ท่องแดนแผ่นดินธรรม
ตอน วัดภูมินทร์ อ.เมือง จ.น่าน
โดย ธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ
กำเนิดวัดภูมินทร์
เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ ครองเมืองน่าน ครั้งแรกเมื่อพ.ศ.2134-2140 เป็นเวลา 6 ปี ระหว่างนี้ในปี พ.ศ.2139 ได้ทรงสร้างวัดพรหมมินทร์ ติดข่วงเมือง แต่ในปีพ.ศ.2140 ต้องเสด็จหนีไปหลวงพระบาง ด้วยพ่ายแพ้แก่แม่ทัพพม่า มังนรธาช่อ ซึ่งครองเมืองเชียงใหม่ ได้ยกทัพมาตีเมืองน่าน ในปีพ.ศ.2140เมื่อ ยึดเมืองน่านได้แล้วได้แต่งตั้งพญาแขกรักษาเมืองน่าน
ต่อมาปีพ.ศ. 2143 เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ ได้ยกทัพมายึดเมืองน่านคืน ทรงครองราชย์ครั้งที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ.2143-2146 เจ้าศรีสองเมือง แห่งเมืองเชียงใหม่ในนามทัพพม่า จับตัวไปประหารชีวิตที่เชียงใหม่ พระองค์คือผู้สร้างวัดพรหมมินทร์เป็นองค์แรก
เมืองน่านเปลี่ยนแปลงเจ้าผู้ครองนครไปหลายราชวงศ์ เวลาผ่านมา 300 ปีกว่าๆ จนถึง พ.ศ.2410 พระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช ซึ่งครองนครน่าน ตั้งแต่ปีพ.ศ.2395-2353 ได้ทรงทำนุบำรุงพระศาสนา ด้วยการบูรณะวัดพรหมมินทร์ซึ่งชำรุดทรุดโทรมขึ้นครั้งใหญ่ และเปลี่ยนชื่อวัดพรหมมินทร์ เป็นวัดภูมินทร์ ใช้เวลาในการบูรณะ 7 ปีจึงแล้วเสร็จ
หนึ่งเดียวในล้านนา
อุโบสถจัตุรมุขบนหลังนาคคู่ เชื่อกันว่า การบูรณะครั้งใหญ่นี่เองที่เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยวิสัยทัศน์และความฉลาดลึกล้ำ จึงเกิดการสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร และพระเจดีย์ ไว้ในคราวเดียวกัน ในรูปของอุโบสถทรงจัตุรมุข โดยประดิษฐานไว้ประหนึ่งว่านั่งอยู่บนหลังพญานาคคู่
ด้านเหนือหัวนาคอุโบสถ
นาคหันหัวไปทางทิศเหนือด้านนั้นเป็นข่วงเมืองน่าน ตรงข้ามเป็น “คุ้มเจ้าหลวง ผู้ครองนครน่าน” ปลายหางนาคอยู่ทางทิศใต้ ทั้งสองด้านทำนาคสะดุ้งให้เป็นช่องเดินลอดดั่งซุ้มประตู เชื่อกันว่าหาดใครที่มาเยือนได้เดินลอดแล้วไซร้ จักได้กลับมาเยือนเมืองน่านอีก จัตุรมุขด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกประดับด้วย “ตัวเหงา” เชิงบันได
จัตุรัสด้านใต้ จะเห็นหางนาค
ซุ้มประตูทั้งสี่จัตุรมุข มีหน้าบันประดิษฐ์ด้วยปูนปั้นลวดลายก้านต่อดอก ติดกระจกสีสวยงาม เสาประตูประดิษฐ์ด้วยปูนปั้นทรงใบเทศทั้งสี่ด้าน เชื่อว่ารูปแบบเป็นรัตนโกสินทร์ประยุกต์ แต่การติดกระจกสีและตัวโขง น่าจะเป็นสื่อถึงศิลปะล้านนา
ซุ้มประตูและหน้าบัน
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กระทรวงการคลังได้นำภาพวัดภูมินทร์ไปพิมพ์ในแบงค์ราคา 1 บาท จนโด่งดังไปทั่วประเทศ
พระประธานปางมารวิชัย 4 องค์
พระประธานสี่องค์ ภายในอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย 4 องค์ หันหลังชนกัน หันหน้าไปทางจัตุรมุข 4 ด้าน พระประธานทั้งสี่องค์นี้ ได้รับการบูรณะหนักมากจนไม่รู้ว่าเป็นศิลปะยุคใด ลงรักปิดทองอร่ามเรือง เมื่อย่างกายเข้าไปเพื่อกราบพระประธาน จึงต้องก้มกราบ 4 ครั้ง อธิษฐานได้ถึง 4 ครั้ง และก็เชื่อว่าในแต่ละครั้งนั้น น่าจะอธิษฐานไม่ตรงกัน อันเป็นปกติของมนุษย์ที่อยากจะไหว้พระอธิษฐานตามใจชอบ
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง หรือ ฮูปแต้ม ข้อมูลจาก www.watkadarin.com ได้บรรยายไว้ว่า ฝาผนังในวิหารวัดภูมินทร์ทั้งสี่ด้านประดับตกแต่งด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องชาดก ตำนานพื้นบ้าน และความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต กรมศิลปากรสันนิษฐานว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังเหล่านี้ มีที่มาจากการการบูรณะครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2410
จิตรกรรมฝาผนังในวิหารวัดภูมินทร์เขียนตั้งแต่ส่วนบนสุดของผนัง ลงมาจนถึงระดับขอบล่างของหน้าต่าง จัดองค์ประกอบภาพต่อเนื่องกันทั้งผนัง โดยใช้จังหวะ ช่องว่าง ฉาก ธรรมชาติ เป็นตัวแบ่งเนื้อหาเรื่องราว ผนังตอนบนทุกด้านเขียนภาพบุคคลขนาดใหญ่ ส่วนตอนล่างภาพเรื่องราวเป็นตอน ๆ มีขนาดเล็ก
ปู่ม่าน-ญ่าม่าน ตำนานกระซิบรักที่น่าน คำเสนาะเหล่านี้ อาจารย์ สมเจตน์ วิมลเกษม อาจารย์โรงเรียนสตรีศรีน่าน ได้รจนาไว้ว่า
คำฮักน้อง กูปี้จักเอาไว้ในน้ำก็กลัวหนาว จักเอาไว้พื้นอากาศกลางหาว ก็กลัวหมอกเหมยซอนดาวลงมาคะลุมจักเอาไปใส่ในวังข่วงคุ้ม ก็กลัวเจ้าปะใส่แล้วลู่เอาไปก็เลยเอาไว้ในอกในใจตัวชายปี้นี้ จักหื้อมันไห้อะฮิอะฮี้ยามปี้นอนสะดุ้งตื่นเววา… |


ความรักของน้องนั้น พี่จะเอาฝากไว้ในน้ำก็กลัวเหน็บหนาว จะฝากไว้กลางท้องฟ้าอากาศกลางหาว ก็กลัวเมฆหมอกมาปกคลุมรักของพี่ไปเสีย หากเอาไว้ในวังในคุ้ม เจ้าเมืองมาเจอก็จะเอาความรักของพี่ไป เลยขอฝากเอาไว้ในอกในใจของพี่ จะให้มันร้องไห้รำพี้รำพันถึงน้อง ไม่ว่ายามพี่นอนหลับหรือสะดุ้งตื่น เมืองที่เขียนไว้ว่า ปู่ม่านและญ่าม่าน นั้นหมายถึง พม่าชายและพม่าหญิง มิได้หมายความว่า ภาพหนุ่มสาวนั้นชื่อปู่ม่านและญ่าม่านแต่อย่างใด Watkadarin กล่าวว่า มีผู้เคยสันนิษฐานว่าภาพปู่ม่านญ่าม่านหรือภาพกระซิบรักนั้น มีผู้เคยสัณนิษฐานว่าภาพ "ปู่ม่านญ่าม่าน" หรือภาพชายหนุ่มที่กระซิบกับหญิงสาว น่าจะเป็นภาพเหมือนของช่างเขียนกับคนรักของเขานั้น แต่พิจารณาอย่างละเอียดแล้ว ชายหนุ่มในภาพขมวดผมไว้กลางกระหม่อม พร้อมผ้าพันผมแบบพม่า นุ่งผ้าลายลุนตะยาซึ่งเป็นลายผ้าของชาวพม่า แต่ตามลำตัวกลับสักด้วยหมึกสีแดง อันเป็นความนิยมของชาวไทยใหญ่ ลักษณะของรูปบุคคลนั้นน่าจะเป็นชนพื้นเมืองชั้นสูงของเมืองน่านมากกว่า ภาพนี้ จึงไม่น่าเป็นภาพตัวศิลปินผู้เขียน ซึ่งเป็นชาวไทยลื้อ และโดยวัฒนธรรมของชาวน่านแล้ว การเกาะไหล่หญิงสาวเช่นนั้น หากเป็นคู่หนุ่มสาวถือว่าผิดผี ทำไม่ได้ จึงได้แต่สันนิษฐานว่าเป็นคู่สามีภรรยาเสวนาภาษารักกันมากกว่า |
วัฒนธรรมการแต่งกายของชาวน่าน
ข่วงเมืองน่าน ลานโล่งกลางเมืองซึ่งเป็นที่ว่างเพื่อการจัดพิธีกรรมต่างๆของชาวเมือง ข่วงเมืองน่านมีพื้นที่กว้างขวาง ตั้งอยู่ทิศเหนือของวัดภูมินทร์ ติดกับถนนคั่นระหว่างคุ้มเจ้าหลวงเมืองน่านซึ่งมีวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ทิศตะวันออก ด้านเหนือคุ้มเจ้าหลวงเป็นวัดติดกำแพงคุ้ม
ข่วงเมืองน่าน
ชอบไหม หากได้เดินไหว้พระ 5 วัด เริ่มต้นที่วัดภูมินทร์ เดินข้ามข่วงไปยังวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ฝั่งตรงข้ามคุ้มเจ้าหลวงเมืองน่านที่วันนี้ได้แปรสภาพเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดน่าน ชายกำแพงคุ้มเจ้าหลวงเป็นวัดชื่อ....จากนั้นเดินไปทางทิศตะวันตกเพื่อไหว้พระประธานในอุโบสถวัดศรีพันต้น แล้วเดินย้อนขึ้นเหนือไปยังวัดมิ่งเมือง เป็นมิติหนึ่งของการท่องเที่ยวแดนแผ่นดินธรรมของจังหวัดน่าน
จัตุรัสด้านทิศเหนือ
รู้เรื่องเมืองน่านที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดน่าน ซึ่งเดิมเป็นคุ้มเจ้าหลวงเมืองน่านหรือหอคำ สร้างเมื่อพ.ศ.2446 โดยพระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน ต่อมาเมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้ายถึงแก่พิราลัย บุตรธิดาจึงร่วมใจกันส่งมอบหอคำแห่งนี้ เนื้อที่ 17-2-32 ไร่ ให้เป็นสมบัติของจังหวัด กระทรวงมหาดไทยได้ใช้เป็นศาลาว่าการจังหวัดน่าน ต่อมากรมศิลปากรรับมอบเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เมื่อพ.ศ.2517
ทิศตะวันออกเฉียงใต้
ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดน่าน มีโบราณวัตถุสำคัญได้แก่ งาช้างดำหีบพระธรรมไม้แกะสลัก ฝีมือช่างสกุลน่าน สมุดข่อยอาณาจักรหลักคำกฎหมายเมืองน่านครุฑยุคนาค ฝีมือช่างล้านนา ศิลาจารึกหลักที่ 64 อักษรสุโขทัย กล่าวถึงการกระทำสัตย์สาบานช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อเกิดศึกสงครามระหว่างเจ้าพระยาผากอง เจ้าผู้ครองนครน่าน และพระมหาธรรมราชาที่ 2 กษัตริย์แห่งสุโขทัย และศิลาจารึกหลักที่ 74 อักษรธรรมล้านนา กล่าวถึงพญาพลเทพกุรไชย เจ้าเมืองน่าน ได้ทำการบูรณะพระมหาวิหารให้วัดหลวงกลางเวียง (วัดช้างค้ำ)
ปู่ม่านญ่าม่าน
ท่องแดนแผ่นดินธรรม วัดภูมินทร์ อ.เมือง จ.น่าน วันเสาร์อาทิตย์ ที่ข่วงเมืองน่านจะเปิดเป็นตลาดนัดแบบถนนคนเดินซื้อหาอาหารมานั่งกินบนขันโตกและเสื่อปูให้นั่งกินฟรีๆ พร้อมกันนั้นยังมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านลานเมืองน่านให้ได้ชมกันไปด้วย ภายใต้แสงไฟสว่างไสว หรือถ้าไปถูกเวลาก็อาจจะเป็นท่ามกลางแสงจันทราแสนงาม
เพื่อนร่วมงานสมัยหนุ่มๆมาเยี่ยมคนแก่ที่วัด