http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 25/01/2025
สถิติผู้เข้าชม14,649,704
Page Views17,007,469
« April 2025»
SMTWTFS
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930   
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

เอลนีโญกับประเทศไทย ไม่น่ากังวล

Dely171.doc/             เอลนีโญกับประเทศไทย ไม่น่ากังวล

            เรื่องนี้เกิดขึ้นและผ่านไปจนหมดความสนใจ แต่กลับต้องมาสะดุดความคิดอีกครั้งเมื่อได้รับทราบว่า มีการอ้างถึงผลกระทบมากมายของเอลนีโญ ในประเทศต่างๆหลายประเทศ เหมือนจะกล่าวอ้างว่า ไฟป่าในประเทศไทยเกิดขึ้นด้วยเหตุจากความผันแปรของเอลนีโญที่เกิดขึ้น แต่ความจริงมีข้อเท็จจริงจากการบันทึกภาพถ่ายดาวเทียม ไฟป่าไหม้ที่ห้วยขาแข็งเกิดจากคนรอบเขตตามแนวกันชนเผาไร่และลุกลามเข้าไปในป่าธรรมชาติ ไฟป่าที่อื่นๆก็เช่นกัน

            ประเทศไทยตั้งอยู่ในระดับของเส้นรุ้งเส้นแวงที่ห่างไกลจากจุดที่เกิดเหตุเอลนีโญมากแม้แต่ใต้ฝุ่น หรือมรสุมรุนแรงก็เกิดขึ้นนานหลายสิบปีหน เรียกว่าโดยสภาพภูมิประเทศแล้วประเทศไทยปลอดภัยจากภัยธรรมชาติหลายชนิด หลายประเภท ดังนั้น ประเทศต่างๆที่มีการกล่าวอ้างว่าเกิดเหตุร้ายแรงจากเอลนีโญ เช่นอินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย ฯซึ่งมีภูมิประเทศอยู่ในสภาพเกาะกลางทะเลและอยู่ในระดับของเส้นรุ้งเส้นแวงใกล้เคียงกัน แต่ไม่ใช่ประเทศไทยส่วนใหญ่ ยกเว้นภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย

            ดร.ออสการ์ ซามูลาร์ ได้กล่าวเมื่อการประชุมเรื่อง Food Security เมืองบาโคลอด   เกาะนิโกรส (โดยHEKs,สวิสเซอร์แลนด์)ว่า ประเทศไทยโชคดีมากที่ตั้งอยู่ในภูมิประเทศที่ปลอดจากปัญหาของเอลนีโญและลานีญ่า ประเทศไทยจึงเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลก การสูญเสียอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติจากลมมรสุมหรือใต้ฝุ่นแทบไม่เกิดขึ้นเลย ซึ่งผิดกับประเทศฟิลิปปินส์ที่เกิดผลกระทบเรื่องการผลิตข้าวหรืออาหารจากเอลนีโญและลานีญ่า 20-50%ของผลผลิต เหตุผลนี้ฟิลิปปินส์สั่งนำเข้าข้าวจากประเทศไทยเสมอมา

            เมื่อปีพ..2504 ประเทศไทยเคยมีป่าไม้มากกว่า 53%ของเนื้อที่ประเทศ มีสามฤดูคือ ฤดูร้อน ฤดูฝนและฤดูหนาว เมื่อคนมากขึ้นป่าก็ลดลงไป บ้านเมืองเจริญมากขึ้น เมืองขยายตัว ที่ดินทำกินต้องขยายตัวตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในที่สุดปีพ..2541ป่าไม้เหลืออยู่ 25.28%ของเนื้อที่ ประเทศ จำนวนประชากร 61 ล้านคน(รายงานการวิเคราะห์จากภาพถ่ายดาวเทียม Landsat-5 มาตราส่วน 1:250,000 ของกรมป่าไม้)

            นายธงชัย จารุพพัฒน์ ได้กล่าวว่า ความคมชัดของภาพที่วิเคราะห์ได้จากพื้นที่ที่ถูกทำลายกว้างและยาว 30x30 เมตร หากทำลายแคบกว่านั้นก็ขาดความคมชัด นั่นหมายถึงป่าถูกทำลายไปเป็นไร่เลื่อนลอย” (ที่ตัดทีละต้นในป่าสาละวินจับมาวิเคราะห์ไม่ได้ มองไม่เห็น) ผลของการวิเคราะห์ในรายละเอียดน่าตกใจมาก เพราะว่าป่าก็เหลืออยู่น้อยแล้วก็ยังรักษาไว้ไม่ได้อีก

เฉพาะแต่ละภาคป่าถูกทำลายระหว่างปีพ..2538-2541 คือภาคเหนือเฉลี่ยปีละ172,625.3ไร่  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเฉลี่ยปีละ 58,489.7 ไร่ ภาคตะวันออกเฉลี่ยปีละ 17,551.7 ไร่  ภาคกลางเฉลี่ยปีละ 49,931.0 ไร่และภาคใต้เฉลี่ยปีละ 68,646.7 ไร่เนื้อที่ป่าที่ถูกทำลายไปนั้นส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ,ป่าเบญจพรรณ,ดินดีดินลึก,ฟองน้ำชั้นดีหมดฤดูกาลจะไม่เปลี่ยนไปได้อย่างไร

ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในช่วง 40 ปีไม่แตกต่างกันมากนัก ที่เปลี่ยนคือช่วงเวลาของการตกแปรปรวนและลักษณะการตกของฝนที่ตกแบบกระจุกตัวเป็นช่วงๆ อันก่อให้เกิดน้ำไหลบ่าสู่ที่ต่ำมากกว่า น้ำเหล่านี้ก่อปัญหามากกว่าประโยชน์ มาเจอ ป่าเต็งรัง ดินเลวๆ ดินไม่ดูดซับน้ำ อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธิ์ก็แปรปรวนเช่นกัน โดยเฉพาะในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง นั้น ป่าที่เหลืออยู่และมีปัญหาไฟไหม้ป่าทุกปีคือ ป่าเต็งรังหรือป่าแพะและป่าเบญจพรรณ อันเป็นป่าผลัดใบ ยังไงก็ต้องไหม้ แต่ไฟไม่เคยเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติแต่อย่างใด หมานุษย์ มันจุดทั้งนั้น

ข้อเท็จจริงไฟป่าที่นั่นเกิดขึ้นจากไฟไหม้ลามมาจากการเผาไร่รอบพื้นที่เขตฯอันเป็นแนวกันชน เป็นหมู่บ้านที่อพยพออกมาจากใจกลางป่าห้วยขาแข้ง  ชาวบ้านไม่ได้ระมัดระวัง ไม่ได้ช่วยในการป้องกัน เจ้าหน้าที่ก็ป้องกันไม่พอเพียง หน่วยงานไฟป่ากับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข็ง ก็บริหารจัดการด้วยระบบต่างคนต่างทำ พื้นที่เขตมากกว่าพื้นที่ที่ศูนย์ดับไฟป่าครอบคลุม มีงบประมาณเท่าใดก็ทำตามนั้น ที่อื่นๆก็เช่นกัน(เขาใหญ่ฯ)  ระบบการจัดการป่าอนุรักษ์ผิดพลาดครับ

ผิดอย่างไรคงต้องสาธยายเพิ่มเติมสักหน่อย ในวัตถุประสงค์ของการป้องกันรักษาป่าอนุรักษ์ ทั้งอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า กำหนดไว้เหมือนกันและในความหมายของการป้องกันรักษาป่าอนุรักษ์นั้นหมายถึง การป้องกันคนตัดต้นไม้ ป้องกันคนแผ้วถางป่าทำไร่ ป้องกันการลักลอบล่าสัตว์ป่าและพันธุ์พืชที่มีค่าหายาก และป้องกันไฟป่าอันอาจทำลายความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ป่าอนุรักษ์นั้นๆด้วย  ต้องบริหารจัดการรวมกันครับ ซึ่งแต่เดิมการของบประมาณต่างๆของทุกหน่วยงาน การปลูกป่าเศรษฐกิจ การปลูกป่าต้นน้ำ ฯมีกิจกรรมไฟป่าอยู่ด้วย

            ยืนยันตรงนี้ด้วยความมั่นใจ ไฟป่าในประเทศไทยไม่ได้เกิดจากผลกระทบของเอลนีโญหรือน้ำท่วมก็ไม่ได้เกิดจากลานีญ่าแต่อย่างใด น้ำท่วมบ้านเรามันเกิดจากการตัดไม้ทำลายป่าจนป่าต้นน้ำหัวโล้นหมด ฟองน้ำใต้ดินตามธรรมชาติก็หายไป น้ำก็ไหลลงมาเร็วทันใจ ท่วมทุกที หากจะรีบแก้ไขก็รีบไปแก้ไขเรื่องคนบนต้นน้ำให้เสร็จก่อน แล้วช่วยเร่งรัดปลูกป่าต้นน้ำปกคลุมพื้นที่หัวโล้นเร็วๆ นั่นแหละครับน้ำจะไม่ท่วมบ่อย จะมีน้ำไหลรินมาเรื่อยๆ ช้าๆ แต่มีมาตลอดเวลาทีเดียว มติครม.30 มิถุนายน พ..2541 ก็มีแล้วมิใช่หรือ แค่กันแนวเขตตามแนว Zone C ให้ได้ก็พอ

รอบๆเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งมีองค์กรพัฒนาภาคเอกชน ทั้งในประเทศ(ที่เป็นหลักคือมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร มูลนิธิหนองขาหย่าง ฯ) และจากนอกประเทศเช่น Danced จากประเทศเดนมาร์ค เห็นระดมปลุกจิตสำนึกประชาชนกันไม่หยุดหย่อน แต่ทุกปีไฟก็ไหม้ลามมาจากการเผาไร่บริเวณแนวกันชนทุกปี ประชาชนไม่ยอมรับหรือปลุกจิตสำนึกไม่ขึ้น ก็ไม่สามารถจะรู้ได้  ถ้าจะต้องใช้ทั้งหลักนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ร่วมกัน อาจได้ผลดีขึ้นก็ได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Tags : Climate change

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view