http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,960,980
Page Views16,267,331
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

กาแฟชะมดแม่ฟ้าหลวง

กาแฟชะมดแม่ฟ้าหลวง

กาแฟชะมดแม่ฟ้าหลวง

โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ


จากนักวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า

         กลิ่นศักดิ์ ปิติวงษ์ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าดอยตุงมานานกว่า 16 ปี หน้าที่รับผิดชอบเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าชนิดไก่ฟ้า อันได้แก่ไก่ฟ้าจำนวน 48 ชนิด(species) 16 ตระกูล(family) อาทิเช่น ไก่ฟ้าพญาลอ ไก่ฟ้าหลังขาว ไก่ฟ้าหางลายขวาง นกยูง นกแว่นสีเทา ไก่ฟ้าหน้าเขียว ฯลฯ


อีเห็นที่เพาะเลี้ยงเรียกว่าลูกป้อน จะเชื่อง

        กลิ่นศักดิ์มิใช่เพียงเพาะเลี้ยงเป็นเฉพาะไก่ฟ้า หากแต่มีความสามารถในการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าชนิดอื่นๆด้วย และรู้ว่าสัตว์ชนิดใดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองและสัตว์ป่าชนิดใดอยู่นอกกฎหมายสัตว์ป่าคุ้มครอง เรียกว่าปลอดจากกฎหมาย เช่น


        อีเห็นข้างลาย (Paradoxurus hermaphroditus) และอีเห็นเครือ(Paguma larvata)  ซึ่งเป็นสัตว์ในตระกูลเดียวกับชะมดและอีเห็น VIVERRIDAE


        นอกจากนั้น กลิ่นศักดิ์รู้ว่าพฤติกรรมการกินอาหารของอีเห็นข้างลายและอีเห็นเครือ ว่าชอบกินผลไม้ กุ้ง ไส้เดือน แมลง ไข่ไก่ป่าและไข่นกและผลกาแฟ  พฤติกรรมการสืบพันธุ์    จึงใช้ความรู้ที่เป็นทุนทางปัญญานำมาทำการเพาะเลี้ยงอีเห็นข้างลายและอีเห็นเครือ

เพื่อนร่วมงานมีอาชีพปลูกกาแฟอาราบิก้า

          กลิ่นศักดิ์มีเพื่อนร่วมงานเป็นชาวอาข่า บ้านลิเซ และมูเซอแดง บ้านมูเซอลาบาตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ซึ่งปลูกกาแฟอาราบิก้าไว้ใต้ร่มไม้ป่าธรรมชาติและป่าปลูกของโครงการตามพระราชดำริดอยตุง  ครอบครัวละ 1,000-2,000 ต้น  ปกติเก็บผลกาแฟสดขายกิโลกรัมละ 19-21 บาท


         กลิ่นศักดิ์จึงเสนอให้เพื่อนร่วมงานเข้าร่วมโครงการพัฒนากาแฟชะมด


ไร่กาแฟอาราบิก้าในป่าธรรมชาติบ้านมูเซอลาบา

         แรกที่เดียวกลิ่นศักดิ์ลงทุนเพาะเลี้ยงอีเห็นข้างลายและอีเห็นเครือจำนวน 5 ตัว ลงทุนสร้างกรงเลี้ยง และสอนวิธีการเลี้ยงด้วยด้วยอาหารปกติอันได้แก่ผลไม้  ไข่ไก่ และเพิ่มผลกาแฟสุกสีแดงๆ กลิ่นศักดิ์เพาะเลี้ยงเพิ่มในปีต่อๆมา ใช้เวลา 3 ปี สามารถเพาะเลี้ยงอีเห็นได้ถึง 21 ตัว ส่งต่อให้เพื่อนร่วมงานในชุมชนซึ่งมีต้นกาแฟอยู่แล้ว สอนวิธีการให้อาหารและผลกาแฟ  สอนการเก็บขี้อีเห็น  การบ่มขี้อีเห็นที่เป็นเมล็ดกาแฟ ซึ่งแต่ละชุดใช้เวลานานถึง 6 เดือน


กรงอีเห็นบ้านสมชาย และต้นกาแฟอาราบิก้า

          กลิ่นศักดิ์และแชมป์(อัศวิน บุญรอด นักวิชาการสัตว์บาล) ติดตามผลการทดลองเลี้ยงจนถึงขั้นตอนการเก็บและบ่มขี้ชะมด สิ่งที่คำนึงถึงเป็นพิเศษคือ  เรื่องความสะอาดของขี้ชะมด ซึ่งกรงเลี้ยงได้ทำไว้ให้ชะมดขี้ลงถาด ไม่ตกถึงดินและไม่ปนเปื้อนจุลินทรีจากดิน  จากนั้นรับซื้อจากเพื่อนร่วมงานในราคาสูงกว่ากาแฟทั่วไปเท่าตัว


สมชาย อภิมงคลรัตน์

          หากอีเห็นป่วยหรือมีปัญหาก็จะเข้าไปเยียวยาให้ด้วย ด้วยวิธีการเหล่านี้ ทั้งกลิ่นศักดิ์และเพื่อนร่วมงานได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน 


อีเห็นข้างลาย

          ผมได้ไปเยี่ยมชมโครงการนี้ที่บ้านของนายสมชาย อภิมงคลรัตน์ บ้านเลขที่ 4 หมู่ที่ 8 บ้านมูเซอลาบา ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ตอนเย็นหลังเลิกงานประจำตามเวลาราชการ สมชายเข้าไปเก็บผลกาแฟสุกทุกวันเพื่อนำมาให้อีเห็นโครงการกินเพื่อเก็บขี้ในตอนเช้าของอีกวันหนึ่ง ข้อเท็จจริงหลังกินกาแฟตอน 18.00น. เวลา 3 ชั่วโมงอีเห็นก็จะถ่ายออกมาแล้ว เป็นกะลากาแฟที่ผ่านกระบวนการในลำไส้ของอีเห็นแล้ว     


ลักษณะการกินของอีเห็น

ต่อยอดต่ออนาคตของกันและกัน

             กลิ่นศักดิ์รับราชการมานาน ตั้งใจว่าวันหนึ่งจะลาออกเพื่อทำธุรกิจส่วนตัว โดยมีเพื่อนร่วมโครงการเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งผลิตกาแฟชะมดที่ป้อนความรู้และเทคโนโลยี่ให้จนเชี่ยวชาญ เพื่อนชาวอาข่าและมูเซอแดงเป็นฐานการผลิต กลิ่นศักดิ์นำผลผลิตเหล่านี้ไปเข้ากระบวนการ อบ คั่ว บรรจุหีบห่อ และทำการตลาด


กาแฟชะมดลงถาดไม่ลงดิน

            ความผูกพันของกลิ่นศักดิ์ แชมป์ และชาวอาข่า-มูเซอแดงในชุมชนมีมายาวนาน ประกันความไว้วางใจซึ่งกันและกันเป็นฐานการผลิตที่ซื่อตรงต่อกันฉันเพื่อนร่วมงาน  


การบ่มในห่อถุงตาข่ายนานนับ 6 เดือน

            “เรื่องการปลอมปนขี้ชะมดนั้น ผมตอบได้เลยว่าไม่เกิดขึ้น ความแตกต่างระหว่างขี้ชะมดที่เป็นเมล็ดกาแฟนั้นมีสีต่างกันอย่างเห็นได้ชัดจนและเราเชี่ยวชาญมากพอที่จะตรวจสอบได้ว่าเป็นเมล็ดกาแฟจากขี้ชะมดหรือจากเมล็ดกาแฟปกติ เพราะว่าสีของกะลากาแฟแตกต่างกันเด่นชัดมากครับ”


ไข่ไก่เบอร์6 ที่ให้อีเห็นกินทุกวัน

            “อนาคตอาจมีคู่แข่งหรือการแก่งแย่งกันซื้อ กลิ่นศักดิ์มั่นใจในความสัมพันธ์ที่ยาวนานและมันคือการต่อยอดอนาคตของกันและกัน เป็นความรู้สึกเดียวที่ยึดโยงถึงความผูกพัน แม้วันหน้าเมื่อผมลาออกแล้ว ผมอาจไม่ใช่หัวหน้าของพวกเขาอีกต่อไป แต่ก็มั่นใจครับ มันคือบทพิสูจน์ของคำว่า”เราร่วมใจกันทำได้”


ชนิดกาแฟชะมดที่ผลิตสำเร็จแล้ว

             วันนี้  กลิ่นศักดิ์และเพื่อนร่วมงานของเขาได้ผลิตกาแฟจากขี้ชะมดแล้ว กลิ่นศักดิ์นำไปพัฒนาตามรูปแบบที่เหมาะสมกับการตลาด ได้กาแฟทั้งชนิดเม็ดแต่คั่วสำเร็จบรรจุในถุงสุญญากาศ การนำไปทำให้พร้อมดื่มต้องใช้เครื่องบดกาแฟสดชนิดพิเศษแล้วกลั่นน้ำกาแฟสดให้กินได้ทันที หอมจนสะดุ้ง 


             ส่วนอีกชนิดหนึ่ง กลิ่นศักดิ์นำไปเข้าขบวนการคั่ว บด และแพคกิ้งในถุงสำเร็จ พร้อมชงดื่มเหมือนชาลิปตันหรือกาแฟชนิดอื่นๆ

 

ชุดกิ๊ฟเซทก็มีให้เลือกซื้อเป็นของฝากได้

ชนิดพร้อมชงและบดก่อนชง

             กลิ่นศักดิ์ ได้ชงให้ทดลองดื่มทั้งสองชนิด ด้วยกรรมวิธีการชงที่แตกต่าง เป็นความพยายามของข้าราชการที่วาดหวังอนาคตข้างหน้าหลังการลาออก เป็นเรื่องที่น่าชื่นชมเป็นความสามารถ ปฏิพาน ไหวพริบ และความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน เป็นความไม่ปรามาสในชีวิตของตนเองและครอบครัว

            “ทดลองชงแจกในงานอีเว้นต่างๆมาหลายแห่งครับ ได้รับความสนใจมาก หลายแห่งสั่งซื้อและจัดจำหน่ายไปกว้างไกลพอสมควร แต่ข้อเท็จจริงคือเราผลิตไม่ได้มากมายนัก เนื่องจากอีเห็นเหล่านี้ไม่ใช่เครื่องจักร มันมีชีวิตและมีขีดจำกัดในการกินเมล็ดกาแฟอยู่ด้วยครับ นอกจากนั้นหลังการเก็บชะมดแต่ละครั้งต้องใช้เวลาในการบ่มนานถึง 6 เดือน จึงจะสามารถนำไปเข้าขบวนการผลิตกาแฟได้”

            “ผมเคยเป็นผู้ช่วยหัวหน้าหน่วยปรับปรุงต้นน้ำห้วยสามสบ ยุคพี่ธงชัยเป็นหัวหน้า ซึ่งวันนี้เป็นโอกาสดีที่ได้ทราบว่า มีการประชุมสามัญประจำปีมูลนิธิสมเพิ่ม กิตตินันท์ เพื่อส่งเสริมทุนการศึกษาต่อเนื่องของเยาวชนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบปริญญาตรี (16มค59)”


            “ ผมจึงถือโอกาสกลับมาเยี่ยมพี่น้องบ้านกิตตินันท์  เพื่อนร่วมรุ่นป่าไม้แพร่ 27 หัวหน้าสมพล จินดาคำ หัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำห้วยสามสบคนปัจจุบันนี้  และขออนุญาตท่านประธานมูลนิธิฯท่านอุดม หิรัญพฤกษ์  ทดลองชงกาแฟชะมดที่ผมและแชมป์ร่วมกันผลิตกับพี่น้องเพื่อนร่วมงานที่เป็นชาวอาข่าและมูเซอแดง ให้ทดลองดื่มกันด้วยครับ”

 

           หลังการทดลองชงให้ดื่มสามารถจำหน่ายกาแฟชะมดชนิดพร้อมชงดื่มได้ถึง 16 กระป๋อง  สนใจชมรายละเอียดและติดต่อเพื่อนำกาแฟชะมดแม่ฟ้าหลวง พันธุ์แท้ของไทย ได้ที่ www.thailandmall.net โทร.081-7645127 กลิ่นศักดิ์ ปิติวงษ์


Tags : บ้านทุ่งแสนสุขตอน 33

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view