http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 25/01/2025
สถิติผู้เข้าชม14,649,671
Page Views17,007,192
« April 2025»
SMTWTFS
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930   
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

อัตราการเจริญเติบโตของสวนป่าเอกชน


Dely152.doc/13มิย41/บ่าย                อัตราการเจริญเติบโตของสวนป่าเอกชน


               ไม่ว่าป่าเศรษฐกิจจะถูกข่าวสารในเชิงลบทำลายจนป่นปี้อย่างไร เหนือความเป็นจริงทุกประการ ป่าเศรษฐกิจยังมีความจำเป็นต้องเกิดขึ้นอย่างเร่งด่วนและมีความจำเป็นต่อการสนองความต้องการใช้ไม้ของประชาชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เป็นป่าที่มนุษย์ต้องปลูกเอง ใช้เองและหยุดยั้งการใช้ไม้จากป่าธรรมชาติทุกต้นอย่างเด็ดขาด สวนป่าเอกชน
(Private Plantation)วันนี้มีอัตราการเจริญเติบโตเพียงใด ข้อควรปฏิบัติต้องตอกย้ำว่าจะต้องทำอย่างไรและผลของการยึดหลักวิชาการมีผลดีแน่ๆ

หากตรวจสอบสถิติความต้องการใช้ไม้ภายในประเทศไทยปีพ..2539 จะพบว่ามีตัวเลขสูงถึง 3,230,300 ลบ..  เป็นไม้ที่ผลิตได้จากไม้ของกลาง 43,900 ลบ.. นำเข้าจากต่างประเทศ 3,231,800 ลบ.. และผลิตภัณฑ์ส่งออก 45,400 ลบ.. การปลูกป่าเศรษฐกิจจะต้องกระทำให้เกิดผลผลิตไม้พอเพียงกับความต้องการดังกล่าว จะต้องกำหนดแผนการระยะยาวที่มั่นคงจริงๆจึงจะเกิดขึ้นได้ สวนป่าต้องมีปริมาณไม่น้อยกว่า       20 ล้านไร่ โดยมีระบบการปลูกในรอบหมุนเวียน 20 ปีอย่างต่อเนื่อง

ส่วนวิธีการดำเนินการจะเป็นอย่างไรเพื่อให้เกิดป่าดังกล่าว ขึ้นอยู่กับยุทธวิธีของการปรับใช้ ทั้งนี้ก็เพราะว่า

ยุทธวิธีแรก แต่ดั้งเดิมปลูกโดยส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจคือ กรมป่าไม้ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้(ออป)และบริษัทไม้อัดไทยจำกัด ซึ่งปลูกกันมาตั้งแต่ปีพ..2449-2539 ปริมาณสวนป่าเศรษฐกิจ(ยกเว้นการปลูกป่าปรับปรุงต้นน้ำ)ได้ไม่ถึง 5 ล้านไร่ หากยุทธวิธีนี้ดำเนินการต่อไป ไม่แน่ใจว่าอีกหมื่นปีจะสำเร็จตามเป้าหมายหรือไม่ ทั้งนี้เพราะว่าแผนงบประมาณไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลที่แปรปรวนและไม่เข้าใจในเงื่อนไขเรื่องเวลาของกิจกรรมป่าไม้

ยุทธวิธีที่สอง เป็นการเริ่มยุคของความคิดสร้างสรรค์ด้วยการ ให้ประชาชนมีส่วนร่วม โดยรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณการปลูกป่าเศรษฐกิจไร่ละ 3,000 บาท แบ่งจ่ายตามหลักการ 5 ปี ส่วนที่ขาดเอกชนต้องลงทุนเพิ่มเติม ยุทธวิธีนี้กำหนดเป้าหมายให้มีพื้นที่ปลูกป่า 20 ล้านไร่ และในปีแรก(..2537) รัฐบาลให้งบประมาณ 1 ล้านไร่ งบผูกพัน 5 ปี 3,000 ล้านบาท แต่น่าเศร้าที่เกิดการทุจริตคิดมิชอบในหมู่ข้าราชการกรมป่าไม้ส่วนหนึ่ง ดังที่เป็นข่าวฉาวโฉ่และประจานภาพความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของข้าราชการดังกล่าว ยุทธวิธีที่ดี ๆ พังเพราะคน

ยุทธวิธีที่สาม  โดยธนาคารสินเชื่อเพื่อการเกษตรและสหกรณ์กู้เงินจาก OECF ประมาณ 900 ล้านบาท ในปีพ..2541 จะปลูกป่าในอัตราไร่ละ 3,000 บาทได้สวนป่าเศรษฐกิจ 300,000 ไร่หรือไม่ ยุทธวิธีนี้ยังน่าเป็นห่วงว่า ประชาชนที่สนใจต้องหาข่าวสารข้อมูลที่ลงลึกเกี่ยวกับ ชนิดไม้ที่จะปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่จะปลูก การคัดเลือกพันธุ์ตามหลักวิชาการ การผลิตกล้าไม้ให้ได้ประโยชน์สูงสุดกรรมวิธีในการปลูกและบำรุงอย่างปราณีต การตลาดของไม้แต่ละชนิด การผลผลิตภัณฑ์ของไม้แต่ละชนิด แนวคิดการเพิ่มมูลค่าราคาที่จะได้รับเป็นผลตอบแทน จะเกิดอะไรขึ้นระหว่างเกษตรกรกับการใช้หนี้ในอนาคตหากไม่สำเร็จเท่าที่ควร กรมป่าไม้มีส่วนผูกพันเพียงใดถึงจะเกิดความเชื่อมั่นได้

แต่มียุทธวิธีที่สี่ การจัดหาแหล่งเงินทุนที่ไม่ใช่ ธกส. แต่เป็นแหล่งเงินกู้ที่มีระยะปลอดดอกเบี้ยนาน ดอกเบี้ยต่ำ และมีแรงจูงใจในเรื่องของการลดภาษีเงินได้สำหรับผู้ที่หันเหมาปลูกป่าเป็นอาชีพ สิ่งสำคัญคือกฏหมายและระเบียบใดๆที่เป็นอุปสรรคต่อความคล่องตัวของการดำเนินการให้หาวิธีการที่ปลอดต่อการควบคุมของเจ้าหน้าที่ได้มากเท่าไร นั่นแหละจึงจะเกิดความเชื่อมั่น ดังนั้น กฏหมายสวนป่าพ..2535 และมาตรา 7 แห่ง พรบ.ป่าไม้พ..2484 อาจต้องฉีกทิ้ง และมติ ครม.บางฉบับที่ห้ามเช่าป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมโทรมเพื่อการปลูกป่ารายละไม่เกิน 50 ไร่ กับการกำหนดชนิดไม้ตามความรู้สึกและกระแสต้องยกเลิกเสีย ยุทธวิธีนี้เป็นความต้องการของนักปลูกป่ารายใหญ่ๆที่มีระบบการบริหารจัดการสวนป่าที่มั่นคง เรียกว่าสายป่านยาวซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญของการสร้างป่าใหม่

อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐบาลยังกล้าหาญที่จะมีอธิบดีกรมป่าไม้มาจากนักบริหารมืออาชีพได้ ทำไม จึงจะกล้าหาญอีกสักที เปิดโอกาสให้ประชาชนตัดสินใจที่จะสร้างป่ากันเองจริงๆ เช่นเดียวกับที่ บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์จำกัด ยังสามารถพัฒนาวิชาการจนดังคับประเทศได้ตั้งหลายเรื่อง สำหรับเรื่องป่าไม้ขี้ประติ๋วเช่นนี้หากจะใจกว้างให้เอกชนดำเนินการเต็มสูบเลย ผมเชื่อว่าจะสำเร็จด้วยดียิ่ง ถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะเห็น ท่านอธิบดีปลอดประสพ สั่งการระดมความคิดเห็นจากนักลงทุนรายใหญ่ๆและนักวิชาการป่าไม้ น่าจะมีคำตอบได้อย่างมีนัยยะสำคัญ

สวนป่าเอกชนวันนี้ ใคร่ขอเสนออัตราการเจริญเติบโตของสวนป่าไม้สัก ซึ่งปลูกโดยบริษัทสวนป่าพนาเวศจำกัด อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลูกปีพ.. 2536 จนถึงปีปัจจุบันนี้(2541) รวมอายุสวนป่า 5  ปีบริบูรณ์ ปลูกระยะ 2x2 . 400 ต้น/ไร่ ดังนี้คือ

ตรวจวัดเมื่อปีพ..2537 อายุ 1 ปี เส้นรอบวงเพียงอก 14.77 ซม. ความสูงสุดยอด 4.22 .      ปีพ..2538  อายุ 2 ปี เส้นรอบวงเพียงอก 22.43 ซม. ความสูงสุดยอด 7.07 .     ปีพ.. 2539 อายุ 3 ปี เส้นรอบวงเพียงอก 26.92 ซม. ความสูงสุดยอด 9.86 .     ปีพ.. 2540 อายุ 4 ปี เส้นรอบวงเพียงอก 28.62 ซม. ความสูงสุดยอด 10.19 . เป็นการปลูกป่าอย่างปราณีต(Intensive Plantation)

อย่างไรก็ดี เรือนยอดชิดกันแล้ว เรือนรากก็ชิดกัน เกิดการแก่งแย่งอาหารจากดินและแสงแดดจากฟ้าอย่างสาหัส ต้นสักลดอัตราการเจริญเติบโตทางกว้างและทางสูงลงไปอย่างชัดเจน  สวนป่าแห่งนี้ต้องตัดสางขยายระยะต่อไป เพื่อเปิดช่องว่างทางรากให้ต้นสักหากินมากขึ้นและในทางเรือนบยอดจะได้รับแสงมากขึ้นด้วย อัตราการเจริญเติบโตจึงจะคงที่เช่นเดิม

การตัดสางขยายระยะมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการจัดการสวนป่าตามหลักวิชาการป่าไม้ ส่วนการจะตัดอย่างไร น่าจะปรึกษานักวิชาการป่าไม้ที่อยู่ใกล้ตัวที่สุด

                                            

Tags : Man made forest

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view