http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม14,005,712
Page Views16,314,677
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

เขาสอยดาว : เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าน่าเที่ยว โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

เขาสอยดาว : เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าน่าเที่ยว         โดยธงชัย เปาอินทร์  เรื่อง-ภาพ

                                   เขาสอยดาว:เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าน่าเที่ยว

                                                                               โดยธงชัย เปาอินทร์ -เรื่อง-ภาพ

 

                 ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ประเภทเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า "เขาสอยดาว" เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าผืนสำคัญของจังหวัดจันทบุรี  เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ป่ารอยต่อ 6 จังหวัดของภาคตะวันออก เป็นต้นกำเนิดป่าต้นน้ำลำธารที่สำคัญหลายสาย เป็นแหล่งพันธุกรรมพืช ป่าไม้ และ สัตว์ป่า ตลอดจนเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย นอกจากนี้ เขาสอยดาวยังมีทรัพยากรธรรมชาติประเภทที่ได้รับความนิยมในการท่องเที่ยวอีกมากมายหลายอย่าง มันน่าท่องเที่ยวจริงหรือ

          

                           ดอกต้นงิ้วป่าดอกแดงทางเข้า                                            ไม้ป่าผลัดใบยามแล้ง

                  เขาสอยดาวโด่งดังมากเมื่อคนเสื้อแดงบุกเข้าไปแฉพฤติกรรมของเหล่าอำมาตย์ ที่เหิมเกริมบุกรุกปล้นทรัพยากรธรรมชาติของแผ่นดิน พิฆาตตัดตอนไปกว่า 400 ไร่จากพื้นที่ของเขาสอยดาว (ป่าสงวนแห่งชาติอีกส่วนหนึ่ง)  แต่อย่างไรก็ดี ของหลวงย่อมตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ สักวันหนึ่งเมื่อฟ้าสีทองผ่องอำไพ พวกเราคงได้ผืนป่าส่วนที่ถูกคดโกงไปกลับคืนมา และเมื่อนั้น พวกเราก็จะต้องมาช่วยกันฟื้นฟูผืนป่าที่เสื่อมโทรมไปเพราะสนามกอล์ฟให้กลับฟื้นคืนเป็นป่าดงดิบดังที่เคยเป็นกันใหม่

                      

                                         ดอกต้นงิ้วป่าในหน้าแล้ง สะพรั่งไปทั้งถนนสายเขาสอยดาว-จันทบุรี

                  ราวๆเดือนธันวาคม พ.ศ.2514 มีรายงานการพบนกขมิ้น 2 ชนิด ซึ่งหายาก ได้แก่นกขมิ้นแดง(Oriolus traillii) และนกขมิ้นขาว(Orilous mellainus)  ต่อมามีการค้นพบ ไก่ฟ้าหลังขาวพันธุ์ย่อย ( Lophara  nycthemera lewisis ) ซึ่งเป็นสัตว์หายากและเป็นสัตว์เฉพาะถิ่นของป่าเขาสอยดาวเท่านั้น  ต่อมาได้มีการยกเลิกสัมปทานทำไม้ระยะยาวของบริษัทศรีราชาจำกัด แล้วประกาศให้พื้นที่ป่าอนุรักษ์ผืนนี้เป็น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว เมื่อปีพศ.2515 พื้นที่ 745 ตร.กม.(465,363 ไร่) มีป่าสองชนิดคือ ป่าดงดิบและป่าเต็งรัง พบว่ามียอดเขาสูงมากที่สุดชื่อเขาสอยดาวใต้ 1,675 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง   

 

                                  บ้านพักเจ้าหน้าที่                                                  ลานกางเต็นท์และเล่นแคมป์ไฟร์

                  นอกจากป่าเขาสอยดาวจะประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้ป่าหนาแน่น เช่น ไม้ตะเคียนทอง ไม้สมพง ไม้ยาง ไม้พระเจ้าห้าพระองค์ ฯลฯ ยังมีสัตว์ป่ามีมากมายหลายชนิด ซึ่งมีทั้งสัตว์ใหญ่อย่างช้าง เสือ กระทิง วัวแดง หมี และสัตว์เล็กๆจำพวก เก้ง กวาง แมวลายหิน ฯลฯ   ส่วนประเภทนก เช่นไก่ฟ้า ไก่ป่า นกสารพัดชนิดเช่น นกเขียวครามฯลฯ ยิ่งจำพวกแมลงต่างๆยิ่งมีความหลากหลาย     เนื่องจากเป็นป่าดงดิบจึงอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชจำพวก เร่ว กระวาน หน่อแดง ข่า  ขิง ฯลฯ มากมายหลายหลาก   

                        ต้นไม้ป่าดงดิบมักมีพูพอนเช่นต้นพระเจ้าห้าพระองค์ข้างๆเส้นทางเดินไปน้ำตก

                   มีทรัพยากรท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ น้ำตกเขาสอยดาว  ซึ่งเป็นน้ำตกที่มีถึง 16 ชั้น แต่ละชั้นมีความสวยงามและแตกต่างกันไปตามภูมิประเทศ บางชั้นลงเล่นน้ำได้สะดวกและปลอดภัย แต่บางชั้นไม่สมควรลงไปเล่นน้ำ ฤดูกาลที่น้ำตกเขาสอยดาวสวยงามมากคือฤดูฝน ซึ่งจะมีปริมาณน้ำมาก แต่ในช่วงฤดูฝนก็จะมี "ทาก" มากมายมารบกวนการเดินทางลงไปเล่นน้ำตก  ดังนั้นถ้าจะไปท่องเที่ยวน้ำตกเขาสอยดาวจึงควรจะไปในช่วงหลังฝนต้นหนาว จนถึงต้นฤดูร้อน   จะปลอดภัยไร้ทากมาเกาะกินเลือดจนแดงฉาน

            ขี้อีเห็นสัตว์ที่กระจายพันธุ์ไม้ให้กับต้นไม้ป่า                                 ร่องรอยผลไม้ป่าที่ถูกสัตว์แทะกิน

                 ลักษณะภูมิประเทศของผืนป่าเขาสอยดาวเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ภูเขาสูงชันเป็นส่วนใหญ่ การเดินทางท่องเที่ยวจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบต้องเป็นนักผจญภัยจริงๆ จึงจะชอบบุกป่าฝ่าดงหนามและความสูงชัน เช่นปีนขึ้นเขาสอยดาวใต้ที่สูงถึง 1,675 เมตรจากระดับน้ำทะเล หรือไปยัง "เขากูบ" ซึ่งไปได้ยากและมีพื้นที่บริเวณนั้นให้ตั้งเต็นท์นอนได้จำกัด ประกอบกับไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ การท่องเที่ยวลักษณะนี้ นิตยสารออนไลน์อย่างทองไทยแลนด์ ไม่นิยมแนะนำครับ

                               

                                                                        น้ำตกเขาสอยดาวชั้นที่ 5

                 ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว มีบ้านพักรับรองที่ดัดแปลงมาจากบ้านพักเจ้าหน้าที่พออาศัยพักค้างได้ แต่อย่าคาดหวังว่าจะให้เหมือนกับนอนรีสอร์ทหรือโรงแรม   ส่วนลานเล่นรอบกองไฟและลานกางเต็นท์มีอยู่ใกล้ๆบ้านพักรับรอง อยู่ในบริเวณที่เจ้าหน้าที่ให้ความระแวดระวังภัยอยู่ใกล้ๆ ฤดูที่นิยมไปกางเต็นท์นอนกันมากก็ช่วงปลายฝนไปจนสิ้นสุดช่วงฤดูหนาว  ส่วนฤดูร้อนก็มีเข้ามาใช้ประโยชน์บ้างตามสมควร 

                   ช่วงฤดูร้อนนี้แหละครับที่มีแมลงสวยงามมากมายหลายชนิดปรากฎตัวให้เห็นและได้ยินเสียงเพรียกไปทั้งราวไพร ไม่มีทากแต่ก็มี "เห็บ" ที่พึงระมัดระวังในการเดินป่าอยู่ด้วย  

                    

                                                                 ต้นไม้ใหญ่มักมีเจ้าป่าสิงสถิตย์

                 นอกจากนี้ยังมีน้ำตกกระทิง  น้ำตกทรายขาว (ยังไม่มีรูปมาอวดนะครับ) ที่ได้รับความนิยมไปท่องเที่ยวอยู่เหมือนกัน  แต่ว่าก็ว่าเถอะครับด้วยเพราะว่าเจตนารมณ์ของการประกาศพื้นที่ป่าอนุรักษ์ผืนนี้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จึงประสงค์ที่จะอนุรักษ์ป่าไว้ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด เพื่อให้เป็นแหล่งขยายเผ่าพันธุ์สัตว์ป่าต่างๆที่มีอยู่  อนุรักษ์เผ่าพันธุ์ดั้งเดิมของสัตว์ป่าในท้องถิ่นเพื่อให้คงเหลืออยู่ ไม่สูญพันธุ์  แต่ในขณะเดียวกันก็หวงห้ามมิให้มีสัตว์ป่าหรือสัตว์เลี้ยงต่างถิ่นกำเนิด(นอกประเทศไทย) เข้ามาปะปนจนเกิดการผสมพันธุ์กัน จนกลายพันธุ์ไปจากเดิมๆที่มีอยู่

                    

                                                        เพียงได้เดินเล่นใต้ต้นไม้ใหญ่ๆก็คุ้มแล้ว

                ในขณะเดียวกัน การนำพันธุ์พืชต่างถิ่น(Exotic species) เข้ามาปลูกตกแต่งในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือในอุทยานแห่งชาติ ก็ถือเป็นข้อห้ามในการปฏิบัติที่ร้ายแรงเอาการอยู่ หรืออย่างกรณีการใช้สีทาอาคารสิ่งก่อสร้าง ป้ายสื่อความหมาย และป้ายบ้านพักสำนักงานต่างๆ ก็ล้วนมีข้อจำกัดที่เป็นมาตรฐานสากลที่นักอนุรักษ์ตัวจริงทั่วโลกเขายึดถือกัน เช่นใช้สีน้ำตาลเข้มเป็นสีพื้น ตัวอักษรใช้สีเหลืองเข้มจัด หรือสีทอง หรือสีขาว เป็นต้น

                                                               หน้าฝนมีจั๊กจั่นชนิดหนึ่งให้เห็น

                 ส่วนกรณี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทั่วประเทศจะเข้าไปท่องเที่ยวได้หรือไม่นั้น กรมป่าไม้ได้เคยออกประกาศให้ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว และอีก 22 เขต สามารถเก็บค่าเข้าไปท่องเที่ยวในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าได้  พร้อมทั้งกำหนดราคาค่าที่พักกางเต็นท์หรือการใช้เจ้าหน้าที่เพื่อการเดินป่าหรือนำเที่ยว

 

                                        หัวหน้าเขตกับต้นโสกเขาไม้ป่าของเขาสอยดาว ที่จะปลูกให้มากขึ้น

                  รายละเอียดตามหนังสือกรมป่าไม้ที่กษ.0712.8/24466 ลงวันที่ 23 กันยายน 2545 เรื่อง การกำหนดอัตราค่าบริการ หรือค่าตอบแทนในการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ให้บริการ หรือให้ความสะดวกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า  ลงนามโดยนายปลอดประสพ สุรัสวดี  อธิบดีกรมป่าไม้  หรือเปิดจากการเขียนคำว่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า แล้วคลิ๊กไปที่กฎหมายต่างๆ ไล่หาว่าชื่อเรื่องดังกล่าวอยู่ตรงไหน ก็จะพบหนังสือฉบับดังกล่าวครับ

                                                                โสกเขาออกดอกสะพรั่งยามแล้ง

                  ส่วนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งไหนจะเปิดกว้างให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับผู้บริหารเขตนั้นๆ ที่จะพิจารณา  สรุปว่าขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ ความขยัน  ความขี้เกียจ  และความเป็นผู้มีหัวใจที่อยากจะให้บริการประชาชนหรือไม่ เผอิญเขตหรือหน่วยงานใดได้ผู้บริหารที่ไม่นิยมเปิดกว้างก็ ปิดกั้นกันไป แต่ถ้าไปพบผู้บริหารที่เปิดกว้าง ก็เป็นโชคดีของประชาชนคนไทยไป

                       นกเขียวคราม                                                       กว่างสามเขา

                   แต่อย่างไรก็ตาม กรมป่าไม้ได้สร้างความสับสนและปั่นป่วนไว้มาก ด้วยว่าไปประกาศพื้นที่ที่มีทรัพยากรท่องเที่ยวมากมาย และเหมาะสมอย่างยิ่งยวดที่จะเปิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว แต่กลับไปประกาศเป็นพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทำให้เกิดข้อจำกัดจากวัตถุประสงค์ เช่นน้ำตกทีลอซู ที่อุ้มผาง จ.ตาก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จ.เลย  เขจรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนงาช้าง หาดใหญ่ จ.สงขลา และเขตรักษาพันธุ์สัตวืป่าเขาสอยดาว จ.จันทบุรี       

                               กระโถนนางสีดา                                                                   ตั๊กแตนใบไม้

                 วันที่ 15 กันยายน 2553 นายอำนาจ ม่วงปราง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว  เล่าให้ฟังว่า  พบนกเขียวครามสวยมาก  นกอื่นๆอีกหลายชนิด  ผีเสื้อก็มีมากมายหลายชนิด บนเขาสูงของป่าดงดิบพบ กระโถนนางสีดาขนาดเล็กเส้นผ่าศูนยืกลางราวๆ 10 ซม. ซึ่งผิดกับที่เขาสก กระโถนฤษีที่มีขนาดใหญ่กว่า 100 ซม.  ตั๊กแตนใบไม้แปลกๆหลายชนิด  กว่าง 3 เขาก็พบที่นี่  ถ้ามาช่วงร้อนจะพบว่า มีดอกไม้ป่าสีแดงไปทั่ว มีชื่อว่าต้น โสกเขา (Soprosma  declinata (Jack.) Miq.)  อยู่ในวงศ์ RUBIACEAE กะว่าจะขยายพันธุ์เพื่อปลูกให้เป็นดงสีแดงไปเลย

                   

                                                                 มุมหนึ่งริมห้วยเขาสอยดาว

              การที่นายอำนาจ ม่วงปราง คิดขยายพันธุ์โสกเขาซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ป่าเขาสอยดาวแท้ เป็นพันธุ์ไม้ในถิ่นกำเนิด มีขึ้นอยู่ทั่วไป และให้ดอกสวยงามในช่วงต้นฤดูร้อน   ถือว่าเป็นการหยิบจับทรัพยากรพันธุ์ไม้ที่มีอยู่แล้วมาปลูกประดับ ให้กลายเป็นดงดอกโสกเขาสีแดงไปทั่วบริเวณพื้นที่เขตบริการเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ อันเป็นการเพิ่มสีสันให้กับป่าอนุรักษ์ได้อย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย นำเอากุหลาบแดงมาปลูกอวดสีสันไว้ใกล้ๆสำนักงาน เหมือนมีของสวยงามมาอวด กระทำเช่นนีได้ถือว่า ดี ดี ดี เฮ!

 

 

 

                  

 

                  

 

Tags : เขาสอยดาว ท่องเที่ยวทั่วถิ่นไทย Travel Inbound จันทบุรี

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view