http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,994,341
Page Views16,302,641
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

เพชรบุรี..ดีจัง ตอน3.ตาลโตนด วิถีชีวิตและภูมิปัญญาโบราณ โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

เพชรบุรี..ดีจัง ตอน3.ตาลโตนด วิถีชีวิตและภูมิปัญญาโบราณ โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

เพชรบุรี..ดีจังตอน3.

ตาลโตนด วิถีชีวิตและภูมิปัญญาโบราณ

โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

               ตอนเด็กนั่งฟังลำตัดแล้วขำกลิ้งลิงกับหมา พระเอกวันนั้นเป็นคนเมืองสุพรรณบุรี ส่วนนางเอกเป็นสาวเมืองเพชร คนสองเมืองนี้มีเรื่องเถียงกันอยู่สองเรื่อง  เรื่องแรกต่างก็กล่าวหาว่าแต่ละฝ่ายเสียงเหน่อ เรื่องที่สองต่างก็กล่าวกันว่า บ้านตนเองนั้นมีต้นตาลมากกว่ากัน  กรรมการตัดสินให้ว่า เอาเป็นว่ามีต้นตาลเท่ากันก็แล้วกัน ก็น่าจะจบ

 

ดงตาลในนาข้าว

                    แต่ด้วยปฏิภาณอันฉับไวของนางเอกสาวเมืองเพชร รีบยันเปรี้ยงเข้าให้ว่า เมื่อคืนนี้ฉันมองดูแล้วต้นตาลเมืองสุพรรณมันยอดด้วนไปต้นหนึ่ง ต้นตาลเมืองเพชรจึงมีมากกว่า พระเอกเมืองสุพรรณรีบเอามือกุมเป้าทันใด เรียกเสียงฮาลั่นเวที

                    ทั้งเรื่องเสียงเหน่อและจังหวัดไหนมีต้นตาลมากกว่ากันไม่จบลง

 

                     แต่วันนี้ ด้วยโครงการเพชรบุรี..ดีจัง ทำให้ได้เห็นกับตาว่าที่เมืองเพชรบุรีนั้นมีต้นตาลโตนดเยอะจริงๆ เยอะก็ไม่เยอะเปล่าแต่เขาใช้ภูมิปัญญาหาประโยชน์จากเจ้าตาลโตนดได้อย่างเหลือเชื่อ ตามไปดูด้วยกันแล้วจะเห็นความจริงที่ปรากฏ เรื่องยอดด้วนก็เลยเป็นโจ๊กกันไป

วันนั้นได้ไปที่บ้านดอนแจง ตำบลโรงเข้ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี

 

                   ในทุ่งนาที่ยังเห็นร่อยรอยตอซังข้าว มีต้นตาลโตนดขึ้นอยู่หนาตามาก แต่จะมีกี่ต้นก็ไม่ได้ถาม แต่ละต้นมีไม้ไผ่ที่ตัดแต่งกิ่งก้านสั้นๆพอให้เหยียบปีนขึ้นตาลได้ เรียกว่า “พะอง” กลางต้นตาลมีปลอกสังกะสีพันรอบต้น เพื่อป้องกันไม่ให้ “งู” ไต่ขึ้นไปยังยอดต้นตาลได้

 

จั่นหรืองวงตาลถูกปาด

                   ต้นตาลนั้นมีทั้งตาลตัวผู้และตาลตัวเมีย ข้อสังเกตคือ ตาลตัวผู้ทางใบจะเวียนไปทางซ้ายมือและมีงวงตาล ต้นตาลตัวเมียทางใบจะเวียนไปทางขวามือ และมีทะลายผล ต้นตาลโตนดทั้งต้นตัวผู้และต้นตัวเมียให้น้ำตาลทั้งสองต้น แต่ต้นตัวเมียให้ผลเพิ่มมาอีกอดย่างหนึ่ง ความสูงทั้งตาลตัวผู้และตาลตัวเมียไม่มีสัญลักษณ์บ่งชี้

 

โรงเคี่ยวน้ำตาลเห็นวัสดุเชื้อเพลิงจากธรรมชาติ

                    ไม้คาบเพื่อนวดงวงหรือจั่นตาลทั้งของตัวผู้  และตัวเมียรูปร่างต่างกัน กระบอกรองน้ำตาลทำด้วยไม้ไผ่เหมือนกัน มีดปาดตาลคมและรูปร่างแบบมีดเหน็บทั่วไป กระทะใบบัว 3 ใบ เตาก่อเอง 3 ใบ ทางตาล กาบมะพร้าว กะลาตาล ใช้เป็นเชื้อเพลิง ในการเคี่ยวน้ำตาลต้องผสมเปลือกต้นพะยอมลงไปเพื่อสกัดสีและกันบูด

 

ไม้พะยอมสกัดสีและป้องกันบูด

                 ต้นตาลที่จะปาดเอาน้ำตาลได้ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 10 ปี ช่วงเวลาที่ปาดเอาน้ำตาลได้อยู่ระหว่างเดือนมกราคม-เดือนพฤษภาคม รวม 5 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่นาข้าวได้เกี่ยวเสร็จแล้ว น้ำในนาก็แห้งเหือด ปลอดเวลาจากการทำนาพอดี ว่างแล้ว ทุกครอบครัวที่มีต้นตาลอยู่ในนาของตนก็จะลงมือทำตามกรรมวิธีการทำน้ำตาลจากต้นตาลโตนด

 

อุ๊ย ลูกตาลทะลายนี้สวยจังอิ

                 ต้นตาลโตนดนี่เขาใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาแต่โบร่ำโบราณแล้วว่ามันสามารถใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ลองมาเสกสรรกันดูสักหน่อย

เฉาะจาวตาลหวานลิ้นมากินเสีย

                  จากต้นตาลตัวผู้ ทำน้ำตาลได้มากเป็นพิเศษจากงวงหรือจั่น เริ่มต้นด้วยการใช้คาบนวดจั่นตัวผู้ นวดกันอยู่หลายวัน จนเห็นว่าจั่นนั้นๆ น่าจะให้น้ำตาลได้ดีแล้ว จึงทำการปาดจั่น แล้วก็รองด้วยกระบอกน้ำตาล ส่วนใหญ่จะทำกันตอนเย็น ปล่อยให้น้ำตาลไหลลงกระบอกทั้งคืน เช้าจึงจะไปเก็บกระบอกน้ำตาล เพื่อส่งไปเข้าขบวนการเคี่ยว หยอดทำน้ำตาลปึก หรือทำน้ำตาลปี๊บ

 

น้องปูกับน้องโบว์ จะเอาเป็นเอาตายกับงาน

                   โรงเคี่ยวน้ำตาลประกอบด้วย เตาไปแบบสามเตาเรียงกัน ใช้ปล่องใส่เชื้อไฟปล่องเดียว วัสดุที่ใช้เป็นเชื้อเพลงก็ใช้จากทางตาล กะลาตาล ในการเคี่ยวน้ำตาลต้องใส่เปลือกต้นพะยมไปด้วยเพื่อสกัดสีและกันบูด ขั้นตอนการเคี่ยวไม่อยากกล่าวถึง ปล่อยให้เป็นภูมิปัญญาของชาวเมืองเพชรบุรีดีกว่า

 

โอ้ มายก็อด สูงจริงๆ

                  ต้นตาลโตนดมิใช่เพียงใช้ประโยชน์จากน้ำตาลเท่านั้น หากแต่ทะลายตาลที่เกิดจากต้นตัวเมียก็ใช้ประโยชน์ได้ทุกชิ้นส่วนมากน้อยตามศักยภาพ  หลังจากตาลตัวเมียติดลูก ก็สามารถนำเนื้อในผลของต้นตาลไปใช้เป็นส่วนผสมหนึ่งในน้ำแข็งเกร็ด หรือน้ำแข็งใส หัวเลียงจากลูกตาลหนุ่มจะใช้แกงเลียงหรือแกงคั่วได้อร่อยมาก

 

ลูกตาลสุกห้อมหอม ทำขนมตาลอร่อย

                  เมื่อลูกตาลแก่ ผิวจะเป็นสีดำอมน้ำตาล เยื่อใต้ผิวสีเหลืองมีกลิ่นหอมเฉพาะ  ใช้มือนวดหรือยีเนื้อสีเหลือง ได้เยื่อข้นๆเหลืองจากการบีบลูกตาล ใช้ผ้ามุ้งขาวกรองให้หมาด เอาเนื้อตาลเหลืองๆไปเข้ากรรมวิธีทำขนมตาล อาจใส่กระทง หรือใส่ถ้วย นึ่งแล้วโรยด้วยมะพร้าวขูดเป็นริ้วๆ หอม มัน อร่อยลิ้น เป็นขนมหวานอีกชนิดหนึ่งที่ได้จากลูกตาลสุก         

 

วิถีชีวิตในบ้านดอนแจง ไม่ต้องเสแสร้งเลย มีอยู่จริง

                  เมล็ดลูกตาลมีซังยาว ใช้หวีสางให้เข้ารูป แต่งเป็นตู๊กตาของเล่นได้ แต่ถ้าทิ้งกองรวมๆกันไว้ จะงอกรากแก้วออกมา นั่นหมายถึงว่าในกะลาตาลมี"งอก"สีขาว นุ่ม เชื่อมน้ำตาลได้ หรือกินสดๆ 

                  หลังจากนั้นน้องฝนและน้องแจน มัคคุเทศน์จากกลุ่มดินสอสี ได้พาไปเที่ยวในหมู่บ้านดอนแจง ได้เห็นการเคี่ยวน้ำตาล เพื่อทำน้ำตาลปึก และน้ำตาลปี๊บ แล้วก็เลยไปดูการเฉาะลูกตาลสด แคะเอาจาวสีขาวๆใสๆ น่ากิน รสหวานเย็น ปรุงเป็นขนมหวานได้หลายอย่าง โดยเพาะทำลูกตาลลอยแก้วของอร่อยเมืองเพชรเขา 

ลูกตาลทิ้งไว้ก็จะงอกรากแก้วออกมา เนื้อในจาวอร่อย

                  คุยกันว่า เข้ามาในหมู่บ้านดอนแจงแล้วพบว่ามีชาวบ้านขึ้นตาลตัดทะลายตาลลงมาเพียบ อีกคนหนึ่งกำลังเฉาะลูกตาลเพื่อแคะเอาจาวใสๆที่กล่าวถึง เป็นภาพที่เกิดขึ้นหลังวิถีชีวิตการทำนา เป็นอีกบริบทหนึ่งที่เกิดขึ้นจริง ไม่ได้ปรุงแต่งให้เป้นสีสัน นี่คือวิถีชีวิต และใช้ภูมิปัญญาในการเก็บเอาประโยชน์จากธรรมชาติ 

พะองไม้ไผ่เพียบ

                  ผมอยากให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์เช่นนี้ อยากให้ทำโปรแกรมนำเที่ยวแบบต้องมาอยู่กับชาวบ้าน เช้าไปขึ้นเก็บกระบอกตาล เย็นไปปาดงวงตาลแล้วใส่กระบอกน้ำตาล ตัดทะลายตาลแล้วก็นำมาเฉาะเอาเนื้อในกิน ส่วนหัวเลียงตาลก็ต้มจิ้มน้ำพริกหรือแกงคั่วปลาช่อน ส่วนเรื่องการเคี่ยวน้ำตาลคงใช้เวลาก็อาจจะให้หยอดน้ำตาลปึก อะไรในลักษณะนี้ 

                 ที่นี่เป็นภาพที่เกิดขึ้นจริง ไม่ได้จัดฉาก ไม่ได้แต่งแต้มสีสัน เป็นทั้งวิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ทำกันมาแต่โบราณ ต้นตาลเมืองเพชรจึงอาจจะมีประโยชน์กว่าต้นตาลเมืองสุพรรณก็คราวนี้ อิอิ         

Tags : เพชรบุรี..ดีจังตอน2.วัดใหญ่สุวรรณาราม

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view