http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 25/01/2025
สถิติผู้เข้าชม14,653,284
Page Views17,011,779
« April 2025»
SMTWTFS
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930   
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

องค์กรพัฒนาภาคเอกชน (NGOs)

องค์กรพัฒนาภาคเอกชน (NGOs)


                         องค์กรพัฒนาภาคเอกชน (
NGOs     

                                                                                                     โดย มณี บันลือ
             
             ในการพัฒนาหลากหลายรูปแบบ องค์กรพัฒนาภาคเอกชนเป็นองค์กรหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือสังคม แม้ว่าอาจเป็นเพียงส่วนน้อยนิดของสังคมไทยที่มีประชากรมากกว่า
63 ล้านคน รูปแบบและวิถีการพัฒนาเริ่มต้นที่กลุ่มบุคคลซึ่งมีเจตจำนงไปในทางเดียวกัน ก้าวถัดมาคือกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายชัดเจนเป็นมาตรฐาน แล้วลงมือปฏิบัติด้วยรูปแบบการบริหารของคณะกรรมการมูลนิธิ หรือสมาคม หรือสโมสร ในยุคนี้ เกิดอะไรขึ้นครับ

       องค์กรพัฒนาภาคเอกชน ตรงกับความหมายในภาษาอังกฤษว่า NON GOVERNMENT ORGANIZATION หรือเรียกย่อๆว่า เอ็นจิโอ(NGOs) อันหมายความถึงองค์กรที่พัฒนาสังคม หรือบ้านเมืองหรือทรัพยากรธรรมชาติฯลฯ โดยไม่ได้อาศัยงบประมาณแผ่นดินจากรัฐบาลแต่อย่างใด ดังนั้น หากองค์กรพัฒนาภาคเอกชนใดพึ่งพางบประมาณจากส่วนราชการหรือรัฐบาล องค์กรนั้นๆ ย่อมปฏิบัติผิดจากหลักการหรืออุดมการณ์ขององค์กรพัฒนาภาคเอกชนสากล


              


      
ก่อนยุคเศรษฐกิจถดถอย เอ็นจิโอทั้งหลายทั้งปวงมักได้รับงบประมาณสนับสนุนจากการเขียนโครงการเสนอแก่องค์กรพัฒนาภาคเอกชนต่างประเทศ ซึ่งเป็นองค์กรใหญ่ ๆ มีเครือข่ายและเงินบริจาคมาก เช่น เอฟเอโอ(FAO)  ยูเอ็นดีพี(UNDP) กรีนพีช(GREEN PEACE) เฮกซ์(HEGs) แคร์(CARE) ยูเอ็นเอชซีอาร์(UNHCR)ฯลฯ องค์กรเหล่านี้แหละที่ช่วยเหลือองค์กรเล็กๆ หรือเกิดใหม่ในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้ไปส่งเสริมประชาชนที่ด้อยโอกาสในการได้รับการพัฒนาจากรัฐบาลที่อาจไม่ทั่วถึง เอ็นจิโอกลุ่มนี้มักใช้เงินต้นที่ได้มาทั้งหมดตามวัตถุประสงค์โครงการ

       พูดถึงด้านการเงินขององค์กรพัฒนาภาคเอกชน ก็ใคร่กราบเรียนให้ทราบด้วยว่า เงินทุกบาททุกสตางค์ที่ได้รับบริจาคหรือได้รับการยกให้หรือมรดกที่ไม่มีภาระผูกพันให้แก่องค์กร มีแนวทางการใช้เงินดังกล่าวอยู่ 3 ประการคือ

                  



          ประการที่
1 ใช้เงินบริจาคได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค  เช่น ใช้เงินต้นในการฝึกอบรมวิชาชีพ หรือโครงการฟื้นฟูทรัพยากรธรรม

ชาติ หรือใช้เงินต้นให้ทุนการศึกษาทดแทนที่ขาดไป ฯลฯ  กรณีนี้มักเป็นโครงการที่ใหญ่ๆ มีเงินทุนจำนวนมาก และกำหนดวัตถุประสงค์ในการใช้เงินต้น หมดแล้วก็หมดเลย ผลได้จากเม็ดเงินที่เกิดขึ้นมีผลเฉพาะช่วงเวลาที่โครงการยังดำเนินอยู่ แต่เมื่อโครงการหมดอายุลง มักหมดกิจกรรมตามโครงการไปด้วย

ประการที่ 2 ใช้เงินตามวัตถุประสงค์ขององค์กรที่กำหนดไว้ ส่วนใหญ่ใช้เฉพาะดอกเบี้ย ที่เกิดขึ้น อาจพอเพียงหรืออาจไม่พอเพียงกับความต้องการใช้ ก็ต้องระดมทุนสมทบกันวุ่นวายบ้าง องค์กรลักษณะนี้มักเป็นองค์กรขนาดเล็ก มีวัตถุประสงค์เฉพาะพอประมาณกับกำลังความสามารถในการหาเงินทุนได้ ส่วนใหญ่คนไทยบริจาคเงินกันเอง เช่นมูลนิธิเพื่อการศึกษา หรือช่วยเหลือคนชรา ฯ


                 



       ประการที่
3 ใช้เงินทุนและดอกผลตามที่คณะกรรมการสามในสี่ลงมติให้ปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ไปจากระเบียบเดิมที่เคยกำหนดไว้ อันเนื่องมาจากเหตุผลต่างๆที่คณะกรรมการพิจารณาแล้วอย่างรอบคอบ และเกิดประโยชน์ต่อวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ กรณีเช่นนี้มักใช้ต่อเมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงหรือวิกฤต

เงินที่เอ็นจิโอได้รับการบริจาคเหล่านั้น จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ จากดอกเบี้ยก็ต่อเมื่อได้รับการประกาศเป็นองค์กรพัฒนาภาคเอกชนที่ทำประโยชน์แก่สาธารณตามกฏเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้  โดยกรมสรรพากรเป็นผู้พิจารณา

       ส่วนวัตถุประสงค์ของแต่ละองค์กรก็แตกต่างกันไป บางองค์กรดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติศึกษา หรือการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ  บางแห่งก็สนใจเรื่องสิทธิมนุษย์ชน อีกหลายแห่งส่งเสริมสุขภาพอนามัยของทารก เยาวชน คนชรา และบางองค์กรก็มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมเรื่องอาหารของพลโลก อันเนื่องมาจากความสงสารเด็กที่หิวโหย หรือช่วยเหลือผู้อพยพกรณีเกิดวิกฤตในบ้านเมืองเช่นโคโซโว หรือกัมพูชา ฯลฯ หรือช่วยเหลือการศึกษาวิจัยและพัฒนา ด้านพืช สัตว์ มนุษย์ แม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศของโลกทีเดียว


                   


      
การใช้จ่ายเงินของเอ็นจิโอต้องใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์และแผนการปฏิบัติซึ่งผ่านคณะกรรมการบริหารองค์กรนั้นๆ อนุมัติในหลักการแล้ว โดยคณะกรรมการเหล่านั้นต้องอนุมัติไปตามระเบียบขององค์กรที่กำหนดไว้ จะใช้จ่ายตามอำเภอใจมิได้ เว้นแต่เป็นเสียงส่วนใหญ่ของคณะกรรมการเห็นชอบ  เพื่อปรับเปลี่ยนการอนุมัติไปจากระเบียบที่กำหนดเดิม และทุกๆ ปีก่อนสิ้นเดือนมกราคมของปีถัดไป ต้องมีการจัดประชุมสามัญประจำปีเพื่อตรวจสอบการบริหาร งบดุลบัญชีและตรวจสอบบัญชีการรับจ่ายขององค์กรโดยผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต

       ความน่าเชื่อถือขององค์กรพัฒนาภาคเอกชนทุกแห่ง จึงอยู่ที่การตรวจสอบและรายงานผลการงบดุลบัญชีขององค์กร คณะกรรมการบริหารองค์กรพัฒนารับรองในที่ประชุมสามัญประจำปี และส่งเอกสารเหล่านั้นเพื่อให้คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ นายทะเบียนองค์กรพัฒนาภาคเอกชนคือ ผู้ว่าราชการจังหวัด(ผ่านนายอำเภอท้องที่หรือเขตกรณีที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร)  เอ็นจิโอใดไม่ปฏิบัติตามที่คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติกำหนดก็อาจถูกยกเลิกองค์กรได้

       ที่เล่ารายละเอียดมาเสียยืดยาวนั้นก็เพื่อจะยกตัวอย่างให้เห็นว่า บทบาทของเอ็นจิโอเดิมได้รับผลกระทบมาจากสาเหตุใด และเอ็นจิโออีกกลุ่มหนึ่งเดือดร้อนเพราะว่าภาวะเศรษฐกิจหรือไม่  ลองฟังเรื่องเล่าจากความจริงที่เกิดขึ้นแล้วพิจารณาดูครับว่า สมควรที่จะช่วยเหลือสนับสนุนเอ็นจิโอกลุ่มไหนกันดี เพื่อให้คงลักษณะเฉพาะตัวของเอ็นจิโอไว้ให้ได้ (จะได้ไม่ต้องไปขอเงินจากภาครัฐบาล) สาเหตุคือ

       1.  เอ็นจิโอระดับโลก เปลี่ยนทิศทางการพิจารณาให้ทุนสนับสนุน เช่นเคยช่วยเหลือเรื่องสัตว์ป่าในเขตร้อน ก็อาจเปลี่ยนเป็นช่วยเหลือป่าเขตร้อนแทน      เพราะเชื่อว่าหากส่งเสริมให้อนุรักษ์ป่าเขตร้อนไว้ได้ สัตว์ป่าเขตร้อนก็มีบ้านอยู่อาศัยและสืบพันธุ์ได้ แทนที่การศึกษาเฉพาะตัวสัตว์ชนิดต่างๆ หรือโหมโฆษณาประชาสัมพันธ์ แต่หยุดยั้งการทำลายไม่ได้


                 



      
2.  เอ็นจิโอระดับโลก  ติดตามและประเมินผลโครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่าแล้ว หมดไปตามระยะเวลาของโครงการหรือหมดไปกับค่าใช้จ่ายที่เกินความจริง หรือพบว่ามีการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ตามโครงการที่นำเสนอ มูลนิธิลักษณะนี้จะขาดความน่าเชื่อถือและสูญพันธุ์ไปจากวงการได้ง่ายๆ ในเวลาระยะหนึ่ง

       3.  เอ็นจิโอภายในประเทศสั่งสมการพัฒนาได้อย่างเชื่องช้า ผลงานที่ปรากฏย่อมชี้ชัดว่า ตามทันการพัฒนาระบบสากลหรือไม่ และพัฒนาตามกระแสที่เปลี่ยนแปลงฉับพลันด้วยความสับสนหรือไม่ เช่นผู้ติดตามผลงานและประเมินผลชี้ข้อบกพร่อง แต่แก้ไขช้าหรือพอใจที่จะใช้ตามความนึกคิดและอารมณ์ของเอ็นจิโอเสียเอง รับเงินเขามาแต่ทำตามอำเภอใจก็ได้ครั้งเดียว

       4.  เอ็นจิโอระดับโลกเองถูกตรวจสอบจากผู้บริจาคหรือผู้สนับสนุนเงินทุนเสียเอง ผลงานที่ปรากฏอาจไม่เข้าตาผู้บริจาค หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงแหล่งบริจาคของกลุ่มทุน ทำให้องค์กรระดับโลกต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

       5.  เอ็นจิโอระดับโลกและระดับภูมิภาค ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย อันเนื่องมาจากกลุ่มทุนได้รับผลกระทบโดยตรง ส่งผลถึงการบริจาคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา กระแสเงินไม่แน่นอนเช่นนี้ สิ่งที่กลุ่มทุนต้องพิจารณาคือ คงสภาพธุรกิจหลัก การบริจาคซึ่งเป็นกิจกรรมรองจึงได้รับผลกระทบมากที่สุด

       6.  เอ็นจิโอเล็กๆ  ส่วนใหญ่เกิดจากการรวมทุนกันบริจาคภายในประเทศ ใช้แต่ดอกเบี้ยเพื่อทำตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงและส่งผลถึงกิจกรรมหลัก เช่นเมื่อเดือนมกราคมพ.. 2549 มูลนิธิหนึ่งซึ่งมีเงินต้นทุนที่ได้รับการบริจาคมายาวนานกว่า 20 ปี อยู่ 1,600,000 บาทเศษ อัตราดอกเบี้ยฝากประจำ 3 เดือนซึ่งเดิมเคยได้รับในอัตราร้อยละ 9.5-10 เกิดการเปลี่ยนแปลงภาวะเศรษฐกิจมีการปรับอัตราดอกเบี้ยลงเหลือร้อยละ 3.25-4.5 คณะกรรมการมูลนิธิได้ร่วมกันพิจารณาแล้วลดขนาดทุนลง(DOWNSIZING)จากเดิมเช่น เคยให้ทุนระดับปริญญาตรีทุนละ 8,000 บาทต่อปี ลดลงเหลือ 6,000 บาทต่อปี  ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ทุนละ 3,000 บาท ลดลงเหลือทุนละ 2,000 บาทเป็นต้นฯ

             แล้วอนุมัติเงินทุนส่งเสริมการศึกษาต่อเนื่องปีการศึกษา 2549 ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับเรียนปริญญาตรี จำนวน 60 ทุน รวมเป็นเงินทุน 129,140 บาท ดอกเบี้ยไม่พอเพียง ได้รับการบริจาคเพิ่มเติมจากผู้มีใจกุศล จนครบถ้วนแล้ว แต่ต่อมาเดือนสิงหาคม-กันยายน 2550  อัตราดอกเบี้ยลดลงไม่หยุดยั้ง เหลือร้อยละ 3.5%  คณะกรรมการมูลนิธิต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ได้ต่อไป       แนวทางหนึ่งคือระดมทุนสมทบกับดอกเบี้ยที่ได้รับให้พอเพียงเฉพาะหน้าในปีการศึกษาพ..2550 และระดมทุนสมทบกองทุนมูลนิธิให้ยอดเงินมูลนิธิสูงขึ้นเพื่อให้ดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้นในระยะยาว 

            แม้จะมีเจตนารมณ์ดี มีความตั้งใจจริง กระทำจริงมาตลอดเวลาที่ยาวนาน สามารถตรวจสอบความเป็นจริงได้เสมอ  และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่อยากจะได้เห็นอนาคตเยาวชนของชาติได้รับการศึกษาและพัฒนา ก่อนที่เขาเหล่านั้นจะเติบโตเป็นกำลังที่สำคัญของชาติบ้านเมืองสืบไป 
         นี่แหละครับ องค์กรพัฒนาภาคเอกชนยุคไอเอ็มเอฟ-ยุคหลังทักษิณถูกไล่ไปแล้ว  ต้องทนทรหดจริงๆ ครับ
               

 

 +

 

Tags : NGOs

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view