แม่คะนิ้งหรือเหมายขาบ
โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง ปาริชาติ เสาร์สุวรรณ-ภาพ
ประเทศไทยนับฤดูหนาวกันตั้งแต่เดือน ตุลาคม-มกราคม แต่ในช่วงฤดูหนาวนี้อาจเริ่มต้นเร็วหรือเริ่มต้นช้า ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่นและแต่ละปี เมื่อแห่งใดมีอุณหภูมิใกล้พื้นดินลดลงถึงจุดเยือกแข็งก็จะเกิดน้ำค้างแข็ง(Frost)ขึ้น ส่วนใหญ่เกิดบนยอดเขาสูงๆ
เช่นภาคเหนือจะเกิดที่จังหวัดเชียงใหม่แถวๆดอยอ่างกาบนอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ หรือบริเวณใกล้ๆสถานีเรดาร์ของกองทัพอากาศ จังหวัดน่านจะเกิดแถวๆอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัด เลยจะเกิดแถวภูเรือหรืออุทยานแห่งชาติภูเรือ เป็นต้น แต่ปีนี้ เหมยขาบเกิดขึ้นเร็ว เพียงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2556 ก็เริ่มเกิดขึ้นแล้ว ที่ดอยอินทนนท์
ทางภาคเหนือเรียกปรากฎการณ์น้ำค้างแข็งนี้ว่า เหมยขาบ จังหวัดเลยหรือทางภาคอีสานเรียกปรากฎการณ์น้ำค้างแข็งว่าเกิดแม่คะนิ้ง ในต่างประเทศเรียกว่า น้ำค้างแข็งหรือ Frost ทุกปีเมื่อเกิดปรากฎการณ์น้ำค้างแข็งหรือเหมยขาบหรือแม่คะนิ้ง คนไทยจะตื่นเต้นกันไปทั่ว ด้วยว่าเป็นเมืองร้อนเมื่อหนาวเหน็บก็อยากสัมผัส
ผลดีของการเกิดปรากฎการณ์น้ำค้างแข็ง คือเกิดกระแสการท่องเที่ยวรุนแรง เงินสะพัดสาสมใจ ประชาชนและคนทำรีสอร์ทได้รับผลบวกทางการเงิน แต่ผลเสียคือพืชผลที่ถูกเหมยขาบจะเสียหาย ชาวบ้านจะขาดรายได้ แต่ก็อาจเกิดความเปลี่ยนแปลงได้เสมอ
คุณปาริชาติ เสาร์สุวรรณ ผู้ถ่ายรูป
ภาพเหมยขาบนี้คุณปาริชาติ เสาร์สุวรรณ ภรรยาอดีตนายอำเภอเริงศักดิ์ เสาร์สุวรรณ ได้ไปถ่ายที่ดอยอ่างกา อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2557 นี้เอง วันนี้ อากาศเริ่มอบอุ่นขึ้นแล้ว ปรากฎการณ์เหมยขาบกำลังละลายหายไป เหลือเพียงคราบไคลให้เห็นจากใบไม้ กิ่งไม้ ที่แห้งเฉา ปีหน้า ตั้งตารอกันใหม่ เกิดเมื่อไรก็ยกทีมกันขึ้นไปชมให้ได้เด๊