http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,996,549
Page Views16,304,963
« April 2024»
SMTWTFS
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930    
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ไม้ไผ่ หญ้ามหัศจรรย์ โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

ไม้ไผ่ หญ้ามหัศจรรย์          โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

     ไม้ไผ่ หญ้ามหัศจรรย์         

 โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

             ในทางพฤกษศาสตร์จัดให้"ไผ่ "อยู่ในวงศ์หญ้า (POACEAE)เรียกกันทั่วไปว่า Bamboo  ซึ่งน้อยคนนักที่จะรู้ ซึ่งตามกฎหมายป่าไม้ พ.ศ.2484 กำหนดให้ไม้ไผ่เป็น"ไม้" เป็น "ของป่าหวงห้าม" ในทางวิชาการป่าไม้ สาขาวนผลิตภัณฑ์ ไม้ไผ่เป็น "เยื่อกระดาษ" เป็น "ไม้ไผ่อัด" สาขาการอนุรักษ์ต้นน้ำ ไม้ไผ่เป็นป่าชนิดหนึ่งที่ปกป้องดินมิให้เกิดการกัดชะพังทะลายอันเนื่องมาจากฝนตก และมีระบบรากที่ยึดเกาะดินไว้ เป็นป่าป้องกันและปกป้องสิ่งแวดล้อมเสมือนหนึ่งเป็นป่าไม้ยืนต้น 

             

ไผ่รวกที่ม.เกษตร กำแพงแสน    

             ด้านสาขาการอนุรักษ์สัตว์ป่า ไม้ไผ่เป็นที่อยู่อาศัย สืบพันธุ์ หลบภัยและเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ป่าที่สำคัญ  โดยเพาะในสาขาการจัดการป่าไม้ ไม้ไผ่เป็นองค์ประกอบหนึ่งในป่าหลายชนิดเช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดงดิบแล้ง และป่าดงดิบชื้น ส่วนป่าสนเขาและป่าอัลไพน์ไม่เคยขึ้นไปถึง ผมก็เลยไม่รู้ แต่น่าจะไม่พบ 

 

             ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านชาวเขาชาวป่าชาวดอย มองว่า ไผ่เป็นไม้มหัศจรรย์ที่ใช้ประโยชน์ได้มากมายหลายอย่าง เช่นใช้สร้างบ้าน โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ เถียงนาพักร้อนกลางทุ่ง เป็นรั้วบ้าน เป็นไม้บังลมพายุ เป็นไม้ให้ร่มเงา เป็นแหล่งอาหารเช่นจาก หน่อไม้ และเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีจากหนอนไม้ไผ่(รถด่วน)ที่อยู่ในลำไผ่ เป็นสินค้าเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ขายได้ทั้งหนอน หน่อ และลำไม้ไผ่ เป็นผลิตภัณฑ์เช่นเครื่องเรือน  เครื่องมือการเกษตร เครื่องมือการประมงเช่นลอบกุ้ง ลอบปลา แร้ว  เครื่องสีข้าวสมัยโบราณ เป็นเครื่องดนตรีเช่นระนาด ขลุ่ยและของเล่นฯลฯ

             สำหรับผมเรียวไม้ไผ่ข้างโรงเรียน เป็นเครื่องดัดนิสัยผมจากจอมวายร้ายกลายเป็นเด็กดี แต่เจ็บจริงๆให้ดิ้นตาย 

             ในประเทศไทยพบไผ่ 30 ชนิด ทั่วโลกพบมีกว่า 1,000 ชนิด 90 สกุล ไม้ไผ่แต่ละภูมิภาค แต่ละภูมิอากาศ และแต่ละระดับความสูงต่ำของพื้นที่ มีลักษณะแตกต่างกันไปเช่นไผ่ญี่ปุ่นแต่ละลำแยกอิสระเหมือนว่าห่างๆกัน ไผ่ประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นกอรวมกัน มีขนาดเล็กๆตั้งแต่ไผ่เพ็กในป่าเต็งรังซึ่งญี่ปุ่นซื้อไปทำแผงตากสาหร่าย หรือลำใหญ่อย่างไผ่หกที่แต่ละปล้องยาวถึง 8-90 ซม. ลำโตขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20-25 ซม. 

             ธัญพิสิษฐ์ พวงจิก ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต E-mail:thanpisitp@hotmail.com ไผ่พืชมหัศจรรย์: ถึงเวลาที่ต้องปลูกอย่างจริงจังหรือยัง? วารสารการจัดการป่าไม้ ปีที่ 2 ฉบับที่ 4  ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไม้ไผ่เป็นวัตถุดิบมีดังนี้คือ  เป็นอาหารสำเร็จรูป เช่นหน่อไม้ปี/กระป๋อง หน่อไม้แห้ง เยื่อไผ่  ฯลฯ เป็นภาชนะหรือของที่ระลึก  เช่นตะเกียบ กรงนก เครื่องประดับ ฯลฯ เป็นไม้ค้ำยัน/เฟอร์นิเจอร์ แผ่นไม้ไผ่อัด ปาเก้ไม้ไผ่ ฯลฯ เป็นถ่านไม้ ส่งออก หรือผงถ่านไม้ไผ่ในแวดวงอุตาสาหกรรมเครื่องสำอางค์ ฯลฯ และเป็นเยื่อกระดาษ

             นอกจากนี้ยังแนะนำให้เลือกปลูกไม้ไผ่หลายชนิดหลายวัตถุประสงค์ เช่น กลุ่มไม้ไผ่ที่ให้ผลผลิตเป็นอาหาร ประเภทกินหน่อ เช่นไผ่ตง ไผ่รวก ไผ่บงใหญ่ ไผ่หวาน ไผ่หม๋าจู๋ ไผ่เลี้ยงหวาน ไผ่ซางนวล ไผ่เม้งซุ้น ไผ่ดงลืมแล้ง ฯลฯ  กลุ่มที่ผลิตลำขาย เช่นไผ่เลี้ยง ไผ่สีสึก ไผ่บงใหญ่ ฯลฯ กลุ่มที่ผลิตลำสำหรับทำเครื่องจักรสาน เช่น ไผ่รวก ไผ่ซาง ไผ่สีสุกฯลฯ กลุ่มที่ใช้ลำเป็นภาชนะ เช่นไผ่ข้าวหลาม ไผ่ป่า ไผ่สีสุก และไผ่ตง  กลุ่มที่ผลิตลำเพื่ออุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ เช่น ไผ่ไผ่สีสุก ไผ่ซางนวล ไผ่ซาง ไผ่บงใหญ่ ฯลฯ กลุ่มที่ปลูกเป็นไม้ประดับเช่น ไผ่ทอง ไผ่น้ำเต้า ไผ่เหลือง ฯลฯ และกลุ่มที่ปลูกเป็นรั้ว เช่น ไผ่เลี้ยง ไผ่รวก เป็นต้น 

             ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน มีสวนไผ่หลากหลายชนิดให้ศึกษา บางกลุ่มลำเล็กๆแต่มีสีดำ น่าจะใช้เป็นไม้ประดับ หรือผลิตเป็นเครื่องเรือนก็น่าจะงดงามไม่น้อย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบและฝีมือในการประดิษฐ์ด้วย ส่วนไผ่ป่านั้นทุกวันนี้แทบจะมองหาไม่เห็น ที่นี่ก็ปลูกเอาไว้ด้วย ซึ่งประโยชน์ที่เห็นมาตั้งแต่เด็กคือนำไปทำพะองปีนต้นตาลหรือต้นมะพร้าว เป็นไม้โครงสร้างที่แข็งแรงมาก เนื้อตันจนเกือบไม่มีรู ในอนาคตจะมีไผ่อีกหลายชนิดอาจสูญพันธุ์              

 

    

 

Tags : คืนป่าสู่แผ่นดิน Reforestation

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view