เมื่อกรุงเทพกลายเป็นหลี่ผี
“พอแพง”
หลี่ บางคนเขียนภาษาไทยเป็น “ลี่” แต่สำเนียงอีสานที่ถูกต้อง คือ “หลี่”
เป็นสิ่งปลูกสร้างที่สร้างขึ้นสำหรับจับปลา นับเป็นเครื่องมือจับปลาที่ใหญ่ที่สุดของคนอีสานโบราณ สร้างด้วยไม้ขวางลำน้ำไว้ โดยยกคันดินขึ้นสูงสองข้างระหว่างสองฟากฝั่งแม่น้ำ เพื่อบังคับน้ำให้ไหลกระโจนลงตรงกลางที่สร้างหลี่ขวางลำน้ำไว้นั้น ซึ่งตัวหลี่มีลักษณะเป็นโรงยาวเรียว ยกทำมุมเอียงขึ้นไปรองรับสายน้ำกับทุกสิ่งที่น้ำพัดพามา พื้นหลี่ปูด้วยฟากไม้ไผ่ที่แข็งแรงทนการกระแทกกระทั้นของสายน้ำมหาศาลที่ถูกบังคับให้ไหลมารวมกันที่เดียวได้ ปลาทั้งหลายที่ล่องลอยระเริง หรือพลัดหลงมากับสายน้ำจะติดแหง็กดิ้นกระแด่ว ๆ อยู่ที่พื้นนี้เอง น้ำผู้พาปลามาจะไหลลอดพื้นฟากไม้ไผ่ลงไปด้านล่างเสียงดังซ่า ๆ ได้ยินไปไกลหลายผืนทุ่ง ส่วนสองข้างก็ทำเป็นฝาไม้ไผ่กั้นไว้ไม่ให้ปลาออกไปได้ ส่วนด้านหางหลี่คือส่วนที่ยาวเรียวออกไปนั้นจะยกสูงขึ้นน้ำจึงไม่เคยไปถึง พายุมาห่าใหญ่ที่สุดน้ำก็ไปได้แค่กลาง ๆ หลี่
ปกป้องด้วยกำแพงเพื่อชาวกรุง ?
ขนาดของหลี่อาจมีแตกต่างกัน แล้วแต่ความกว้างใหญ่ของสายน้ำ หลี่บางแห่งเป็นที่พักนอนของคนที่ไปคอยจับปลาได้ที่ละหลาย ๆ คนเลยทีเดียว นับเป็นความฉลาดของคนโบราณ หากฝนไม่ตกหนักเกินไป น้ำไหลไม่แรงนัก หลี่ก็กลายเป็นที่สนุกสนานของเด็ก ๆ ได้เล่นน้ำจับปลากัน ส่งเสียงตะโกนดังสนั่นแข่งกับเสียงน้ำตก ยิ่งเวลาปลาตัวใหญ่ ๆ ถูกพัดเข้ามาแล้วมันพยามยามกระโดดกลับทวนสายน้ำ แข่งกับความไวของเด็ก ๆ ที่คอยจ้องอยู่ เสียงเด็ก ๆ จะยิ่งดัง ชนะเสียงแห่งสายน้ำไปเลย
ทะเลนั้นเป็นเหมือนถิ่นของเรา
หลี่ใหญ่ ๆ ส่วนมากจะเป็นหลี่ถาวร ในหน้าแล้งที่น้ำแห้งขอดลงไปจะมีการซ่อมเสริมด้วยไม้ที่สอดสานกัน และมัดผูกให้แน่นด้วยเครือเถาวัลย์ หลี่บางแห่งตั้งอยู่ประแม่น้ำชั่วนาตาปี เป็นที่อาศัยหาปลาของผู้คนทั้งตำบล จึงมีเรื่องราว มีตำนานความรัก ความเศร้า ๆ เคล้าความน่ากลัวไว้เล่าให้เด็ก ๆ กลัว เช่น ตำนานผีก่องก่อย และตำนานหลี่ผี ที่ผีสร้างขึ้นไว้ดักเอาผู้คนไปกิน หรือไปเป็นบริวาร
แท้ที่จริง หลี่ผี เป็นตำนานที่น่ากลัวเพื่อเบรกเด็ก ๆ ไม่ให้เข้าไปจับปลาในหลี่โดยลำพัง เพราะหากน้ำมาแรง ๆ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้นั่นเอง แต่ก็ได้ผลเพราะเด็ก ๆ ไม่อยากให้ผีก่องก่อยจับตัวไป แม้จะจับไปเลี้ยงเป็นลูก เป็นผัวก็ตามเถอะ
หลากวิถีที่เลือกได้
คนที่เติบโตมาจากชนบทอีสานเมื่อกว่าสิบปีมาแล้วต้องรู้จัก และประทับใจในบรรยากาศความสุข สนุกสนานเมื่อได้ไล่จับปลาในห้องหลี่กันเป็นส่วนมาก ในวันที่มีน้ำออกแก่ง(น้ำเจิ่งนอง)หลังพายุมา เราก็หาบ หาม คอน ข้องปลา ตะกร้าปลากลับบ้านไปทำปลาร้าปลาจ่อมกันหลังแอ่นเลยหละ
เราลืมภาพนั้นไปนาน เนื่องจากยุคเหมืองฝายเฟื่องฟูเพราะมีรถขุด รถตักมาช่วยให้สายน้ำที่ผ่านแต่ละทุ่งถูกปิดกั้นตื้นเขิน บ่อปลา สระ หนอง ผุดขึ้นมาแทน และปลาที่เหลืออยู่คือปลาโง่ที่ไม่รู้จักทำมาหากิน คอยแต่อาหารที่เขาหว่านลงไปให้ และเราก็ได้กินแต่ปลาเนื้อฟ่ามปนไขมัน มีสารเร่งและสารเคมีสะสมในทุกอณูตัวปลา แทนกินปลาเนื้อแน่น ๆ ที่เคยแล่นตามสายน้ำ และบางครั้งก็พลั้งเผลอไปติดค้างที่พื้นหลี่
เรือกับรถ
เราเองก็พลั้งเผลอลืมบรรยากาศในหลี่ไปนาน จนกระทั่งปีนี้น้ำจากเขื่อนใหญ่มาก ๆ ที่เราเคยถูกคุณครูสอนให้ท่องจำชื่อ ที่ตั้งของมันจนติดปาก (เพื่อทำข้อสอบ) และสอนให้ภูมิอกภูมิใจว่าไทยแลนด์แดนที่ได้ชื่อว่าไม่เคยตกเป็นอาณานิคม หรือเมืองขึ้นของชาติใด ได้มีเขื่อนใหญ่กักกันน้ำไว้ใช้ประโยชน์โภชย์ผลมหาศาล เราจะอยู่ดีกินดี เราจะศิวิไลซ์
แล้วเราชาวไร่ชาวนาก็เลิกสร้างหลี่ มาเป็นลูกจ้าง สร้างผลผลิตทันสมัยในโรงงาน ในเมืองศิวิไลซ์ เพื่อหาเงินซื้อปลาโง่กินแทนปลาในหลี่
ไม่นึกเลยว่าเมืองศิวิไลซ์ที่ภูมิอกภูมิใจ จะกลายเป็นหลี่ไปซะแล้ว
และดูไปก็คล้ายหลี่ผีที่คอยดักเอาชีวิตผู้คนนั่นแหละค่ะ
ชนชั้นหมามีเจ้าของ
จะต่างก็แต่ว่า สายน้ำที่ไหลกระโจนลงหลี่พกพาเอาน้ำสะอาด และปู ปลา กุ้ง หอยจากธรรมชาติบริสุทธิ์มาให้ ผีเจ้าของหลี่ของกรุงเทพก็ไม่ใช่ผีก่องก่อยที่มาคอยกินปลา แล้วแบกเอาคนไปได้เพียงคนเดียว แต่ผีที่กรุงเทพเกิดจากคนกรุงเทพเองที่พยายามปิดกั้นทางน้ำไหล กันกรุงเทพไว้โดยไม่รู้ว่านั่นคือการสร้างหลี่ให้น้ำไหลรวมมีพลังกระโจนกลบกลืนเอาเมืองกรุงสร้างความเสียหายให้ชีวิตและทรัพย์สินมากมายประเมินค่าไม่ได้
แรก ๆ ที่แม่มวลน้ำมหาศาลจากทางเหนือโหมกลิ้งลงมาจ่อกรุงเทพปะทะกำแพงที่กีดขวางพังทลายไปมากมาย ทุกวัน ๆ น้ำก็ไม่ยอมแพ้ เพราะจุดหมายปลายทางของน้ำอยู่ที่ทะเล ซึ่งมีกรุงเทพมหานครขวางกั้นไว้ และน้ำก็ไม่ไว้ไมตรีทั้ง ๆ ที่ผู้คนพยายามประนีประนอม ขอออมชอมให้เลื้อยไหลไปในทิศทางที่ถูกที่ควรจะไป แต่แม่มวลน้ำก็ไม่รับรู้ใด ๆ ยังคงกระโจนเชี่ยวไหล ทำให้ ผู้คนเดือดร้อน ผู้คนจัดการน้ำ ผู้คนช่วยเหลือกัน ผู้คนอพยพ ผู้คนกักตุนอาหารและน้ำ ผู้คนทำข่าวเสนอผู้คนเรื่องน้ำ ผู้คนเสพข่าวจนเครียด และเคียดแค้น ผู้อยู่เมืองนนท์ เมืองปทุมฝั่งตะวันตก ตะวันออกถึงกับตั้งคำถามว่า “กรุงเทพเป็นเมืองเทวดาหรือ เราไม่ใช่คนหรือจึงผันน้ำไปท่วมเรา เพื่อหลีกกรุงเทพ”
ขายยาก เซลแมนสะอื้น
ถึงตอนนี้ น้ำก็คืบคลาน กระโจนไหล ฝ่าคันกั้น ฝ่ากำแพงทราย พังทลายกำแพงคอนกรีต เลื้อยไหลเข้ากรุงเทพหลายจุดแล้ว ฝ่ายผู้จัดการน้ำก็ยังร้องหากระสอบทรายสักสิบล้านกระสอบอยู่ ท่านยังฝันจะกั้นกรุงเทพให้เป็นเช่นเมืองเทวดา โอ...
ตื่นเถิดท่านที่รัก
ณ เวลานี้ ที่ภัยธรรมชาติกำลังคุกคาม เมื่อมาบวกกับฝีมือมนุษย์อย่างนี้จะต้องยอมรับความจริง ท่านควรหันมองไปข้างหน้า เพื่อจะวางแผนรับน้ำใน ปีหน้า ปีต่อไป และปีไหน ๆ อย่าได้สร้างหลี่ผีอีกเลย แต่ควรหันมามองพฤติกรรมคนกรุงเทพ ขยะที่ล้นเมือง ลำคลอง หนองบึงที่บรรพบุรุษขุดไว้ ชาวลาว ชาวเขมรที่ถูกเกณฑ์มาขุดก็มากหลาย อย่าให้เสียเปล่า กลายแหล่งน้ำเน่า ตื้นเขินเพราะขี้ขยะจากความมักง่ายของผู้คน ตื่นเถิดท่านที่รัก
เปลี่ยนใหม่เป็นสอนขับเรือเน๊าะ
ตอนนี้คนกรุงเทพไม่กลัวน้ำแล้ว แต่กลัวผีที่มากับสายน้ำ สารเคมีจากโรงงานขยะที่ท่วมท้นเน่าเหม็น น้ำประปากลายเป็นสิ่งหลอกหลอนขณะอาบ ขณะใช้ น้ำดื่มตอนนี้ต้องไปขนมาจากอุดร ขอนแก่น แล้วถ้าอุดร ขอนแก่นเขาไม่ให้จะทำอย่างไรกันเราจะมิตายหมดทั้งเมืองฤา
ท่านที่รัก น่าจะใช้วิกฤตนี้เป็นตัวบ่งชี้ สร้างมาตรการควบคุมพฤติกรรมเห็นแก่ตัวของคนทั้งหลาย กระจายอำนาจลงสู่ชุมชน ให้เขารู้จักคิดเอง แก้ปัญหาช่วยกัน สร้างสิ่งที่ดีแก่ตัวเขาและลูกหลานของเขา ยุคสมัยนี้ไม่ใช่จะอาศัยผู้นำที่เก่งอยู่คนเดียวได้แล้ว แบกเขาไม่ไหวหรอกเชื่อเถอะ สู้บอกเขาไปเลยดีกว่า ใช้กฎหมาย บวกเหตุผลจากวิกฤตนี้แปลงโฉมเมืองกรุงเทพเสียเถอะ
เมื่ออ็อฟโรดท่องเที่ยวถูกต่อว่า แต่วันนี้เขามีคุณอนันต์
เลิกทิ้งขยะ เลิกใช้ถุงพลาสติก (ใช้ปิ่นโตแทนถุงอาหารแบบพม่าไปเลย)
บ้านใด สวนใดฮุบเอาลำคลอง หนอง บึง ไปเป็นของตนปรับไหมไปเลย
อยากเป็นเมืองศิวิไลซ์ แต่ความคิดยังติดหนึบอยู่กับความเชื่อเดิม ๆก็ช่วยไม่ได้
ก็จงปล่อยให้กรุงเทพเป็นหลี่ผีต่อไปเถอะไม่ว่าปีหน้าหรือปีไหน ๆ
๐๐๐๐๐๐
“พอแพง”.....ลูกยายแพง หลานยายพอค่ะ