ตะโกนา
ชื่อพื้นเมือง โก มะโก มะถ่านไฟผี นมงัว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyros rhodocalyx Kurz
ชื่อวงศ์ EBENACEAE
สถานภาพ ไม้นอกประเภทหวงห้าม
นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์
ในประเทศ พบขึ้นทั่วไปตามป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าละเมาะและทุ่งนา ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 40-300 เมตร
ในต่างประเทศ พม่า ลาว และเวียดนาม
ลักษณะทั่วไป
ต้นไม้ ไม้ยืนต้นสูง 15 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดกลมรี ลำต้นเปลาตรง เปลือกนอกสีดำและแตกเป็นสะเก็ดหนา ๆ เปลือกในสีขาว
ใบ ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่กลับหรือรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนกลาย ๆ และรูปป้อม ๆ กว้าง 2.5-7 ซม. ยาว 3-12 ซม. โคนใบสอบเป็นรูปลิ่ม บางทีก็ป้อมหรือป้าน ปลายใบโค้งมน ป้าน หยักเว้าเข้าหรือหยักคอดเป็นติ่งสั้น ๆ เนื้อใบบาง บางทีก็ค่อนข้างหนา ด้านบนเกลี้ยงด้านล่างตอนแรก ๆ พอมีขนสุ่มบ้าง เส้นแขนงใบมี 5-8 คู่ สานกันเป็นร่างแห สังเกตเห็นได้ทั้งสองด้าน เส้นกลางใบมักออกสีแดงเรื่อ ๆ เวลาใบแห้ง ก้านใบยาว 2-7 มม. แรก ๆ มีขนนุ่ม
ดอก ช่อดอกเพศผู้และเมียอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้ ออกเป็นช่อเล็ก ๆ ช่อหนึ่ง ๆ มีประมาณ 3 ดอกตามง่ามใบ ทั้งกลีบดอกและกลีบรองดอกมีอย่างละ 4 กลีบ ด้านดอกยาวประมาณ 1-2 มม. มีขนนุ่ม กลีบรองกลีบดอกยาวทั้งสิ้น 4-6 มม. โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปเหยือกน้ำหรือรูปป้อม ๆ ปลายแยกเป็นแฉกเล็ก ๆ เกลี้ยงเกลาทั้งสองด้าน เกสรตัวผู้มี 14-16 อัน มีขนแข็ง ๆ แซม รังไข่เทียมมีขนแน่น ดอกเพศเมียออกเป็นดอกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ กลีบดอกมีลักษระเหมือนดอกเพศผู้ แต่มีขนาดใหญ่กว่า รังไข่ป้อม มีขนเป็นเส้นไหมคลุม ภายในแบ่งเป็น 4 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อนหนึ่งหน่วย หลอดท่อรังไข่มีหลอดเดียว มีขนแน่น ปลายหลอดแยกเป็นสองแฉก เกสรตัวผู้เทียม มี 8-10 อัน มีขนแข็ง ๆ แซม
ผล ผลสดกลมโต ขนาด 1.5-2.5 ซม. แรก ๆ มีขนสีน้ำตาลแดงคลุม หลุดง่าย โคนและปลายผลมักบุ๋ม กลีบจุกผลชี้ออกหรือแนบลู่ไปตามผิวผล ข้างในมีขนสีน้ำตาลแดง และมีขนนุ่มทางด้านนอก พื้นกลีบจีบและขอบกลีบมักเป็นคลื่น เส้นลายกลีบพอสังเกตเห็นได้ชัด ก้านผลสั้นมาก ถ้าตัดตามขวางเมล็ดจะเห็นว่าระหว่างเปลือกนอกกับเนื้อขาว ๆ ข้างในนั้นขยุกขยิกไม่เรียบ
ระยะเวลาการออกดอกและเป็นผล
ออกดอก มี.ค.-เม.ย.
ผลแก่ เม.ย.-มิ.ย.
การขยายพันธุ์ เพาะกล้าจากเมล็ดได้ดีที่สุด
ลักษณะเนื้อไม้
เนื้อไม้แปรรูป ปริมาณความชื้น 12% ความถ่วงจำเพาะ 1.01 ความแข็งแรงจากการดัด 1305 กก./ตร.ซม. การบีบ 694 กก./ตร.ซม. การเชือด 182 กก./ตร.ซม. ความดื้อ 1367x100 กก./ตร.ซม. ความเหนียวจากการเดาะ 3.3กก./ม. ความแข็ง 1030 กก. ความทนทางตามธรรมชาติ สูง 15.9 ปี
การใช้ประโยชน์
ด้านเนื้อไม้แปรรูป เนื้อไม้แข็งแรง ใช้ทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้ได้ดี
ด้านเป็นไม้ประดับ นำมาปลูกเป็นไม้ประดับ หรือทำเป็นตะโกดัดมากมาแต่โบราณกาล เป็นไม้ที่แปลงร่างได้หลากปลายรูปแบบ กิ่งเหนียว แตกใบถี่ แต่ถ้าปลูกเป็นต้นธรรมดาก็จะได้ร่มเงาที่ดี ใช้พื้นที่ปลูกตกแต่งสวนหย่อมแคบ 3x3 เมตร ถ้าปลุกทิศใต้จะช่วยบดบังแสงแดดตอนบ่ายได้มาก
ด้านพืชอาหาร ผลสุกใช้รับประทานมีรสหวางอมฝาด คุณค่าสารอาหารของผลตะโกในส่วนที่กินได้ 100 กรัม มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายประกอบด้วยพลังงาน 99 แคลอรี่ น้ำ 73.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 24.5 กรัม ไฟเบอร์ 1.5 กรัม โปรตีน 0.3 กรัม แคลเซียม 19 มิลลิกรัม เหล็ก 0.4 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 มิลลิกรัม วิตามินซี 79 มิลลิกรัม
ด้านเป็นสีย้อมผ้า ผลอ่อนใช้ย้อมผ้า แห อวน ผลให้สีดำ คนเหนือ อีสาน และภาคกลาง ใช้ย้อมผ้าไหมและผ้าฝ้าย
ด้านสมุนไพร สรรพคุณ
ราก แก้ไข้กลับ ไข้ซ้ำ (ที่กินของแสลงเป็นพิษ) แก้ไข้ แก้พิษผิดสำแดง บำรุงน้ำนม แก้ผืนคัน
เปลือกต้น บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง เป็นยาอยุวัฒนะ บำรุงความกำหนัด ขับมุตกิดระดูขาว แก้ตามตายด้าน ขับปัสสาวะ รักษารำมะนาด แก้ปวดฟัน
เปลือก รักษารำมะนาด แก้ปวดฟัน บำรุงธาตุ รักษาโรคกามตายด้าน บำรุงความกำหนัด ขับมัตกิดระดูขาว ช่วยย่อยอาหาร ทำให้เจริญอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย เข้ายามะเร็ง ขับปัสสาวะ
เนื้อไม้ แก้ไข้กลับ ไข้ซ้ำ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงความกำหนัด แก้โรคกามตายด้าน เป็นยาอายุวัฒนะ ขับระดูขาว ขับน้ำย่อย รักษารำมะนาด แก้ปวดฟัน เข้ายามะเร็ง ขับปัสสาวะ
ผล แก้ท้องร่วง แก้ท้องเสีย แก้บวม แก้พยาธิ แก้ตกโลหิต แก้มวนท้อง ขับพยาธิ แก้กระษัย ปิดธาตุ แก้แผล สมานแผล แก้แผลเน่าเปื่อย แก้ฝีเน่าเปื่อย ขับระดูขาว แก้ตุ่มคันเป็นเม็ดยื่นคันตามตัว เป็นยาเย็นถอนพิษ แก้โรคผิวหนัง แก้บิดบวมเป่ง แก้อาเจียนเป็นโลหิต แก้ปวดมดลูก
เปลือกผล ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ แก้ท้องร่วง
ไม่ระบุส่วนที่ใช้ บำรุงน้ำนม แก้ไข้ผื่นคัน แก้แพ้ผิดสำแดง แก้ผื่นคัน บำรุงธาตุ บำรุงความกำหนัด ขับน้ำย่อยอาหาร ทำให้เกิดกำลัง ขับระดูขาวมุตกิด เป็นยาอายุวัฒนะ
ข้อมูลการวิจัยที่สำคัญ
betulin; betulinic acid; lupenone; lupeol; -sitosterol; stigmast-4en-3one; stigmast-4-en-3-one 1-0-ethyl- -D-glucopyrahoside; stigmast - 4 - en - 3 - one 1- 0 - ethyl - - D - glucoside; stigmasterol; taraxerol; taraxerol acetate; taraxerone (1).