http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,957,099
Page Views16,263,407
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

คอลัมน์ Market-Think โดย สรกล อดุลยานนท์

คอลัมน์ Market-Think โดย สรกล อดุลยานนท์

คอลัมน์ Market-Think โดย สรกล อดุลยานนท์

 

 

 

ถ้าข่าว "เซเว่นอีเลฟเว่น" และกลุ่มทรู ซื้อหุ้น LH BANK จากกลุ่มแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เป็นจริง

เราคงได้เห็น "เกมใหม่" ในแวดวงการเงิน

และเป็นการเคลื่อนตัวทางยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจยิ่ง

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา "ซีพี" มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจหลายครั้ง

ครั้งแรก คือ การเข้าซื้อหุ้นของ "ผิงอัน" 

บริษัทประกันรายใหญ่ของจีน

ว่ากันว่า เสน่ห์ของ "ผิงอัน" คือ เงินสดจากเบี้ยประกันที่นอนนิ่งอยู่ในบริษัท

ครั้งที่สอง คือ การซื้อ "แม็คโคร" ของ "เซเว่นอีเลฟเว่น" ทำให้ "ซีพี" กลายเป็นยักษ์ใหญ่ของวงการค้าส่งและค้าปลีก

และครั้งที่สาม คือ การดึง "ไชน่าโมบาย" ยักษ์ใหญ่ด้านโทรคมนาคมของจีน มาถือหุ้นใน "ทรู"

ครั้งนี้นอกจากทำให้ "ทรู" มีพันธมิตรเป็นยักษ์ใหญ่จากต่างชาติเหมือน 

"เอไอเอส" ที่มี" สิงคโปร์เทเลคอม" และ "ดีแทค" ที่เป็นของ "เทเลนอร์"

ไม่โดดเดี่ยวเหมือนในอดีตแล้ว

เกมไชน่าโมบายยังเป็นการปรับโครงสร้างทางการเงินของ "ทรู" ครั้งใหญ่อีกด้วย

เพราะลดหนี้ได้มโหฬาร

ดังนั้น หาก "ทรู" และ "เซเว่นอีเลฟเว่น" ซื้อ LH BANK จริง จะเป็นการเคลื่อนตัวทางยุทธศาสตร์ของ "ซีพี" ครั้งที่ 4 ในรอบ 2 ปี

และเป็นการเปิดเกมใหม่ของธุรกิจการเงินที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง

อย่าลืมว่าโลกแห่งการเงินก็เหมือนกับโลกธุรกิจทั่วไปที่เปลี่ยนไปแล้ว

ไม่จำเป็นที่ "คน" ต้องเคลื่อนตัวไปหา "สินค้า" แล้วจึงจะเกิดการซื้อขาย หรือ "ธุรกรรม" ขึ้น

ทุกอย่างผ่านระบบ "ออนไลน์" และ "โซเชียลมีเดีย" โดยที่ "คน" ไม่ต้องเจอกัน 

และไม่ต้องเคลื่อนตัวไปเจอ "สินค้า"

"ความสะดวก" กลายเป็น "จุดขาย" ใหม่

คิดเล่น ๆ ว่า ถ้า "ธนินท์ เจียรวนนท์" คิดในเกมเก่า คือ เปิดสาขาแบงก์แข่ง

กับแบงก์กรุงเทพ กสิกรไทย กรุงไทย 

ไทยพาณิชย์ ฯลฯ

LH BANK คงแพ้

แต่ "ธนินท์" คิดสร้าง "เกมใหม่" ทางการเงิน

เซเว่นอีเลฟเว่น มีสาขาอยู่ 8,000 สาขา เป็นทำเลที่ดีที่สุดสำหรับตู้เอทีเอ็ม

มี "เคาน์เตอร์เซอร์วิส" ที่สามารถรับจ่าย รับโอน รับจองตั๋ว ที่มีประสิทธิภาพยิ่ง

พลิกเกมทีเดียวก็มีสาขาใหม่เพิ่มขึ้น 8,000 สาขาทันที

ส่วนกลุ่มทรู มีกลุ่มลูกค้าทั้งโทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต ทรูวิชั่นส์ 

แค่เห็น "วัตถุดิบ" แบบนี้ "พ่อครัว" ทางการเงินก็น้ำลายไหลแล้วครับ

เพราะมีแบงก์ไหนที่ "สะดวก" ในการทำธุรกรรมการเงินได้สะดวกเท่านี้บ้าง

และถ้าข่าวว่า LH BANK จะกลายเป็นเจ้าของเคาน์เตอร์เซอร์วิสรายใหม่ แทน "เซเว่นอีเลฟเว่น" จริง ๆ

ยิ่งทำให้ LH BANK ออกอาวุธได้ถนัดมือมากขึ้น

นอกจากนั้น LH BANK ยังมีกระแสเงินสดจากเซเว่นอีเลฟเว่น และแม็คโคร จำนวนมหาศาล

เมื่อปีที่แล้ว รายได้ของ "เซเว่นอีเลฟเว่น" 284,760 ล้านบาท

แม็คโคร 129,780 ล้านบาท

รวมกันเป็นตัวเลขกลม ๆ ประมาณ 410,000 ล้านบาท

หรือเดือนละ 34,000 ล้านบาท

ถ้าได้เครดิตสินค้า 2 เดือน ก็แสดงว่ามีเงินนิ่ง ๆ อยู่ 68,000 ล้านบาท

LH BANK จึงเปรียบเสมือน "โรงงาน" ที่มี "เงินสด" เป็นวัตถุดิบ

จะใช้ "เงินต่อเงิน" อย่างไร

นี่ยังไม่รวมเงินสดจากกลุ่มทรูและกลุ่มซีพี

แค่จินตนาการเล่น ๆ ก็สนุกแล้วครับ

 


 

(ที่มา:ประชาชาติธุรกิจออนไลน์)

 

อุษา แสงจันทร์ เฮดจ์ฟันด์ (HF) คืออะไร? 
เฮดจ์ฟันด์ Hedge Fund (HF) คือ กองทุนประเภทหนึ่ง ที่มีจุดมุ่งหมายในการบริหารเพื่อให้ได้ผลตอบแทนหรือกำไรให้มากที่สุด โดยใช้เครื่องมือทางการเงินที่หลากหลายและซับซ้อน เช่น ตราสารอนุพันธ์ต่างๆ (ตัวอย่างเช่น Options Futures หรือ Forward) การทำ Short Sell การทำ Arbitrage หรือแม้แต่การกู้ยืมเงินมาเพื่อลงทุนเพื่อเพิ่มผลตอบแทน
เฮดจ์ฟันด์กับกองทุนรวม ทั่วไปมีความคล้ายคลึงกันในแง่ที่เป็นการรวบรวมเงินที่ได้จากผู้ลงทุนมาลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทน แต่ข้อแตกต่างที่สำคัญของเฮดจ์ฟันด์กับกองทุนรวมทั่วไป คือ จุดมุ่งหมายในการแสวงหาผลตอบแทน
ทั้งนี้กองทุนรวมทั่วไปมีเป้าหมายในการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าดัชนีเปรียบเทียบ (Benchmark) ตัวอย่างเช่น กองทุนรวมตราสารทุนในไทยมีเป้าหมายที่จะทำผลตอบแทนให้ดีกว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวคือ ถ้าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนเป็นบวก กองทุนที่มีการบริหารเงินลงทุนที่ดีและมีประสิทธิภาพย่อมต้องได้ผลตอบแทนที่เป็นบวกมากกว่า
ถ้าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนติดลบและกองทุนติดลบน้อยกว่าก็ถือว่ากองทุนสามารถบริหารจัดการเงินลงทุนได้ดีกว่า ในขณะที่กองทุนประเภทเฮดจ์ฟันด์ไม่สนใจ Benchmark แต่สนใจที่ตัวกำไร หรือผลตอบแทนที่เป็นบวกเท่านั้น (Positive Absolute Returns) ดังนั้นถ้ากองทุนให้ผลตอบแทนติดลบก็จะถือว่าบริหารกองทุนล้มเหลว
การลงทุนในเฮดจ์ฟันด์มีความเสี่ยงมากกว่าการลงทุนในกองทุนรวมทั่วไปที่เสนอขายต่อประชาชนรายย่อย เนื่องจาก ไม่ต้องดำรงสัดส่วนการลงทุนตามประกาศของหน่วยงานที่ควบคุม เช่น สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่มักคุ้มครองผู้ลงทุนรายย่อย โดยกำหนดให้มีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน และกำหนดประเภทหลักทรัพย์ที่จะลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ
ดังนั้น เฮดจ์ฟันด์ส่วนใหญ่จึงจำกัดผู้ลงทุนไว้ที่นักลงทุนสถาบัน (Institutional Investors) หรือนักลงทุนที่เป็นบุคคลฐานะดีและมีความเข้าใจในการลงทุนประเภทนี้อย่างเพียงพอ (Sophisticated and Wealthy Investors) และสามารถรับความเสี่ยงสูงได้ ส่วนใหญ่แล้วจำนวนผู้ลงทุนในกองทุนเฮดจ์ฟันด์หนึ่งๆ จะมีอยู่ไม่เกิน 100 รายเท่านั้น
เฮดจ์ฟันด์เริ่มมีการพัฒนาและมีบทบาทอย่างมากในตลาดการเงินการลงทุนของโลก ตั้งแต่ช่วงปีทศวรรษที่ 90 โดยจำนวนกองทุนเพิ่มขึ้นจาก 1,373 กองทุนในปี 1988 มาเป็น 7,000 กองทุน ในปลายปี 2001 มีจำนวนเงินภายใต้การบริหารเพิ่มจาก 42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐมาเป็น 600 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลจาก Van Hedge Fund Advisors International)

 

Tags : บ้านทุ่งแสนสุขตอน 30.

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view