http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,991,954
Page Views16,300,151
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ท่องไปในแดนธรรมตอน 63.วัดทุ่งศรีเมือง ชมอะไรหรือ โดยป่าน ศรนารายณ์ เรื่อง-ภาพ

ท่องไปในแดนธรรมตอน 63.วัดทุ่งศรีเมือง ชมอะไรหรือ โดยป่าน ศรนารายณ์ เรื่อง-ภาพ

ท่องแดนแผ่นดินธรรมตอน 63.

วัดทุ่งศรีเมือง ชมอะไรหรือ

โดยป่าน ศรนารายณ์ เรื่อง-ภาพ

                 ป่านเคยได้เห็นภาพหอไตรกลางน้ำวัดทุ่งศรีเมือง สวยอลังการงานศิลป์ของช่างชาวเวียงจันทน์ เป็นงานไม้ที่สลักเสลาได้น่าชม รูปทรงสถาปัตยกรรมมีความปราณีตเชิงช่างและเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น

                 เห็นปุ๊บก็รู้กันเลยว่า เป็นหอไตรวัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีเพียงแห่งเดียวเสียด้วย

   

หอไตรกลางน้ำวัดทุ่งศรีเมือง             

                 ไปคราวนี้ได้เดินชมตั้งแต่แรกเข้าถึง ได้ไปยืนบนสะพานที่ทอดข้ามจากแผ่นดินถึงหอไตร งานไม้เรียบง่ายแต่ดูดี เดินขึ้นบันไดทีละขั้นๆ เหลียวมองไปทั่ว ได้เห็นหน้าบันมีไม้แกะสลักลวดลายแปลกตา แต่หลังคาหอไตรนี่ซิมีถึง 4 ชั้น หยักเยื้องและลดหลั่นกันอย่างมีศิลปะ มองดูเหมือนเรียบๆ แต่ไม่ใช่ งานช่างเช่นที่เห็นในภาพนี้จึงต้องดูให้รอบทิศ

หน้าบันหอไตร

                 หลังคาหอไตร หากมองจากด้านหน้าจะเห็นเป็น 4 ชั้นชัดเจน สองชั้นแรกเป็นหลังคาครอบปลายเสา ส่วนชั้นสามและชั้นสี่เป็นหน้าจั่วทรงสามเหลี่ยมสูง มีหน้าบันสองชั้น แกะสลักไม้เป็นลวดลายสวยงาม หัวนาคและหางแบ่งช่วงชั้นให้เห็นเป็นระดับ ฝีมือปราณีต ด้านหน้าด้านหลังหอไตรแบบเดียวกัน กระเบื้องเดิมเป็นอย่างไรไม่ทราบแต่ที่เห็นวันนี้เป็นกระเบื้องสีขาว มนปลายทุกแผ่น 

 

                 ฝาผนังหอไตรเป็นเหมือนฝาเฟี้ยมบ้านทรงไทย แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดอีก มีความแตกต่างกันอยู่ในที ซึ่งนี่แหละคือเชิงช่างของชาวเวียงจันทน์ อย่าได้ไปเหมาเชียวว่า เหมือนฝาเฟี้ยมทรงไทย หน้าต่างประตูก็เช่นกัน ใต้ระดับหน้าต่างมีลวดลายแกะสลักเป็นรูปปีนักษัต ที่ป่านชมชอบมากก็คันทวยไม้ที่สลักเสลาได้อ่อนช้อยและงดงามยิ่ง แต่ก็ดูท่าจะมีทั้งของใหม่และของเก่า

ลงรักแต้มสีทอง

                 รูปทรงของหอไตรหยักเยื้องคล้ายๆเรือนทรงไทย เสาสอบเข้าหากัน แต่ดูแล้วว่าน่าจะมากกว่าการสอบเข้าของบ้านทรงไทยภาคกลาง เป็นเสาไม้ถากกลมงานฝีมือพื้นบ้านอีสานทั่วไป ตรงกลางเป็นหอไตรองค์จริง มีกรอบประตูงดงาม แกะสลักลวดลายให้ดูขลัง ส่วนผนังหอไตรก็ลงรักลงลวดลายสีทอง หลากหลายรูปแบบ ภายในหอไตรมีชั้นวางพระไตรปิฏกมากมาย ทั้งคัมภีร์พุทธศาสนาและปรัชญาพื้นบ้าน 

 

หลวงพ่อในหอไตร

                 เดินชมกันอย่างละเอียดละออแล้วก็เดินไปกราบหอพระพุทธบาทจำลองของวัดทุ่งศรีเมือง  ที่มีรูปทรงและภาพเขียนภายในผนังหอ ฝีมือช่างชาวเวียงจันทน์  บอกเล่าเรื่องราวนิทานชาดก  นิทานพื้นบ้าน และวิถีชีวิตชาวบ้านพื้นถิ่น เมืองอุบลราชธานี

 

ฝาผนังเฟี้ยมแบบเวียงจันทน์

                 เดิมทีเดียวเจ้าคุณพระอริยาวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย หลักคำ)เป็นคนเมืองอุบลราชธานีโดยกำเนิด ท่านไปบวชเรียนอยู่วัดสระเกศวรมหาวิหาร กรุงเทพ แต่ด้วยความปรารถนาของตัวท่านจึงออกธุดงค์มายังป่าหว้าดงอู่ผึ้ง อันเป็นที่เปลี่ยว วิเวก และมีความร่มเย็น ในที่สุดปีพ.ศ.2356 จึงกำเนิกเป็นวัดทุ่งศรีเมือง พื้นที่ 19-2-23 ไร่ ปัจจุบันนี้ตั้งอยู่เลขที่ 95 ถนนหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัด

อุบลราชธานี

                ท่านเจ้าคุณให้ช่างชาวเวียงจันทน์ก่อสร้างหอพระพุทธบาทจำลองเพื่อประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองที่สร้างขึ้น โดยหอพระพุทธบาทนี้กว้าง 6 เมตรยาว 13 เมตร รูปทรงเชิงช่างชาวเวียงจันทน์ หลังคาสูง 3 ชั้น ลดหลั่นกันอย่างสวยงาม ชั้นล่างเหมือนเป็นเชิงชายกันแดดฝน ชั้นสองเหมือนวางอยู่บนหัวเสา และชั้นสามสูงสุดเป็นหลังคาทรงแหลมแบบโกธิค ช่อฟ้าใบระกาสวยเด่น 

หอพระพุทธบาทจำลอง

                หน้าบันลวดลายสวยงาม เสา 4 ต้น สี่เหลี่ยมย่อมุม หัวเสาประดับกลีบบัวงดงาม หน้าบันลวดลายสีสันสดสวย คันทวยรองรับชานหลังคาชั้นแรกฝีมือจริงๆ หรือว่า ป่านเป็นคนที่ชื่นชอบคันทวยเอามากๆก็ไม่รู้ เห็นที่ไหนก็อยากถ่ายรูปเก็บไว้ วัดบางแห่งคันทวยเป็นรูปหนุมานบ้าง พาลีบ้าง แปลกตาและดูมีเสน่ห์ อ้อ นึกได้แล้ว คันทวยหนุมานนี้อยู่ที่วัดพระเจ้าตนหลวง จังหวัดพะเยา

                เดินเข้าในหอพระพุทธบาทจำลอง ได้เห็นเสาไม้วาดลวดลายกลมกลืนกับผนังหอ ฝีมือช่างพื้นบ้านน่าจะชาวเวียงจันทน์นั่นแหละ แต่ที่ผนังหอด้านในสุด เป็นพระประธานฝังอยู่ติดกับผนังหอ น่าจะเป็นพระหล่อด้วยสำริด  ด้านหน้าตั้งพระพุทธบาทจำลองให้บูชา ประตูหน้าต่างแกะสสลักลายสวยงาม เป็นแบบอย่างลักาณะเฉพาะฝีมือช่าง 

                เปิดเว็บไซต์วัดทุ่งศรีเมืองจึงได้ทราบว่า ท่านเจ้าคุณอยากจำลองรอยพระพุทธบาทมาจากวัดสระเกศ แล้วก็ให้ขุดสระน้ำข้างหอเพื่อเอาดินมาถมหอพระพุทธบาทไม่ให้ถูกน้ำท่วมถึง บ่อที่ขุดนั้นกว้าง 13 เมตร ยาว 24 เมตร ต่อมาเพื่อรวบรวมคัมภัร์ต่างๆให้รอดพ้นจากการแห้งกรอบและปลวดกัดกิน จึงได้สร้างหอพระไตรปิฏกขึ้นในภายหลัง กระจ่างเลย 

                วัดทุ่งศรีเมืองอบรมหนักทางด้านวิปัสนากรรมมัฏฐาน สั่งสอนพุทธบริษัทผ่านหลักสูตรปริยัติธรรม พี่น้องชาวเมืองอุบลราชธานีจึงนิยมส่งบุตรบวชเณรแล้วมาเรียนธรรมปฏิบัติที่วัดทุ่งศรีเมือง อันเป็นหนทางหนึ่งที่จะให้บุตรหลานได้รับการศึกษา ได้อานิสงฆ์จากข้าวก้นบาตรช่วยให้มีกำลังและสมองแจ่มใส ประหยัดเงินทองของพ่อแม่ และได้ร่ำเรียนทั้งทางโลกและทางธรรม 

ภาพเขียนสีในผนังหอพระพุทธบาท

 

                ด้วยเวลาที่จำกัด จึงไม่มีโอกาสได้ไปถ่ายรูปสามเณรที่กำลังเรียนปริยัติธรรม  การจากจรมานั้นมิใช่ว่าจะไม่หวลคืน แต่เมื่อมีโอกาสได้ไปเยี่ยมเยือนก็ยังอยากจะรู้อีกว่า นอกจากแผ่นดินธรรมวัดทุ่งศรีเมืองแล้ว ยังมีวัดอะไรน่าสนใจที่จะนำมาเล่าเรื่องราวให้พี่น้องผองเพื่อน www.thongthailand.com ได้อ่าน ได้ชมภาพ และได้ความรู้ 

                อยากไปอีก จังหวัด อุบลราชธานี ยโสธร และสุรินทร์    

 

Tags : ท่องแดนแผ่นดินธรรมตอน 62

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view