http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 25/01/2025
สถิติผู้เข้าชม14,657,930
Page Views17,017,825
« April 2025»
SMTWTFS
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930   
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

วันเดียวเที่ยวที่ไหนดีตอน 55. มังกรสุพรรณ ชมพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร

วันเดียวเที่ยวที่ไหนดีตอน 55. มังกรสุพรรณ ชมพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร

วันเดียวเที่ยวที่ไหนดีตอน55.

มังกรสุพรรณ ชมพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร

โดยอึ้งเข่งสุง เรื่อง-ภาพ

                  ถ้าเทวรูปพระอิศวรและพระนารายณ์ สลักนูนบนหินสีเขียวที่สถิตอยู่ในศาลหลักเมืองสุพรรณบุรีชิ้นเก่าเก๋ากึ๋กรูปนี้ เป็นศิลปะฮินดูสมัยศตวรรษที่ 11-13 แล้ว เมืองโบราณสุพรรณบุรีก็อาจจะมีเค้าลางว่ามีอยู่จริงเช่นกัน ป้อมค่ายและคูเมืองที่เห็นได้ขัดเจนคือหลักฐานที่ยั่งรากศึกษาได้ ชุมชนคนสุพรรณบุรีต้องตั้งรกรากอยู่ที่นี่มานานแสนนาน เรื่องเล่า นิยายปรัมปรามากมายคล้ายว่าอาจจริง หรืออาจมีเค้าลาง แต่ไม่ว่าจะมีข้อเท็จจริงอย่างไร วันนี้คนสุพรรณบุรีรู้สึกปลาบปลื้มกับ มังกรสุพรรณ ผงาดอยู่ในอาณาบริเวณของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองอย่างยิ่งใหญ่และอลังการพันลึก

 

                  ผมขับรถยนต์ไปตามถนนมาลัยแมนด้วยความปลอดโปร่งโล่งใจ ยังไงเสียก็จะไปได้พบเจิอกับน้ำท่วม ถนนพัง และเน่าเหม็นซากหญ้า ผมทำความเร็วได้ราวๆ 100 กม.ต่อชั่วโมง กำลังพอดีๆ ด้วยความตั้งใจอยากไปเที่ยวชม "มังกรสุพรรณบุรี" ซึ่งสร้างเสียยิ่งใหญ่อลังการพันลึกทีเดียว แต่พอผ่านสวนแตงใกล้เมืองสุพรรณบุรี ภาพที่ผมเห็นเบื้องหน้าคือ สายรุ้งเจ็ดสีพาดผ่านเมืองสุพรรณบุรีอย่างสวยงาม ผมจึงลงไปถ่ายรูปมาประกอบเรื่องนี้เสียด้วย หลังจากนั้นผมขับรถไปอีกพักหนึ่งก็ผ่านวัดป่าเลไลก์ เลยไปอีกสักครู่ ผมก็เลี้ยวรถเข้าไปจอดบนลานกว้างๆ สะอาด และปลอดภัยไร้กังวล ด้วยว่ามียามเฝ้าระวังให้อย่างจริงจัง

 

                   ผมคว้ากล้องได้ก็ปรี่เข้าหาวัตถุที่เห็นอยู่อย่างละลานตา  แล้วผมก็เริ่มต้นบันทึกภาพเอาตามที่สายตามองเห็น เดินไปมุมไหนก็น่าถ่ายไปเสียหมดจนแทบลนลานเกินไป ผมตัดใจยืนนิ่งยกมือไหว้เหนือหัวแล้วก็เริ่มต้นใหม่ ผมเดินวนไปหามุมถ่ายรูปตัวมังกรทองขนาดความสูง 35 เมตร กว้าง 18 เมตร ยาว 135 เมตร หัวโตตาโตหนวดแต่ละเส้นใหญ่โต ลิ้นสีขาวอมฟ้าลากยาวลงมาจรดพื้น เกล็ดสีทองซ้อนทับกันอย่างมีระเบียบ รูปทรงตัวมังกรสะดุ้งอย่างอลังการ ดูมีชีวิตชีวาเหมือนว่ากำลังจะโลดแล่นในท้องทะเล นิ้วเท้าแต่ละนิ้วมีเล็บแหลมคม

 

                   ใต้คางมีห้องพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร ทาด้วยสีแดงเลือดนก มีอักษรไทยและอักษรภาษาอังกฤษ แปลกใจไม่มีอักษรจีนสักตัว ภายในห้องเป็นแอร์ตลอดลำตัวมังกร เดินวนไปตามวงจรที่กำหนดไว้อย่างมีศิลปะ และเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้อย่างลงตัว แต่ละเรื่องราวที่สาวชุดจีนสีแดงนำชม น่าทึ่ง และน่าเคารพในความสามารถของผู้ริเริ่ม ซึ่งเป็นงานสร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่กลายเป็นที่ติดหูติดตาไปทั่ว ความเลื่องลือของมังกรยักษ์สีทองตัวนี้ ได้กลายเป็นตำนานของวลีที่กล่าวว่า  "สุพรรณบุรีไม่มีแหล่งท่องเที่ยว ก็ต้องสร้างขึ้น" ใช่ครับดังเปรี้ยงป้างจริงๆ

 

                   ผมเดินออกจากห้องพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร แล้วก็ออกมาจดจ้องถ่ายรูปมังกรกับอาคารศิลปะจีนที่สร้างแวดล้อมรอบบริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ผมถ่ายรูปแรกที่เชื่อมต่อระหว่างมังกรกับเก๋งจีนขนาดเล็ก ได้ภาพที่มองดูเหมือนว่าเป็นองค์ประกอบเดียวกัน มีหนุ่มสาวนั่งบ้างเดินบ้าง ได้ความว่าเขาและเธอเหล่านั้นเป็นตากล้องรับจ้างที่เดินแอบถ่าย เพื่อติดกรอบแล้วจำหน่ายให้กับเจ้าของภาพ เพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึก ส่วนฝีมือถ่ายก็ต้องทำใจเพราะว่าชั่วพริบตาที่ท่านเดินผ่านเขากดชัตเตอร์แช๊ะ แช๊ะ เป็นอันว่ามีรูปท่านแล้ว กระจายรายได้ไปเถอะครับ ได้บุญ

 

                   ผมเดินเบี่ยงไปทางหน้าซุ้มประตูทางเข้าศาลเจ้าหลักเมือง แล้วก็ได้เห็นความสวยงามแบบอย่างประตูในหนังจีนกำลังภายใน  ผมถ่ายรูปด้วยความบรรจง หวังว่าจะได้ภาพงดงาม แต่ก็ได้เพียงที่เห็นนี้เองแหละครับ ช่วงเวลาของวัน เมฆที่อึมครึม และทิศทางของแสงที่ผิดทิศ คือสาเหตุของการบันทึกภาพวันนี้ ในรายละเอียดของซุ้มประตูมีสิ่งที่น่าถ่ายไว้มากมายหลายรูป ล้วนแต่สวยงาม แต่อย่างไรก็ตาม แม้ถ่ายมามากก็ยากจะนำลงในเว็บที่ต้องสร้างด้วยพลัง 63 ก็เหนื่อยอยู่

 

                  มุมหนึ่งอยู่ทางหางมังกรสะบัดหาง เป็นเนินสูง มองลดหลั่นลงมายังเก๋งจีนหลากหลายรูปแบบและขนาด        สีสันไม่ต้องพูดถึง แปร้แปร๋นตามแบบฉบับเก๋งจีนพันธุ์แท้ เป็นศิลปะที่คงเอกลักษณ์มานานนับหลายพันปี เป็นศิลปะที่มีรูปแบบเฉพาะตัว สื่อแสดงถึงชาติเชื้อเผ่าพันธุ์ได้อย่างแม่นยำ ภาพที่เห็นเป็นหมู่เก๋งจีนที่สร้างด้วยความลงตัว ไม่แน่นอย่างสลัม และก็ไม่ห่างว่างจนโหวงเหวง ต้องยอมรับว่าไปท่องเที่ยวศาลเจ้าจีนมาหลายแห่งแหล่งที่ แต่ที่นี่สวยกว่า 

                  มุมนี้ผมบันทึกภาพให้หัวมังกรเป็นเหมือนโฟร์กราวน์ หมู่อาคารศาลเจ้าหลักเมืองแบบศิลปะจีนเป็นโฟกัส ทำให้ณุปออกมาแปลกตา และก็ได้อารมณ์ไปอีกมิติหนึ่ง ผมเดินถอยหน้าถอยหลังอยู่หลายคราว ทดลองถ่ายจากระยะต่างๆ เปลี่ยนมุมภาพและโฟร์กราวน์  แต่ด้วยความยากของการถ่ายวัตถุที่เป็นทั้งเก๋งจีนและมังกร ตัดสินใจค่อนข้างยาก และก็ไม่มั่นใจนัก จะเลือกมุมไหนจึงจะสวย และสื่อความหมายในภาพได้ตามวัตถุที่เห็น ลองถ่ายเฉพาะจุดเล็กๆก็ไม่สื่อ แม้จะดูสวยดี เฮ้อ

                  บนเนินที่ผมเดินขึ้นไปท้ายมังกร เห็นเสาหินสลักลวดลายมังกรพันเสา มีเอกลักษณ์พิเศษ แต่ไม่เข้าใจว่า เรื่องราวบนเสาหินสลักนั้นคือเรื่องอะไรกัน อาจเป็นประวัติของผู้สร้าง อาจเป็นเสาหลักที่มีความสำคัญอะไรสักอย่าง หรือว่าสร้างเพื่อประดับประดาเฉยๆ ก็เหลือจะคาดเดาได้  แต่ด้วยความสงสัยจึงพยายามถ่ายมาหลายรูป เผื่อพบผู้รู้ก็อาจจะถามไถ่ได้ใจความมากขึ้น ผมเดินลงมาอีกนิดเห็นอาคารศาลเจ้าหลักเมืองเบื้องหน้า นายบรรหาร ศิลปอาชา อธิษฐานอะไรหรือถึงได้ประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่นัก

                  ศาลเจ้าหลักเมืองสุพรรณบุรีนี้มีประวัติยาวนาน พินิจที่รูปสลักนูนต่ำบนหินสีเขียวเป็นรูปพระอิศวร และพระนารายณ์ คล้ายๆกับว่าน่าจะเป็นฮินดูมากกว่าจีน ว่ากันว่าอายุอยู่ในราวศตวรรษที่ 11-13 เป็นรูปเคารพที่ไม่มีใครรู้ที่มาที่ไป แต่ก็เป็นที่เคารพบูชาของชาวสุพรรณบุรี บ้างก็ว่าน่าจะเป็นศิลปะขอมสมัยลพบุรี เพราะว่ารูปสลักสวมหมวกทรงกระบอก ต่อมามีการบันทึกว่า มีการสร้างศาลาครอบแบบทรงไทย สร้างด้วยไม้ และเมื่อมีผู้ศรัทธา เคารพ กราบไหว้มากขึ้น ก็มีการสร้างเป็นศิลปะจีน เนื่องจากชาวจีนได้อพยพมาทำมาหากินที่สุพรรณบุรีมากขึ้น

                  ปีพ.ศ.2435 กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เดินทางมาศึกษาและบันทึกถวายในหลวงรัชกาลที่ 5 เพื่อทรงทมราบ ปีพ.ศ.2447 พระเจ้าอยู่หัว จุลจอมเกล้า รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จมาศาลหลักเมืองสุพรรณบุรี และโปรดให้ซ่อมแซม ปีพ.ศ.2480 มีการสร้างกำแพง ประตู และศาลาให้เป็นที่พักของผู้มากราบไหว้ ปีพ.ศ.2478 กรมศิลปากร ขึ้นทะเบียนเป็นศาลเจ้าหลักเมืองสุพรรณบุรี  ปีพ.ศ.2505 ถนนมาลัยแมนตัดผ่านศาลเจ้า การเดินทางสะดวกสบายขึ้น แต่ในการสร้างถนนครั้งนั้นได้ทำลายพื้นที่เพนียดคล้องช้างเสียสิ้น ปีพ.ศ.2507 คณะกรรมการศาลเจ้าได้สร้างอาคารแบบสถาปัตยกรรมจีนครอบศาลาทรงไทยเดิม

                 วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2492 นายบรรหาร ศิลปอาชา อายุ 17 ปี ได้มาอธิษฐานต่อศาลเจ้าหลักเมืองว่า "หากข้าพเจ้าไปอยู่กรุงเทพ ได้ทำงานมีความเจริญรุ่งเรือง จะกลับมาสร้างศาลเจ้าถวายเจ้าพ่อให้ใหญ่โตและสวยสง่ามีราศรี และจะไม่ลืมท้องถิ่นบ้านเกิดเป็นอันขาด" ต่อมาเมื่อนายบรรหารเจริญรุ่งเรื่องจนได้เป็นคหบดี เป็นรัฐมนตรี และก้าวขึ้นเป็น นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของประเทศไทย จึงได้กลับมาสร้างศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณเสียสวยงามมีสง่าราศรีสม

                ศาลเจ้าหลักเมืองสุพรรณบุรีมีงานประจำปี ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ทุกปี นั่นคือประเพณีเทกระจาด บริจาคทานครั้งยิ่งใหญ่เสมอมา ซึ่งถือว่าเป็นการทำบุญสุนทานแก่ผู้ยากมากมายมหาศาล ปัจจุบันนี้ ได้พัฒนาด้วยศิลปะจีนเต็มรูปแบบ สร้างได้ยิ่งใหญ่และสวยงามที่สุด โดยเฉพาะพญามังกรทองตัวเป้ง ที่เป็นสีสันอันงามตา ทำให้ผู้คนแวะเวียนเข้ามาชมและฟังเรื่องราวจากพิพิธภัรฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร เป็นที่เคารพของชาวสุพรรณบุรี และเป็นต้นแบบอย่างที่จังหวัดต่างๆแวะเวียนมาชมเพื่อนำกลับไปพัฒนาศาลเจ้าหลักเมืองของตนเองบ้าง

 

                ภาพที่นำลงนี้ ถ่ายในเวลาบ่ายแก่ๆ จนเจียนจะค่ำลง สีสันอาจจะทึมๆไปตามแสง และความคมชัดอาจด้อยไปบ้าง  

 

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view