http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,957,145
Page Views16,263,453
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

หน่วยจัดการต้นน้ำแม่เผอะ(อ่างขาง)

หน่วยจัดการต้นน้ำแม่เผอะ(อ่างขาง)

หน่วยจัดการต้นน้ำแม่เผอะ(อ่างขาง)

ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 

ต้น-098-7509498 

โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

                 ในหุบเขาเล็กๆของลุ่มน้ำแม่ฝางมีหน่วยจัดการต้นน้ำแม่เผอะตั้งอยู่ ต้องรับผิดชอบพื้นที่ป่าต่นน้ำชั้น1และ2 มากถึง 197,151 ไร่ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,500 เมตร อันเป็นพื้นที่ที่มีลุ่มน้ำสาขา 3 สาขาคือ แม่ฝาง,ห้วยสูนและแม่น้อย ได้ปลูกป่าอนุรักษ์ต้นน้ำไปแล้ว 12,657 ไร่ กันเป็นป่าชุมชนหมู่บ้าน 500 ไร่ ปรับปรุงระบบนิเวศน์ป่าต้นน้ำ 1,800 ไร่ แปลงสาธิต 20 ไร่ และป้องกันให้เป็นป่าอนุรักษ์ของหมู่บ้าน 120,000 ไร่ มีคุณสุรเดช สมบูรณ์ เป็นหัวหน้าหน่วยงานนี้

 

อยู่ก่อนถึงดอยอ่างขาง 4 กม.ถนนสายฝาง-ดอยอ่างขาง

              ในปีพ.ศ.2517 นักวิชาการป่าไม้สังกัด กองอนุรักษ์ต้นน้ำ กรมป่าไม้ ต้องเดินทางด้วยเท้า ควบด้วยฬ่อของชาวจีนฮ่อ แล้วมาตั้งหน่วยจัดการต้นน้ำแม่เผอะ ยากเย็นแสนเข็ญ ขึ้นมาครั้งหนึ่งต้องเฝ้างานอยู่นานนับสัปดาห์จึงจะมีแรงลงไปยังอำเภอฝางอีกครั้ง การคมนาคมทุรกันดารเหลือพรรณนา อากาศหนาวเหน็บเจ็บปวดกระดูกในเนื้อ อาหารการกินต้องบรรทุกขึ้นมาเอง ปลากระป๋องเป็นหลัก ปลาทูเค็มเป็นรอง

 

ป่าปลูกทดแทนป่าต้นน้ำเสื่อมโทรมโตแล้ว

                 เพราะว่าป่าต้นน้ำแม่ฝางถูกชาวเขาเผ่ามูเซอดำ ชาวจีนฮ่อ(ยูนนาน) และชาวไทยใหญ่ ถางถางทำลายเพื่อปลูกฝิ่น ปลูกข้าวไร่ไว้ประทังชีวิต ปลูกผักอาหารและปลูกพืชไร่ขายได้เงินมาใช้จ่าย ไม่มีโรงเรียนให้เด็กๆได้เรียนหนังสือ การสื่อสารเต็มไปด้วยปัญหาและอุปสรรค ล้อมีรอบด้วยหมู่บ้าน 5 หมู่บ้านคือ บ้านหลวง(จีนฮ่อ) บ้านคุ้ม(จีนฮ่อและไทยใหญ่) บ้านปางม้า(จีนฮ่อและไทยใหญ่) บ้านขอบด้ง(มูเซอดำ) และบ้านนอแล (มูเซอดำ)เขตปกครองตำบลแม่งอน ประชากร 3,080 คน 583 ครัวเรือน เฉลี่ยครอบครัวละ 5.2 คน

ในหุบเขาแคบๆมีชีวิต

                พื้นที่เป็นป่าต้นน้ำชั้น1และชั้น2 สูงชันกว่า 35% ว่ากันตามหลักการจัดการต้นน้ำล่อแหลมต่อการกัดชะพังทลายของดินสูง แต่ความจำเป็นในการดำรงชีวิตอยู่ของครอบครัวของเขาเขาไม่รู้หรอกว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับแผ่นดิน เขารู้เพียงว่าต้องอยู่ให้ได้ ลูกๆต้องมีข้าวกิน ทุกคนต้องมีเสื้อผ้าสวมใส่กันหนาว ต้องมียารักษาโรคและต้องก้าวไปข้างหน้า นี่คือวัฏจักรของการมีชีวิตอยู่ของสังคมมนุษย์ทุกผู้    

 

บ้านักหลังแรกๆที่สร้างขึ้น

              เมื่อเริ่มก่อตั้งหน่วยงานต้องปลูกกระต๊อบเพิงหมาแหงนแค่กันน้ำค้างและลมฝน ต้องเข้าไปหาพ่อหลวงของแต่ละบ้านเพื่อขอความเห็นชอบให้ทางราชการได้ทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอันเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติลุ่มน้ำฝาง เมื่อตกลงกันได้ก็เกิดความร่วมมือร่วมใจกันทำงาน ทางราชการมีงบประมาณมาจัดจ้างให้ชาวบ้านได้มีเงินทำงาน มีเงินใช้ทุกเดือน และร่วมใจในการพัฒนาพื้นที่ป่าขึ้นทดแทน

 

เครื่องมือวัดอุณหภูมิและปริมาณน้ำฝน

                วันนี้หน่วยจัดการต้นน้ำแม่เผอะได้จัดตั้งหมู่บ้านพิทักษ์ป่าต้นน้ำแม่ฝางทั้ง 5 หมู่บ้าน ภารกิจคือลาดตระเวนพื้นที่ปกป้องป่าอนุรักษ์ ป่าที่ปลูกและฟื้นฟูขึ้นจนเติบใหญ่ให้คงอยู่ ทำแนวป้องกันไฟป่าที่อาจจะไหม้ต้นไม้ตายลงไปอีก ป้องกันการบุกรุกเปิดพื้นที่ป่าใหม่   ให้ความรุ้และความเข้าใจในการพัฒนาอาชีพที่ก้าวหน้ากว่าเดิม มีถนนหนทางคมนาคมที่สะดวกสบาย มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่ ซึ่งกระจายรายได้สู่ชุมชน

 

อาคารประชุมสัมนาป่าต้นน้ำ

                ริมถนนสายอำเภอฝาง-สถานีเกษตรหลวงดอยอ่างขาง ใต้ร่มต้นสนสามใบที่หน่วยได้ปลูกฟื้นฟูขึ้นมาโตใหญ่จนให้ร่มเงาร่มรื่น ชาวบ้านได้กวาดเก็บให้โล่งเตียนแล้วใช้เป็นื้นที่รองรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาพักผ่อนในช่วงฤดูหนาวอย่างหนาแน่น เม็ดเงินหล่นไปทั่ว อาหารการกินได้ขาย พืชผักได้ขาย ของฝากจากชาวดอยได้ขาย น้ำชากาแฟได้ขาย เงินหลั่งไหลมาทุกปีๆ ด้วยวัฏจักรของการเปลี่ยนแปลง นี่คือผลพวงของการพัฒนาที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวเขาไปได้หลากหลายมิติ

 

บ้านักพนักงานเจ้าหน้าที่หลบไปอยู่บนดอย

                ภายในหน่วยจัดการต้นน้ำแม่เผอะ แม้มีพื้นที่เขาสูงชันและคับแคบแต่สามารถสร้างบ้านพักเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน อาคารการเรียนรู้ บ้านพักพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้แต่สนามหญ้าหน้าที่ทำการ เมื่อการเข้ามาของนักท่องเที่ยวล้นหลั่งก็ยังได้อาศัยเข้ามาพักพิงได้ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพราะว่าไม่ใช่อุทยานแห่งชาติ ไม่ใช่รีสอร์ทของเอกชน แต่ด้วยจิตวิญญาณของหัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำแม่เผอะจึงผ่อนปรนให้นักท่องเที่ยวที่ล้นหลั่งกันมานั้นได้พักพิง

 

บ้านพักเจ้าหน้าที่ทรงเอเฟรมน่ารัก

                ถ้าหน่วยงานนี้ไม่ผ่อนปรนชาวเขาก็ไม่สามารถเปิดใต้ร่มเรือนยอดต้นสนสามใบให้เป็นที่กางเต็นท์ได้ ขายอาหารก็ไม่ได้ พืชผักก็ต้องขายส่งพื้นล่าง กับการเดินทางเพื่อขนส่งแสนไกล ราคาก็อาจถูกกดขี่จนแทบไม่เหลือค่ารถกลับขึ้นดอย ระหว่างระเบียบของทางราชการตามกฎหมายกับการใช้หลักรัฐศาสตร์เข้ามาประสาน อันก่อให้เกิดผลดีแก่ประชาชน ผมเองเห็นว่าทำดีแล้วอยากให้ทำต่อไป อยากทราบรายละเอียดความรู้เพิ่มเติมสอบถามได้ที่ ตุณต้นโทร.098-7509498  ได้ครับ

สิงห์มอเตอร์ไซต์คันใหญ่ๆนิยมมาพักแรม

Tags : อุทยานแห่งชาติศรีน่าน

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view