http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,957,116
Page Views16,263,424
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

การคาดการณ์ออกซิเจนละลายในแม่น้ำเจ้าพระยา โดย Dr.Nuanchan Singkran, Ph.D.

การคาดการณ์ออกซิเจนละลายในแม่น้ำเจ้าพระยา โดย Dr.Nuanchan Singkran, Ph.D.

     การคาดการณ์ออกซิเจนละลายในแม่น้ำเจ้าพระยา (ใต้เขื่อนเจ้าพระยา-ปากแม่น้ำ)

สืบเนื่องจากอุบัติเหตุเรือรับจ้างบรรทุกน้ำตาลอับปางในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง

(วันที่ 4 – 7 มิถุนายน 2554 เวลา 9.00  12.00  15.00 และ 17.00 น.)

 

1. เรื่องเดิม

จากเหตุการณ์เรือรับจ้างหนึ่งในสามลำที่บรรทุกน้ำตาลทรายแดงให้กับบริษัท JNP ไทยแลนด์ เกิดอุบัติเหตุชนกับตอม่อสะพาน จนเกิดรูรั่วบริเวณหัวเรือ เสียการควบคุมตัว และลอยตามกระแสน้ำมาหยุดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณบ้านเลขที่ 3/3 หมู่ที่ 2 ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ห่างจากจุดเกิดอุบัติเหตุ ประมาณ 1.5 กิโลเมตร, กม.) เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2554 เวลาประมาณ 17:00 น (รูปที่ 1) โดยท้ายเรือเกยดินริมตลิ่ง และส่วนหัวเรือจมน้ำ ส่งผลให้น้ำตาลทรายที่บรรทุกมาส่วนหนึ่งจากจำนวน ทั้งหมด 2,400 ตันกิโลกรัม (กก.) จมและละลายน้ำในบริเวณดังกล่าว และน้ำตาลส่วนที่เหลือทั้งหมดเปียกน้ำ เนื่องจากไม่สามารถดำเนินการขนย้ายออกจากเรือได้ทันการ

 

 

 

รูปที่ 1        บริเวณเกิดอุบัติเหตุเรือรับจ้างบรรทุกน้ำตาลทรายล่ม ในพื้นที่ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2554 เวลา 17.00 น

2. การคาดการณ์ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำเจ้าพระยา 

ศูนย์แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และนิเวศวิทยาด้านน้ำ ส่วนแหล่งน้ำทะเล สำนักจัดการ ได้สร้างแบบจำลองคาดการณ์ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ กม. ที่ 0 จากปากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึง กม. ที่ 275 ใต้เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท (ตารางที่ 1) ด้วยโปรแกรม MIKE 11 เพื่อใช้ผลการศึกษาประกอบการวางแผนจัดการแก้ไขคุณภาพน้ำในบริเวณดังกล่าว และใกล้เคียง ในช่วงวันที่ 31 พฤษภาคม – 9 มิถุนายน กรณีน้ำตาลจำนวน 1,800 ตัน กก. (75% ของปริมาณทั้งหมด) หกละลายในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณดังกล่าว ที่มีอัตราการไหลของน้ำ 1,081.0  ลบ.ม./วินาที ทำให้เกิดปริมาณ(บีโอดี) 3,211.6 ตัน กก./ลบ.ม. ของน้ำ

ตารางที่ 1          ระยะทางจากปากแม่น้ำเจ้าพระยา (กิโลเมตร, กม, ที่ 0) จนถึงบริเวณใต้เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท (กม. ที่ 275) ณ ตำแหน่งที่ตั้งสถานีตรวจวัดตัวแปรคุณภาพน้ำของกรมควบคุมมลพิษ 

3. ผลการคาดการณ์ด้วยแบบจำลอง

จากผลการคาดการณ์ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดสายในช่วงวันที่ 4 – 7 มิถุนายน 2554 สรุปได้ ดังนี้

  • · วันที่ 4 มิถุนายน

-เวลา 9.00 น.

ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำเจ้าพระยา มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 1 แต่น้อยกว่า 2 มิลลิกรัม/ลิตร (มก./ล.) ที่ กม. 5-37 และ 88-92 และมีค่า 0-1 มก./ล. ที่ กม. 93-154 (รูปที่ 2)

-เวลา 13.00 น.

ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำเจ้าพระยา มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 1 แต่น้อยกว่า 2 มก./ล. ที่ กม. 6-29 และ 83-84 และมีค่า 0-1 มก./ล.ตั้งแต่ กม. 85-154 (รูปที่ 2)

-เวลา 17.00 น.

ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำเจ้าพระยา มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 1 แต่น้อยกว่า 2 มก./ล. ที่ กม. 9-21 และ 76-78 และมีค่า 0-1 มก./ล.ตั้งแต่ กม. 79-154 (รูปที่ 2)

-เวลา 21.00 น.

ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำเจ้าพระยา มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 1 แต่น้อยกว่า 2 มก./ล. ที่ กม. 14-30 และ 73-74 และมีค่า 0-1 มก./ล.ตั้งแต่ กม. 75-154 (รูปที่ 2)

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 2      ผลการคาดการณ์ความเข้มข้นของออกซิเจนละลาย (มิลลิกรัม/ลิตร, มก./ล.) ในแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ กิโลเมตร (กม. ) ที่ 0 (ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึง กม. ที่ 275 (ใต้เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท) กรณีเกิดน้ำตาล 1,800 ตันกิโลกรัมหกและละลายในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 4 มิถุนายน 2554 ณ เวลา 9.00 13.00 17.00 และ 21.00 น. 

  • · วันที่ 5 มิถุนายน

-เวลา 9.00 น.

ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำเจ้าพระยา มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 1 แต่น้อยกว่า 2 มิลลิกรัม/ลิตร (มก./ล.) ที่ กม. 0-38 และ 66-68 และมีค่า 0-1 มก./ล. ที่ กม. 69-154 (รูปที่ 3)

-เวลา 13.00 น.

ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำเจ้าพระยา มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 1 แต่น้อยกว่า 2 มก./ล. ที่ กม. 5-31 และ 59-64 และมีค่า 0-1 มก./ล.ตั้งแต่ กม. 65-154 (รูปที่ 3)

-เวลา 17.00 น.

ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำเจ้าพระยา มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 1 แต่น้อยกว่า 2 มก./ล. ที่ กม. 7-22 และ 50-54 และมีค่า 0-1 มก./ล.ตั้งแต่ กม. 55-154 (รูปที่ 3)

-เวลา 21.00 น.

ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำเจ้าพระยา มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 1 แต่น้อยกว่า 2 มก./ล. ที่ กม. 11-29 และ 44-50 และมีค่า 0-1 มก./ล.ตั้งแต่ กม. 51-154 (รูปที่ 3) 

 


รูปที่ 3      ผลการคาดการณ์ความเข้มข้นของออกซิเจนละลาย (มิลลิกรัม/ลิตร, มก./ล.) ในแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ กิโลเมตร (กม. ) ที่ 0 (ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึง กม. ที่ 275 (ใต้เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท) กรณีเกิดน้ำตาล 1,800 ตันกิโลกรัมหกและละลายในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 5 มิถุนายน 2554 ณ เวลา 9.00 13.00 17.00 และ 21.00 น. 

  • · วันที่ 6 มิถุนายน

-เวลา 9.00 น.

ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำเจ้าพระยา มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 1 แต่น้อยกว่า 2 มิลลิกรัม/ลิตร (มก./ล.) ที่ กม. 0-42 และมีค่า 0-1 มก./ล. ที่ กม. 43-154 (รูปที่ 4)

-เวลา 13.00 น.

ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำเจ้าพระยา มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 1 แต่น้อยกว่า 2 มก./ล. ที่ กม. 4-35 และมีค่า 0-1 มก./ล.ตั้งแต่ กม. 36-154 (รูปที่ 4)

-เวลา 17.00 น.

ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำเจ้าพระยา มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 1 แต่น้อยกว่า 2 มก./ล. ที่ กม. 6-27 และมีค่า 0-1 มก./ล.ตั้งแต่ กม. 28-154 (รูปที่ 4) 

-เวลา 21.00 น.

ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำเจ้าพระยา มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 1 แต่น้อยกว่า 2 มก./ล. ที่ กม. 8-24 และมีค่า 0-1 มก./ล.ตั้งแต่ กม. 25-154 (รูปที่ 4)

  

รูปที่ 4      ผลการคาดการณ์ความเข้มข้นของออกซิเจนละลาย (มิลลิกรัม/ลิตร, มก./ล.) ในแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ กิโลเมตร (กม. ) ที่ 0 (ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึง กม. ที่ 275 (ใต้เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท) กรณีเกิดน้ำตาล 1,800 ตันกิโลกรัมหกและละลายในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 6 มิถุนายน 2554 ณ เวลา 9.00 13.00 17.00 และ 21.00 น.

 

  • · วันที่ 7 มิถุนายน

-เวลา 9.00 น.

ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำเจ้าพระยา มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 1 แต่น้อยกว่า 2 มิลลิกรัม/ลิตร (มก./ล.) ที่ กม. 0-15 และมีค่า 0-1 มก./ล. ที่ กม. 16-154 (รูปที่ 5)

-เวลา 13.00 น.

ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำเจ้าพระยา มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 1 แต่น้อยกว่า 2 มก./ล. ที่ กม. 0-10 และมีค่า 0-1 มก./ล.ตั้งแต่ กม. 11-154 (รูปที่ 5)

-เวลา 17.00 น.

ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำเจ้าพระยา มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 1 แต่น้อยกว่า 2 มก./ล. ที่ กม. 0-6 และมีค่า 0-1 มก./ล.ตั้งแต่ กม. 7-154 (รูปที่ 5)

-เวลา 21.00 น.

ปริมาณออกซิเจนละลายในแม่น้ำเจ้าพระยา มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 1 แต่น้อยกว่า 2 มก./ล. ที่ กม. 0-6 และมีค่า 0-1 มก./ล.ตั้งแต่ กม. 7-154 (รูปที่ 5) 

 

 รูปที่ 5      ผลการคาดการณ์ความเข้มข้นของออกซิเจนละลาย (มิลลิกรัม/ลิตร, มก./ล.) ในแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ กิโลเมตร (กม. ) ที่ 0 (ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ถึง กม. ที่ 275 (ใต้เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท) กรณีเกิดน้ำตาล 1,800 ตันกิโลกรัมหกและละลายในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 7 มิถุนายน 2554 ณ เวลา 9.00 13.00 17.00 และ 21.00 น.

ผู้รายงานผลการศึกษาและวิจัย

Nuanchan Singkran, Ph.D.
Aquatic Ecology and Mathematical Modeling Center
Marine Water Division, Water Quality Management Bureau
Pollution Control Department
92 Phaholyothin 7, Phayathai
Bangkok 10400 Thailand
Phone: 66+ (0)2 298 2795

           66+ (0)86 018 9006
Fax:    66+ (0)2 298 2585

http://wqm.pcd.go.th/aemmc/

 

 

 

Tags : กรความคิด

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view