ตะเคียนทอง
ชื่อพื้นเมือง กะกี้ โกกี้ แคน จะเคียน จืองา จูเค้ โซเก ตะเคียน ตะเคียนใหญ่ Iron wood
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hopea odorata Roxb.
ชื่อวงศ์ DIPTEROCARPACEAE
สถานภาพ ไม้หวงห้ามธรรมดา ประเภท ก เปลือกไม้เป็นของป่าหวงห้าม
นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์
ในประเทศ ที่ราบหรือค่อนข้างราบใกล้ฝั่งแม่น้ำ และป่าดงดิบทั่วไป
ในต่างประเทศ พม่า หมู่เกาะอันดามัน กัมพูชา ลาว เวียดนามตอนใต้ คาบสมุทรมาเลเซียตอนเหนือ
ลักษณะทั่วไป
ต้นไม้ ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 20-40 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบกลม ลำต้นเปลาตรง เปลือกนอกหนาสีน้ำตาลดำ แตกเป็นร่องตามยาว กระพี้สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีน้ำตาลแดง ลำต้นมีชันสีเหลืองเกาะตามรอยแตก เปลือกในสีขาว สับทิ้งไว้มีน้ำยางไหลซึม
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมรูปใบหอกหรือรูปดาบ กว้าง 3-7.5 ซม. ยาว 10-16 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนและเบี้ยว เนื้อใบหนา หลังใบเกลี้ยงเป็นมันแต่มีต่อมดอมาเทีย เกลี้ยงไม่มีขน อยู่ตามง่ามเส้นแขนงใบ ท้องใบขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย เส้นแขนงใบเรียงสลับข้างละ 9-13 เส้นปลายไม่จดขอบใบ ก้านใบยาว 1-1.8 ซม.
ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงยาวตามซอกใบและปลายกิ่ง ก้านช่อดอก ก้านดอกและกลีบรองกลีบดอกมีขนนุ่ม กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 4-5 มม. 2 ปีก เส้นปีกมี 7 เส้น ปีกสั้นยาวไม่เกินตัวผล
ระยะเวลาการออกดอกและเป็นผล
ออกดอก ธ.ค.-มี.ค. ผลแก่ ก.พ.-เม.ย.
การขยายพันธุ์ เพาะกล้าจากเมล็ด
ลักษณะเนื้อไม้ สีน้ำตาลอมเหลือง มีเส้นสีเทาหรือขาวฝ่านเสมอซึ่งเป็นท่อยาง เสี้ยนสนเล็กน้อย เนื้อค่อนข้างละเอียด
ชั้นคุณภาพ A
ลักษณะทางกายวิภาค ที่เห็นได้ด้วยแว่นขยายขนาด 10-15 เท่า (handlens)
พอร์มีทั้งแบบ พอร์เดี่ยว (solitary pore) และ พอร์แฝด (multiple pore) แบบของการเรียงตัวไม่เด่นชัด การกระจายเป็นแบบกระจัดกระจาย (diffuse porous) ทางภายในพอร์มีไทโลส (tylose) บ้างเป็นบางพอร์ พอร์ใหญ่มีท่อยางต่อเป็นแนวยาวเรียงตัดกันเป็นเส้นเรย์ เส้นเรย์เห็นชัด พาเรงคิมาเป็นพาเรงคิมาแบบกระจาย (diffuse parenchyma) และพาเรงคิมาแบบปีก (aliform parenchyma)
สกายสมบัติ ความแน่น (กก./ม.3) 800 การหดตัวด้านรัศมี (%)3.82 การหดตัวด้านสัมผัส (%) 6.51
กลสมบัติ (strength properties)
ชั้นความแข็งแรง (strength group) A แห้ง (Air-Dry) สด (Green)
แรงดัดสถิต มอดูลัสแตกร้าว (M O R) (MPa) 115
(static bending) มอดูลัสยืดหยุ่น (MOE) (MPa) 11,787
แรงอัดขนานเสี้ยน (compression parallel to grain) (MPa) 51
แรงเฉือน (shear parallel) (MPa) 14.5
ความแข็ง (hardness) (N) 6,365
ความทนทางตามธรรมชาติ ปานกลาง 4 ปี การอาบน้ำยาไม้ ชั้นที่ 4
คุณสมบัติการใช้งาน การเลื่อยไส เจาะ กลึง ปานกลาง การยึดเหนี่ยวตะปู ดี การขัดเงา ปานกลาง
การใช้ประโยชน์
ด้านเป็นไม้ประดับ ในอดีตถนนริมคลองหลอดปลูกต้นตะเคียนทองให้ร่มเงาเช่นเดียวกับถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน ปลูกต้นยางนา แม้เป็นไม้ป่าขนาดใหญ่ แต่ด้วยโครงสร้างลำต้นและเรือนยอดที่สวยสง่ามาก การปลูกในพื้นที่กว้าง ๆ เพิ่มความอลังการให้กับสถานที่ เวลาออกดอกและเป็นผลให้กลิ่นและสีสันที่สวยและชวนมอง ปลูกขนาดพื้นที่แคบ ต้นก็จะเติบโตในระดับหนึ่ง บังคับด้วยระยะช่องว่างได้
ด้านสมุนไพร สรรพคุณ
เปลือกต้น เปลือกต้มกับเกลือป้องกันฟันหลุดหรือชะล้างแผลเรื้อรัง แก้อักเสบ ห้ามเลือด แก่นผสมยารักษาเลือดลม แก้ปวดฟัน แก้เหงือกบวม
ดอก ผสมยาทิพย์เกสร
เนื้อไม้ แก้คุดทะราด แก้ท้องร่วง แก้เสมหะ แก้โลหิต แก้กำเดา แก้ไข้สัมประชวร คุมธาตุ สมานแผล
แก่น แก้กำเดา เสมหะ คุดทะราด ไข้สัมประชวร ท้องร่วง บิด ปิดธาตุ สมานแผล
ยาง สมานแผล แก้ท้องเสีย บิด ปิดธาตุ ไฟและน้ำร้อนลวก
ข้อมูลการวิจัยที่สำคัญ
สารเคมี Polyphenol, resins
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา แก้แพ้ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ต้านยีสต์