http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 13/03/2024
สถิติผู้เข้าชม13,956,560
Page Views16,262,852
« March 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31      
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse effect) มีทั้งคุณและโทษ โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse effect) มีทั้งคุณและโทษ โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse effect) มีทั้งคุณและโทษ

โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ

                  ได้ยิน ได้ฟังและได้อ่านล้วนกล่าวโทษว่า ก๊าซเรือนกระจกเป็นผู้ร้ายที่ต้องทำลายลงให้ราบคาบ เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้โลกร้อน แต่ลืมคิดกันว่าโดยเนื้อแท้แล้ว ก๊าซเรือนกระจกเป็นองค์ประกอบหนึ่งของโลกที่จำเป็นต้องมีเพื่อช่วยดูดซับความร้อนจากแสงอาทิตย์ไว้ให้บรรเทาความหนาวเย็นยามค่ำคืน(เมื่อปราศจากแสงอาทิตย์) ให้อบอุ่นขึ้น 

                  เพื่อความเป็นธรรมแก่ไอ้ตัวร้ายก๊าซเรือนกระจก ผมจึงต้องเล่าให้ฟังว่า เจ้าก๊าซเรือนกระจกซึ่งมีก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์(CO2) เป็นส่วนประกอบสำคัญ มีหน้าที่ดูดซับความร้อนจากดวงอาทิตย์ในตอนกลางวัน เพื่อให้อุณหภูมิของพื้นผิวโลกเมื่อยามกลางคืนซึ่งปราศจากแสงอาทิตย์แล้ว ได้มีอากาศอบอุ่นขึ้น มิเช่นนั้นก็จะมีอากาศหนาวเย็นสุดๆ

                 เห็นไหม มันมีประโยชน์ แต่ด้วยสมดุลย์สูญสลายไปกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกประเภทใดประเภทหนึ่งมากไปหรือน้อยไป ทำให้เกิดความไม่สมดุลย์ ถ้ามีก๊าซเรือนกระจกมากไป บรรยากาศของโลกยามราตรีก็ร้อนขึ้น ยิ่งเป็นตอนกลางวันยิ่งร้อนใหญ่ ไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติสูญเสียไปหรือมนุษย์ทำขึ้น สมดุลย์จึงมีความสำคัญยิ่ง

                จากผลการวิจัย ป่าดิบแล้ง ซึ่งมีไม้ตะเคียนหินเป็นไม้หลัก มีความหลากหลายทางชนิดพันธุ์สูง มีความหนาแน่น 188.32 ต้น/ไร่ ปริมาณคาร์บอนสะสม 282.8 กก./ไร่/ปี(ผลการวิจัยป่าสะแกราช จ.นครราชสีมา)  

                ในขณะที่ป่าเบญจพรรณ มีไม้ประดู่  ไม้แดง และไม้ตะคร้อ เป็นพรรณไม้หลัก มีความหนาแน่น 33.76ต้น/ไร่ ปริมาณคาร์บอนสะสม 70.4 กก./ไร่/ปี (ป่าเบญจพรรณ ลุ่มน้ำแม่กลอง จ.กาญจนบุรี) 

                สะท้อนให้เห็นว่าถ้ามีป่าดงดิบแล้งมากเท่าไร ก็ยิ่งช่วยสะสมคาร์บอนได้มากกว่า การสะสมคาร์บอนของป่าเบญจพรรณ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศของแต่ละป่าว่าอยู่ในสภาพป่าชนิดใด เช่นป่าดงดิบชื้น ป่างดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ หรือป่าเต็งรัง ความหนาแน่นของชนิดพันธุ์ไม้และศักยภาพการสะสมคาร์บอนย่อมแตกต่างกันไปตามชนิดของผืนป่า

               ปัจจุบันนี้สภาพพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยเหลืออยู่เพียง 24% หากวิเคราะห์ทั้งประเทศ จะพบว่ามีป่าแต่ละชนิดเท่าใด ศักยภาพการสะสมคาร์บอนเท่าไร และจุดที่ป่าเหลืออยู่นั้นอยู่ในที่ใด หรือว่าอยู่บนขุนต้นน้ำ หรืออยู่ใต้ลุ่มน้ำ(ใกล้ปากลุ่มน้ำ) อันจะส่งผลกระทบมิใช่เพียงปฏิกริยาเรือนกระจก หากแต่จะกระทบถึงตะกอนและสารปนเปื้อนสะสมถูกผลักดันลงสู่พื้นที่ใต้ลุ่มน้ำ 

    

              วันนี้ พื้นที่ป่าโซนAและโซน E จำนวน 12 ล้านไร่ได้ส่งมอบให้กับสปก. เพื่อออกเอกสารสิทธิ สปก.4-01 ให้กับเกษตรกร เพื่อทำการเกษตรกรรม พร้อมเงื่อนไขที่ต้องปลูกไม้ยืนต้นจำนวน 20 % ของพื้นที่ ปรากฎว่า ที่ดินสปก.4-01 ได้ถูกพัฒนาไปเป็นรีสอร์ต และแม้ปลูกต้นไม้ประดับก็จะได้จำนวน 20% ของเงื่อนไขหรือไม่ 

                        

               ส่วนพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติโซนเอและโซนอีที่ส่งมอบให้นั้น บางแห่งแทรกด้วยป่าโซนC (ป่าอนุรักษ์) เพื่อการอนุรักษ์ไว้ แต่ สปก.กลับถือว่าเมื่อส่งมอบให้แล้วก็ให้เลย จึงทุจริตนำที่ดินเหล่านั้นไปออกเอกสาร สปก.4-01 ให้กับนายทุนหรืออำมาตย์ แม้แต่บนยอดเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,000 เมตร ไม่เชื่อไปดูแถววังน้ำเขียวได้จ้า ทั้งๆที่ ที่ดินที่อยู่ในโซนc เหล่านั้น หรือป่าที่ยังสมบูรณ์อยู่ ตามเงื่อนไขระหว่างกรมป่าไม้กับสปก.ๆต้องส่งมอบคืนให้กับกรมป่าไม้เพื่ออนุรักษ์ไว้ต่อไป หรือไม่คืนก็ต้องปล่อยไว้ให้เป็นป่า

                แต่มีการบุกรุกเพิ่มแล้วขอออกเอกสาร สปก.4-01 นี่ซิเจ็บปวด ให้ได้ไงกัน  

                แม้แต่พื้นที่ป่าอนุรักษ์ในเขตอุทยานแห่งชาติ ก็ยังเต็มไปด้วยชุมชน ซึ่งมีทั้งคนที่อยู่มาก่อนการประกาศอุทยาน และหลังจากการประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ ปัญหาได้สะสมมาเหมือนดินพอกหางหมู ตุ้มมันใหญ่เสียจนแกะออกได้ยากยิ่งนัก ทั้งนี้ ทั้งนั้น ก็ด้วยว่า อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้และกรมอุทยานฯ มีจำกัด 

                เรียนจบปริญญาตรีวนศาสตร์กันมากมายหลายสิบรุ่น นับสอง-สามพันคน แต่ไม่มีตำแหน่งบรรจุ ไม่มีการเปิดสอบคัดเลือก เมื่อเป็นได้เพียงลูกจ้างชั่วคราวของกรมป่าไม้หรือกรมอุทยานฯ ก็ไม่มีอำนาจดำเนินการจับกุมเต็มกำลัง และเป็นความสูญเสียกำลังปกป้องรักษาป่าอนุรักษ์ไปอย่างน่าเสียดาย

               หยุดคอร์รัปชั่นสัก 1ปี ก็มีเงินเหลือให้ไปกำหนดตำแหน่งได้เหลือเฟือ              

               การเกาไม่ถูกที่คัน การปล่อยปมปัญหาจนเป็นตุ้มหางหมู ยากที่จะแกะ แต่ถ้าแกะได้ก็ระวังจะเป็นอย่าง เกาะเสม็ด บ้านเพ จ.ระยอง ยกอุทยานแห่งชาติ หรือ สปก.4-01.ให้เช่ากันได้ เละตุ้มเป๊ะอย่างน่าละอายต่อหลักวิชาการจัดการอุทยานแห่งชาติ จนไม่น่าให้อภัย

              การบังคับใช้กฎหมายไม่ทั่วถึง หรือบางทีการบังคับใช้กฎหมายทับซ้อนกับผลประโยชน์ ไม่มีความเป็นกลาง และเป็นธรรม เลือกปฏิบัติ และร่วมกันละเลยต่อกฎหมายอาญามาตรา 157 โดยถ้วนหน้า

               ชะตากรรมของรีสอร์ทที่วังน้ำเขียวกับอุทยานแห่งชาติทับลาน จะเป็นอย่างไร โปรดติดตาม 

                ขอให้กำลังใจทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ตั้งใจปฏิบัติและเจ้าของรีสอร์ทที่ต้องรับชะตากรรมอันเนื่องมาจากการละเลย จนกลายเป็นดินพอกหางหมู 

                นี่แหละบทพิสูจน์ ต่างคนต่างทำแท้ๆ 

                

 

                

Tags : ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse effect) มีทั้งคุณและโทษ

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view