้นก็แต่งกันงดงามน่ามองยิ่ง พูดกันตามความจริงใจ ผมเองยังอยากจะสวมใส่ให้เหมือนกับเขาด้วยครับ อยากแต่งแล้วถ่ายรูปเป็นที่ระลึก เอากลับไปอวดทางบ้าน เก็บไว้ดูต่างเวลา จะเป็นไปได้ไหมครับว่า ในปีต่อไป มีห้องถ่ายภาพ มีชุดให้เช่า แต่งตัวแล้วถ่ายรูปในราคาพอสมควร เหมือนที่ทางภาคเหนือให้แต่งชุดแม้วแล้วถ่ายรูป หรือซื้อชุดมาใส่กันทั่วไป 

                  โปรดสังเกตนะครับ ชุดชายและชุดหญิง สวยงามเพียงไหน

                                         

 

                                          

 

 

 

 

 

Tags : ประเพณีแซนโฏนตาเมืองขุขันธ์ตอน2.วัฒนธรรมการแต่งตัว

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view